คราวที่แล้ว...ครองธรรมได้ประมวลเหตุผลและความจำเป็นหลัก 6 ประการสำคัญ ที่ประเทศไทยจำเป็นต้องจัดตั้งศาลปกครองที่ใช้ระบบวิธีพิจารณาคดีที่มีความพิเศษและมีลักษณะเฉพาะขึ้น
กล่าวโดยสรุปคือ ประการแรก ความจำเป็นที่ต้องมีศาลปกครองในประเทศไทยเพื่อทำหน้าที่ในการ “ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของฝ่ายบริหาร” ตามหลักนิติรัฐ นิติธรรมและหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย ประการที่สอง ในการพิจารณาตัดสินข้อพิพาททางปกครอง ศาลปกครองจะยึดถือหลัก “รักษาดุลยภาพระหว่างประโยชน์สาธารณะและสิทธิเสรีภาพของประชาชน”
ประการที่สาม ศาลปกครองใช้ “ระบบไต่สวน” ในการพิจารณาตัดสินคดีซึ่งเป็นระบบที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับวิธีพิจารณาคดีปกครองที่คู่กรณีไม่เท่าเทียมกัน ประการที่สี่ ศาลปกครองพิจารณาคดีด้วย “ระบบตุลาการผู้เชี่ยวชาญ” อันสืบเนื่องจากการใช้ระบบไต่สวนในกระบวนวิธีพิจารณาคดีและแสวงหาข้อเท็จจริงจึงต้องใช้ตุลาการผู้มีความรู้และประสบการณ์ในการบริหารราชการแผ่นดิน
ประการที่ห้า คำตัดสินของศาลปกครองเป็นการวางหลักและสร้างบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีให้แก่หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อสร้างสังคมธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในประเทศไทย และประการสุดท้าย ประเทศไทยจำเป็นต้องมีศาลปกครองที่เป็นอิสระจากฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และศาลยุติธรรม ทั้งตัวองค์กรศาลและกฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง เพราะต้องให้ศาลปกครองทำหน้าที่ได้อย่างอิสระและด้วยความเป็นกลาง
สำหรับวันนี้จะขอพูดคุยขยายความกันต่อในประเด็นเกี่ยวกับการทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระของศาลปกครอง... เพราะที่ผ่านมาได้มีกระแสการยุบรวมศาลปกครองให้ไปอยู่กับศาลยุติธรรมเกิดขึ้น ซึ่งครองธรรมเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ควรจะต้องตระหนักถึง “ประโยชน์หรือผลกระทบที่ประชาชนจะได้รับ” เป็นเหตุผลหลักหรือเป็นตัวตั้งในการพิจารณา แนวคิดการยุบรวมศาลจึงจำเป็นที่จะต้องมีการวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน รวมทั้งควรมีการนำเสนอข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุนอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมเพื่อให้สังคมได้เรียนรู้และเกิดความกระจ่าง ข้อสนับสนุนแนวคิดที่ว่าการยุบรวมศาลจะทำให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมที่ดีกว่า สะดวกกว่า รวดเร็วกว่า ทั่วถึงกว่าและเสมอภาคกว่านั้น สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ ?
นี่คือประเด็นคำถามที่ผมอยากให้สังคมช่วยกันคิดเพราะ “ศาล” มิใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของประชาชนคนไทยทุกคน จึงขอฝากข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นตามประเด็นต่างๆ ที่มีการกล่าวอ้างขึ้นเป็นข้อสนับสนุนแนวคิดให้มีการยุบรวมศาลปกครองไปอยู่กับศาลยุติธรรมในทัศนะหรือมุมมองของผม เพื่อให้ทุกภาคส่วนของสังคมช่วยกันคิดและพิจารณาใน 5 ประเด็น ดังนี้ครับ
ประเด็นแรก การยุบรวมศาลปกครองไปอยู่กับศาลยุติธรรมนั้นจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น อย่างไร ? ได้เคยมีการทำตัวชี้วัดหรือไม่ ? เนื่องจากปัจจุบันศาลยุติธรรมเองก็มีคดีเข้าสู่การพิจารณาและมีคดีค้างจำนวนมากในทุกชั้นศาล การนำคดีปกครองที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในปัจจุบันเข้าไปอยู่ในความดูแลของศาลยุติธรรมจะทำให้การบริหารจัดการคดีทั้งหมดในภาพรวมรวดเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามที่กล่าวกันหรือไม่นั้น ? เป็นประเด็นสำคัญที่ควรมีข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุน
ประเด็นที่สอง ด้วยระบบวิธีพิจารณาคดีที่แตกต่างกัน โดยศาลปกครองใช้วิธีพิจารณาคดีในระบบไต่สวน และศาลยุติธรรมใช้ระบบกล่าวหา คุณสมบัติที่ใช้ในการสรรหาผู้พิพากษาหรือตุลาการและระบบการพัฒนาบุคลากร จึงแตกต่างกัน หากศาลปกครองไปรวมอยู่กับศาลยุติธรรม จะมีคำถามว่าการสรรหา พัฒนา หรือหมุนเวียนบุคลากรของศาลจะทำกันอย่างไร การดำรงตำแหน่งและเส้นทางความก้าวหน้าจะพิจารณากันอย่างไร หากยังคงต้องแยกระบบบริหารงานบุคคลระหว่างผู้พิพากษาศาลยุติธรรมและตุลาการศาลปกครองออกเป็นสองระบบอย่างชัดเจน แล้วจะรวมศาลเพื่ออะไร เกิดประโยชน์จริงหรือไม่ ? รวมทั้งระบบวิธีพิจารณาคดีปกครองก็ได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ก่อนที่ ศาลปกครองจะเปิดดำเนินการ โดยได้มีการจัดตั้งองค์กรวินิจฉัยข้อพิพาททางปกครองของคณะกรรมการวินิจฉัย ร้องทุกข์ มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางปกครองต่างๆ เช่น กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ กฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ เป็นต้น ทำให้โครงสร้างการตรวจสอบในส่วนของกระบวนการยุติธรรมทางปกครองกับการพัฒนาระบบบริหารราชการแผ่นดินและกฎหมายปกครองมีความสอดคล้องเป็นไปในแนวทางเดียวกันแล้ว การยุบรวมศาลปกครองจึงย่อมกระทบต่อการพัฒนาระบบดังกล่าวที่ได้วางรากฐานมาดีแล้ว
ประเด็นที่สาม ประเด็นที่กล่าวว่าศาลปกครองมีคดีขึ้นสู่การพิจารณาจำนวนน้อย ตั้งศาลปกครองแล้วไม่คุ้มค่าเงินงบประมาณจริงหรือไม่ ? ประเด็นนี้ผมได้พิจารณาจากสถิติการฟ้องคดีนับตั้งแต่เปิดทำการศาลปกครองในวันที่ 9 มีนาคม 2544 จนถึงปี 2555 ได้มีคดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลปกครองทั้งหมดกว่า 81,904 คดี และเป็นคดีที่ศาลได้พิจารณาแล้วเสร็จกว่า 64,553 คดี และการฟ้องคดีปกครองมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมากแสดงข้อเท็จจริงได้ว่ามีข้อพิพาททางปกครองเกิดขึ้นมากและประชาชนเข้าใจถึงสิทธิและได้ฟ้องคดีเพื่อรักษาสิทธิของตนเองมากขึ้น เช่นในปี 2553 มีคดีที่ฟ้องเข้ามาจำนวน 6,880 คดี ในปี 2554 จำนวน 8,267 คดี และในปี 2555 มีจำนวนถึง 11,635 คดี ซึ่งศาลปกครองเองก็ต้องเร่งพัฒนาระบบบริหารจัดการคดีเพื่อแก้ไขปัญหาไม่ให้มีคดีค้างจำนวนมาก
โดยเมื่อปีที่ผ่านมาพบว่าศาลปกครองสามารถทำคดีแล้วเสร็จได้สูงสุดมากกว่าทุกปี และศาลปกครองได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเร่งจัดการคดีคงค้างก่อนปี 2553 ให้แล้วเสร็จภายในปี 2556 นี้ รวมทั้งมุ่งเน้นการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการทำงาน ภายใต้แนวคิด “ศาลปกครองของประชาชน” เพื่อให้การพิจารณาคดีของศาลปกครองมีความรวดเร็ว เป็นธรรม มีคุณภาพและมีมาตรฐาน สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชนได้มากยิ่งขึ้น
ประเด็นที่สี่ ที่กล่าวว่าศาลปกครองเป็นองค์กรศาลที่ใช้อำนาจได้โดยอิสระและไม่ถูกตรวจสอบนั้น ประเด็นนี้เป็นความเข้าใจที่ค่อนข้างจะคลาดเคลื่อนอย่างมากครับ เพราะแม้ศาลปกครองจะมีอิสระตามหลักความเป็นอิสระของศาลและหลักแบ่งแยกอำนาจก็ตาม แต่ศาลปกครองก็ถูกออกแบบมาเพื่อให้เป็นองค์กรที่โปร่งใสและถูกตรวจสอบได้ เช่น มีระบบตรวจสอบการพิจารณาคดี 2 ชั้น โดยตุลาการเป็นองค์คณะและตุลาการผู้แถลงคดี มีระบบศาล 2 ชั้นในศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุด และยังมีที่ประชุมใหญ่ของศาลปกครองสูงสุดคอยตรวจสอบการพิจารณาคดีอีกชั้นหนึ่ง ในการเข้ารับตำแหน่งของตุลาการศาลปกครองต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาก่อนได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ตุลาการศาลปกครองต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินทั้งก่อนเข้ารับตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่ง ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ก็อาจถูกถอดถอนให้พ้นจากตำแหน่งโดยมติของสภาได้ตลอดเวลา ฯลฯ มีคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) ในการบริหารงานบุคคลและควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่และปฏิบัติตนของตุลาการเช่นเดียวกับ ก.ต. ของศาลยุติธรรม โดยมีผู้แทนจากรัฐสภาและผู้แทนจากรัฐบาลร่วมอยู่ด้วย ก่อนการดำเนินงานในขั้นตอนการของบประมาณต้องมีการชี้แจงแสดงเหตุผลต่อสภาเพื่อขอรับงบประมาณไปดำเนินงาน รวมทั้งเมื่อปฏิบัติงานไปแล้วยังต้องจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีเสนอต่อรัฐบาลและสภาเพื่อการตรวจสอบด้วย ระบบตรวจสอบการทำงานของศาลปกครองจึงมีความเข้มข้นไม่น้อยไปกว่าศาลยุติธรรมและยึดโยงการตรวจสอบโดยประชาชน
ประเด็นที่ห้า การมีระบบศาลคู่ส่งผลให้คดีล่าช้ากรณีมีความเห็นเรื่องเขตอำนาจศาลที่ขัดกันเพราะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเป็นผู้พิจารณา ในการแก้ปัญหาประเด็นนี้นั้นผมขอหยิบยกกรณีของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ที่มีสถาบันตุลาการแยกเป็นอิสระต่อกันถึง ๕ ศาล โดยระบบกฎหมายเยอรมันได้วางหลักว่า หากศาลที่รับคำฟ้องพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจตน ก็ให้รับคำฟ้องไว้พิจารณาได้โดยทันที แต่หากเห็นว่าตนไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในคดีดังกล่าว ก็ให้ส่งคำฟ้องไปยังศาลอื่นที่มีอำนาจ ซึ่งศาลที่สองที่รับคำฟ้องมานั้นไม่อาจปฏิเสธได้ว่าตนปราศจากอำนาจ เมื่อนำมาเทียบเคียงกับกรณีของประเทศไทย หากมีการแก้กฎหมายให้ประธานศาลปกครองสูงสุดซึ่งเป็นประธานศาลชำนาญการเกี่ยวกับข้อพิพาททางปกครองเป็น ผู้พิจารณาว่าคดีที่ฟ้องเข้ามาอยู่ในอำนาจของศาลปกครองหรือไม่ หากคดีใดเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง คดีนั้นก็จะเข้าไปอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมโดยทันที ซึ่งผมเห็นว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการแก้ไขปัญหาในประเด็นนี้ที่ตรงประเด็นและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่าครับ...
ทั้ง 5 ประเด็นดังกล่าว เป็นสิ่งที่ครองธรรมอยากฝากให้สังคมร่วมกันขบคิด เพราะศาลปกครองเกิดขึ้นโดยรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชนและอยู่ได้ด้วยความศรัทธาจากประชาชน การเปลี่ยนแปลงจึงควรเกิดจากความเห็นพ้องของประชาชน และควรต้องฟังเสียงประชาชน !
ครองธรรม ธรรมรัฐ
กล่าวโดยสรุปคือ ประการแรก ความจำเป็นที่ต้องมีศาลปกครองในประเทศไทยเพื่อทำหน้าที่ในการ “ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของฝ่ายบริหาร” ตามหลักนิติรัฐ นิติธรรมและหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย ประการที่สอง ในการพิจารณาตัดสินข้อพิพาททางปกครอง ศาลปกครองจะยึดถือหลัก “รักษาดุลยภาพระหว่างประโยชน์สาธารณะและสิทธิเสรีภาพของประชาชน”
ประการที่สาม ศาลปกครองใช้ “ระบบไต่สวน” ในการพิจารณาตัดสินคดีซึ่งเป็นระบบที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับวิธีพิจารณาคดีปกครองที่คู่กรณีไม่เท่าเทียมกัน ประการที่สี่ ศาลปกครองพิจารณาคดีด้วย “ระบบตุลาการผู้เชี่ยวชาญ” อันสืบเนื่องจากการใช้ระบบไต่สวนในกระบวนวิธีพิจารณาคดีและแสวงหาข้อเท็จจริงจึงต้องใช้ตุลาการผู้มีความรู้และประสบการณ์ในการบริหารราชการแผ่นดิน
ประการที่ห้า คำตัดสินของศาลปกครองเป็นการวางหลักและสร้างบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีให้แก่หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อสร้างสังคมธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในประเทศไทย และประการสุดท้าย ประเทศไทยจำเป็นต้องมีศาลปกครองที่เป็นอิสระจากฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และศาลยุติธรรม ทั้งตัวองค์กรศาลและกฎหมายที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง เพราะต้องให้ศาลปกครองทำหน้าที่ได้อย่างอิสระและด้วยความเป็นกลาง
สำหรับวันนี้จะขอพูดคุยขยายความกันต่อในประเด็นเกี่ยวกับการทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระของศาลปกครอง... เพราะที่ผ่านมาได้มีกระแสการยุบรวมศาลปกครองให้ไปอยู่กับศาลยุติธรรมเกิดขึ้น ซึ่งครองธรรมเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ควรจะต้องตระหนักถึง “ประโยชน์หรือผลกระทบที่ประชาชนจะได้รับ” เป็นเหตุผลหลักหรือเป็นตัวตั้งในการพิจารณา แนวคิดการยุบรวมศาลจึงจำเป็นที่จะต้องมีการวิเคราะห์ถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบด้าน รวมทั้งควรมีการนำเสนอข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุนอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมเพื่อให้สังคมได้เรียนรู้และเกิดความกระจ่าง ข้อสนับสนุนแนวคิดที่ว่าการยุบรวมศาลจะทำให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมที่ดีกว่า สะดวกกว่า รวดเร็วกว่า ทั่วถึงกว่าและเสมอภาคกว่านั้น สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นจริงหรือไม่ ?
นี่คือประเด็นคำถามที่ผมอยากให้สังคมช่วยกันคิดเพราะ “ศาล” มิใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นของประชาชนคนไทยทุกคน จึงขอฝากข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นตามประเด็นต่างๆ ที่มีการกล่าวอ้างขึ้นเป็นข้อสนับสนุนแนวคิดให้มีการยุบรวมศาลปกครองไปอยู่กับศาลยุติธรรมในทัศนะหรือมุมมองของผม เพื่อให้ทุกภาคส่วนของสังคมช่วยกันคิดและพิจารณาใน 5 ประเด็น ดังนี้ครับ
ประเด็นแรก การยุบรวมศาลปกครองไปอยู่กับศาลยุติธรรมนั้นจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น อย่างไร ? ได้เคยมีการทำตัวชี้วัดหรือไม่ ? เนื่องจากปัจจุบันศาลยุติธรรมเองก็มีคดีเข้าสู่การพิจารณาและมีคดีค้างจำนวนมากในทุกชั้นศาล การนำคดีปกครองที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในปัจจุบันเข้าไปอยู่ในความดูแลของศาลยุติธรรมจะทำให้การบริหารจัดการคดีทั้งหมดในภาพรวมรวดเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามที่กล่าวกันหรือไม่นั้น ? เป็นประเด็นสำคัญที่ควรมีข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุน
ประเด็นที่สอง ด้วยระบบวิธีพิจารณาคดีที่แตกต่างกัน โดยศาลปกครองใช้วิธีพิจารณาคดีในระบบไต่สวน และศาลยุติธรรมใช้ระบบกล่าวหา คุณสมบัติที่ใช้ในการสรรหาผู้พิพากษาหรือตุลาการและระบบการพัฒนาบุคลากร จึงแตกต่างกัน หากศาลปกครองไปรวมอยู่กับศาลยุติธรรม จะมีคำถามว่าการสรรหา พัฒนา หรือหมุนเวียนบุคลากรของศาลจะทำกันอย่างไร การดำรงตำแหน่งและเส้นทางความก้าวหน้าจะพิจารณากันอย่างไร หากยังคงต้องแยกระบบบริหารงานบุคคลระหว่างผู้พิพากษาศาลยุติธรรมและตุลาการศาลปกครองออกเป็นสองระบบอย่างชัดเจน แล้วจะรวมศาลเพื่ออะไร เกิดประโยชน์จริงหรือไม่ ? รวมทั้งระบบวิธีพิจารณาคดีปกครองก็ได้รับการพัฒนามาตั้งแต่ก่อนที่ ศาลปกครองจะเปิดดำเนินการ โดยได้มีการจัดตั้งองค์กรวินิจฉัยข้อพิพาททางปกครองของคณะกรรมการวินิจฉัย ร้องทุกข์ มีการออกกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางปกครองต่างๆ เช่น กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ กฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ เป็นต้น ทำให้โครงสร้างการตรวจสอบในส่วนของกระบวนการยุติธรรมทางปกครองกับการพัฒนาระบบบริหารราชการแผ่นดินและกฎหมายปกครองมีความสอดคล้องเป็นไปในแนวทางเดียวกันแล้ว การยุบรวมศาลปกครองจึงย่อมกระทบต่อการพัฒนาระบบดังกล่าวที่ได้วางรากฐานมาดีแล้ว
ประเด็นที่สาม ประเด็นที่กล่าวว่าศาลปกครองมีคดีขึ้นสู่การพิจารณาจำนวนน้อย ตั้งศาลปกครองแล้วไม่คุ้มค่าเงินงบประมาณจริงหรือไม่ ? ประเด็นนี้ผมได้พิจารณาจากสถิติการฟ้องคดีนับตั้งแต่เปิดทำการศาลปกครองในวันที่ 9 มีนาคม 2544 จนถึงปี 2555 ได้มีคดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลปกครองทั้งหมดกว่า 81,904 คดี และเป็นคดีที่ศาลได้พิจารณาแล้วเสร็จกว่า 64,553 คดี และการฟ้องคดีปกครองมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมากแสดงข้อเท็จจริงได้ว่ามีข้อพิพาททางปกครองเกิดขึ้นมากและประชาชนเข้าใจถึงสิทธิและได้ฟ้องคดีเพื่อรักษาสิทธิของตนเองมากขึ้น เช่นในปี 2553 มีคดีที่ฟ้องเข้ามาจำนวน 6,880 คดี ในปี 2554 จำนวน 8,267 คดี และในปี 2555 มีจำนวนถึง 11,635 คดี ซึ่งศาลปกครองเองก็ต้องเร่งพัฒนาระบบบริหารจัดการคดีเพื่อแก้ไขปัญหาไม่ให้มีคดีค้างจำนวนมาก
โดยเมื่อปีที่ผ่านมาพบว่าศาลปกครองสามารถทำคดีแล้วเสร็จได้สูงสุดมากกว่าทุกปี และศาลปกครองได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเร่งจัดการคดีคงค้างก่อนปี 2553 ให้แล้วเสร็จภายในปี 2556 นี้ รวมทั้งมุ่งเน้นการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการทำงาน ภายใต้แนวคิด “ศาลปกครองของประชาชน” เพื่อให้การพิจารณาคดีของศาลปกครองมีความรวดเร็ว เป็นธรรม มีคุณภาพและมีมาตรฐาน สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของประชาชนได้มากยิ่งขึ้น
ประเด็นที่สี่ ที่กล่าวว่าศาลปกครองเป็นองค์กรศาลที่ใช้อำนาจได้โดยอิสระและไม่ถูกตรวจสอบนั้น ประเด็นนี้เป็นความเข้าใจที่ค่อนข้างจะคลาดเคลื่อนอย่างมากครับ เพราะแม้ศาลปกครองจะมีอิสระตามหลักความเป็นอิสระของศาลและหลักแบ่งแยกอำนาจก็ตาม แต่ศาลปกครองก็ถูกออกแบบมาเพื่อให้เป็นองค์กรที่โปร่งใสและถูกตรวจสอบได้ เช่น มีระบบตรวจสอบการพิจารณาคดี 2 ชั้น โดยตุลาการเป็นองค์คณะและตุลาการผู้แถลงคดี มีระบบศาล 2 ชั้นในศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุด และยังมีที่ประชุมใหญ่ของศาลปกครองสูงสุดคอยตรวจสอบการพิจารณาคดีอีกชั้นหนึ่ง ในการเข้ารับตำแหน่งของตุลาการศาลปกครองต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาก่อนได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ตุลาการศาลปกครองต้องแจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินทั้งก่อนเข้ารับตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่ง ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ก็อาจถูกถอดถอนให้พ้นจากตำแหน่งโดยมติของสภาได้ตลอดเวลา ฯลฯ มีคณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) ในการบริหารงานบุคคลและควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่และปฏิบัติตนของตุลาการเช่นเดียวกับ ก.ต. ของศาลยุติธรรม โดยมีผู้แทนจากรัฐสภาและผู้แทนจากรัฐบาลร่วมอยู่ด้วย ก่อนการดำเนินงานในขั้นตอนการของบประมาณต้องมีการชี้แจงแสดงเหตุผลต่อสภาเพื่อขอรับงบประมาณไปดำเนินงาน รวมทั้งเมื่อปฏิบัติงานไปแล้วยังต้องจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีเสนอต่อรัฐบาลและสภาเพื่อการตรวจสอบด้วย ระบบตรวจสอบการทำงานของศาลปกครองจึงมีความเข้มข้นไม่น้อยไปกว่าศาลยุติธรรมและยึดโยงการตรวจสอบโดยประชาชน
ประเด็นที่ห้า การมีระบบศาลคู่ส่งผลให้คดีล่าช้ากรณีมีความเห็นเรื่องเขตอำนาจศาลที่ขัดกันเพราะต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเป็นผู้พิจารณา ในการแก้ปัญหาประเด็นนี้นั้นผมขอหยิบยกกรณีของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ที่มีสถาบันตุลาการแยกเป็นอิสระต่อกันถึง ๕ ศาล โดยระบบกฎหมายเยอรมันได้วางหลักว่า หากศาลที่รับคำฟ้องพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจตน ก็ให้รับคำฟ้องไว้พิจารณาได้โดยทันที แต่หากเห็นว่าตนไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในคดีดังกล่าว ก็ให้ส่งคำฟ้องไปยังศาลอื่นที่มีอำนาจ ซึ่งศาลที่สองที่รับคำฟ้องมานั้นไม่อาจปฏิเสธได้ว่าตนปราศจากอำนาจ เมื่อนำมาเทียบเคียงกับกรณีของประเทศไทย หากมีการแก้กฎหมายให้ประธานศาลปกครองสูงสุดซึ่งเป็นประธานศาลชำนาญการเกี่ยวกับข้อพิพาททางปกครองเป็น ผู้พิจารณาว่าคดีที่ฟ้องเข้ามาอยู่ในอำนาจของศาลปกครองหรือไม่ หากคดีใดเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง คดีนั้นก็จะเข้าไปอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมโดยทันที ซึ่งผมเห็นว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการแก้ไขปัญหาในประเด็นนี้ที่ตรงประเด็นและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่าครับ...
ทั้ง 5 ประเด็นดังกล่าว เป็นสิ่งที่ครองธรรมอยากฝากให้สังคมร่วมกันขบคิด เพราะศาลปกครองเกิดขึ้นโดยรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชนและอยู่ได้ด้วยความศรัทธาจากประชาชน การเปลี่ยนแปลงจึงควรเกิดจากความเห็นพ้องของประชาชน และควรต้องฟังเสียงประชาชน !
ครองธรรม ธรรมรัฐ