xs
xsm
sm
md
lg

ศาลแขวงปทุมวันใช้ระบบดิจิทัลป้องกัน COVID-19

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม



 
ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงปทุมวัน นำนวัตกรรมมาใช้เพื่อการเปลี่ยนผ่านศาลยุติธรรมสู่ดิจิทัล (D-Court) สื่อสารทางไกลผ่านจอภาพ เพื่อเป็นการประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรค COVID-19

วันนี้ (11 มี.ค.) นายเจตน์ คุ้มคงอมร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงปทุมวัน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ในปัจจุบัน มีการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 เป็นวงกว้าง เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรค และ เพื่อเป็นการประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ศาลแขวงปทุมวันมีการให้บริการผ่านระบบสื่อสารทางไกลผ่านจอภาพ Conference โดยมีระบบการบริการดังต่อไปนี้

1. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทออนไลน์ เป็นการเพิ่มช่องทางการไกล่เกลี่ยให้แก่คู่พิพาท โดยสามารถไกล่เกลี่ยได้เวลาใดก็ได้ สามารถยุติปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการประหยัดเวลาและ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาล

2. การอ่านคำสั่ง/คำพิพากษาของศาลโดยระบบสื่อสารทางไกลผ่านจอภาพ Conference การอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้น (เวรชี้) ผ่านระบบ Conference ระหว่าง ห้องพิจารณาคดี (เวรชี้) กับห้องพักผู้พิพากษา การอ่านคำสั่งศาลสูง ผ่านระบบ Conference ระหว่างห้องพิจารณาของศาล กับ เรือนจำ

นอกจากนี้ ศาลแขวงปทุมวัน ยังได้มีการประชาสัมพันธ์และการส่งเสริมการนำนวัตกรรมมาใช้ เพื่อการเปลี่ยนผ่านศาลยุติธรรมสู่ดิจิทัล (D-Court) เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก รวดเร็ว เป็นธรรม ทั่วถึง ลดค่าใช้จ่ายและลดภาระประชาชน ในการมาติดต่อราชการศาล ประกอบด้วย

1. EM (Electronic Monitoring) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการตรวจสอบ หรือจำกัดการเดินทางของบุคคล นำมาใช้เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ไม่มีหลักประกันให้ได้รับโอกาสในการปล่อยชั่วคราว เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

2. ระบบการส่งเอกสารและประกาศนัดไต่สวน (E-Notice system) เป็นระบบที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการประกาศนัดไต่สวนโดยวิธีลงสื่อโฆษณาทางสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการประกาศนัดไต่สวนคำร้องขอต่างๆ เช่น คำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก แทนการประกาศทางหนังสือพิมพ์ หรือใช้ลงโฆษณาประกาศคำฟ้องและเอกสารทางคดีอื่นๆ ใช้บริการได้ที่ https://enotice.coj.go.th/

3. ระบบบริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรม Case Information Online Service (CIOS) เป็นระบบบริการข้อมูลคดีที่สามารถสืบค้นและติดตามผลคดีของศาล ประกอบด้วย วันนัดพิจารณา ผลการส่งหมาย และคำสั่งศาลโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถสืบค้นและ ติดตามผลคดี ขอคัดถ่ายเอกสาร ผ่านระบบออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่ https://cios.coj.go.th

4. การใช้ระบบฐานข้อมูลหมายจับ (AWIS) เพื่อความสะดวก รวดเร็วในการจัดทำคำร้องขอให้ศาลออกหมายจับ และแบบพิมพ์หมายจับได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นระบบเดียวกัน

5. การใช้ระบบ e-Filing เป็นการยื่นคำฟ้องผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยคู่ความไม่ต้องเดินทางมาศาล ทำให้สะดวกทุกที่ ทุกเวลา และลดค่าใช้จ่าย

6. การใช้เครื่องอ่านบัตรประจำตัวประชาชน (Smart Card Reader) เป็นระบบที่ใช้ตรวจสอบบุคคลและยืนยันตัวบุคคลที่เข้ามาติดต่อราชการศาล ทำให้เกิดความปลอดภัยแก่บุคคลและทรัพย์สิน

7. การจ่ายคืนเงินค่าธรรมเนียมศาล เงินค่าปรับ และเงินกลางในคดีให้แก่คู่ความด้วยระบบ Corporate Banking เป็นระบบที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจ่ายคืนเงินในคดีให้แก่คู่ความ (เงินค่าธรรมเนียมศาล, เงินค่าปรับ, เงินกลาง) ด้วยวิธีการโอนเงิน ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตธนาคารโดยระบบ KTB Corporate Online, K-Cash connect Plus

8. การให้บริการรับชาระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเครื่อง EDC (Electronic Data Capture) เป็นระบบรับชาระเงินค่าธรรมเนียมศาล เงินค่าปรับ และเงินกลางด้วยบัตรเครดิต บัตรเดบิต และ QR Code ผ่านเครื่อง EDC ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัยในการชำระเงิน

9. ระบบบริการคัดถ่ายคำพิพากษาระหว่างศาลยุติธรรมทั่วประเทศ Decision System (DSS) เป็นระบบให้บริการคัดสำเนาคำพิพากษาระหว่างศาลทั่วประเทศในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คู่ความสามารถคัดสำเนาคาพิพากษาระหว่างศาลยุติธรรม ที่ได้อ่านให้คู่ความฟังตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 59 เป็นต้นไปได้ทั่วประเทศ

10. การจัดเก็บสำนวนคดีด้วยโปรแกรมจัดเก็บสำนวนคดีอิเล็กทรอนิกส์ (Scan Master) เป็นการจัดเก็บข้อมูลสำนวนคดีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเรียกใช้สำนวน และเพิ่มความปลอดภัยในการจัดเก็บเอกสาร

11. ระบบติดตามสำนวนคดี (Tracking System) เป็นระบบที่จัดทำขึ้นสำหรับทนายความ ประชาชนที่เป็นคู่ความ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในคดี และผู้ที่เกี่ยวข้องในการติดตามสำนวนคดี สามารถใช้บริการได้ที่ https://cios.coj.go.th/tracking/

12. การจัดพิมพ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ภายใน 10 วันทำการ เพื่อให้คู่ความ ทนายความสามารถขอคัดสำเนาคำพิพากษา หรือคำสั่งได้โดยง่าย และรวดเร็วภายในระยะเวลาตามกำหนด 10 วันทำการหลังจากคดีแล้วเสร็จ

13. ระบบค้นหาเขตอำนาจศาล (Jurisdiction) เป็นระบบที่จัดทำขึ้นเพื่อให้สามารถสืบค้นเขตอำนาจของศาลต่างๆ โดยค้นจากชื่อศาล เพื่อแสดงพื้นที่เขตอำนาจในการพิจารณาคดี หรือระบุชื่อจังหวัดและอำเภอเพื่อแสดงว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตอำนาจของศาลใด ใช้บริการได้ที่ https://pubdata.coj.go.th/jurisdiction/

14. ระบบสืบค้นข้อมูลคำพิพากษาออนไลน์ เป็นระบบเผยแพร่คำพิพากษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล และเผยแพร่ข้อมูลทางกฎหมายให้กับประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจ นำไปสู่ความเข้าใจในข้อกฎหมาย แนวทางการวินิจฉัยในเบื้องต้น รวมทั้งสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยใช้บริการได้ที่ http://www.decision.coj.go.th/

15. ระบบค้นหาอัตราค่านำหมายศาลยุติธรรม เป็นระบบที่จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คู่ความ หรือประชาชนสืบค้นข้อมูลอัตราค่านำหมายของศาลยุติธรรมทั่วประเทศ สามารถใช้บริการได้ที่ http://exp.coj.go.th/sentnotice/




กำลังโหลดความคิดเห็น