“จำลอง” แจงศาลเหตุต้องปิดถนนรอบสถานที่ชุมนุม เพื่อความสะดวกในการดูแลความปลอดภัยให้ผู้ชุมนุม “พิภพ” ยันเจรจาผู้บริหารสถานศึกษาเคลียร์ปัญหาเรื่องเสียง และการจราจรแล้ว ก่อนถูกฟ้องคดี ศาลนัดฟังคำสั่งพรุ่งนี้ (2 ก.ค.) 14.00 น.พร้อมแจงที่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวไม่ได้เป็นการสั่งให้รื้อเวที หรือยุติการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ส่วนอีกคดี ศาลแพ่งสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้าม “สนธิ” พูดจาให้ร้าย “แม้ว”
วันนี้ (1 ก.ค.) ภายหลังจากที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พร้อมด้วย นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความแกนนำพันธมิตรฯ และ นายนิติธร ล้ำเหลือ กรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งเพื่อขอไต่สวนฉุกเฉินให้ศาลระงับ หรือแก้ไขคำสั่งเพื่อให้พันธมิตรฯ เปิดถนนพระราม 5 และถนนพิษณุโลก ตามคำร้องของครูและคณะผู้ปกครองโรงเรียนราชวินิตมัธยม และศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อวานที่ผ่านมา โดยศาลได้นัดไต่สวน พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และ นายพิภพ ธงไชย ในช่วงบ่ายนั้น
เมื่อเวลา 14.00 น. นายสุวัตร ได้นำ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ ขึ้นเบิกความว่าวัตถุประสงค์หลังในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ คือ การทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 70 ที่ระบุว่า บุคคลต้องมีหน้าที่ปกปักษ์พิทักษ์ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งการชุมนุมตลอด 38 วันที่ผ่านมา เป็นการชุมนุมโดยสันติไม่ใช้ความรุนแรง และปราศจากอาวุธ ไม่มีการปราศรัยด้วยถ้อยคำหยาบคาย ส่วนมูลเหตุของการชุมนุม เนื่องจากรัฐบาลของพรรคพลังประชาชนต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ในมาตรา 237 และ 309 เพื่อขัดขวางองค์กรอิสระไม่ให้ดำเนินการตรวจสอบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และหนีคดียุบพรรค รวมทั้งทำให้กลุ่มอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปีกลับเข้าสู่เส้นทางการเมืองได้
พล.ต.จำลอง กล่าวต่อว่า สาเหตุสำคัญที่พันธมิตรฯต้องปิดโดยรอบสถานที่ชุมนุม เนื่องจากต้องดูแลความปลอดภัยให้กับกลุ่มผู้ชุมนุม หลังจากจากมีกลุ่ม นปก.ซึ่งมีพฤติกรรมเป็นอันธพาล ทำร้ายประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุม
ทั้งนี้ ทนายจำเลยได้นำส่งแผ่นวีซีดีบันทึกภาพเหตุการณ์ที่กลุ่มต่อต้านไล่ทำร้ายกลุ่มพันธมิตรฯ ให้ศาลพิจารณาด้วย
พล.ต.จำลอง กล่าวว่า การชุมนุมที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2551 พันธมิตรฯเคยลองเปิดให้รถเมล์แล่นผ่านสถานที่ชุมนุมในระยะเวลาสั้นๆ ปรากฏว่า มี กลุ่ม นปก.มีท่าทีจะเข้ามาก่อความวุ่นวาย จึงได้มีการปิดถนนเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ชุมนุม นอกจากนี้ในการชุมนุมครั้งล่าสุดที่หน้าทำเนียบรัฐบาล พบว่า มีกลุ่ม นปก.ปะปนเข้ามาพยายามก่อความวุ่นวายหลายครั้ง ซึ่งแกนนำพันธมิตรฯ ตระหนักถึงความปลอดภัย หากกลุ่มผู้ชุมนุมคนหนึ่งคนใดเสียชีวิตไปเพียงคนเดียว ก็จะทำให้การชุมนุมต้องล่มสลายไป ดังนั้น การเปิดให้รถยนต์ส่วนบุคคล หรือรถเมล์ผ่านในช่วงเวลาเล็กน้อยก็จะไม่คุ้มหากเกิดเหตุร้ายขึ้น
พล.ต.จำลอง เบิกความว่า จากประวัติศาสตร์ของการเมืองไทย ไม่มีครั้งไหนที่สามารถแก้ไขสถานการณ์ในรัฐสภาได้ จึงต้องอาศัยการแก้ไขด้วยการใช้สิทธิในการชุมนุมของประชาชน อย่างไรก็ตาม หากศาลไม่อนุญาตตามคำร้องของฝ่ายจำเลย ขอยืนยันว่า ในอนาคตจะไม่มีการชุมนุมเกิดขึ้นในประเทศไทยอีกอย่างแน่นอน ซึ่งการที่ฝ่ายโจทก์ร้องขอต่อศาลให้กลุ่มพันธมิตรฯเปิดถนน เท่ากับว่า เป็นการขอให้ยุติการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ทั้งนี้ หากศาลจะพิจารณามีคำสั่งอย่างไร ตนก็รับได้ อย่างไรก็ดี หากศาลยกคำร้องของฝ่ายจำเลยก็รู้สึกดีใจที่จะได้กลับบ้านไม่ต้องมาลำบากบนท้องถนนอีก แต่หากศาลมีคำสั่งที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มพันธมิตรฯพวกตนก็จะทำหน้าที่เพื่อชาติบ้านเมืองต่อไป
ต่อมา นายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรฯ เบิกความว่า ที่ผ่านมาการชุมนุมหรือเดินขบวนของกลุ่มพันธมิตรฯได้คำนึงถึงผลกระทบต่อเกิดขึ้นอย่างรอบด้านโดยตลอด ซึ่งตนมีหน้าที่เจรจากับหลายๆ ฝ่าย เพื่อรับทราบความคิดเห็นต่างๆ โดยเฉพาะการชุมนุมที่บริเวณทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา ก่อนจะมีการฟ้องร้องในคดีนี้ ตนได้เป็นตัวแทนแกนนำพันธมิตรฯไปหารือกับผู้บริหารสถานศึกษาโดยรอบสถานที่ชุมนุม ทั้งโรงเรียนราชวินิตมัธยม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร เพื่อรับทราบปัญหา โดยได้ความว่า ในการชุมนุมวันแรกมีเสียงจากเวทีปราศรัยเข้าไปรบกวนการเรียนการสอนของนักเรียนและนักศึกษา ซึ่งตนได้สั่งให้ปิดลำโพงด้านที่ใกล้กับสถานศึกษาทั้งสองแห่ง ทำให้ปัญหาเรื่องเสียงหมดไป ส่วนเรื่องการจราจรทางสถาบันการศึกษาอยากให้พันธมิตรฯเปิดถนนเพื่อให้รถเมล์ผ่านไปมาได้ เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาได้รับความสะดวกสบายในการเดินทางไปและกลับ ซึ่งตนได้ทำความเข้าใจกับผู้บริหารของทั้ง 2 สถาบัน ว่า การเปิดถนนอาจทำให้เกิดอันตราย และยากต่อการควบคุม เนื่องจากมีกลุ่มต่อต้านพยายามเข้ามาก่อความวุ่นวาย อย่างไรก็ดี ตนได้ไปหารือกับ นายสมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำพันธมิตรฯภาคแรงงาน ให้ประสานไปยังสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ให้เดินรถเพื่อส่งนักเรียนนักศึกษาในจุดที่ใกล้กับสถาบันการศึกษามากที่สุดตามที่ร้องขอ โดยรถเมล์ที่มาจากทางเทเวศร์ จะจอดส่งนักเรียนป้ายสุดท้ายที่ด้านข้างกระทรวงศึกษาธิการ บริเวณแยกมิสกวัน ส่วนที่มาจากทางบางซื่อให้จอดรถส่งนักเรียนที่สนามม้านางเลิ้ง ซึ่งก็สามารถแก้ปัญหาให้เบาบางได้ในระดับหนึ่ง
ภายหลังพยานเบิกความแล้วเสร็จ ศาลได้กล่าวชี้แจงในส่วนของ นายนคร ชมพูชาติ ศาลเห็นว่า จะเบิกความเกี่ยวกับประเด็นปัญหาข้อกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นความเห็นในฐานะคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ซึ่งไม่ใช่ข้อเท็จจริงแห่งคดีศาล จึงมีคำสั่งให้ นายนคร ทำความเห็นยื่นเป็นคำแถลงต่อศาลภายในเช้าวันพรุ่งนี้ (2 ก.ค.) หากไม่ยื่นถือว่าไม่ติดใจ โดยศาลนัดฟังคำสั่งคดีในวันที่ 2 ก.ค.นี้ เวลา 14.00 น.ทั้งนี้ ศาลได้ชี้แจงให้คู่ความและกลุ่มที่มาให้กำลังใจพันธมิตรฯ ฟังว่า ทีศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวไม่ได้เป็นการสั่งให้รื้อเวที หรือยุติการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งศาลไม่ต้องการให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่องนี้ โดยศาลดำเนินการไปในฐานะเป็นคนกลาง คำสั่งของศาลย่อมจะมีฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์ และฝ่ายหนึ่งต้องเสียประโยชน์ ซึ่งคู่ความที่เสียประโยชน์สามารถยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งได้ตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันที่ห้องพิจารณาคดี 710 ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลได้อ่านคำสั่งร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีดำที่ 3675/2551 ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯกับพวก เรื่องละเมิด กรณีที่นายสนธิ ปราศรัยบนเวทีพันธมิตรฯ พาดพิง โดยศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามเฉพาะนายสนธิ กล่าวพาดพิงถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ในทางเสียหาย โดยศาลเตรียมส่งหมายแจ้งให้จำเลยทราบต่อไป
วันนี้ (1 ก.ค.) ภายหลังจากที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พร้อมด้วย นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความแกนนำพันธมิตรฯ และ นายนิติธร ล้ำเหลือ กรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ ยื่นคำร้องต่อศาลแพ่งเพื่อขอไต่สวนฉุกเฉินให้ศาลระงับ หรือแก้ไขคำสั่งเพื่อให้พันธมิตรฯ เปิดถนนพระราม 5 และถนนพิษณุโลก ตามคำร้องของครูและคณะผู้ปกครองโรงเรียนราชวินิตมัธยม และศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อวานที่ผ่านมา โดยศาลได้นัดไต่สวน พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และ นายพิภพ ธงไชย ในช่วงบ่ายนั้น
เมื่อเวลา 14.00 น. นายสุวัตร ได้นำ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ ขึ้นเบิกความว่าวัตถุประสงค์หลังในการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ คือ การทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 70 ที่ระบุว่า บุคคลต้องมีหน้าที่ปกปักษ์พิทักษ์ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ซึ่งการชุมนุมตลอด 38 วันที่ผ่านมา เป็นการชุมนุมโดยสันติไม่ใช้ความรุนแรง และปราศจากอาวุธ ไม่มีการปราศรัยด้วยถ้อยคำหยาบคาย ส่วนมูลเหตุของการชุมนุม เนื่องจากรัฐบาลของพรรคพลังประชาชนต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ในมาตรา 237 และ 309 เพื่อขัดขวางองค์กรอิสระไม่ให้ดำเนินการตรวจสอบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และหนีคดียุบพรรค รวมทั้งทำให้กลุ่มอดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปีกลับเข้าสู่เส้นทางการเมืองได้
พล.ต.จำลอง กล่าวต่อว่า สาเหตุสำคัญที่พันธมิตรฯต้องปิดโดยรอบสถานที่ชุมนุม เนื่องจากต้องดูแลความปลอดภัยให้กับกลุ่มผู้ชุมนุม หลังจากจากมีกลุ่ม นปก.ซึ่งมีพฤติกรรมเป็นอันธพาล ทำร้ายประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุม
ทั้งนี้ ทนายจำเลยได้นำส่งแผ่นวีซีดีบันทึกภาพเหตุการณ์ที่กลุ่มต่อต้านไล่ทำร้ายกลุ่มพันธมิตรฯ ให้ศาลพิจารณาด้วย
พล.ต.จำลอง กล่าวว่า การชุมนุมที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ เมื่อวันที่ 25 พ.ค.2551 พันธมิตรฯเคยลองเปิดให้รถเมล์แล่นผ่านสถานที่ชุมนุมในระยะเวลาสั้นๆ ปรากฏว่า มี กลุ่ม นปก.มีท่าทีจะเข้ามาก่อความวุ่นวาย จึงได้มีการปิดถนนเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ชุมนุม นอกจากนี้ในการชุมนุมครั้งล่าสุดที่หน้าทำเนียบรัฐบาล พบว่า มีกลุ่ม นปก.ปะปนเข้ามาพยายามก่อความวุ่นวายหลายครั้ง ซึ่งแกนนำพันธมิตรฯ ตระหนักถึงความปลอดภัย หากกลุ่มผู้ชุมนุมคนหนึ่งคนใดเสียชีวิตไปเพียงคนเดียว ก็จะทำให้การชุมนุมต้องล่มสลายไป ดังนั้น การเปิดให้รถยนต์ส่วนบุคคล หรือรถเมล์ผ่านในช่วงเวลาเล็กน้อยก็จะไม่คุ้มหากเกิดเหตุร้ายขึ้น
พล.ต.จำลอง เบิกความว่า จากประวัติศาสตร์ของการเมืองไทย ไม่มีครั้งไหนที่สามารถแก้ไขสถานการณ์ในรัฐสภาได้ จึงต้องอาศัยการแก้ไขด้วยการใช้สิทธิในการชุมนุมของประชาชน อย่างไรก็ตาม หากศาลไม่อนุญาตตามคำร้องของฝ่ายจำเลย ขอยืนยันว่า ในอนาคตจะไม่มีการชุมนุมเกิดขึ้นในประเทศไทยอีกอย่างแน่นอน ซึ่งการที่ฝ่ายโจทก์ร้องขอต่อศาลให้กลุ่มพันธมิตรฯเปิดถนน เท่ากับว่า เป็นการขอให้ยุติการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ทั้งนี้ หากศาลจะพิจารณามีคำสั่งอย่างไร ตนก็รับได้ อย่างไรก็ดี หากศาลยกคำร้องของฝ่ายจำเลยก็รู้สึกดีใจที่จะได้กลับบ้านไม่ต้องมาลำบากบนท้องถนนอีก แต่หากศาลมีคำสั่งที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มพันธมิตรฯพวกตนก็จะทำหน้าที่เพื่อชาติบ้านเมืองต่อไป
ต่อมา นายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรฯ เบิกความว่า ที่ผ่านมาการชุมนุมหรือเดินขบวนของกลุ่มพันธมิตรฯได้คำนึงถึงผลกระทบต่อเกิดขึ้นอย่างรอบด้านโดยตลอด ซึ่งตนมีหน้าที่เจรจากับหลายๆ ฝ่าย เพื่อรับทราบความคิดเห็นต่างๆ โดยเฉพาะการชุมนุมที่บริเวณทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมา ก่อนจะมีการฟ้องร้องในคดีนี้ ตนได้เป็นตัวแทนแกนนำพันธมิตรฯไปหารือกับผู้บริหารสถานศึกษาโดยรอบสถานที่ชุมนุม ทั้งโรงเรียนราชวินิตมัธยม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการพระนคร เพื่อรับทราบปัญหา โดยได้ความว่า ในการชุมนุมวันแรกมีเสียงจากเวทีปราศรัยเข้าไปรบกวนการเรียนการสอนของนักเรียนและนักศึกษา ซึ่งตนได้สั่งให้ปิดลำโพงด้านที่ใกล้กับสถานศึกษาทั้งสองแห่ง ทำให้ปัญหาเรื่องเสียงหมดไป ส่วนเรื่องการจราจรทางสถาบันการศึกษาอยากให้พันธมิตรฯเปิดถนนเพื่อให้รถเมล์ผ่านไปมาได้ เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาได้รับความสะดวกสบายในการเดินทางไปและกลับ ซึ่งตนได้ทำความเข้าใจกับผู้บริหารของทั้ง 2 สถาบัน ว่า การเปิดถนนอาจทำให้เกิดอันตราย และยากต่อการควบคุม เนื่องจากมีกลุ่มต่อต้านพยายามเข้ามาก่อความวุ่นวาย อย่างไรก็ดี ตนได้ไปหารือกับ นายสมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำพันธมิตรฯภาคแรงงาน ให้ประสานไปยังสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ให้เดินรถเพื่อส่งนักเรียนนักศึกษาในจุดที่ใกล้กับสถาบันการศึกษามากที่สุดตามที่ร้องขอ โดยรถเมล์ที่มาจากทางเทเวศร์ จะจอดส่งนักเรียนป้ายสุดท้ายที่ด้านข้างกระทรวงศึกษาธิการ บริเวณแยกมิสกวัน ส่วนที่มาจากทางบางซื่อให้จอดรถส่งนักเรียนที่สนามม้านางเลิ้ง ซึ่งก็สามารถแก้ปัญหาให้เบาบางได้ในระดับหนึ่ง
ภายหลังพยานเบิกความแล้วเสร็จ ศาลได้กล่าวชี้แจงในส่วนของ นายนคร ชมพูชาติ ศาลเห็นว่า จะเบิกความเกี่ยวกับประเด็นปัญหาข้อกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เป็นความเห็นในฐานะคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ซึ่งไม่ใช่ข้อเท็จจริงแห่งคดีศาล จึงมีคำสั่งให้ นายนคร ทำความเห็นยื่นเป็นคำแถลงต่อศาลภายในเช้าวันพรุ่งนี้ (2 ก.ค.) หากไม่ยื่นถือว่าไม่ติดใจ โดยศาลนัดฟังคำสั่งคดีในวันที่ 2 ก.ค.นี้ เวลา 14.00 น.ทั้งนี้ ศาลได้ชี้แจงให้คู่ความและกลุ่มที่มาให้กำลังใจพันธมิตรฯ ฟังว่า ทีศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวไม่ได้เป็นการสั่งให้รื้อเวที หรือยุติการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งศาลไม่ต้องการให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่องนี้ โดยศาลดำเนินการไปในฐานะเป็นคนกลาง คำสั่งของศาลย่อมจะมีฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์ และฝ่ายหนึ่งต้องเสียประโยชน์ ซึ่งคู่ความที่เสียประโยชน์สามารถยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งได้ตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันเดียวกันที่ห้องพิจารณาคดี 710 ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ศาลได้อ่านคำสั่งร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในคดีดำที่ 3675/2551 ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯกับพวก เรื่องละเมิด กรณีที่นายสนธิ ปราศรัยบนเวทีพันธมิตรฯ พาดพิง โดยศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามเฉพาะนายสนธิ กล่าวพาดพิงถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ในทางเสียหาย โดยศาลเตรียมส่งหมายแจ้งให้จำเลยทราบต่อไป