โฆษกอัยการสูงสุด ย้ำ ส.ส.มีอำนาจเข้าชื่อขอถอดถอนอัยการสูงสุดได้ตามรัฐธรรมนูญ แต่ต้องปรากฏข้อเท็จจริงส่อว่าทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ยันคดีสั่งไม่ฎีกา “หญิงอ้อ-บรรณพจน์” ได้ผ่านการกลั่นกรองจากข้อกฎหมายแทบทั้งสิ้น ปัดไม่ขอออกความเห็นกลัวไม่กลัวถูกตรวจสอบ ชี้อัยการมีอิสระพิจารณาสั่งคดี การสั่งไม่ฎีกาเป็นตามอำนาจหน้าที่ และเป็นดุลยพินิจ
วันนี้ (28 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เรียกร้องให้นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ชี้แจงและตอบคำถามแก่สังคม กรณีสั่งไม่ฎีกาคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ หรือ ชินวัตร นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรม และนางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการคุณหญิงพจมาน ในคดีหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) โดยมี ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เตรียมเข้าชื่อถอดถอนนายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด นั้น นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ และโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยว่า แม้ว่าตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ประกอบ 271 จะระบุให้ ส.ส.มีอำนาจเข้าชื่อขอถอดถอนอัยการสูงสุดได้ก็ตาม แต่ก็ต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งคดีนี้อัยการได้พิจารณาจากปัญหาข้อกฎหมายแทบทั้งสิ้น ส่วนพยานในสำนวนก็เพิ่งมาพบกันในชั้นพิจารณา อัยการจึงไม่รู้ข้อบกพร่องของพยาน
ผู้สื่อข่าวถามว่า อัยการกลัวการถูกตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายธนพิชญ์ กล่าวว่า ตนไม่อยากตอบว่ากลัวหรือไม่กลัว จะกลายเป็นการตอบโต้ แต่ขอชี้แจงว่ารัฐธรรมนูญฉบับเดียวกันนี้ มาตรา 255 วรรค 2 บัญญัติว่าอัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดี และยังมีอำนาจสั่งคดีตามพระราชบัญญัติอัยการ ปี 2553 มาตรา 21 ประกอบมาตรา 22 ซึ่งการพิจารณาสั่งไม่ฎีกาจึงเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ และเป็นดุลพินิจ ดังนั้นอัยการจึงได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
เมื่อถามว่าเบื้องหลังการไม่ยื่นฎีกาคดีนี้เป็นอย่างไร นายธนพิชญ์ กล่าวว่า แม้กฎหมายจะกำหนดให้สำนวนคดีที่มาจาก ป.ป.ช.ให้อัยการสูงเป็นผู้เดียวในการสั่งฎีกา ต่างกับคดีทั่วไปที่อัยการเจ้าของสำนวนจะต้องทำบันทึกว่าสมควรฎีกาและส่งไปให้สำนักงานอัยการคดีศาลสูงกลั่นกรองก็ตาม ซึ่งคดีนี้ก่อนถึงมืออัยการสูงสุดก็ได้ผ่านคณะกรรมการกลั่นกรอง โดยมีตนซึ่งเป็นอธิบดีอัยการจากสำนักงานคดีพิเศษ นายวินัย ดำรงมงคลกุล อธิบดีอัยการสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญา นายเศกสรรค์ ปางสมบุญ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีเศรษฐกิจฯ ผู้แทนอัยการสำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย และอัยการผู้เชี่ยวชาญมากลั่นกรองก่อนเสนออัยการสูงสุดแล้ว
วันนี้ (28 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เรียกร้องให้นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด ชี้แจงและตอบคำถามแก่สังคม กรณีสั่งไม่ฎีกาคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ หรือ ชินวัตร นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรม และนางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการคุณหญิงพจมาน ในคดีหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากรบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) โดยมี ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ เตรียมเข้าชื่อถอดถอนนายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด นั้น นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ และโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยว่า แม้ว่าตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 270 ประกอบ 271 จะระบุให้ ส.ส.มีอำนาจเข้าชื่อขอถอดถอนอัยการสูงสุดได้ก็ตาม แต่ก็ต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีการส่อว่ากระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งคดีนี้อัยการได้พิจารณาจากปัญหาข้อกฎหมายแทบทั้งสิ้น ส่วนพยานในสำนวนก็เพิ่งมาพบกันในชั้นพิจารณา อัยการจึงไม่รู้ข้อบกพร่องของพยาน
ผู้สื่อข่าวถามว่า อัยการกลัวการถูกตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายธนพิชญ์ กล่าวว่า ตนไม่อยากตอบว่ากลัวหรือไม่กลัว จะกลายเป็นการตอบโต้ แต่ขอชี้แจงว่ารัฐธรรมนูญฉบับเดียวกันนี้ มาตรา 255 วรรค 2 บัญญัติว่าอัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดี และยังมีอำนาจสั่งคดีตามพระราชบัญญัติอัยการ ปี 2553 มาตรา 21 ประกอบมาตรา 22 ซึ่งการพิจารณาสั่งไม่ฎีกาจึงเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ และเป็นดุลพินิจ ดังนั้นอัยการจึงได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
เมื่อถามว่าเบื้องหลังการไม่ยื่นฎีกาคดีนี้เป็นอย่างไร นายธนพิชญ์ กล่าวว่า แม้กฎหมายจะกำหนดให้สำนวนคดีที่มาจาก ป.ป.ช.ให้อัยการสูงเป็นผู้เดียวในการสั่งฎีกา ต่างกับคดีทั่วไปที่อัยการเจ้าของสำนวนจะต้องทำบันทึกว่าสมควรฎีกาและส่งไปให้สำนักงานอัยการคดีศาลสูงกลั่นกรองก็ตาม ซึ่งคดีนี้ก่อนถึงมืออัยการสูงสุดก็ได้ผ่านคณะกรรมการกลั่นกรอง โดยมีตนซึ่งเป็นอธิบดีอัยการจากสำนักงานคดีพิเศษ นายวินัย ดำรงมงคลกุล อธิบดีอัยการสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญา นายเศกสรรค์ ปางสมบุญ อธิบดีอัยการสำนักงานคดีเศรษฐกิจฯ ผู้แทนอัยการสำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย และอัยการผู้เชี่ยวชาญมากลั่นกรองก่อนเสนออัยการสูงสุดแล้ว