xs
xsm
sm
md
lg

ยกระดับ “นายเวร”บิ๊กตร. ชาวบ้านไม่ได้ประโยชน์เลย

เผยแพร่:   โดย: ทีมข่าวอาชญากรรม

(แฟ้มภาพ)พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.
สน.พระอาทิตย์/สามยอด

เสร็จรวดเร็วสมกับสโลแกนที่ชาวบ้านตั้งให้คนสีกากี “ไม่มีอะไรที่ตำรวจไทยทำไม่ได้ขึ้นอยู่ว่าจะทำหรือไม่”.ซึ่งเป็นการล้อเลียนวลีอันโด่งดังของพล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ

สำหรับการผลักดันปรับระดับตำแหน่งนายเวร(นว.)และผู้ช่วยนายเวร(ผู้ช่วยนว.)ของรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(รองผบ.ตร.)และตำแหน่งเทียบเท่ารวมทั้งของผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ(ผู้ช่วย ผบ.ตร.)ที่ผ่านมติคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.) ที่มีพล.ต.อ.ประชา พรหมนอกผบ.ตร. นั่งหัวโต๊ะตีตราประทับไปเมื่อวันศุกร์ที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา

โครงการปรับระดับ นายเวรและผู้ช่วยนายเวร ระดับผู้ช่วย ผบ.ตร.ขึ้นไปเพิ่งถูกเสนอขึ้นมาจาก ก.ตร.ในการประชุมช่วงปลายเดือนก.ย.หรือไม่ถึง 2 เดือน หลังจาก พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว แม่ทัพใหญ่ ทำเรื่องขอก.ตร.อนุมัติปรับระดับตำแหน่ง นายเวร ผบ.ตร. จากเทียบเท่ารองผู้บังคับการ(รองผบก.) ขึ้นเป็น เทียบเท่า ผู้บังคับการ(ผบก.) ทำให้ตำแหน่งนายเวร รองผบ.ตร.จะเทียบเท่า รองผบก. ผู้ช่วยนายเวร รองผบ.ตร. เทียบเท่า ผกก.นายเวรผู้ช่วยผบ.ตร.เทียบเท่า ผกก. และผู้ช่วยนายเวร ผู้ช่วย ผบ.ตร.เทียบเท่ารองผกก. ขยับจากเดิม 1 ระดับ

มิหนำซ้ำ ไม่ใช่แค่เพียงการอนุมัติปรับระดับนายเวรและผู้ช่วยนายเวรผ่านอย่างรวดเร็วเท่านั้น แต่ ก.ตร.ยังไฟเขียวให้ทุกตำแหน่ง ทั้งหมด 63 ตำแหน่งแยกเป็นตำแหน่งเทียบเท่ารองผบก.15 ตำแหน่ง เทียบเท่าผกก. 31 ตำแหน่ง และเทียบเท่ารองผกก. 17 ตำแหน่ง แต่งตั้งได้ทันที พร้อมกับการแต่งตั้งโยกย้ายระดับ “รองผบก.-สารวัตร(สว.)” วาระประจำปีนี้ซึ่งขีดเส้นใต้ไว้ไม่เกินวันที่ 30 พ.ย.นี้

แต่โครงการยกฐานะสถานีตำรวจอีก 39 สถานีที่มีหัวหน้าสถานีเป็น สารวัตรใหญ่(สวญ.) ยศ พ.ต.ท.ให้เป็นยศ พ.ต.อ.เป็นผู้กำกับการ(ผกก.) ทำหน้าที่หัวหน้าสถานีซึ่งมีการดำเนินการมานานหลายเดือนและตำรวจส่วนใหญ่ก็อยากให้เสร็จทันเพื่อให้ทันการแต่งตั้งในวาระประจำปีนี้กลับไม่มีการนำเรื่องเข้าพิจารณาในวาระการประชุมของ ก.ตร. ครั้งนี้แต่อย่างใด

ทั้งๆที่ถ้าเทียบระหว่างการปรับระดับตำแหน่ง นายเวรและผู้ช่วยนายเวรของผู้ช่วยผบ.ตร.ขึ้นไป กับการยกฐานะสถานีตำรวจมองกันตามความจำเป็นและมองที่ประโยชน์สูงสุดเพื่อประชาชนแล้วก็ต้องบอกว่าการยกฐานะสถานีตำรวจน่าจะมีความจำเป็นเร่งด่วนมากกว่าอย่างแน่นอน

เพราะการยกฐานะสถานีตำรวจ ให้มีตำรวจระดับ ผกก. เป็น ผู้บังคับบัญชา กำลังพลและงบประมาณก็จะเพิ่มขึ้นซึ่งก็จะทำให้ประชาชนได้รับการบริการที่ดีขึ้นมีกำลังตำรวจดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอย่างเต็มที่

ต่างจากการปรับระดับตำแหน่ง นายเวรและผู้ช่วยนายเวรที่พล.ต.อ.อดุลย์ อ้างถึงความจำเป็นด้านการประสานงานในการทำงานกับหน่วยปฏิบัติติดขัดหากนายเวรหรือผู้ช่วยนายเวร มีตำแหน่งตำแหน่งกว่าตำรวจตามโรงพัก ซึ่งก็ใช่แต่ก็ไม่ใช่เป็นปัญหาจำเป็นเร่งด่วนถึงขนาดต้องรวบรัดทำกันให้เสร็จเพียงไม่กี่วัน

เพราะถ้ามีปัญหาการประสานงานจริงๆผู้บังคับบัญชาที่มียศถึงระดับพล.ต.อ. และพล.ต.ท. ก็เข้ามาสั่งการแทนได้ทันที ประโยชน์ต่อประชาชนจึงเป็นเรื่องเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

การรีบเร่งผลักดัน นายเวรและผู้ช่วยนายเวรมากกว่าเร่งผลักดันการยกฐานะโรงพักมองเป็นอื่นไม่ได้นอกจากผลประโยชน์ตัวเองและพวกพ้องกันล้วนๆเพราะเมื่อปรับระดับสูงขึ้น 1ระดับทุกตำแหน่ง รองผบ.ตร. จเรตำรวจแห่งชาติที่ปรึกษา(สบ.10) ยศพล.ต.อ. และผู้ช่วย ผบ.ตร. ยศพล.ต.ท.ก็จะสามารถแต่งตั้งลูกน้องตัวเองหรือตำรวจลูกน้องพรรคพวกขึ้นมาดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้น

และการรีบเร่งผลักดันปรับระดับ นายเวรและผู้ช่วยนายเวรครั้งนี้ก็ดูจะสวนทางกับท่าทีของพล.ต.อ.อดุลย์ที่แสดงออกมาอย่างสิ้นเชิงเพราะหลายๆครั้งที่พล.ต.อ.อดุลย์บอกกล่าวผ่านสาธารณะล้วนพยายามเน้นย้ำให้ลูกน้องทำงานเพื่อประชาชนและให้ความสำคัญกับประชาชนอย่างมาก

ถึงขนาดมีการสั่งย้ายตำรวจระดับ ผกก.โรงพักที่ปล่อยปละละเบยไม่ดูแลความสะอาด อย่างเช่นล่าสุดการสั่งย้าย พ.ต.อ.วรพงษ์ นันทลักษณ์ ผกก.สภ.ท่าอุเทน จ.นครพนมไปช่วยราชการที่ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อย่างไม่มีกำหนดหลังพบว่าไม่สนองนโยบายการพัฒนาปรับปรุงโรงพักตามนโยบายการพัฒนาปรับปรุงโรงพักตามนโยบายปล่อยให้สภาพโรงพัก แฟลตบ้านพักทรุดโทรม รวมถึงไม่มีความพร้อมในการรับการตรวจเยี่ยมของผู้บังคับบัญชาไม่มีข้อมูลรายงานสถิติคดีในพื้นที่

พล.ต.อ.อดุลย์ให้เหตุผลการสั่งย้าย ผกก.ท่าอุเทน อย่างกินใจชาวบ้าน

“เมื่อไม่สนองนโยบายหรือไม่สามารถทำงานได้ทุกด้าน รวมถึงการบริการประชาชนจึงต้องให้ไปฝึกงานที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพราะถือว่าไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากตรวจสอบพบว่าไม่มีการพัฒนาโรงพัก ปล่อยปละละเลย สภาพรวมไม่มีการพัฒนาเพราะในการที่จะดูแลประชาชนจะต้องเริ่มจากที่บ้าน ซึ่งตำรวจยุคนี้จะต้องปรับตัวเองเน้นการบริการดูแลประชาชนเป็นหลัก”

เช่นเดียวกับวันมอบนโยบายให้กับตำรวจที่ได้รับการพิจารณาเลื่อนยศเป็นระดับชั้นนายพล ประจำปี 2557 พล.ต.อ.อดุลย์ ย้ำวิสัยทัศน์"เน้นความเป็นตำรวจมืออาชีพ เป็นที่พึ่งของประชาชน รวมทั้งเขียนการาบ้าน 16 ข้อในการทำงานให้ลูกน้องนำไปปฏิบัติซึ่งล้วนแล้วแต่มุ่งเป้าเพื่อดูแลประชาชนทั้งสิ้น

แม้วันตำรวจ 13 ตุลา. พล.ต.อ.อดุลย์ส่งสาส์นถึงตำรวจและประชาชนทั่วประเทศ เนื่องในวันตำรวจแห่งชาติประจำปี 2556

"...สิ่งสำคัญ ที่ทำให้ตำรวจอยู่คู่สังคมด้วยดีตลอดมา คือการช่วยเหลือการสนับสนุน และการชี้แนะจากพี่น้องประชาชนทุกท่าน เพื่อให้ตำรวจได้มีความพร้อมในการที่จะปฏิบัติให้เป็นไปในแนวทางที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนซึ่งตำรวจทุกนายจะพยายามและมุ่งมั่นพัฒนาตนเองให้เป็นตำรวจมืออาชีพยึดหลักธรรมมาภิบาลเพื่อเป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง..."

แต่ดูเหมือนคำพูดที่สวยหรูทุกครั้ง ทุกแห่ง ทุกหน ทุกโอกาสจากปากพล.ต.อ.อดุลย์ แม่ทัพใหญ่สีกากีเมื่อนำมาเทียบกับการกระทำที่เกิดขึ้นในการไม่รีบเร่งยกระดับสถานีตำรวจแต่กลับเร่งปรับระดับตำแหน่งนายเวร ผู้ช่วยนายเวร ให้กับตัวเองและพวกพ้อง

งานนี้มันสะท้อนให้สังคมรับรู้ความจริงมากขึ้น พูดดีฟังรื่นหู “แล้ว-ยัง-งัย”

กำลังโหลดความคิดเห็น