สวัสดีค่ะท่านผู้อ่าน นับตั้งแต่ปี 2563 มานี้ เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในทางลบมากพอสมควรเลยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาไฟไหม้ป่าที่ออสเตรเลีย ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่มีปริมาณมากในกรุงเทพมหานครและในหลาย ๆ จังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในจังหวัดเชียงใหม่ที่สถานการณ์ค่อนข้างวิกฤตเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่าฤดูร้อนแต่ละปี อุณหภูมิความร้อนก็มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
อีกด้วย ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือ การที่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลายจากมนุษย์ ซึ่งสุดท้ายแล้ว...มนุษย์เองก็ต้องรับผลกระทบที่ตามมา จนอาจส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพต่าง ๆ ได้
“ปัญหาสิ่งแวดล้อม” จึงเป็นปัญหาที่ทั่วโลกตระหนักและให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก รวมทั้งประเทศไทยด้วย สำหรับประเทศไทยมีกฎหมายหลายฉบับที่ตราขึ้นเพื่อมุ่งคุ้มครองรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายหลัก อันได้แก่ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 และกฎหมายเฉพาะเรื่องที่มีหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งใช้ควบคุมการก่อสร้างโรงงาน
นอกจากนี้ ยังมีพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ที่จะต้องใช้ประกอบกันด้วย
มาถึง...ประเด็นพิพาทที่เราจะคุยกันในวันนี้ ซึ่งเป็นเรื่องการก่อสร้างโรงงานที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นที่มาสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมประการหนึ่ง เนื่องจากสังคมได้เปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่อุตสาหกรรม โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและทันสมัย การก่อสร้างโรงงานต่าง ๆ จึงเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้น การควบคุมกิจการโรงงานตั้งแต่การก่อสร้างไปจนถึงการดำเนินกิจการ ให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเข้มงวดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น !!
มาตรการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมในส่วนขั้นตอนก่อนตั้งโรงงาน อาทิ การที่พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 กำหนดให้กิจการโรงงานที่มีหรืออาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ผู้ดำเนินการหรือผู้ขออนุญาตต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือที่เราเรียกว่า EIA (Environmental Impact Assessment Report) ก่อนยื่นคำขอตั้งโรงงาน
ในส่วนพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะและถือเป็นหลักที่ใช้กับกิจการโรงงาน ซึ่ง “ระเบียบกระทรวงอุตสาหกรรม ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการพิจารณาออกใบรับแจ้งการประกอบกิจการโรงงาน ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน และใบอนุญาตขยายโรงงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน พ.ศ. 2555” ซึ่งเป็นกฎหมายลูกของพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2535 ได้กำหนดให้สิทธิแก่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน” หรือการทำประชาพิจารณ์ ที่ให้โอกาสประชาชนที่อยู่อาศัยใกล้เคียงโรงงานที่จะก่อสร้าง และอาจได้รับผลกระทบจากการประกอบการกิจการโรงงาน ได้รับทราบข้อเท็จจริงและมีโอกาสโต้แย้งแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการนั้น ๆ อันเป็นการรับรองและคุ้มครองสิทธิของประชาชนตามมาตรา 58 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
นอกจากนี้ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ยังกำหนดให้การก่อสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นโรงงานจำพวกที่ 3 ต้องยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร รวมทั้งจะต้องยื่นคำขอเพื่อใช้อาคารเป็นโรงงาน โดยยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
มาดู...อุทาหรณ์ที่นำมาเสนอท่านผู้อ่านในวันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตั้งโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จ เครื่องจักร 233 แรงม้า ซึ่งเป็นโรงงานจำพวกที่ 3 ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๓๕)ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่กำหนดให้ต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนการพิจารณาคำขออนุญาตตั้งโรงงาน
คดีดังกล่าว...มีประเด็นพิพาทเกี่ยวกับขั้นตอนการปิดประกาศรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งเป็นหน้าที่ของอุตสาหกรรมจังหวัดฯ ที่ต้องดำเนินการตามระเบียบกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการพิจารณาออกใบรับแจ้งการประกอบกิจการโรงงาน ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน และใบอนุญาตขยายโรงงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน พ.ศ. 2555
อุตสาหกรรมจังหวัดฯ จึงได้มีประกาศรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อประกอบการพิจารณาคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ค. ซึ่งได้ระบุสาระสำคัญต่าง ๆ ของโรงงานแนบท้ายประกาศ เพื่อบุคคลใดจะให้ความเห็นเกี่ยวกับการตั้งโรงงานดังกล่าว ให้แจ้งสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฯ ทราบภายในเวลาที่กำหนด
ทั้งนี้ ในการปิดประกาศของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฯ ดังกล่าว จะต้องดำเนินการ
ปิดประกาศตามข้อ 10 ของระเบียบเดียวกัน กล่าวคือ จะต้องปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผยที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฯ 1 ฉบับ ที่ว่าการอำเภอเมืองฯ 1 ฉบับ สำนักงานเทศบาลฯ 1 ฉบับ และสถานที่ตั้งโรงงาน ค. (โรงงานที่ขอก่อสร้าง) อีก 1 ฉบับ รวมปิดประกาศไว้ 4 แห่ง
เรื่องนี้ปรากฏว่า…มีชาวบ้านโต้แย้งว่า การปิดประกาศให้ประชาชนรับทราบดังกล่าวนั้นได้ดำเนินการไม่ทั่วถึง ประชาชนในพื้นที่ไม่ทราบมาก่อนว่าจะมีการตั้งโรงงาน ทำให้ไม่ได้ใช้สิทธิคัดค้าน จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้เพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งโรงงาน ค.
คดีนี้ จากข้อเท็จจริงมีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการปิดประกาศในส่วนของการปิดประกาศ
ณ สถานที่ตั้งโรงงาน ค. ที่นำสืบไม่ได้ชัดเจนว่ามีการปิดประกาศไว้จริงหรือไม่ ?
โดยอุตสาหกรรมจังหวัดฯ อ้างว่าได้มีการปิดประกาศไว้ที่เสาไฟฟ้าบริเวณที่ตั้งโรงงาน เนื่องจากโรงงานเป็นพื้นที่โล่งจึงต้องติดไว้ที่เสาไฟฟ้าโดยมีพลาสติกเคลือบกันฝนไว้ด้วย แต่ไม่มีพยานหลักฐานใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าได้มีการปิดประกาศตามที่กล่าวอ้างจริง และไม่มีภาพถ่ายการปิดประกาศที่เสาไฟฟ้าตามที่กล่าวอ้างมาแสดง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวควรจะจัดทำเป็นบันทึกว่าได้มีการปิดประกาศวัน เดือน ปีใด ปิดไว้ ณ สถานที่ใด แล้วลงลายมือชื่อผู้ปิดประกาศพร้อมพยาน หรือไม่ก็จะต้องมีการถ่ายภาพ การปิดประกาศไว้เป็นหลักฐาน หรืออย่างน้อยเมื่อได้มีการปิดประกาศแล้วก็จะต้องทำหนังสือรายงานผลการปิดประกาศให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
เมื่อมิได้มีการดำเนินการดังกล่าว กรณีจึงไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะเชื่อได้ว่าได้มีการปิดประกาศ ณ สถานที่ตั้งโรงงาน อีกทั้ง เมื่อพิจารณาเสาไฟฟ้าต้นที่กล่าวอ้างว่ามีการปิดประกาศก็เป็นเสาที่อยู่นอกเขตพื้นที่ตั้งโรงงาน กรณีจึงไม่ถือเป็นการปิดประกาศ ณ สถานที่ตั้งโรงงาน แต่อย่างใด
ดังนั้น กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อประกอบการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ค. จึงเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยถือว่ายังไม่ได้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างถูกต้อง ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานที่พิพาท อย่างไรก็ตาม ไม่ตัดสิทธิของผู้ว่าราชการจังหวัดฯ โดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฯ ผู้รับคำขอที่จะไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ตามระเบียบกระทรวงอุตสาหกรรมฯ ดังกล่าวให้ถูกต้อง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อส. 14/2562)
คดีนี้...ถือเป็นตัวอย่างคดีสิ่งแวดล้อมที่ศาลปกครองได้คุ้มครองสิทธิของประชาชนในการที่จะได้รับทราบข้อมูล คำชี้แจง เหตุผล ตลอดจนสิทธิแสดงความคิดเห็นต่อหน่วยงานของรัฐ เพื่อนำไปประกอบ
การพิจารณาก่อนที่จะมีคำสั่งอนุญาตให้มีการจัดตั้งโรงงานที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนในบริเวณใกล้เคียง อันเป็นกระบวนการในส่วนของการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ ในการดำเนินการปิดประกาศเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้น หน่วยงานผู้มีหน้าที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมาย ระเบียบหรือประกาศกำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการรับฟังความคิดเห็นและสาระสำคัญเกี่ยวกับโรงงานที่ต้องแจ้งให้ประชาชนทราบ ซึ่งในส่วนของการปิดประกาศ ณ สถานที่ตั้งโรงงาน จะต้องปิดประกาศในเขตที่ตั้งของโรงงาน โดยไม่อาจปิดประกาศที่เสาไฟฟ้านอกเขตที่ตั้งโรงงานได้ รวมทั้งในการปิดประกาศควรจะจัดทำเป็นบันทึกว่าได้มีการปิดประกาศวัน เดือน ปีใด ปิดไว้ณ สถานที่ใด แล้วลงลายมือชื่อผู้ปิดประกาศพร้อมพยาน หรือถ่ายภาพการปิดประกาศไว้เป็นหลักฐาน รวมทั้งควรมีหนังสือรายงานผลการปิดประกาศให้ผู้บังคับบัญชาทราบด้วย
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่ สายด่วนศาลปกครอง 1355)
อีกด้วย ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือ การที่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลายจากมนุษย์ ซึ่งสุดท้ายแล้ว...มนุษย์เองก็ต้องรับผลกระทบที่ตามมา จนอาจส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพต่าง ๆ ได้
“ปัญหาสิ่งแวดล้อม” จึงเป็นปัญหาที่ทั่วโลกตระหนักและให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก รวมทั้งประเทศไทยด้วย สำหรับประเทศไทยมีกฎหมายหลายฉบับที่ตราขึ้นเพื่อมุ่งคุ้มครองรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายหลัก อันได้แก่ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 และกฎหมายเฉพาะเรื่องที่มีหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งใช้ควบคุมการก่อสร้างโรงงาน
นอกจากนี้ ยังมีพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ที่จะต้องใช้ประกอบกันด้วย
มาถึง...ประเด็นพิพาทที่เราจะคุยกันในวันนี้ ซึ่งเป็นเรื่องการก่อสร้างโรงงานที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นที่มาสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมประการหนึ่ง เนื่องจากสังคมได้เปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่อุตสาหกรรม โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่มีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและทันสมัย การก่อสร้างโรงงานต่าง ๆ จึงเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้น การควบคุมกิจการโรงงานตั้งแต่การก่อสร้างไปจนถึงการดำเนินกิจการ ให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเข้มงวดจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น !!
มาตรการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมในส่วนขั้นตอนก่อนตั้งโรงงาน อาทิ การที่พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 กำหนดให้กิจการโรงงานที่มีหรืออาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ผู้ดำเนินการหรือผู้ขออนุญาตต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือที่เราเรียกว่า EIA (Environmental Impact Assessment Report) ก่อนยื่นคำขอตั้งโรงงาน
ในส่วนพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะและถือเป็นหลักที่ใช้กับกิจการโรงงาน ซึ่ง “ระเบียบกระทรวงอุตสาหกรรม ว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการพิจารณาออกใบรับแจ้งการประกอบกิจการโรงงาน ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน และใบอนุญาตขยายโรงงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน พ.ศ. 2555” ซึ่งเป็นกฎหมายลูกของพระราชบัญญัติโรงงานพ.ศ. 2535 ได้กำหนดให้สิทธิแก่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า “การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน” หรือการทำประชาพิจารณ์ ที่ให้โอกาสประชาชนที่อยู่อาศัยใกล้เคียงโรงงานที่จะก่อสร้าง และอาจได้รับผลกระทบจากการประกอบการกิจการโรงงาน ได้รับทราบข้อเท็จจริงและมีโอกาสโต้แย้งแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการนั้น ๆ อันเป็นการรับรองและคุ้มครองสิทธิของประชาชนตามมาตรา 58 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
นอกจากนี้ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ยังกำหนดให้การก่อสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นโรงงานจำพวกที่ 3 ต้องยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร รวมทั้งจะต้องยื่นคำขอเพื่อใช้อาคารเป็นโรงงาน โดยยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
มาดู...อุทาหรณ์ที่นำมาเสนอท่านผู้อ่านในวันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตั้งโรงงานคอนกรีตผสมเสร็จ เครื่องจักร 233 แรงม้า ซึ่งเป็นโรงงานจำพวกที่ 3 ตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๓๕)ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่กำหนดให้ต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนการพิจารณาคำขออนุญาตตั้งโรงงาน
คดีดังกล่าว...มีประเด็นพิพาทเกี่ยวกับขั้นตอนการปิดประกาศรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งเป็นหน้าที่ของอุตสาหกรรมจังหวัดฯ ที่ต้องดำเนินการตามระเบียบกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการพิจารณาออกใบรับแจ้งการประกอบกิจการโรงงาน ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน และใบอนุญาตขยายโรงงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน พ.ศ. 2555
อุตสาหกรรมจังหวัดฯ จึงได้มีประกาศรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อประกอบการพิจารณาคำขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ค. ซึ่งได้ระบุสาระสำคัญต่าง ๆ ของโรงงานแนบท้ายประกาศ เพื่อบุคคลใดจะให้ความเห็นเกี่ยวกับการตั้งโรงงานดังกล่าว ให้แจ้งสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฯ ทราบภายในเวลาที่กำหนด
ทั้งนี้ ในการปิดประกาศของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฯ ดังกล่าว จะต้องดำเนินการ
ปิดประกาศตามข้อ 10 ของระเบียบเดียวกัน กล่าวคือ จะต้องปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผยที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฯ 1 ฉบับ ที่ว่าการอำเภอเมืองฯ 1 ฉบับ สำนักงานเทศบาลฯ 1 ฉบับ และสถานที่ตั้งโรงงาน ค. (โรงงานที่ขอก่อสร้าง) อีก 1 ฉบับ รวมปิดประกาศไว้ 4 แห่ง
เรื่องนี้ปรากฏว่า…มีชาวบ้านโต้แย้งว่า การปิดประกาศให้ประชาชนรับทราบดังกล่าวนั้นได้ดำเนินการไม่ทั่วถึง ประชาชนในพื้นที่ไม่ทราบมาก่อนว่าจะมีการตั้งโรงงาน ทำให้ไม่ได้ใช้สิทธิคัดค้าน จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้เพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งโรงงาน ค.
คดีนี้ จากข้อเท็จจริงมีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการปิดประกาศในส่วนของการปิดประกาศ
ณ สถานที่ตั้งโรงงาน ค. ที่นำสืบไม่ได้ชัดเจนว่ามีการปิดประกาศไว้จริงหรือไม่ ?
โดยอุตสาหกรรมจังหวัดฯ อ้างว่าได้มีการปิดประกาศไว้ที่เสาไฟฟ้าบริเวณที่ตั้งโรงงาน เนื่องจากโรงงานเป็นพื้นที่โล่งจึงต้องติดไว้ที่เสาไฟฟ้าโดยมีพลาสติกเคลือบกันฝนไว้ด้วย แต่ไม่มีพยานหลักฐานใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าได้มีการปิดประกาศตามที่กล่าวอ้างจริง และไม่มีภาพถ่ายการปิดประกาศที่เสาไฟฟ้าตามที่กล่าวอ้างมาแสดง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวควรจะจัดทำเป็นบันทึกว่าได้มีการปิดประกาศวัน เดือน ปีใด ปิดไว้ ณ สถานที่ใด แล้วลงลายมือชื่อผู้ปิดประกาศพร้อมพยาน หรือไม่ก็จะต้องมีการถ่ายภาพ การปิดประกาศไว้เป็นหลักฐาน หรืออย่างน้อยเมื่อได้มีการปิดประกาศแล้วก็จะต้องทำหนังสือรายงานผลการปิดประกาศให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
เมื่อมิได้มีการดำเนินการดังกล่าว กรณีจึงไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะเชื่อได้ว่าได้มีการปิดประกาศ ณ สถานที่ตั้งโรงงาน อีกทั้ง เมื่อพิจารณาเสาไฟฟ้าต้นที่กล่าวอ้างว่ามีการปิดประกาศก็เป็นเสาที่อยู่นอกเขตพื้นที่ตั้งโรงงาน กรณีจึงไม่ถือเป็นการปิดประกาศ ณ สถานที่ตั้งโรงงาน แต่อย่างใด
ดังนั้น กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อประกอบการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ค. จึงเป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยถือว่ายังไม่ได้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างถูกต้อง ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้เพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานที่พิพาท อย่างไรก็ตาม ไม่ตัดสิทธิของผู้ว่าราชการจังหวัดฯ โดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดฯ ผู้รับคำขอที่จะไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ตามระเบียบกระทรวงอุตสาหกรรมฯ ดังกล่าวให้ถูกต้อง (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อส. 14/2562)
คดีนี้...ถือเป็นตัวอย่างคดีสิ่งแวดล้อมที่ศาลปกครองได้คุ้มครองสิทธิของประชาชนในการที่จะได้รับทราบข้อมูล คำชี้แจง เหตุผล ตลอดจนสิทธิแสดงความคิดเห็นต่อหน่วยงานของรัฐ เพื่อนำไปประกอบ
การพิจารณาก่อนที่จะมีคำสั่งอนุญาตให้มีการจัดตั้งโรงงานที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนในบริเวณใกล้เคียง อันเป็นกระบวนการในส่วนของการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ ในการดำเนินการปิดประกาศเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้น หน่วยงานผู้มีหน้าที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมาย ระเบียบหรือประกาศกำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการรับฟังความคิดเห็นและสาระสำคัญเกี่ยวกับโรงงานที่ต้องแจ้งให้ประชาชนทราบ ซึ่งในส่วนของการปิดประกาศ ณ สถานที่ตั้งโรงงาน จะต้องปิดประกาศในเขตที่ตั้งของโรงงาน โดยไม่อาจปิดประกาศที่เสาไฟฟ้านอกเขตที่ตั้งโรงงานได้ รวมทั้งในการปิดประกาศควรจะจัดทำเป็นบันทึกว่าได้มีการปิดประกาศวัน เดือน ปีใด ปิดไว้ณ สถานที่ใด แล้วลงลายมือชื่อผู้ปิดประกาศพร้อมพยาน หรือถ่ายภาพการปิดประกาศไว้เป็นหลักฐาน รวมทั้งควรมีหนังสือรายงานผลการปิดประกาศให้ผู้บังคับบัญชาทราบด้วย
(ปรึกษาคดีปกครองได้ที่ สายด่วนศาลปกครอง 1355)