“เงินทองไม่เข้าใคร ออกใคร”... เป็นคำกล่าวที่เป็นข้อเตือนสติของผู้ดูแลหรือครอบครอง
เงินของผู้อื่นหรือเงินหลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งต้องมีความยับยั้งชั่งใจตนเอง ไม่ให้อำนาจของเงินทองทำให้เกิดความโลภ ความอยากได้ โดยมองข้ามความถูกต้องและโทษทางกฎหมาย ซึ่งหากทำผิด…นอกจากจะถูกดำเนินคดีทางแพ่งและทางอาญาแล้ว ยังต้องถูกดำเนินการทางวินัยอีกด้วย
คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ เป็นเรื่องราวของผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นลูกจ้างประจำ สังกัดกรมชลประทาน ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนในหมู่บ้านให้เป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ๒ กองทุน และทำหน้าที่เหรัญญิกดูแลด้านการเงิน
หลังจากมีการตรวจสอบบัญชี...ทำให้เรื่องแดงขึ้นว่าผู้ฟ้องคดีได้นำเงินของกองทุน
ทั้งสองไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว !!
ผู้แทนของกองทุนหมู่บ้านจึงแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับผู้ฟ้องคดีในข้อหายักยอกทรัพย์ และฟ้องคดีแพ่งต่อศาลจังหวัดเพื่อเรียกเงินคืนจากผู้ฟ้องคดี
ต่อมา กรมชลประทานมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ซึ่งเห็นว่าผู้ฟ้องคดีได้นำเงินของกองทุนไปใช้ส่วนตัว ทำให้ถูกดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่ง พฤติกรรมดังกล่าวเป็นการเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการอย่างร้ายแรง ตามข้อ ๔๖ วรรคสอง ของระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๓๗ เห็นควรลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ และอธิบดีกรมชลประทานมีคำสั่งลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า ในคดีอาญาได้มีการยอมความกัน คดีแพ่งก็ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และตนเองได้ชดใช้เงินคืนให้กองทุนทั้งสองครบถ้วนแล้ว อีกทั้งตนเองมิได้ยักยอกเงิน หากแต่เป็นความเข้าใจผิดเพราะตนได้กู้ยืมเงินด้วยวาจาจากกองทุน พฤติกรรมของตนจึงไม่ถือเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง คำสั่งลงโทษของผู้ถูกฟ้องคดีจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบ
ด้วยกฎหมาย
นอกจากนี้... หลังจากผู้ฟ้องคดีได้รับคำสั่งลงโทษปลดออกจากราชการ ได้มีพระราชบัญญัติล้างมลทิน ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช มีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พ.ศ. ๒๕๕๐ ตนเองจึงอยู่ในข่ายมีสิทธิได้รับการล้างมลทิน
ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษต่อ อ.ก.พ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่ถูกยกอุทธรณ์ จึงยื่นฟ้องอธิบดีกรมชลประทานต่อศาลปกครองเพื่อขอให้มีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งลงโทษปลดออกจากราชการ
มาดูกันต่อว่า... คำสั่งลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการดังกล่าว จะเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นลูกจ้างประจำ ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนในหมู่บ้านให้เป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และเป็นเหรัญญิก แต่กลับนำเงินของกองทุนทั้งสองไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวโดยมีลักษณะปกปิดจนกระทั่งมีการตรวจสอบพบ ผู้ฟ้องคดีจึงยอมรับว่านำเงินไปใช้ประโยชน์จริง การกระทำของผู้ฟ้องคดีย่อมทำให้ประชาชนในหมู่บ้านขาดความเชื่อถือและศรัทธาต่อ
ผู้ฟ้องคดีในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตรักษาเกียรติศักดิ์และการเป็นตัวอย่าง
ที่ดีแก่ประชาชน อันส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยรวม
ถือได้ว่า...เป็นการกระทำอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อ ๔๖ วรรคสอง ของระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๓๗ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนการดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาเป็นคนละส่วนกับการลงโทษทางวินัย ซึ่งผลของคดีแพ่งหรือคดีอาญาเป็นเพียงพยานหลักฐานทางวินัยอย่างหนึ่ง ที่ผู้มีอำนาจลงโทษทางวินัยอาจนำมาประกอบในการพิจารณาวินิจฉัยทางวินัยเท่านั้น และการล้างมลทินดังกล่าวมีผลเพียงเป็นการลบล้างประวัติการถูกลงโทษ หรือลงทัณฑ์ทางวินัย โดยถือว่าผู้ที่ได้รับการล้างมลทินไม่เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยเท่านั้น หาได้มีผลให้คำสั่งปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการกลายเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด
อีกทั้ง มาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ ได้บัญญัติว่า การล้างมลทินตามมาตรา ๔ และมาตรา ๕ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับการล้างมลทินในอันที่จะเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งย่อมหมายความว่า ในกรณีนี้ผู้ฟ้องคดีไม่อาจอ้างการที่ได้รับการล้างมลทินในการเรียกร้องสิทธิประโยชน์ที่ตนเสียไปจากคำสั่งปลดออกจากราชการ เช่น เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง หรือค่าเสียหายใด ๆ
ในระหว่างที่ตนไม่ได้รับราชการ ซึ่งรวมถึงการที่จะให้ผู้มีอำนาจสั่งรับผู้ฟ้องคดีกลับเข้ารับราชการตามเดิมด้วย ข้ออ้างของผู้ฟ้องคดีไม่อาจรับฟังได้ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๑๒๓/๒๕๕๙)
คดีนี้...นับว่าเป็นอุทาหรณ์ที่สำคัญของผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาเงินหลวงที่ต้องยับยั้งชั่งใจให้ดี ยึดมั่นในความสุจริต เพราะหากเผลอกระทำผิด นอกจากจะต้องชดใช้เงินแล้วยังอาจจบชีวิตราชการ รวมทั้งไม่อาจอ้างผลทางคดีอาญาหรือการล้างมลทิน เป็นเหตุให้คำสั่งลงโทษที่ได้ดำเนินการทางวินัยมาโดยชอบแล้ว กลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ นอกจากนี้...การยักยอกเงินแม้จะคืนเงินแล้วก็ถือว่าได้กระทำความผิดสำเร็จแล้ว
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่สายด่วนศาลปกครอง ๑๓๕๕ รวมทั้งสืบค้นบทความเรื่องอื่น ๆ ได้จากwww.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)
โดย ป. ธรรมศลีญ์
เงินของผู้อื่นหรือเงินหลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งต้องมีความยับยั้งชั่งใจตนเอง ไม่ให้อำนาจของเงินทองทำให้เกิดความโลภ ความอยากได้ โดยมองข้ามความถูกต้องและโทษทางกฎหมาย ซึ่งหากทำผิด…นอกจากจะถูกดำเนินคดีทางแพ่งและทางอาญาแล้ว ยังต้องถูกดำเนินการทางวินัยอีกด้วย
คดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ เป็นเรื่องราวของผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นลูกจ้างประจำ สังกัดกรมชลประทาน ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนในหมู่บ้านให้เป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ๒ กองทุน และทำหน้าที่เหรัญญิกดูแลด้านการเงิน
หลังจากมีการตรวจสอบบัญชี...ทำให้เรื่องแดงขึ้นว่าผู้ฟ้องคดีได้นำเงินของกองทุน
ทั้งสองไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว !!
ผู้แทนของกองทุนหมู่บ้านจึงแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับผู้ฟ้องคดีในข้อหายักยอกทรัพย์ และฟ้องคดีแพ่งต่อศาลจังหวัดเพื่อเรียกเงินคืนจากผู้ฟ้องคดี
ต่อมา กรมชลประทานมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ซึ่งเห็นว่าผู้ฟ้องคดีได้นำเงินของกองทุนไปใช้ส่วนตัว ทำให้ถูกดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่ง พฤติกรรมดังกล่าวเป็นการเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการอย่างร้ายแรง ตามข้อ ๔๖ วรรคสอง ของระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๓๗ เห็นควรลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ และอธิบดีกรมชลประทานมีคำสั่งลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า ในคดีอาญาได้มีการยอมความกัน คดีแพ่งก็ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และตนเองได้ชดใช้เงินคืนให้กองทุนทั้งสองครบถ้วนแล้ว อีกทั้งตนเองมิได้ยักยอกเงิน หากแต่เป็นความเข้าใจผิดเพราะตนได้กู้ยืมเงินด้วยวาจาจากกองทุน พฤติกรรมของตนจึงไม่ถือเป็นการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง คำสั่งลงโทษของผู้ถูกฟ้องคดีจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบ
ด้วยกฎหมาย
นอกจากนี้... หลังจากผู้ฟ้องคดีได้รับคำสั่งลงโทษปลดออกจากราชการ ได้มีพระราชบัญญัติล้างมลทิน ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช มีพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา พ.ศ. ๒๕๕๐ ตนเองจึงอยู่ในข่ายมีสิทธิได้รับการล้างมลทิน
ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษต่อ อ.ก.พ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่ถูกยกอุทธรณ์ จึงยื่นฟ้องอธิบดีกรมชลประทานต่อศาลปกครองเพื่อขอให้มีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งลงโทษปลดออกจากราชการ
มาดูกันต่อว่า... คำสั่งลงโทษปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการดังกล่าว จะเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นลูกจ้างประจำ ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนในหมู่บ้านให้เป็นกรรมการกองทุนหมู่บ้าน และเป็นเหรัญญิก แต่กลับนำเงินของกองทุนทั้งสองไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวโดยมีลักษณะปกปิดจนกระทั่งมีการตรวจสอบพบ ผู้ฟ้องคดีจึงยอมรับว่านำเงินไปใช้ประโยชน์จริง การกระทำของผู้ฟ้องคดีย่อมทำให้ประชาชนในหมู่บ้านขาดความเชื่อถือและศรัทธาต่อ
ผู้ฟ้องคดีในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตรักษาเกียรติศักดิ์และการเป็นตัวอย่าง
ที่ดีแก่ประชาชน อันส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยรวม
ถือได้ว่า...เป็นการกระทำอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อ ๔๖ วรรคสอง ของระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๓๗ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนการดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาเป็นคนละส่วนกับการลงโทษทางวินัย ซึ่งผลของคดีแพ่งหรือคดีอาญาเป็นเพียงพยานหลักฐานทางวินัยอย่างหนึ่ง ที่ผู้มีอำนาจลงโทษทางวินัยอาจนำมาประกอบในการพิจารณาวินิจฉัยทางวินัยเท่านั้น และการล้างมลทินดังกล่าวมีผลเพียงเป็นการลบล้างประวัติการถูกลงโทษ หรือลงทัณฑ์ทางวินัย โดยถือว่าผู้ที่ได้รับการล้างมลทินไม่เคยถูกลงโทษหรือลงทัณฑ์ทางวินัยเท่านั้น หาได้มีผลให้คำสั่งปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการกลายเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด
อีกทั้ง มาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินฯ ได้บัญญัติว่า การล้างมลทินตามมาตรา ๔ และมาตรา ๕ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับการล้างมลทินในอันที่จะเรียกร้องสิทธิหรือประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งย่อมหมายความว่า ในกรณีนี้ผู้ฟ้องคดีไม่อาจอ้างการที่ได้รับการล้างมลทินในการเรียกร้องสิทธิประโยชน์ที่ตนเสียไปจากคำสั่งปลดออกจากราชการ เช่น เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง หรือค่าเสียหายใด ๆ
ในระหว่างที่ตนไม่ได้รับราชการ ซึ่งรวมถึงการที่จะให้ผู้มีอำนาจสั่งรับผู้ฟ้องคดีกลับเข้ารับราชการตามเดิมด้วย ข้ออ้างของผู้ฟ้องคดีไม่อาจรับฟังได้ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๑๒๓/๒๕๕๙)
คดีนี้...นับว่าเป็นอุทาหรณ์ที่สำคัญของผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาเงินหลวงที่ต้องยับยั้งชั่งใจให้ดี ยึดมั่นในความสุจริต เพราะหากเผลอกระทำผิด นอกจากจะต้องชดใช้เงินแล้วยังอาจจบชีวิตราชการ รวมทั้งไม่อาจอ้างผลทางคดีอาญาหรือการล้างมลทิน เป็นเหตุให้คำสั่งลงโทษที่ได้ดำเนินการทางวินัยมาโดยชอบแล้ว กลายเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมายได้ นอกจากนี้...การยักยอกเงินแม้จะคืนเงินแล้วก็ถือว่าได้กระทำความผิดสำเร็จแล้ว
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่สายด่วนศาลปกครอง ๑๓๕๕ รวมทั้งสืบค้นบทความเรื่องอื่น ๆ ได้จากwww.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)
โดย ป. ธรรมศลีญ์