หลายต่อหลายครั้งที่ปรากฏเป็นข่าวคราว ... ว่าผู้ป่วยหรือญาติของผู้ป่วยไม่พอใจในการรักษาพยาบาลและการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ โดยเห็นว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ เพราะผู้ป่วยเสียชีวิตจากการรักษาหรือมีอาการแย่ลง จนเป็นเหตุให้ต้องมีการขอข้อมูลประวัติการรักษาหรือเวชระเบียน
ของผู้ป่วย เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการรักษาพยาบาลต่อยังโรงพยาบาลอื่น หรือนำไปใช้ในการตรวจสอบและดำเนินการทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งหรือการฟ้องคดีอาญาก็ตาม
วันนี้ ... ลุงถูกต้องจึงขอพูดคุยกันถึงสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประวัติสุขภาพหรือประวัติการรักษาพยาบาล (เวชระเบียนผู้ป่วย) ซึ่งถือเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 รวมถึงขั้นตอนหรือวิธีการใช้สิทธิดังกล่าว ไปจนถึงหากต้องมีการฟ้องร้อง
เป็นคดีความต่อศาลปกครองในกรณีที่โรงพยาบาลปฏิเสธที่จะเปิดเผยข้อมูลตามคำขอ จะต้องทำอย่างไร ?
ก่อนอื่นมาดูข้อกฎหมายที่รับรองสิทธิดังกล่าว คือ มาตรา 25 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ ซึ่งกำหนดให้สิทธิบุคคลที่จะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน และเมื่อมีคำขอเป็นหนังสือ หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารจะต้องให้บุคคลนั้นหรือผู้แทนของบุคคลนั้นได้ตรวจดูหรือได้รับสำเนาข้อมูลข่าวสารดังกล่าว หากหน่วยงานของรัฐฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 13 วรรคหนึ่ง เพื่อให้คณะกรรมการฯ พิจารณาและให้ความเห็นเรื่องร้องเรียนตามมาตรา 28 (4)แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน
จากข้อกฎหมายข้างต้น จึงมีประเด็นน่าสนใจว่า ... หากมารดาของบุตรชายที่เสียชีวิตจากการรักษาของแพทย์ประจำโรงพยาบาลของรัฐได้ยื่นขอประวัติการรักษาของบุตรชาย แต่ทางโรงพยาบาลปฏิเสธการให้ข้อมูลการรักษาพยาบาลและการให้ยา ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่จะใช้ในการตรวจสอบการรักษาของแพทย์
ว่าเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพหรือไม่
เช่นนี้ ... มารดาของผู้ตายจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองว่าโรงพยาบาลละเลยต่อหน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล โดยที่ยังไม่ได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ ได้หรือไม่ ?
ติดตามหาคำตอบได้ในอุทาหรณ์จากคดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังวันนี้ครับ ...
เหตุของคดี ... เกิดจากนางนิวได้ยื่นคำร้องขอให้เปิดเผยประวัติการรักษาบุตรชายของตนต่อผู้อำนวยการโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง โดยขอเวชระเบียนการรักษาพยาบาลของบุตรชายเพื่อนำมาตรวจสอบถึงสาเหตุการเสียชีวิต และเรียกร้องความเป็นธรรมจากการที่บุตรชายได้เข้ารับการรักษาอาการท้องร่วงที่โรงพยาบาลดังกล่าวและเสียชีวิตในวันต่อมา
แต่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งมอบเวชระเบียนให้เพียงบางส่วน โดยไม่ส่งมอบรายงานการรักษาพยาบาลและรายงานการให้ยา ซึ่งเป็นสาระสำคัญในการพิสูจน์ความผิดของผู้ทำการรักษาพยาบาล
นางนิวเห็นว่าการส่งเวชระเบียนไม่ครบถ้วนตามที่ร้องขอเป็นการจงใจกระทำละเมิดสิทธิผู้ป่วยของตนซึ่งเป็น
มารดาของผู้ตาย และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อำนวยการโรงพยาบาล (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) ต้องร่วมรับผิดด้วย
นางนิวจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ศาลพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนการขาดประโยชน์จากการใช้เวชระเบียนและค่าเสียหายทางจิตใจ และขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ส่งเวชระเบียนการรักษาพยาบาลของบุตรชายทั้งหมดให้แก่ตนตามที่ร้องขอ
ประเด็นพิจารณา คือ นางนิวมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองโดยที่ยังไม่ได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเพื่อให้พิจารณาตามมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ ได้หรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ และการกระทำละเมิดอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (๒) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่การที่ศาลจะรับคำฟ้องใดไว้พิจารณาได้ คดีนั้นจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการฟ้องคดีอย่างครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งมาตรา ๔๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดให้ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ การฟ้องคดีปกครองจะทำได้ต่อเมื่อได้มีการดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวแล้ว และได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้น หรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลาอันสมควรหรือภายในเวลาที่กฎหมายนั้นกำหนด
เมื่อผู้ฟ้องคดี คือ นางนิวได้ยื่นคำร้องต่อโรงพยาบาลขอเวชระเบียนการรักษาพยาบาลของบุตรชายเพื่อตรวจสอบถึงสาเหตุการเสียชีวิตและเพื่อใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย ถือเป็นการใช้สิทธิขอข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของบุตรที่ถึงแก่กรรม (มาตรา 25 วรรคหนึ่งและวรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ประกอบข้อ 4 วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสอง ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งกำหนดให้บิดาหรือมารดามีสิทธิดำเนินการขอข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลแทนผู้เยาว์หรือเจ้าของข้อมูลที่ถึงแก่กรรมแล้วได้)
การที่โรงพยาบาลส่งมอบเวชระเบียนให้ไม่ครบถ้วน โดยขาดสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญอันจะพิสูจน์ความผิดของแพทย์และพยาบาลที่รักษาผู้ตาย จึงเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ และจงใจกระทำละเมิดทำให้ได้รับความเสียหาย ซึ่งนางนิวต้องใช้สิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 13 วรรคหนึ่ง เสียก่อน เนื่องจากเป็นกรณีที่กฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการได้กำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายไว้โดยเฉพาะ และเมื่อมีการพิจารณาคำร้องเรียนแล้วหรือไม่มีการพิจารณาภายในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 13 วรรคสอง (พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน ขยายได้กรณีที่มีเหตุจำเป็น แต่รวมแล้ว
ต้องไม่เกิน 60 วัน) นางนิวจึงจะใช้สิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองได้
การที่นางนิวฟ้องคดีโดยยังไม่ได้ใช้สิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการจึงเป็นกรณีที่ยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายตามมาตรา 42 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ซึ่งกำหนดเป็นเงื่อนไขที่ต้องดำเนินการก่อนที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาล ศาลปกครองจึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของนางนิวไว้พิจารณา (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร. 217/2562)
อุทาหรณ์ข้างต้น ... ถือเป็นบรรทัดฐานสำหรับผู้ที่ยื่นคำขอให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลหรือข้อมูลข่าวสารอื่น ๆ ที่กฎหมายกำหนดให้เปิดเผยได้ ซึ่งหากหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่ครอบครองข้อมูลข่าวสารนั้นไม่จัดหาให้ตามคำขอ ผู้ยื่นคำขอจะต้องยื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการตามที่กฎหมายกำหนดไว้เสียก่อน หากไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณา หรือหน่วยงานของรัฐไม่ดำเนินการตามที่คณะกรรมการฯ มีความเห็น หรือคณะกรรมการฯ ไม่พิจารณาเรื่องร้องเรียนตามกำหนดเวลา จึงจะสามารถใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อให้ตรวจสอบว่าการไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามที่ขอนั้น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ... ครับ !
....
“ฟ้องคดีอย่างถูกต้อง ... เพื่อป้องกันการเสียสิทธิ” และสามารถปรึกษาการฟ้องคดีปกครองได้ที่ ... สายด่วนศาลปกครอง ๑๓๕๕
ของผู้ป่วย เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการรักษาพยาบาลต่อยังโรงพยาบาลอื่น หรือนำไปใช้ในการตรวจสอบและดำเนินการทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งหรือการฟ้องคดีอาญาก็ตาม
วันนี้ ... ลุงถูกต้องจึงขอพูดคุยกันถึงสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับประวัติสุขภาพหรือประวัติการรักษาพยาบาล (เวชระเบียนผู้ป่วย) ซึ่งถือเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 รวมถึงขั้นตอนหรือวิธีการใช้สิทธิดังกล่าว ไปจนถึงหากต้องมีการฟ้องร้อง
เป็นคดีความต่อศาลปกครองในกรณีที่โรงพยาบาลปฏิเสธที่จะเปิดเผยข้อมูลตามคำขอ จะต้องทำอย่างไร ?
ก่อนอื่นมาดูข้อกฎหมายที่รับรองสิทธิดังกล่าว คือ มาตรา 25 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ ซึ่งกำหนดให้สิทธิบุคคลที่จะได้รู้ถึงข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน และเมื่อมีคำขอเป็นหนังสือ หน่วยงานของรัฐที่ควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารจะต้องให้บุคคลนั้นหรือผู้แทนของบุคคลนั้นได้ตรวจดูหรือได้รับสำเนาข้อมูลข่าวสารดังกล่าว หากหน่วยงานของรัฐฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 13 วรรคหนึ่ง เพื่อให้คณะกรรมการฯ พิจารณาและให้ความเห็นเรื่องร้องเรียนตามมาตรา 28 (4)แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน
จากข้อกฎหมายข้างต้น จึงมีประเด็นน่าสนใจว่า ... หากมารดาของบุตรชายที่เสียชีวิตจากการรักษาของแพทย์ประจำโรงพยาบาลของรัฐได้ยื่นขอประวัติการรักษาของบุตรชาย แต่ทางโรงพยาบาลปฏิเสธการให้ข้อมูลการรักษาพยาบาลและการให้ยา ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่จะใช้ในการตรวจสอบการรักษาของแพทย์
ว่าเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพหรือไม่
เช่นนี้ ... มารดาของผู้ตายจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองว่าโรงพยาบาลละเลยต่อหน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล โดยที่ยังไม่ได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ ได้หรือไม่ ?
ติดตามหาคำตอบได้ในอุทาหรณ์จากคดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังวันนี้ครับ ...
เหตุของคดี ... เกิดจากนางนิวได้ยื่นคำร้องขอให้เปิดเผยประวัติการรักษาบุตรชายของตนต่อผู้อำนวยการโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่ง โดยขอเวชระเบียนการรักษาพยาบาลของบุตรชายเพื่อนำมาตรวจสอบถึงสาเหตุการเสียชีวิต และเรียกร้องความเป็นธรรมจากการที่บุตรชายได้เข้ารับการรักษาอาการท้องร่วงที่โรงพยาบาลดังกล่าวและเสียชีวิตในวันต่อมา
แต่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งมอบเวชระเบียนให้เพียงบางส่วน โดยไม่ส่งมอบรายงานการรักษาพยาบาลและรายงานการให้ยา ซึ่งเป็นสาระสำคัญในการพิสูจน์ความผิดของผู้ทำการรักษาพยาบาล
นางนิวเห็นว่าการส่งเวชระเบียนไม่ครบถ้วนตามที่ร้องขอเป็นการจงใจกระทำละเมิดสิทธิผู้ป่วยของตนซึ่งเป็น
มารดาของผู้ตาย และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้อำนวยการโรงพยาบาล (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) ต้องร่วมรับผิดด้วย
นางนิวจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ศาลพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนการขาดประโยชน์จากการใช้เวชระเบียนและค่าเสียหายทางจิตใจ และขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ส่งเวชระเบียนการรักษาพยาบาลของบุตรชายทั้งหมดให้แก่ตนตามที่ร้องขอ
ประเด็นพิจารณา คือ นางนิวมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองโดยที่ยังไม่ได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเพื่อให้พิจารณาตามมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ ได้หรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ และการกระทำละเมิดอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (๒) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง แต่การที่ศาลจะรับคำฟ้องใดไว้พิจารณาได้ คดีนั้นจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการฟ้องคดีอย่างครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งมาตรา ๔๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดให้ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ การฟ้องคดีปกครองจะทำได้ต่อเมื่อได้มีการดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวแล้ว และได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้น หรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลาอันสมควรหรือภายในเวลาที่กฎหมายนั้นกำหนด
เมื่อผู้ฟ้องคดี คือ นางนิวได้ยื่นคำร้องต่อโรงพยาบาลขอเวชระเบียนการรักษาพยาบาลของบุตรชายเพื่อตรวจสอบถึงสาเหตุการเสียชีวิตและเพื่อใช้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย ถือเป็นการใช้สิทธิขอข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลของบุตรที่ถึงแก่กรรม (มาตรา 25 วรรคหนึ่งและวรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ประกอบข้อ 4 วรรคหนึ่ง (๓) และวรรคสอง ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งกำหนดให้บิดาหรือมารดามีสิทธิดำเนินการขอข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลแทนผู้เยาว์หรือเจ้าของข้อมูลที่ถึงแก่กรรมแล้วได้)
การที่โรงพยาบาลส่งมอบเวชระเบียนให้ไม่ครบถ้วน โดยขาดสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญอันจะพิสูจน์ความผิดของแพทย์และพยาบาลที่รักษาผู้ตาย จึงเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารฯ และจงใจกระทำละเมิดทำให้ได้รับความเสียหาย ซึ่งนางนิวต้องใช้สิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการตามมาตรา 13 วรรคหนึ่ง เสียก่อน เนื่องจากเป็นกรณีที่กฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการได้กำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายไว้โดยเฉพาะ และเมื่อมีการพิจารณาคำร้องเรียนแล้วหรือไม่มีการพิจารณาภายในกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 13 วรรคสอง (พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน ขยายได้กรณีที่มีเหตุจำเป็น แต่รวมแล้ว
ต้องไม่เกิน 60 วัน) นางนิวจึงจะใช้สิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองได้
การที่นางนิวฟ้องคดีโดยยังไม่ได้ใช้สิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการจึงเป็นกรณีที่ยังมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายตามมาตรา 42 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ซึ่งกำหนดเป็นเงื่อนไขที่ต้องดำเนินการก่อนที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาล ศาลปกครองจึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของนางนิวไว้พิจารณา (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คร. 217/2562)
อุทาหรณ์ข้างต้น ... ถือเป็นบรรทัดฐานสำหรับผู้ที่ยื่นคำขอให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลหรือข้อมูลข่าวสารอื่น ๆ ที่กฎหมายกำหนดให้เปิดเผยได้ ซึ่งหากหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่ครอบครองข้อมูลข่าวสารนั้นไม่จัดหาให้ตามคำขอ ผู้ยื่นคำขอจะต้องยื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการตามที่กฎหมายกำหนดไว้เสียก่อน หากไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณา หรือหน่วยงานของรัฐไม่ดำเนินการตามที่คณะกรรมการฯ มีความเห็น หรือคณะกรรมการฯ ไม่พิจารณาเรื่องร้องเรียนตามกำหนดเวลา จึงจะสามารถใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อให้ตรวจสอบว่าการไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามที่ขอนั้น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ... ครับ !
....
“ฟ้องคดีอย่างถูกต้อง ... เพื่อป้องกันการเสียสิทธิ” และสามารถปรึกษาการฟ้องคดีปกครองได้ที่ ... สายด่วนศาลปกครอง ๑๓๕๕