ยุคนี้... ไม่ว่าจะหันไปทางไหน โฆษณาก็อยู่รอบตัว... ทั้งป้ายโฆษณากลางแจ้ง ในสื่อโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ รวมทั้งสื่อออนไลน์ แถมยังมีโฆษณาแฝงต่าง ๆ อีกด้วย เพราะโฆษณาเป็นกลยุทธ์ในการนำเสนอสินค้าของผู้ประกอบกิจการที่จะเข้าถึงตัวผู้บริโภคได้ง่ายและรวดเร็ว ข้อความในโฆษณา... นิยมที่จะอ้างอิง ผลการทดสอบสินค้าจากสถาบัน อ้างสถิติ รวมถึงตัวเลข เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อถือในคุณภาพของสินค้าและตัดสินใจเลือกใช้สินค้านั้น ๆ
อย่างไรก็ตาม... ข้อความในการโฆษณาดังกล่าว ไม่ใช่จะระบุอย่างไรก็ได้... เพราะต้องไม่เป็นข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคม เช่น ข้อความเกินจริง รวมทั้งต้องไม่เป็นข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรา ๒๒ วรรคสอง (๒) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ ทั้งนี้ การพิจารณาข้อความในโฆษณาว่า กรณีจะเป็นข้อความที่เกินจริง หรือจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือไม่ ? จะพิจารณาจากข้อเท็จจริงรายกรณีไป
อุทาหรณ์ในคอลัมน์ครบเครื่องคดีปกครองฉบับนี้ เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ประกอบกิจการค้าขายอุปกรณ์ส่องสว่าง โคมนีออน หลอดไฟฟ้า และชุดรางรับหลอดไฟฟ้า ได้รับคำสั่งจากคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา ห้ามใช้ข้อความโฆษณาชุดรางอิเล็กทรอนิกส์ในสื่อทุกชนิด เนื่องจากมีลักษณะขัดต่อกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
เรื่องราวคดีนี้มีว่า.... ผู้ฟ้องคดีได้โฆษณาชุดรางอิเล็กทรอนิกส์ในสื่อหนังสือพิมพ์ ต่อมาคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาได้มีคำสั่งห้ามผู้ฟ้องคดีใช้ข้อความในโฆษณาว่า “ประกาศลดค่าไฟฟ้า ๓๐%... เฉพาะผู้ใช้ชุดรางอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทผู้ฟ้องคดี เท่านั้น ...” ในโฆษณาชุดรางอิเล็กทรอนิกส์ทุกสื่อ เพราะมีลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า เนื่องจากมีบางรุ่นที่ประหยัดไฟฟ้าไม่ถึง ๓๐% และได้เปรียบเทียบปรับผู้ฟ้องคดีด้วย
โดยก่อนมีคำสั่งดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้เชิญผู้ฟ้องคดีให้ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีข้อความในโฆษณาชุดรางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ฟ้องคดี และเชิญผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี มาทดสอบเปรียบเทียบการใช้พลังงานไฟฟ้าของชุดรางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว
ผู้ฟ้องคดีไม่เห็นด้วย เพราะมีการทดสอบการใช้พลังงานไฟฟ้าในช่วงแรงดันไฟฟ้า ตั้งแต่
๒๑๐ โวลต์ ถึง ๒๕๐ โวลต์ พบว่าประหยัดไฟเกินกว่า ๓๐% ทั้งหมด และการโฆษณาจำเป็นต้องสั้นกระชับ โดยไม่อาจระบุข้อความแต่ละรุ่นได้ จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑) และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒) ที่วินิจฉัยยกอุทธรณ์ผู้ฟ้องคดี
ปัญหาที่พิจารณาคือ คำสั่งห้ามโฆษณาของคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ? และข้อความในโฆษณาของผู้ฟ้องคดีเข้าลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือไม่ ?
คดีนี้ ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า การพิจารณาความประหยัดไฟฟ้าของชุดรางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ฟ้องคดี จะต้องพิจารณาแยกประเภทชนิดของผลิตภัณฑ์ในค่าแรงดันไฟฟ้า ๒๒๐ โวลต์ ซึ่งเป็นแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในครัวเรือนทั่วไป จึงจะได้ค่าความประหยัดไฟฟ้าที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดซึ่งเมื่อพิจารณาจากรายงานผลการทดสอบการใช้พลังงานไฟฟ้าของบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์และบัลลาสต์แกนเหล็กที่ผู้ฟ้องคดีนำไปทดสอบที่ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พบว่าความประหยัดไฟฟ้าของชุดรางอิเล็กทรอนิกส์ ขนาด ๓๖ วัตต์
ที่แรงดันไฟฟ้า ๒๒๐ โวลต์ มีค่าประหยัดไฟฟ้าสูงสุด ๓๖.๑๒% และมีค่าต่ำสุด ๒๑.๗๘% ซึ่งสามารถคำนวณค่าเฉลี่ยได้ค่าประหยัดไฟฟ้า ๒๘.๙๕% ส่วนความประหยัดไฟฟ้าของชุดรางอิเล็กทรอนิกส์ ขนาด ๑๘ วัตต์ ที่แรงดันไฟฟ้า ๒๒๐ โวลต์ มีค่าประหยัดไฟฟ้าสูงสุด ๔๔% และมีค่าต่ำสุด ๔๑.๙๗% ซึ่งสามารถคำนวณค่าเฉลี่ยได้ค่าประหยัดไฟฟ้า ๔๒.๙๙%
แต่ข้อความโฆษณาของผู้ฟ้องคดีไม่ได้ระบุรุ่นหรือรายละเอียดของสินค้าว่าเป็นชนิดใดจึงทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า เมื่อใช้ชุดรางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ฟ้องคดีแล้ว จะสามารถประหยัดไฟฟ้าได้ ๓๐% ทุกชนิด ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริงตามรายงานผลการทดสอบดังกล่าว จึงเป็นข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าอันเป็นข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง (๒) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒
ดังนั้น คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และคำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่ผู้ฟ้องคดีโต้แย้งเรื่องค่าปรับนั้น การเปรียบเทียบปรับเป็นการดำเนินกระบวนยุติธรรมทางอาญาที่ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครอง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๖๗๓/๒๕๖๒)
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีนี้ ถือเป็นอุทาหรณ์สำหรับผู้ประกอบกิจการที่ต้องระมัดระวังในการใช้ข้อความโฆษณาสินค้า ซึ่งจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเช่น เกินความจริงหรือจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญของสินค้า นอกจากนี้... ศาลยังได้วางแนวทาง
ว่าการพิจารณาความประหยัดไฟฟ้าของชุดรางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าควรจะพิจารณาแยกประเภทชนิดของผลิตภัณฑ์ ในค่าแรงดันไฟฟ้า ๒๒๐ โวลต์ ซึ่งเป็นแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในครัวเรือนทั่วไป จึงจะได้
ค่าความประหยัดไฟฟ้าที่ผู้บริโภคได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดนั้น ๆ เพื่อความเป็นธรรมกับผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม... ปัจจุบันได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งได้ปรับปรุงบทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้เหมาะสมกับการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค อาทิ ปรับปรุงเกี่ยวกับองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้เชื่อมโยงกับกฎหมายต่าง ๆ ไม่ให้ขัดแย้งกัน และได้ปรับปรุงมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค
ด้านความปลอดภัยด้วย โดยผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในกฎหมายฉบับดังกล่าว
โดย ป. ธรรมศลีญ์
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่สายด่วนศาลปกครอง ๑๓๕๕ รวมทั้งสืบค้นบทความเรื่องอื่น ๆ ได้จากwww.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)
อย่างไรก็ตาม... ข้อความในการโฆษณาดังกล่าว ไม่ใช่จะระบุอย่างไรก็ได้... เพราะต้องไม่เป็นข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคม เช่น ข้อความเกินจริง รวมทั้งต้องไม่เป็นข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรา ๒๒ วรรคสอง (๒) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ ทั้งนี้ การพิจารณาข้อความในโฆษณาว่า กรณีจะเป็นข้อความที่เกินจริง หรือจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือไม่ ? จะพิจารณาจากข้อเท็จจริงรายกรณีไป
อุทาหรณ์ในคอลัมน์ครบเครื่องคดีปกครองฉบับนี้ เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ประกอบกิจการค้าขายอุปกรณ์ส่องสว่าง โคมนีออน หลอดไฟฟ้า และชุดรางรับหลอดไฟฟ้า ได้รับคำสั่งจากคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา ห้ามใช้ข้อความโฆษณาชุดรางอิเล็กทรอนิกส์ในสื่อทุกชนิด เนื่องจากมีลักษณะขัดต่อกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
เรื่องราวคดีนี้มีว่า.... ผู้ฟ้องคดีได้โฆษณาชุดรางอิเล็กทรอนิกส์ในสื่อหนังสือพิมพ์ ต่อมาคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาได้มีคำสั่งห้ามผู้ฟ้องคดีใช้ข้อความในโฆษณาว่า “ประกาศลดค่าไฟฟ้า ๓๐%... เฉพาะผู้ใช้ชุดรางอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทผู้ฟ้องคดี เท่านั้น ...” ในโฆษณาชุดรางอิเล็กทรอนิกส์ทุกสื่อ เพราะมีลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า เนื่องจากมีบางรุ่นที่ประหยัดไฟฟ้าไม่ถึง ๓๐% และได้เปรียบเทียบปรับผู้ฟ้องคดีด้วย
โดยก่อนมีคำสั่งดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้เชิญผู้ฟ้องคดีให้ชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีข้อความในโฆษณาชุดรางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ฟ้องคดี และเชิญผู้เชี่ยวชาญจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี มาทดสอบเปรียบเทียบการใช้พลังงานไฟฟ้าของชุดรางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว
ผู้ฟ้องคดีไม่เห็นด้วย เพราะมีการทดสอบการใช้พลังงานไฟฟ้าในช่วงแรงดันไฟฟ้า ตั้งแต่
๒๑๐ โวลต์ ถึง ๒๕๐ โวลต์ พบว่าประหยัดไฟเกินกว่า ๓๐% ทั้งหมด และการโฆษณาจำเป็นต้องสั้นกระชับ โดยไม่อาจระบุข้อความแต่ละรุ่นได้ จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑) และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒) ที่วินิจฉัยยกอุทธรณ์ผู้ฟ้องคดี
ปัญหาที่พิจารณาคือ คำสั่งห้ามโฆษณาของคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ? และข้อความในโฆษณาของผู้ฟ้องคดีเข้าลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือไม่ ?
คดีนี้ ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า การพิจารณาความประหยัดไฟฟ้าของชุดรางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ฟ้องคดี จะต้องพิจารณาแยกประเภทชนิดของผลิตภัณฑ์ในค่าแรงดันไฟฟ้า ๒๒๐ โวลต์ ซึ่งเป็นแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในครัวเรือนทั่วไป จึงจะได้ค่าความประหยัดไฟฟ้าที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดซึ่งเมื่อพิจารณาจากรายงานผลการทดสอบการใช้พลังงานไฟฟ้าของบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์และบัลลาสต์แกนเหล็กที่ผู้ฟ้องคดีนำไปทดสอบที่ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พบว่าความประหยัดไฟฟ้าของชุดรางอิเล็กทรอนิกส์ ขนาด ๓๖ วัตต์
ที่แรงดันไฟฟ้า ๒๒๐ โวลต์ มีค่าประหยัดไฟฟ้าสูงสุด ๓๖.๑๒% และมีค่าต่ำสุด ๒๑.๗๘% ซึ่งสามารถคำนวณค่าเฉลี่ยได้ค่าประหยัดไฟฟ้า ๒๘.๙๕% ส่วนความประหยัดไฟฟ้าของชุดรางอิเล็กทรอนิกส์ ขนาด ๑๘ วัตต์ ที่แรงดันไฟฟ้า ๒๒๐ โวลต์ มีค่าประหยัดไฟฟ้าสูงสุด ๔๔% และมีค่าต่ำสุด ๔๑.๙๗% ซึ่งสามารถคำนวณค่าเฉลี่ยได้ค่าประหยัดไฟฟ้า ๔๒.๙๙%
แต่ข้อความโฆษณาของผู้ฟ้องคดีไม่ได้ระบุรุ่นหรือรายละเอียดของสินค้าว่าเป็นชนิดใดจึงทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจว่า เมื่อใช้ชุดรางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ฟ้องคดีแล้ว จะสามารถประหยัดไฟฟ้าได้ ๓๐% ทุกชนิด ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริงตามรายงานผลการทดสอบดังกล่าว จึงเป็นข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าอันเป็นข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ตามมาตรา ๒๒ วรรคสอง (๒) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒
ดังนั้น คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ และคำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่ผู้ฟ้องคดีโต้แย้งเรื่องค่าปรับนั้น การเปรียบเทียบปรับเป็นการดำเนินกระบวนยุติธรรมทางอาญาที่ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลปกครอง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๖๗๓/๒๕๖๒)
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดคดีนี้ ถือเป็นอุทาหรณ์สำหรับผู้ประกอบกิจการที่ต้องระมัดระวังในการใช้ข้อความโฆษณาสินค้า ซึ่งจะต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเช่น เกินความจริงหรือจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญของสินค้า นอกจากนี้... ศาลยังได้วางแนวทาง
ว่าการพิจารณาความประหยัดไฟฟ้าของชุดรางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าควรจะพิจารณาแยกประเภทชนิดของผลิตภัณฑ์ ในค่าแรงดันไฟฟ้า ๒๒๐ โวลต์ ซึ่งเป็นแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ในครัวเรือนทั่วไป จึงจะได้
ค่าความประหยัดไฟฟ้าที่ผู้บริโภคได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดนั้น ๆ เพื่อความเป็นธรรมกับผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม... ปัจจุบันได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๖๒ ซึ่งได้ปรับปรุงบทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้เหมาะสมกับการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค อาทิ ปรับปรุงเกี่ยวกับองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้เชื่อมโยงกับกฎหมายต่าง ๆ ไม่ให้ขัดแย้งกัน และได้ปรับปรุงมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค
ด้านความปลอดภัยด้วย โดยผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในกฎหมายฉบับดังกล่าว
โดย ป. ธรรมศลีญ์
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่สายด่วนศาลปกครอง ๑๓๕๕ รวมทั้งสืบค้นบทความเรื่องอื่น ๆ ได้จากwww.admincourt.go.th เมนูวิชาการ เมนูย่อยอุทาหรณ์จากคดีปกครอง)