รมว.ยุติธรรม ย้ำยังถูกดักฟังโทรศัพท์ แต่ไม่คิดทำอะไรอีแอบ บอกเรื่องนี้ไม่จำเป็นที่อธิบดีดีเอสไอต้องชี้แจง เพราะไม่ใช่ประเด็นนำไปสู่ความเข้าใจผิด พร้อมให้โอกาส “ทวี สอดส่อง” ทำงาน ไม่ต้องกลัวถูกย้าย ถ้าย้ายใครต้องมีคำตอบชัดเจน ขณะเดียวกัน ผุดไอเดียส่งเสริมนักโทษเรียนกฎหมาย หลังพ้นโทษจะให้เป็นทนายอาสาประจำกระทรวง
วันนี้ (13 ม.ค.) ที่กระทรวงยุติธรรม นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยถึงกรณีการถูกดักฟังโทรศัพท์ว่า จนถึงขณะนี้ตนยังถูกดักฟังโทรศัพท์อยู่ แต่ตนจะไม่ทำอะไร และที่ผ่านมาก็ไม่ได้คุยกับ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ถึงเรื่องการดักฟังโทรศัพท์ แต่ได้พูดคุยกันเฉพาะเรื่องงานเท่านั้น โดย พ.ต.อ.ทวี ก็ไม่ได้ชี้แจงอะไร และเรื่องดังกล่าวไม่ใช่ประเด็นที่นำไปสู่ความเข้าใจผิดกันจึงไม่จำเป็นต้องมาชี้แจง แต่ขอให้ทำงานตามความรับผิดชอบอย่างดีที่สุด
“ผมยืนยันว่าจะให้โอกาสอธิบดีดีเอสไอทำงานพิสูจน์ตนเอง ทั้งนี้จะมีการพิจารณาการทำงานของผู้บริหารทุกหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรม หากการทำงานมีความคืบหน้าก็ถือว่ามีผลงาน ไม่ต้องกลัวจะถูกโยกย้าย หากผมจะย้ายใครต้องตอบคำถามได้ว่าเกิดจากอะไร และจะไม่นำเรื่องการเมืองมาเกี่ยวข้อง” นายพีระพันธุ์ กล่าว
นายพีระพันธุ์ กล่าวอีกว่า ตนได้เสนอตั้งคณะทำงานด้านต่างๆ ของกระทรวงยุติธรรมรวม 8 ด้าน ประกอบด้วย 1.คณะทำงานดูแลเว็บไซต์เกี่ยวกับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 2.คณะทำงานด้านการดูแลกฎหมายและอำนวยความยุติธรรม 3.คณะทำงานด้านการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง 4.คณะทำงานเผยแพร่พระเกียรติภูมิของพระมหากษัตริย์ 5.คณะทำงานเผยแพร่ข่าวสารกฎหมายและข่าวสารทางราชการ 6.คณะทำงานรับเรื่องราวร้องทุกข์ ร้องเรียนของประชาชน 7.ด้านการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครยุติธรรม 8.คณะทำงานเฉพาะกิจ โดยแต่ละคณะทำงานจะมีชุดละ 5-8 คน ซึ่งตนจะเป็นผู้คัดเลือกทั้งหมด และคณะทำงานทุกชุดจะต้องรายงานผลความคืบหน้าการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยคณะทำงานทุกคนจะไม่ได้รับเงินเดือน จะได้เพียงเบี้ยประชุมเท่านั้น
นอกจากนี้ นายพีระพันธุ์ กล่าวด้วยว่า ตนได้เสนอให้กรมราชทัณฑ์จัดหาอาชีพสนับสนุนนักโทษให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถนำไปประกอบอาชีพหลังพ้นโทษได้จริง ซึ่งตนพบว่านักโทษจำนวนมากที่เรียนด้านกฎหมายจากในเรือนจำ และเมื่อพ้นโทษกลับไม่มีสถานประกอบการใดรับเข้าทำงาน และยังติดเรื่องประวัติเคยต้องโทษอาญา ทางเนติบัณฑิตยสภาก็ไม่รับรองนักโทษออกมาจึงทำงานด้านกฎหมายตามที่ได้เรียนมาไม่ได้ ดังนั้น ตนมีความเห็นว่าจะให้นักโทษที่เรียนจบกฎหมายจากในเรือนจำ เมื่อพ้นโทษออกมาจะให้มาเป็นทนายความอาสาของกระทรวงยุติธรรม ทำงานมีเงินเดือนเหมือนพนักงานข้าราชการทั่วไป
วันนี้ (13 ม.ค.) ที่กระทรวงยุติธรรม นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เปิดเผยถึงกรณีการถูกดักฟังโทรศัพท์ว่า จนถึงขณะนี้ตนยังถูกดักฟังโทรศัพท์อยู่ แต่ตนจะไม่ทำอะไร และที่ผ่านมาก็ไม่ได้คุยกับ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ถึงเรื่องการดักฟังโทรศัพท์ แต่ได้พูดคุยกันเฉพาะเรื่องงานเท่านั้น โดย พ.ต.อ.ทวี ก็ไม่ได้ชี้แจงอะไร และเรื่องดังกล่าวไม่ใช่ประเด็นที่นำไปสู่ความเข้าใจผิดกันจึงไม่จำเป็นต้องมาชี้แจง แต่ขอให้ทำงานตามความรับผิดชอบอย่างดีที่สุด
“ผมยืนยันว่าจะให้โอกาสอธิบดีดีเอสไอทำงานพิสูจน์ตนเอง ทั้งนี้จะมีการพิจารณาการทำงานของผู้บริหารทุกหน่วยงานในกระทรวงยุติธรรม หากการทำงานมีความคืบหน้าก็ถือว่ามีผลงาน ไม่ต้องกลัวจะถูกโยกย้าย หากผมจะย้ายใครต้องตอบคำถามได้ว่าเกิดจากอะไร และจะไม่นำเรื่องการเมืองมาเกี่ยวข้อง” นายพีระพันธุ์ กล่าว
นายพีระพันธุ์ กล่าวอีกว่า ตนได้เสนอตั้งคณะทำงานด้านต่างๆ ของกระทรวงยุติธรรมรวม 8 ด้าน ประกอบด้วย 1.คณะทำงานดูแลเว็บไซต์เกี่ยวกับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ 2.คณะทำงานด้านการดูแลกฎหมายและอำนวยความยุติธรรม 3.คณะทำงานด้านการพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขัง 4.คณะทำงานเผยแพร่พระเกียรติภูมิของพระมหากษัตริย์ 5.คณะทำงานเผยแพร่ข่าวสารกฎหมายและข่าวสารทางราชการ 6.คณะทำงานรับเรื่องราวร้องทุกข์ ร้องเรียนของประชาชน 7.ด้านการสร้างเครือข่ายอาสาสมัครยุติธรรม 8.คณะทำงานเฉพาะกิจ โดยแต่ละคณะทำงานจะมีชุดละ 5-8 คน ซึ่งตนจะเป็นผู้คัดเลือกทั้งหมด และคณะทำงานทุกชุดจะต้องรายงานผลความคืบหน้าการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยคณะทำงานทุกคนจะไม่ได้รับเงินเดือน จะได้เพียงเบี้ยประชุมเท่านั้น
นอกจากนี้ นายพีระพันธุ์ กล่าวด้วยว่า ตนได้เสนอให้กรมราชทัณฑ์จัดหาอาชีพสนับสนุนนักโทษให้มากขึ้น เพื่อให้สามารถนำไปประกอบอาชีพหลังพ้นโทษได้จริง ซึ่งตนพบว่านักโทษจำนวนมากที่เรียนด้านกฎหมายจากในเรือนจำ และเมื่อพ้นโทษกลับไม่มีสถานประกอบการใดรับเข้าทำงาน และยังติดเรื่องประวัติเคยต้องโทษอาญา ทางเนติบัณฑิตยสภาก็ไม่รับรองนักโทษออกมาจึงทำงานด้านกฎหมายตามที่ได้เรียนมาไม่ได้ ดังนั้น ตนมีความเห็นว่าจะให้นักโทษที่เรียนจบกฎหมายจากในเรือนจำ เมื่อพ้นโทษออกมาจะให้มาเป็นทนายความอาสาของกระทรวงยุติธรรม ทำงานมีเงินเดือนเหมือนพนักงานข้าราชการทั่วไป