ในวันที่ 9 มีนาคม 2556 นี้... ครองธรรมทราบมาว่าเป็นวันครบรอบ 12 ปี ของศาลปกครองในการทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรมทางปกครองให้กับสังคมไทย ซึ่งก็คือการพิจารณาพิพากษาคดีปกครองอันเป็นข้อพิพาทที่เกิดจากการใช้อำนาจทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือจากการละเลยล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือกรณีมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ฯลฯ ซึ่งจากสถิติคดีนับแต่วันที่ศาลปกครองเปิดทำการมาจนถึงปัจจุบันได้มีคดีเข้าสู่การพิจารณามากกว่า 80,000 คดี โดยเป็นคดีที่ศาลพิจารณาแล้วเสร็จกว่า 64,000 คดี
สำหรับทิศทางการทำงานของศาลปกครองในทศวรรษใหม่นี้ จะมุ่งเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง ภายใต้แนวคิด “ศาลปกครองของประชาชน” โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของและบริหารศาลปกครอง ด้วยการเปิดรับฟังความคิดเห็นและมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันจากทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาวิธีการทำงานให้สามารถอำนวยความเป็นธรรมและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้มากยิ่งขึ้น ควบคู่กับการเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 นี้ ซึ่งปัจจุบันศาลปกครองได้มีระบบติดตามคดีสำหรับคู่กรณีเพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามความเคลื่อนไหวในคดีของตนเองได้ตลอดเวลาในเว็บไซต์ศาลปกครอง รวมทั้งมีระบบวางแผนการจัดทำคดีของตุลาการ เพื่อให้การพิจารณาคดีของศาลปกครองมีความรวดเร็ว เป็นธรรม มีคุณภาพและมีมาตรฐาน
จะว่าไป...เราได้รู้จักศาลปกครองกันมาก็ 12 ปี แล้ว บางท่านก็อาจได้ใช้บริการยื่นฟ้องคดีเพื่อขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครอง ผมจึงขอนำเหตุผลและความจำเป็น 6 ประการสำคัญ ที่ทำให้เกิดการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นในประเทศไทย เพื่อใช้ระบบวิธีพิจารณาคดีที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ มาบอกเล่าเพื่อให้ทราบถึงรากฐานความเป็นมาที่แท้จริงของศาลปกครองกันโดยสังเขป ดังนี้ครับ...
ประการที่หนึ่ง ความจำเป็นที่ต้องมีศาลปกครองในประเทศไทยเพื่อทำหน้าที่ในการ “ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของฝ่ายบริหาร” อันเป็นไปตามหลักนิติรัฐของประเทศที่ปกครองโดยกฎหมาย โดยฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปกครองไม่สามารถใช้อำนาจตามอำเภอใจได้ ต้องใช้อำนาจเท่าที่มีกฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น และหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย กล่าวคือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ที่จะต้องมีการถ่วงดุลและตรวจสอบซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพื่อให้การใช้อำนาจดังกล่าวเป็นไปตามหลักเหตุผลและชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้นอำนาจใดที่ใช้โดยปราศจากการตรวจสอบ อำนาจนั้นย่อมขัดต่อหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ประการที่สอง ความจำเป็นต้องมีศาลปกครองในการทำหน้าที่พิจารณาตัดสินข้อพิพาททางปกครอง
เพื่อ “รักษาดุลยภาพระหว่างประโยชน์สาธารณะและสิทธิเสรีภาพของประชาชน” ทั้งนี้เพราะโดยธรรมชาติของการใช้อำนาจรัฐในการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของคนส่วนรวมนั้น ย่อมอาจไปกระทบหรือไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนหรือปัจเจกชนจนเกิดเป็นข้อพิพาททางปกครองขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องมีองค์กรตรวจสอบที่เป็นศาลเพื่อทำหน้าที่ในการดูแลประโยชน์สาธารณะดังกล่าวควบคู่ไปกับการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ได้รับการรับรองตามกฎหมาย ด้วยความเป็นกลางและเป็นธรรม ภายใต้หลัก “การบริการสาธารณะต้องดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง” ทั้งนี้เพราะการหยุดชะงักจะทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายที่ยากแก่การแก้ไขเยียวยาในภายหลัง
ประการที่สาม ศาลปกครองทำหน้าที่ในการพิจารณาตัดสินข้อพิพาททางปกครองด้วย “ระบบไต่สวน” ซึ่งเป็นระบบที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับวิธีพิจารณาคดีปกครอง อันเป็นข้อพิพาทที่เกิดจากการใช้อำนาจทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือจากการละเลยล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดของฝ่ายรัฐเพราะธรรมชาติของคดีปกครอง คู่กรณีอยู่ในสถานะที่ไม่เท่าเทียมกัน โดยคู่กรณีฝ่ายรัฐย่อมเป็นฝ่ายที่เหนือกว่า เนื่องจากเอกสารหลักฐานสำคัญเกือบทั้งหมดจะอยู่ในความครอบครองของฝ่ายรัฐแทบทั้งสิ้น หากใช้วิธีพิจารณาคดีด้วยระบบกล่าวหาที่คู่ความต้องเป็นฝ่ายกล่าวอ้างและหยิบยกพยานหลักฐานมาหักล้างกันเอง จะไม่เป็นธรรมเพราะเป็นการยากที่ประชาชนจะไปแสวงหาพยานหลักฐานต่างๆ มาต่อสู้คดีกับฝ่ายปกครองได้ รวมทั้งเป็นไปได้ยากที่ฝ่ายปกครองซึ่งเป็นผู้ถือครองข้อมูลจะเสนอข้อมูลที่จะส่งผลให้ตนเองเป็นฝ่ายแพ้คดี ด้วยเหตุผลดังกล่าว วิธีพิจารณาคดีด้วยระบบไต่สวนของศาลปกครองจึงมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของคดีปกครอง เนื่องจากศาลจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานต่างๆ ซึ่งจะไม่ถูกจำกัดอยู่แต่เฉพาะเท่าที่คู่กรณียื่นเสนอต่อศาลเท่านั้น โดยหากศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอต่อการวินิจฉัย ศาลก็สามารถเรียกคู่กรณีมาไต่สวน หรือเรียกเอกสารหลักฐานต่างๆ จากฝ่ายปกครองหรือออกไปเดินเผชิญสืบได้
ประการที่สี่ ศาลปกครองทำหน้าที่ในการพิจารณาตัดสินข้อพิพาททางปกครองด้วย “ระบบตุลาการผู้เชี่ยวชาญ” ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากศาลปกครองใช้วิธีพิจารณาคดีด้วยระบบไต่สวนซึ่งมีความจำเป็นต้องดำเนินกระบวนวิธีพิจารณาคดีโดยตุลาการผู้มีความเชี่ยวชาญหรือชำนาญการเฉพาะ เพราะตุลาการจะเป็นผู้พิจารณาเอกสารหลักฐานในคดีทั้งหมดและพิเคราะห์ว่าหลักฐานใดมีความสำคัญและจำเป็นต่อการวินิจฉัยคดีที่จะต้องเรียกเอาจากฝ่ายปกครองหรือต้องแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ฉะนั้นคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นตุลาการศาลปกครอง นอกจากจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางด้านกฎหมายแล้ว ยังต้องเป็นผู้มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในงานบริหารราชการแผ่นดินด้วย โดยผู้ที่มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเป็นตุลาการศาลปกครองจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี และต้องมีคุณสมบัติหรือประสบการณ์ตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ศาลปกครองยังมีระบบถ่วงดุลการใช้อำนาจระหว่างตุลาการด้วยกันเองหรือระบบพิจารณาคดีสองชั้น ชั้นแรกถ่วงดุลโดยให้ตัดสินเป็นองค์คณะและชั้นที่สองกำหนดให้มีตุลาการผู้แถลงคดี ซึ่งจะมิใช่ตุลาการที่อยู่ในองค์คณะพิจารณาคดีนั้นๆ แต่จะเป็นผู้ที่ศึกษาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในคดีทั้งหมดแล้วจัดทำคำแถลงการณ์เสนอต่อองค์คณะว่า หากตนมีหน้าที่ตัดสินคดีดังกล่าวตนจะมีคำพิพากษาอย่างไร ซึ่งคำแถลงการณ์นี้จะไม่มีผลต่อคดี แต่จะทำให้องค์คณะที่มีอำนาจในการพิจารณาตัดสินคดีนั้นๆ วินิจฉัยคดีอย่างรอบคอบและถูกต้องมากยิ่งขึ้น
ประการที่ห้า ประเทศไทยจำเป็นต้องมีองค์กรศาลที่มีความเป็นอิสระจากฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และศาลยุติธรรม กล่าวคือ ในการทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของศาลปกครองนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความเป็นเอกเทศ เพราะศาลต้องทำหน้าที่ได้อย่างอิสระและด้วยความเป็นกลาง โดยปราศจากอิทธิพลและการชี้นำโดยองค์กรใดๆ นอกจากนี้เหตุที่ศาลปกครองและศาลยุติธรรมควรทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระต่อกันนั้น เนื่องจากแนวคิดและภูมิหลังในการพัฒนาระบบวิธีพิจารณาคดี ตลอดจนการกำหนดคุณสมบัติของผู้พิพากษาหรือตุลาการนั้นมีความแตกต่างกัน โดยระบบกล่าวหาของศาลยุติธรรมเหมาะสำหรับการต่อสู้คดีที่คู่ความอยู่ในสถานะที่เท่าเทียมกันเช่นในคดีแพ่งทั่วไป ส่วนระบบไต่สวนของศาลปกครองเหมาะสำหรับคู่กรณีในคดีปกครองซึ่งจะอยู่ในสถานะที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งระบบวิธีพิจารณาคดีของทั้งสองศาลดังกล่าวต่างก็ได้ออกแบบมาเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะคดีตามอำนาจหน้าที่ของตนอย่างชัดเจนแล้ว
ประการสุดท้าย นอกเหนือจากการทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองแล้ว ศาลปกครองยังได้ทำหน้าที่ในการวางหลักและสร้างบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีให้แก่หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อสร้างสังคมธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในประเทศไทยด้วย เพราะทุกๆ คำพิพากษาของศาลปกครองที่ได้ตัดสินออกมาแล้วนั้น นอกจากจะมีผลบังคับแก่คู่กรณีแล้ว เหตุผลและคำวินิจฉัยของศาลยังเป็นการวางหลักและสร้างบรรทัดฐานในการทำงานให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานทางปกครองได้นำไปใช้ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน อันส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐเองก็จะมีแนวทางในการทำงานที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปัญหาข้อพิพาททางปกครองแล้ว ยังทำให้การจัดทำบริการสาธารณะของรัฐเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
เหตุผลทั้ง 6 ประการดังกล่าว จึงเป็นเหตุผลและความจำเป็นของประเทศไทยในการที่ต้องมีศาลปกครองเพื่อทำหน้าที่รักษาสมดุลระหว่างประโยชน์สาธารณะและสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยในโอกาสครบรอบ 12 ปีที่จะถึงนี้ ศาลปกครองก็ได้จัดให้มีกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจ รวมทั้งได้จัดให้มีนิทรรศการแสดงผลงาน “12 ปีศาลปกครอง
12 เรื่องราว คือ ย่างก้าวศาลปกครองของปวงชน” ในระหว่างวันที่ 8-15 มีนาคม 2556 ตลอดจนกิจกรรมการบรรยายพิเศษเรื่อง “กฎบัตรอาเซียน พันธกรณีที่สังคมไทยต้องรู้” โดยนายอรรถยุทธ์ ศรีสมุทร อธิบดีกรมอาเซียน ในวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2556 เวลา 10.00 - 11.30 น. และในช่วงบ่ายวันเดียวกันจะเป็นกิจกรรมบรรยายพิเศษ เรื่อง “คิดดี คิดให้ สานสายใย ศาลปกครอง” โดย คุณอรพิมพ์ รักษาผล (น้องเบส) เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปี 2546 ทูตความดีแห่งประเทศไทย เวลา 13.30 - 16.30 น. ณ อาคารศาลปกครอง ถ.แจ้งวัฒนะ หากท่านใดสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของศาลปกครอง สามารถโทรสอบถามรายละเอียดได้ที่สายด่วนศาลปกครอง 1355 นะครับ
ครองธรรม ธรรมรัฐ
สำหรับทิศทางการทำงานของศาลปกครองในทศวรรษใหม่นี้ จะมุ่งเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง ภายใต้แนวคิด “ศาลปกครองของประชาชน” โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นเจ้าของและบริหารศาลปกครอง ด้วยการเปิดรับฟังความคิดเห็นและมุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันจากทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาวิธีการทำงานให้สามารถอำนวยความเป็นธรรมและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้มากยิ่งขึ้น ควบคู่กับการเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 นี้ ซึ่งปัจจุบันศาลปกครองได้มีระบบติดตามคดีสำหรับคู่กรณีเพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามความเคลื่อนไหวในคดีของตนเองได้ตลอดเวลาในเว็บไซต์ศาลปกครอง รวมทั้งมีระบบวางแผนการจัดทำคดีของตุลาการ เพื่อให้การพิจารณาคดีของศาลปกครองมีความรวดเร็ว เป็นธรรม มีคุณภาพและมีมาตรฐาน
จะว่าไป...เราได้รู้จักศาลปกครองกันมาก็ 12 ปี แล้ว บางท่านก็อาจได้ใช้บริการยื่นฟ้องคดีเพื่อขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครอง ผมจึงขอนำเหตุผลและความจำเป็น 6 ประการสำคัญ ที่ทำให้เกิดการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นในประเทศไทย เพื่อใช้ระบบวิธีพิจารณาคดีที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ มาบอกเล่าเพื่อให้ทราบถึงรากฐานความเป็นมาที่แท้จริงของศาลปกครองกันโดยสังเขป ดังนี้ครับ...
ประการที่หนึ่ง ความจำเป็นที่ต้องมีศาลปกครองในประเทศไทยเพื่อทำหน้าที่ในการ “ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของฝ่ายบริหาร” อันเป็นไปตามหลักนิติรัฐของประเทศที่ปกครองโดยกฎหมาย โดยฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปกครองไม่สามารถใช้อำนาจตามอำเภอใจได้ ต้องใช้อำนาจเท่าที่มีกฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น และหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย กล่าวคือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ที่จะต้องมีการถ่วงดุลและตรวจสอบซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพื่อให้การใช้อำนาจดังกล่าวเป็นไปตามหลักเหตุผลและชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้นอำนาจใดที่ใช้โดยปราศจากการตรวจสอบ อำนาจนั้นย่อมขัดต่อหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ประการที่สอง ความจำเป็นต้องมีศาลปกครองในการทำหน้าที่พิจารณาตัดสินข้อพิพาททางปกครอง
เพื่อ “รักษาดุลยภาพระหว่างประโยชน์สาธารณะและสิทธิเสรีภาพของประชาชน” ทั้งนี้เพราะโดยธรรมชาติของการใช้อำนาจรัฐในการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของคนส่วนรวมนั้น ย่อมอาจไปกระทบหรือไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนหรือปัจเจกชนจนเกิดเป็นข้อพิพาททางปกครองขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องมีองค์กรตรวจสอบที่เป็นศาลเพื่อทำหน้าที่ในการดูแลประโยชน์สาธารณะดังกล่าวควบคู่ไปกับการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ได้รับการรับรองตามกฎหมาย ด้วยความเป็นกลางและเป็นธรรม ภายใต้หลัก “การบริการสาธารณะต้องดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง” ทั้งนี้เพราะการหยุดชะงักจะทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายที่ยากแก่การแก้ไขเยียวยาในภายหลัง
ประการที่สาม ศาลปกครองทำหน้าที่ในการพิจารณาตัดสินข้อพิพาททางปกครองด้วย “ระบบไต่สวน” ซึ่งเป็นระบบที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับวิธีพิจารณาคดีปกครอง อันเป็นข้อพิพาทที่เกิดจากการใช้อำนาจทางปกครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือจากการละเลยล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดของฝ่ายรัฐเพราะธรรมชาติของคดีปกครอง คู่กรณีอยู่ในสถานะที่ไม่เท่าเทียมกัน โดยคู่กรณีฝ่ายรัฐย่อมเป็นฝ่ายที่เหนือกว่า เนื่องจากเอกสารหลักฐานสำคัญเกือบทั้งหมดจะอยู่ในความครอบครองของฝ่ายรัฐแทบทั้งสิ้น หากใช้วิธีพิจารณาคดีด้วยระบบกล่าวหาที่คู่ความต้องเป็นฝ่ายกล่าวอ้างและหยิบยกพยานหลักฐานมาหักล้างกันเอง จะไม่เป็นธรรมเพราะเป็นการยากที่ประชาชนจะไปแสวงหาพยานหลักฐานต่างๆ มาต่อสู้คดีกับฝ่ายปกครองได้ รวมทั้งเป็นไปได้ยากที่ฝ่ายปกครองซึ่งเป็นผู้ถือครองข้อมูลจะเสนอข้อมูลที่จะส่งผลให้ตนเองเป็นฝ่ายแพ้คดี ด้วยเหตุผลดังกล่าว วิธีพิจารณาคดีด้วยระบบไต่สวนของศาลปกครองจึงมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของคดีปกครอง เนื่องจากศาลจะเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการแสวงหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานต่างๆ ซึ่งจะไม่ถูกจำกัดอยู่แต่เฉพาะเท่าที่คู่กรณียื่นเสนอต่อศาลเท่านั้น โดยหากศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอต่อการวินิจฉัย ศาลก็สามารถเรียกคู่กรณีมาไต่สวน หรือเรียกเอกสารหลักฐานต่างๆ จากฝ่ายปกครองหรือออกไปเดินเผชิญสืบได้
ประการที่สี่ ศาลปกครองทำหน้าที่ในการพิจารณาตัดสินข้อพิพาททางปกครองด้วย “ระบบตุลาการผู้เชี่ยวชาญ” ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากศาลปกครองใช้วิธีพิจารณาคดีด้วยระบบไต่สวนซึ่งมีความจำเป็นต้องดำเนินกระบวนวิธีพิจารณาคดีโดยตุลาการผู้มีความเชี่ยวชาญหรือชำนาญการเฉพาะ เพราะตุลาการจะเป็นผู้พิจารณาเอกสารหลักฐานในคดีทั้งหมดและพิเคราะห์ว่าหลักฐานใดมีความสำคัญและจำเป็นต่อการวินิจฉัยคดีที่จะต้องเรียกเอาจากฝ่ายปกครองหรือต้องแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ฉะนั้นคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นตุลาการศาลปกครอง นอกจากจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถทางด้านกฎหมายแล้ว ยังต้องเป็นผู้มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญในงานบริหารราชการแผ่นดินด้วย โดยผู้ที่มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกเป็นตุลาการศาลปกครองจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี และต้องมีคุณสมบัติหรือประสบการณ์ตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ศาลปกครองยังมีระบบถ่วงดุลการใช้อำนาจระหว่างตุลาการด้วยกันเองหรือระบบพิจารณาคดีสองชั้น ชั้นแรกถ่วงดุลโดยให้ตัดสินเป็นองค์คณะและชั้นที่สองกำหนดให้มีตุลาการผู้แถลงคดี ซึ่งจะมิใช่ตุลาการที่อยู่ในองค์คณะพิจารณาคดีนั้นๆ แต่จะเป็นผู้ที่ศึกษาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในคดีทั้งหมดแล้วจัดทำคำแถลงการณ์เสนอต่อองค์คณะว่า หากตนมีหน้าที่ตัดสินคดีดังกล่าวตนจะมีคำพิพากษาอย่างไร ซึ่งคำแถลงการณ์นี้จะไม่มีผลต่อคดี แต่จะทำให้องค์คณะที่มีอำนาจในการพิจารณาตัดสินคดีนั้นๆ วินิจฉัยคดีอย่างรอบคอบและถูกต้องมากยิ่งขึ้น
ประการที่ห้า ประเทศไทยจำเป็นต้องมีองค์กรศาลที่มีความเป็นอิสระจากฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และศาลยุติธรรม กล่าวคือ ในการทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของศาลปกครองนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความเป็นเอกเทศ เพราะศาลต้องทำหน้าที่ได้อย่างอิสระและด้วยความเป็นกลาง โดยปราศจากอิทธิพลและการชี้นำโดยองค์กรใดๆ นอกจากนี้เหตุที่ศาลปกครองและศาลยุติธรรมควรทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระต่อกันนั้น เนื่องจากแนวคิดและภูมิหลังในการพัฒนาระบบวิธีพิจารณาคดี ตลอดจนการกำหนดคุณสมบัติของผู้พิพากษาหรือตุลาการนั้นมีความแตกต่างกัน โดยระบบกล่าวหาของศาลยุติธรรมเหมาะสำหรับการต่อสู้คดีที่คู่ความอยู่ในสถานะที่เท่าเทียมกันเช่นในคดีแพ่งทั่วไป ส่วนระบบไต่สวนของศาลปกครองเหมาะสำหรับคู่กรณีในคดีปกครองซึ่งจะอยู่ในสถานะที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งระบบวิธีพิจารณาคดีของทั้งสองศาลดังกล่าวต่างก็ได้ออกแบบมาเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะคดีตามอำนาจหน้าที่ของตนอย่างชัดเจนแล้ว
ประการสุดท้าย นอกเหนือจากการทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองแล้ว ศาลปกครองยังได้ทำหน้าที่ในการวางหลักและสร้างบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีให้แก่หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อสร้างสังคมธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในประเทศไทยด้วย เพราะทุกๆ คำพิพากษาของศาลปกครองที่ได้ตัดสินออกมาแล้วนั้น นอกจากจะมีผลบังคับแก่คู่กรณีแล้ว เหตุผลและคำวินิจฉัยของศาลยังเป็นการวางหลักและสร้างบรรทัดฐานในการทำงานให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานทางปกครองได้นำไปใช้ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน อันส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐเองก็จะมีแนวทางในการทำงานที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยลดปัญหาข้อพิพาททางปกครองแล้ว ยังทำให้การจัดทำบริการสาธารณะของรัฐเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
เหตุผลทั้ง 6 ประการดังกล่าว จึงเป็นเหตุผลและความจำเป็นของประเทศไทยในการที่ต้องมีศาลปกครองเพื่อทำหน้าที่รักษาสมดุลระหว่างประโยชน์สาธารณะและสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยในโอกาสครบรอบ 12 ปีที่จะถึงนี้ ศาลปกครองก็ได้จัดให้มีกิจกรรมต่างๆ ที่น่าสนใจ รวมทั้งได้จัดให้มีนิทรรศการแสดงผลงาน “12 ปีศาลปกครอง
12 เรื่องราว คือ ย่างก้าวศาลปกครองของปวงชน” ในระหว่างวันที่ 8-15 มีนาคม 2556 ตลอดจนกิจกรรมการบรรยายพิเศษเรื่อง “กฎบัตรอาเซียน พันธกรณีที่สังคมไทยต้องรู้” โดยนายอรรถยุทธ์ ศรีสมุทร อธิบดีกรมอาเซียน ในวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม 2556 เวลา 10.00 - 11.30 น. และในช่วงบ่ายวันเดียวกันจะเป็นกิจกรรมบรรยายพิเศษ เรื่อง “คิดดี คิดให้ สานสายใย ศาลปกครอง” โดย คุณอรพิมพ์ รักษาผล (น้องเบส) เยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ปี 2546 ทูตความดีแห่งประเทศไทย เวลา 13.30 - 16.30 น. ณ อาคารศาลปกครอง ถ.แจ้งวัฒนะ หากท่านใดสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของศาลปกครอง สามารถโทรสอบถามรายละเอียดได้ที่สายด่วนศาลปกครอง 1355 นะครับ
ครองธรรม ธรรมรัฐ