ขณะนี้แผนยุทธศาสตร์ศาลปกครอง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558-2561 ได้ประกาศใช้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยแผนฉบับดังกล่าวนี้นอกจากได้เปิดโอกาสให้ประชาคมศาลปกครองทุกคนมีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็น วิเคราะห์ปัญหาความต้องการ และเสนอแนะทิศทางการพัฒนางานของศาลปกครองในขั้นตอนต่างๆ ของการจัดทำแผนแล้ว ยังเป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้ประชาชนและทุกภาคส่วนของสังคม มีส่วนร่วมในการสะท้อนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ศาลปกครอง อันถือได้ว่าเป็นแผนยุทธศาสตร์ฉบับแรกที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ประการสำคัญ...ศาลปกครองได้มีการประกาศวิสัยทัศน์ใหม่ คือ“ศาลปกครองเป็นสถาบันหลักที่ใช้อำนาจตุลาการในการอำนวยความยุติธรรมทางปกครอง ตามหลักนิติธรรม อย่างมีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานในระดับสากล ก่อให้เกิดบรรทัดฐานการบริหารราชการแผ่นดิน และสร้างความสมดุลระหว่างสิทธิและเสรีภาพของประชาชนกับประโยชน์สาธารณะ” โดยได้เพิ่มเติมข้อความในส่วนที่ขีดเส้นใต้ ทั้งนี้เพื่อต้องการสื่อให้เห็นถึงเจตนารมณ์และเป้าหมายในการทำงานของศาลปกครองอย่างชัดเจน และให้ประชาชนได้รับรู้ถึงเจตคติ ความมุ่งมั่นในการทำหน้าที่ของศาลปกครอง และร่วมกันพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางปกครองของไทยให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ โดยครองธรรมได้มีโอกาสอ่านและศึกษาแผนยุทธศาสตร์ของศาลปกครองดังกล่าว จึงขอนำข้อมูลในแผนยุทธศาสตร์มาบอกเล่าถึงทิศทางการทำงานของศาลปกครอง โดยสังเขป ดังนี้ครับ
แผนยุทธศาสตร์ฉบับที่ 4 ของศาลปกครอง ประกอบไปด้วย 5 พันธกิจ 6 ยุทธศาสตร์ และ 26 กลยุทธ์ ในการขับเคลื่อนภารกิจของศาลปกครองให้บรรลุผลตามวิสัยทัศน์ กล่าวคือ
พันธกิจที่ 1 พิพากษาคดีและบังคับคดีปกครองด้วยความถูกต้อง เป็นธรรม รวดเร็ว และเกิดสัมฤทธิผล ทุกภาคส่วนในสังคมเข้าถึงการอำนวยความยุติธรรมทางปกครองได้โดยง่ายและทั่วถึง
พันธกิจที่ 2 วางหลักปฏิบัติราชการทางปกครองที่เป็นบรรทัดฐานในการใช้อำนาจทางปกครองที่เป็นธรรม เพื่อป้องกันและลดการเกิดข้อพิพาททางปกครอง
พันธกิจที่ 3 ยกระดับการดำเนินงานของศาลปกครองให้มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และมีธรรมาภิบาล เพื่อให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้รับการบริการอย่างมีคุณภาพ
พันธกิจที่ 4 เสริมสร้างและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายปกครองและหลักปฏิบัติราชการจากคำพิพากษาของศาลปกครองให้แก่ทุกภาคส่วนในสังคม
พันธกิจที่ 5 เสริมสร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับ 6 ยุทธศาสตร์ ในการดำเนินงานตามพันธกิจดังกล่าว ประกอบด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 เสริมสร้างและพัฒนามาตรฐานการพิจารณาพิพากษาคดีและบังคับคดีปกครองที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเพิ่มรูปแบบ วิธีการ และช่องทางที่หลากหลายในการเข้าถึงการอำนวยความยุติธรรมทางปกครอง โดยมีกลยุทธ์ คือ พัฒนาระบบบริหารจัดการคดีปกครองให้มีคุณภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อรองรับปริมาณคดีและความซับซ้อนของคดีที่เพิ่มขึ้น วิเคราะห์และจัดอัตรากำลังในการทำงานให้เหมาะสม พัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างความเชี่ยวชาญแก่บุคลากรของศาลปกครอง ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีและการบังคับคดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนการจัดตั้งศาลปกครองให้ครอบคลุมในทุกภูมิภาค และการพัฒนาช่องทางหรือวิธีการในการเข้าถึงความยุติธรรมทางปกครองให้มีความหลากหลายและสะดวกยิ่งขึ้น เป็นต้น
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาแนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองให้มีมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เพื่อวางหลักกฎหมายปกครองและหลักปฏิบัติราชการทางปกครองที่เป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการ รวมทั้งเสริมสร้างและเผยแพร่ความรู้ให้ทุกภาคส่วนในสังคมอย่างเป็นระบบและทั่วถึง มีกลยุทธ์คือ พัฒนาคุณภาพคำพิพากษา/คำสั่งของศาลปกครองให้เป็นมาตรฐานสากลและมีบรรทัดฐานเดียวกันอย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างความรู้และพัฒนารูปแบบหรือวิธีการในการเสริมสร้างความรู้จากแนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองให้กลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นระบบและทั่วถึง
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบบริหารจัดการภายในองค์กรให้มีความรวดเร็วและมีคุณภาพตามมาตรฐานในระดับสากล เพื่อให้บริการแก่ทุกภาคส่วนในสังคมอย่างมีคุณภาพ มีกลยุทธ์ อาทิ พัฒนาระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์ และพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร ยกระดับมาตรฐานการให้บริการ เพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้บริการประชาชนและรองรับการทำงานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการพัฒนาสิทธิประโยชน์และคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมการศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาระบบบริหารงานศาล จัดการองค์ความรู้และสร้างนวัตกรรมในการพัฒนาการอำนวยความยุติธรรมทางปกครอง เพื่อเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง โดยมีกลยุทธ์ ได้แก่ การสร้างองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานทางวิชาการ ส่งเสริมการนำผลการศึกษาวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบงานศาลและการอำนวยความยุติธรรมทางปกครองอย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนารูปแบบ กลไก การประสานและบูรณาการความสัมพันธ์และความร่วมมือทางวิชาการกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ มีกลยุทธ์ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และขยายเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการทั้งภายในและภายนอกประเทศ ผ่านกลไกความร่วมมือในรูปแบบที่หลากหลาย
ยุทธศาสตร์ที่ 6 เสริมสร้างวัฒนธรรมการทำงาน จริยธรรมและธรรมาภิบาลภายในองค์กร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของทุกภาคส่วนในสังคมต่อการอำนวยความยุติธรรมทางปกครอง มีกลยุทธ์ อาทิ เสริมสร้างจิตสำนึกในการการอุทิศตนเพื่อประโยชน์ราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถ เสริมสร้างธรรมาภิบาลในองค์กรและวัฒนธรรมศาลปกครอง เป็นต้น
โดยในปี 2558 ซึ่งเป็นปีแรกของการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ฉบับที่ 4 นี้ ศาลปกครองได้กำหนดให้เป็น “ปีแห่งการยกระดับมาตรฐานระบบบริหารจัดการคดีปกครอง” ซึ่งมีกรอบการดำเนินงานใน 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการยกระดับมาตรฐานระบบบริหารจัดการคดี โดยดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยคัดกรองคดีเพื่อจำแนกประเภทคดีตั้งแต่ต้น สอบทานและปรับปรุงความเหมาะสมของขั้นตอนการดำเนินกระบวนวิธีพิจารณาคดีปกครองและระบบบริหารสำนวนคดี กำหนดกรอบมาตรฐานในการพิจารณาคดีตลอดจนเร่งรัดคดีที่ค้างการพิจารณา (คดีทั่วไปพิจารณาแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 2 ปี คดีสิ่งแวดล้อมและคดีบริหารงานบุคคลภายใน 1 ปี กรณีคำสั่งรับคำฟ้องหรือไม่รับคำฟ้องพิจารณาแล้วเสร็จภายใน 1 เดือน และคำสั่งระหว่างพิจารณา เช่น คำสั่งทุเลาหรือบรรเทาทุกข์ชั่วคราว กรณีฉุกเฉินภายใน 7 วัน กรณีทั่วไปภายใน 3 เดือน สำหรับการจัดการคดีค้างของศาลปกครองสูงสุด คดีที่รับเข้าตั้งแต่ปี 2552 ลงไป ให้พิจารณาแล้วเสร็จภายในปี 2558 และศาลปกครองชั้นต้น คดีที่รับเข้าตั้งแต่ปี 2555 ลงไป ให้พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในปี 2558) การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้การพิจารณาคดีและการบังคับคดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้ระบบ e-court และการใช้ระบบระงับข้อพิพาททางเลือก (ADR) 2.ด้านการบริหารและพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการบริหารจัดการคดีในเชิงรุก ด้วยการเร่งดำเนินการคัดเลือกตุลาการศาลปกครองให้เพียงพอต่อการพิจารณาและสะสางคดีที่คงค้าง สอบทานและจัดกรอบอัตรากำลังบุคลากรให้เหมาะสมสอดคล้องกับปริมาณงาน ดำเนินการปรับปรุงบทบาทหน้าที่และทบทวนกรอบมาตรฐานงานของพนักงานคดีปกครองซึ่งทำหน้าที่ช่วยเหลืองานตุลาการให้มีความเหมาะสม เสริมสร้างความเชี่ยวชาญและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ฯลฯ
3. ด้านการพัฒนาคุณภาพการให้บริการและเพิ่มช่องทางการอำนวยความยุติธรรมทางปกครอง โดยพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนในรูปแบบเบ็ดเสร็จ (On Stop Service) พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรให้พร้อมรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มีการเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์ขับเคลื่อนความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Readiness Center: ARC) ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการพิจารณาคดีและการให้บริการประชาชน รวมทั้งพัฒนารูป วิธีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ทันสมัยและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนการเร่งก่อสร้างที่ทำการศาลปกครองในภูมิภาคเพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครองได้อย่างสะดวกและทั่วถึงยิ่งขึ้น
โดยในทุกกลยุทธ์ล้วนมุ่งไปสู่...การส่งมอบผลการพิจารณาคดีที่มีคุณภาพ (ตามหลักนิติธรรม มีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานในระดับสากล และก่อให้เกิดบรรทัดฐานการบริหารราชการแผ่นดิน) และด้วยความรวดเร็ว ทันต่อการแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี รวมทั้งลดปริมาณคดีที่ค้างสะสม ซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลปกครองได้ตระหนักและได้พยายามเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากผลการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2554-2557) ที่ผ่านมานั้น ศาลปกครองสามารถเร่งรัดและพัฒนาระบบบริหารจัดการคดี รวมทั้งได้จัดตั้งแผนกคดีเฉพาะขึ้นคือแผนกคดีสิ่งแวดล้อมและแผนกคดีบริหารงานบุคคล เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการพิจารณาคดี ส่งผลให้สถิติคดีที่ค้างการพิจารณาเกินกรอบเวลามาตรฐาน (2 ปี ขึ้นไป) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 เป็นต้นมา ศาลปกครองชั้นต้นสามารถพิจารณาคดีเข้าใหม่และคดีที่ค้างสะสมเกินกรอบเวลามาตรฐานได้แล้วเสร็จมากขึ้น ทำให้มีคดีค้างการพิจารณาเกินกรอบเวลามาตรฐาน ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2557 คงเหลือจำนวน 2,610 คดี ซึ่งต่ำกว่าข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2554 ที่มีจำนวน 2,864 คดี อันแสดงให้เห็นว่าศาลปกครองชั้นต้นสามารถพิจารณาคดีเข้าใหม่ และคดีที่ค้างสะสมจากปีก่อนๆ ได้จำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ทำให้จำนวนคดีค้างสะสมในช่วงปลายแผนยุทธศาสตร์ไม่เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าในช่วงต้นแผน สำหรับสถิติการพิจารณาคดีที่มีนโยบายให้เร่งรัดการพิจารณาเนื่องจากค้างเกินกรอบเวลามาตรฐานเป็นเวลานานนั้น ศาลปกครองชั้นต้นสามารถพิจารณาคดีกลุ่มนี้ได้แล้วเสร็จรวมถึงร้อยละ 83.82 (จำนวน 5,537 คดี จาก 6,606 คดี ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2557) ส่วนสถิติการบังคับคดีปกครอง พบว่า ระหว่างปี พ.ศ.2554-2557 มีคดีเข้าสู่การบังคับคดีจำนวน 3,909 คดี โดยสำนักงานศาลปกครองสามารถบังคับคดีได้แล้วเสร็จทั้งสิ้น 3,096 คดี สำหรับยอดสรุปรวมนับแต่ศาลปกครองเปิดทำการจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2557 นั้น ได้มีคดีเข้าสู่การพิจารณาทั้งสิ้น 100,852 คดี พิจารณาแล้วเสร็จจำนวน 79,417 คดี คิดเป็นร้อยละ 78.75 และมีคดีคงค้างสะสม จำนวน 21,435 คดี คิดเป็นร้อยละ 21.25 ของคดีรับเข้าทั้งหมด
จะเห็นได้ว่า ผลการดำเนินงานของศาลปกครองที่ผ่านมา... ได้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมไทยในการทำหน้าที่เป็นเสาหลักของกระบวนการยุติธรรมทางปกครองไทยและการแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองมาโดยตลอด และทิศทางการทำงานของศาลปกครองก้าวต่อไปนี้..จะเป็นย่างก้าวแห่งการทำงานเชิงรุก อย่างเข้มแข็งและพร้อมเพรียง เพื่อส่งคืนความสุขและส่งมอบความเป็นธรรมทางปกครองให้กับประชาชนและสังคมไทย...
ประการสำคัญ...ศาลปกครองได้มีการประกาศวิสัยทัศน์ใหม่ คือ“ศาลปกครองเป็นสถาบันหลักที่ใช้อำนาจตุลาการในการอำนวยความยุติธรรมทางปกครอง ตามหลักนิติธรรม อย่างมีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานในระดับสากล ก่อให้เกิดบรรทัดฐานการบริหารราชการแผ่นดิน และสร้างความสมดุลระหว่างสิทธิและเสรีภาพของประชาชนกับประโยชน์สาธารณะ” โดยได้เพิ่มเติมข้อความในส่วนที่ขีดเส้นใต้ ทั้งนี้เพื่อต้องการสื่อให้เห็นถึงเจตนารมณ์และเป้าหมายในการทำงานของศาลปกครองอย่างชัดเจน และให้ประชาชนได้รับรู้ถึงเจตคติ ความมุ่งมั่นในการทำหน้าที่ของศาลปกครอง และร่วมกันพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางปกครองของไทยให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ โดยครองธรรมได้มีโอกาสอ่านและศึกษาแผนยุทธศาสตร์ของศาลปกครองดังกล่าว จึงขอนำข้อมูลในแผนยุทธศาสตร์มาบอกเล่าถึงทิศทางการทำงานของศาลปกครอง โดยสังเขป ดังนี้ครับ
แผนยุทธศาสตร์ฉบับที่ 4 ของศาลปกครอง ประกอบไปด้วย 5 พันธกิจ 6 ยุทธศาสตร์ และ 26 กลยุทธ์ ในการขับเคลื่อนภารกิจของศาลปกครองให้บรรลุผลตามวิสัยทัศน์ กล่าวคือ
พันธกิจที่ 1 พิพากษาคดีและบังคับคดีปกครองด้วยความถูกต้อง เป็นธรรม รวดเร็ว และเกิดสัมฤทธิผล ทุกภาคส่วนในสังคมเข้าถึงการอำนวยความยุติธรรมทางปกครองได้โดยง่ายและทั่วถึง
พันธกิจที่ 2 วางหลักปฏิบัติราชการทางปกครองที่เป็นบรรทัดฐานในการใช้อำนาจทางปกครองที่เป็นธรรม เพื่อป้องกันและลดการเกิดข้อพิพาททางปกครอง
พันธกิจที่ 3 ยกระดับการดำเนินงานของศาลปกครองให้มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และมีธรรมาภิบาล เพื่อให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้รับการบริการอย่างมีคุณภาพ
พันธกิจที่ 4 เสริมสร้างและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายปกครองและหลักปฏิบัติราชการจากคำพิพากษาของศาลปกครองให้แก่ทุกภาคส่วนในสังคม
พันธกิจที่ 5 เสริมสร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับ 6 ยุทธศาสตร์ ในการดำเนินงานตามพันธกิจดังกล่าว ประกอบด้วย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 เสริมสร้างและพัฒนามาตรฐานการพิจารณาพิพากษาคดีและบังคับคดีปกครองที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเพิ่มรูปแบบ วิธีการ และช่องทางที่หลากหลายในการเข้าถึงการอำนวยความยุติธรรมทางปกครอง โดยมีกลยุทธ์ คือ พัฒนาระบบบริหารจัดการคดีปกครองให้มีคุณภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อรองรับปริมาณคดีและความซับซ้อนของคดีที่เพิ่มขึ้น วิเคราะห์และจัดอัตรากำลังในการทำงานให้เหมาะสม พัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างความเชี่ยวชาญแก่บุคลากรของศาลปกครอง ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีและการบังคับคดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนการจัดตั้งศาลปกครองให้ครอบคลุมในทุกภูมิภาค และการพัฒนาช่องทางหรือวิธีการในการเข้าถึงความยุติธรรมทางปกครองให้มีความหลากหลายและสะดวกยิ่งขึ้น เป็นต้น
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาแนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองให้มีมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เพื่อวางหลักกฎหมายปกครองและหลักปฏิบัติราชการทางปกครองที่เป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติราชการ รวมทั้งเสริมสร้างและเผยแพร่ความรู้ให้ทุกภาคส่วนในสังคมอย่างเป็นระบบและทั่วถึง มีกลยุทธ์คือ พัฒนาคุณภาพคำพิพากษา/คำสั่งของศาลปกครองให้เป็นมาตรฐานสากลและมีบรรทัดฐานเดียวกันอย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างความรู้และพัฒนารูปแบบหรือวิธีการในการเสริมสร้างความรู้จากแนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองให้กลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นระบบและทั่วถึง
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบบริหารจัดการภายในองค์กรให้มีความรวดเร็วและมีคุณภาพตามมาตรฐานในระดับสากล เพื่อให้บริการแก่ทุกภาคส่วนในสังคมอย่างมีคุณภาพ มีกลยุทธ์ อาทิ พัฒนาระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์ และพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร ยกระดับมาตรฐานการให้บริการ เพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้บริการประชาชนและรองรับการทำงานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการพัฒนาสิทธิประโยชน์และคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมการศึกษาวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาระบบบริหารงานศาล จัดการองค์ความรู้และสร้างนวัตกรรมในการพัฒนาการอำนวยความยุติธรรมทางปกครอง เพื่อเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง โดยมีกลยุทธ์ ได้แก่ การสร้างองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานทางวิชาการ ส่งเสริมการนำผลการศึกษาวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาระบบงานศาลและการอำนวยความยุติธรรมทางปกครองอย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนารูปแบบ กลไก การประสานและบูรณาการความสัมพันธ์และความร่วมมือทางวิชาการกับภาคส่วนต่างๆ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ มีกลยุทธ์ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์และขยายเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการทั้งภายในและภายนอกประเทศ ผ่านกลไกความร่วมมือในรูปแบบที่หลากหลาย
ยุทธศาสตร์ที่ 6 เสริมสร้างวัฒนธรรมการทำงาน จริยธรรมและธรรมาภิบาลภายในองค์กร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของทุกภาคส่วนในสังคมต่อการอำนวยความยุติธรรมทางปกครอง มีกลยุทธ์ อาทิ เสริมสร้างจิตสำนึกในการการอุทิศตนเพื่อประโยชน์ราชการอย่างเต็มกำลังความสามารถ เสริมสร้างธรรมาภิบาลในองค์กรและวัฒนธรรมศาลปกครอง เป็นต้น
โดยในปี 2558 ซึ่งเป็นปีแรกของการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ฉบับที่ 4 นี้ ศาลปกครองได้กำหนดให้เป็น “ปีแห่งการยกระดับมาตรฐานระบบบริหารจัดการคดีปกครอง” ซึ่งมีกรอบการดำเนินงานใน 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการยกระดับมาตรฐานระบบบริหารจัดการคดี โดยดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยคัดกรองคดีเพื่อจำแนกประเภทคดีตั้งแต่ต้น สอบทานและปรับปรุงความเหมาะสมของขั้นตอนการดำเนินกระบวนวิธีพิจารณาคดีปกครองและระบบบริหารสำนวนคดี กำหนดกรอบมาตรฐานในการพิจารณาคดีตลอดจนเร่งรัดคดีที่ค้างการพิจารณา (คดีทั่วไปพิจารณาแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 2 ปี คดีสิ่งแวดล้อมและคดีบริหารงานบุคคลภายใน 1 ปี กรณีคำสั่งรับคำฟ้องหรือไม่รับคำฟ้องพิจารณาแล้วเสร็จภายใน 1 เดือน และคำสั่งระหว่างพิจารณา เช่น คำสั่งทุเลาหรือบรรเทาทุกข์ชั่วคราว กรณีฉุกเฉินภายใน 7 วัน กรณีทั่วไปภายใน 3 เดือน สำหรับการจัดการคดีค้างของศาลปกครองสูงสุด คดีที่รับเข้าตั้งแต่ปี 2552 ลงไป ให้พิจารณาแล้วเสร็จภายในปี 2558 และศาลปกครองชั้นต้น คดีที่รับเข้าตั้งแต่ปี 2555 ลงไป ให้พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในปี 2558) การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเพื่อให้การพิจารณาคดีและการบังคับคดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการใช้ระบบ e-court และการใช้ระบบระงับข้อพิพาททางเลือก (ADR) 2.ด้านการบริหารและพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการบริหารจัดการคดีในเชิงรุก ด้วยการเร่งดำเนินการคัดเลือกตุลาการศาลปกครองให้เพียงพอต่อการพิจารณาและสะสางคดีที่คงค้าง สอบทานและจัดกรอบอัตรากำลังบุคลากรให้เหมาะสมสอดคล้องกับปริมาณงาน ดำเนินการปรับปรุงบทบาทหน้าที่และทบทวนกรอบมาตรฐานงานของพนักงานคดีปกครองซึ่งทำหน้าที่ช่วยเหลืองานตุลาการให้มีความเหมาะสม เสริมสร้างความเชี่ยวชาญและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ฯลฯ
3. ด้านการพัฒนาคุณภาพการให้บริการและเพิ่มช่องทางการอำนวยความยุติธรรมทางปกครอง โดยพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนในรูปแบบเบ็ดเสร็จ (On Stop Service) พัฒนาระบบบริหารจัดการองค์กรให้พร้อมรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มีการเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์ขับเคลื่อนความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Readiness Center: ARC) ตลอดจนการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการพิจารณาคดีและการให้บริการประชาชน รวมทั้งพัฒนารูป วิธีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ทันสมัยและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ตลอดจนการเร่งก่อสร้างที่ทำการศาลปกครองในภูมิภาคเพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครองได้อย่างสะดวกและทั่วถึงยิ่งขึ้น
โดยในทุกกลยุทธ์ล้วนมุ่งไปสู่...การส่งมอบผลการพิจารณาคดีที่มีคุณภาพ (ตามหลักนิติธรรม มีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานในระดับสากล และก่อให้เกิดบรรทัดฐานการบริหารราชการแผ่นดิน) และด้วยความรวดเร็ว ทันต่อการแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี รวมทั้งลดปริมาณคดีที่ค้างสะสม ซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลปกครองได้ตระหนักและได้พยายามเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากผลการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2554-2557) ที่ผ่านมานั้น ศาลปกครองสามารถเร่งรัดและพัฒนาระบบบริหารจัดการคดี รวมทั้งได้จัดตั้งแผนกคดีเฉพาะขึ้นคือแผนกคดีสิ่งแวดล้อมและแผนกคดีบริหารงานบุคคล เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการพิจารณาคดี ส่งผลให้สถิติคดีที่ค้างการพิจารณาเกินกรอบเวลามาตรฐาน (2 ปี ขึ้นไป) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 เป็นต้นมา ศาลปกครองชั้นต้นสามารถพิจารณาคดีเข้าใหม่และคดีที่ค้างสะสมเกินกรอบเวลามาตรฐานได้แล้วเสร็จมากขึ้น ทำให้มีคดีค้างการพิจารณาเกินกรอบเวลามาตรฐาน ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2557 คงเหลือจำนวน 2,610 คดี ซึ่งต่ำกว่าข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2554 ที่มีจำนวน 2,864 คดี อันแสดงให้เห็นว่าศาลปกครองชั้นต้นสามารถพิจารณาคดีเข้าใหม่ และคดีที่ค้างสะสมจากปีก่อนๆ ได้จำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ทำให้จำนวนคดีค้างสะสมในช่วงปลายแผนยุทธศาสตร์ไม่เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าในช่วงต้นแผน สำหรับสถิติการพิจารณาคดีที่มีนโยบายให้เร่งรัดการพิจารณาเนื่องจากค้างเกินกรอบเวลามาตรฐานเป็นเวลานานนั้น ศาลปกครองชั้นต้นสามารถพิจารณาคดีกลุ่มนี้ได้แล้วเสร็จรวมถึงร้อยละ 83.82 (จำนวน 5,537 คดี จาก 6,606 คดี ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2557) ส่วนสถิติการบังคับคดีปกครอง พบว่า ระหว่างปี พ.ศ.2554-2557 มีคดีเข้าสู่การบังคับคดีจำนวน 3,909 คดี โดยสำนักงานศาลปกครองสามารถบังคับคดีได้แล้วเสร็จทั้งสิ้น 3,096 คดี สำหรับยอดสรุปรวมนับแต่ศาลปกครองเปิดทำการจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2557 นั้น ได้มีคดีเข้าสู่การพิจารณาทั้งสิ้น 100,852 คดี พิจารณาแล้วเสร็จจำนวน 79,417 คดี คิดเป็นร้อยละ 78.75 และมีคดีคงค้างสะสม จำนวน 21,435 คดี คิดเป็นร้อยละ 21.25 ของคดีรับเข้าทั้งหมด
จะเห็นได้ว่า ผลการดำเนินงานของศาลปกครองที่ผ่านมา... ได้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมไทยในการทำหน้าที่เป็นเสาหลักของกระบวนการยุติธรรมทางปกครองไทยและการแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองมาโดยตลอด และทิศทางการทำงานของศาลปกครองก้าวต่อไปนี้..จะเป็นย่างก้าวแห่งการทำงานเชิงรุก อย่างเข้มแข็งและพร้อมเพรียง เพื่อส่งคืนความสุขและส่งมอบความเป็นธรรมทางปกครองให้กับประชาชนและสังคมไทย...