ผลการลงประชามติ “Brexit” ของชาวสหราชอาณาจักร นับว่าส่งผลสะเทือนไปทั้งโลก
แค่การจัดทำประชามติออกจากยุโรปนั้นล่อแหลมมากแล้ว เพราะเป็นการกระทบต่อเอกภาพของการรวมกลุ่มกันเป็นสหภาพยุโรป คล้ายๆ กับมีสมาชิกรุ่นก่อตั้งแสดงความลังเลว่า อยู่ต่อดี ไม่อยู่ต่อดี นั่นแหละ
เมื่อผลประชามติออกมาเป็นว่า Leave ไม่อยู่ต่อ ยิ่งกลายเป็นเรื่องช็อกโลกเข้าไปใหญ่ แต่ที่ช็อกหนักกว่า คือ ชาวสหราชอาณาจักรที่ลงมติขอแยกตัวเองนั่นแหละ
หุ้นในตลาดหุ้นตก ค่าเงินปอนด์ลดลง และผลกระทบอื่นๆ ทำให้ฝ่ายที่ออกเสียงขอให้แยกตัวถึงขนาดต้องไป Search ใน Google ดูว่า สหภาพยุโรปคืออะไร ส่งผลอย่างไรต่อประเทศด้วยซ้ำ
ยิ่งทำให้คนสงสัยเข้าไปใหญ่ว่า อ้าว แล้วก่อนไปลงประชามตินี่ ไม่ได้ดู ไม่ได้ศึกษาก่อนเลยหรือ
จากสถิติของการลงประชามติ พบว่า ผู้ที่ออกเสียงประชามติให้ออกจากสหภาพยุโรปส่วนใหญ่เป็นคนมีอายุมาก ส่วนคนที่โหวตว่าขออยู่ต่อนั้นเป็นคนหนุ่มสาว
ก็เลยมีเสียงพูดกันว่า แล้วอย่างนี้จะยุติธรรมหรือไม่ ในเมื่อคนที่จะต้องรับชะตากรรมกับประเทศนี้ต่อไปอีกนานกว่า เห็นว่าควรอยู่ต่อ ในขณะที่คนที่เหลือเวลาอยู่อีกไม่นานกลับบอกให้ออก และคนหนุ่มสาวก็ต้องรับผลแห่งการตัดสินใจอันนั้นไป
นอกจากนี้ก็ยังมีการประเมินอีกมากมายว่า ที่เสียงส่วนใหญ่ลงประชามติให้ออก เป็นเพราะความรู้สึกเชิงอนุรักษนิยมของคนอังกฤษ ที่มักจะคิดว่าตัวเองไม่ใช่พวกเดียวกับชาวยุโรปภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ หรือความเข้าใจผิดว่า หากลาออกจาก EU อังกฤษจะมีเงินเหลือเอามาทำโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้
ทั้งยังมีปัญหาว่าประเทศที่รวมในสหราชอาณาจักรอย่างสกอตแลนด์ ซึ่งเพิ่งลงประชามติไปไม่นานนี้ว่ายังยินดีรวมอยู่กับสหราชอาณาจักรนั้น เป็นฝ่ายที่ออกเสียงว่าควรอยู่กับสหภาพยุโรปต่อไป
เมื่อผลกลายเป็นว่า สกอตแลนด์ก็ต้องพ้นจากสหภาพยุโรปไปด้วยเช่นนี้ ก็มีเสียงจากฝั่งสกอตแลนด์มาว่า เมื่อสกอตแลนด์อยากอยู่ แต่อังกฤษอยากออกแบบนี้ ก็มาลงประชามติกันใหม่ดีไหม ว่าสกอตแลนด์ยังอยากรวมตัวอยู่กับอังกฤษเป็นสหราชอาณาจักรอยู่หรือไม่
นอกจากนี้ทางสหภาพยุโรปก็เหมือนจะ “ตัดบัวไม่เหลือใย” เหมือนกัน ด้วยท่าทีไม่แคร์ว่าอังกฤษจะออกจากสหภาพยุโรปไป แถมยังมีการเสนอด้วยว่า ถ้าอย่างนั้น จะตัดภาษาอังกฤษออกจากภาษาเป็นทางการของสหภาพยุโรปดีไหม
สรุปว่าเรื่องนี้ สหราชอาณาจักรหรือเฉพาะฝ่ายอังกฤษ (ที่เป็นเสียงส่วนใหญ่โหวตออกหรือ Brexit) นี่มีแต่เสียกับเสีย
ด้วยเหตุผลทั้งหมด ฝ่ายที่เห็นว่าไม่ควรออกจากสหภาพยุโรปจึงเสนออยากให้มีการลงประชามติกันใหม่ ซึ่งเอาเข้าจริงก็คงทำเช่นนั้นไม่ได้ เพราะไม่งั้นเท่ากับเป็นการแพ้แล้วพาล หรือการไม่ยอมรับผลของการลงคะแนน ซึ่งเป็นเสียงจากประชาชนโดยตรง เป็นประชาธิปไตยทางตรงที่ศักดิ์สิทธิ์กว่าการเลือกตั้งผู้แทนในสภาฯ เสียอีก
ชะตากรรมของชาวสหราชอาณาจักรก็ว่ากันไปเรื่องของเขา
ส่วนประชามติของไทยเราก็ว่ากันของเรา ซึ่งเมื่อวานนี้ ศาลรัฐธรรมนูญก็เพิ่งมีคำวินิจฉัยว่า กฎหมายประชามติ มาตรา 61 วรรคสอง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
ก็เท่ากับว่า ก็ยังดำเนินกระบวนการประชามติกันได้ต่อไป และ กกต.ก็มีอำนาจในการห้ามการแสดงประชามติที่มีลักษณะเป็นการชี้นำหรือก้าวร้าวหยาบคายต่อไปได้
ส่วนฝ่ายที่พยายามแสดงออกว่าจะมาป่วนประชามติ เช่น กลุ่ม Vote No หรือ No Vote ก็ถูกทาง คสช.ดำเนินคดีด้วยข้อหาหนัก คือเล่นกันว่าเป็นการฝ่าฝืนประกาศ คสช.เลยทีเดียว ไม่ใช่แค่ผิดตามกฎหมายประชามติเท่านั้น
มีการประเมินกันกว่า จากที่ไม่ค่อยมั่นใจว่าประชามติจะผ่านความเห็นชอบจากประชาชนหรือไม่ ตอนนี้ดูลู่ทาง ทิศทางลมแล้ว เชื่อว่าน่าจะผ่านได้แบบไม่ลุ้นมากนัก
เพราะดูจากกระแสฝ่ายต่อต้านก็เริ่มแผ่วๆ ลงไปแล้ว การออกมาต่อต้านถูกดำเนินการจับกุมอย่างเด็ดขาด แถมเมื่อจับกุมตัวไปแล้ว ก็ไม่เกิดแรงกระเพื่อมอะไรมากมายเหมือนการจับกุมนักศึกษาในครั้งก่อน ทั้งๆ คนที่ถูกจับกุมก็เป็นกลุ่มเดียวกัน
จึงเชื่อว่าทั้งฝ่ายหนุนฝ่านต้าน มองว่าไม่จำเป็นต้องมีการรณรงค์อะไรแล้ว ถึงเวลาไปหาโหวตรับ ไม่รับ ตามธงของแต่ละฝ่าย ซึ่งไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรเท่าไร
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีคนเตือนว่า ประชามตินี้ก็อาจจะยังไม่ปลอดภัยเท่าไรนัก เพราะยังมีโอกาสผันผวนอยู่ได้สูง จากพลังเงียบ หรือ Swing Voter บวกกับกลุ่มผู้ลงคะแนนจากพรรคการเมือง
เสียงสำคัญอยู่ที่พรรคเพื่อไทยที่มีลักษณะของการ “สั่งได้” ที่ชัดเจนกว่า และมีเสียงตุนอยู่ในมือมาก เรียกว่าถ้าเสียงไม่ตกไปมากจากตอนเลือกตั้งใหญ่ปี 54 อย่างน้อยๆ ร่วมสิบกว่าล้านเสียงรอสัญญาณจาก “นายใหญ่” ว่าจะ Yes จะ No
ส่วนเสียงของทางประชาธิปัตย์ก็จะออกมากั๊กๆ หน่อย คือสายที่ยังเชื่อ “กำนันสุเทพ” กปปส.ก็น่าจะโหวตรับอยู่แล้ว
แต่ที่ยังดูท่าทีไม่ออก คือ สายพรรคที่นำโดย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะหัวหน้าพรรค ซึ่งมีท่าทีแบบเหยียบเรือสองแคมยังกั๊กๆ อยู่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เพราะการแสดงออกมานั้น บางครั้งก็เหมือนกับไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญเสียอย่างนั้น
มีผู้รู้วิจารณ์ว่า ประชาธิปัตย์เสียงแตกแบบนี้ รัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ อาจจะต้องไปวัดกันที่เสียงของคนส่วนที่ไม่ใช่ฐานเสียงแน่นอนของพรรคการเมือง
จากบทเรียนของอังกฤษ การออกเสียงประชามติ ผู้ลงประชามติอาจจะไม่ได้ตั้งใจออกเสียงในประเด็นเสมอไป มักจะมีอารมณ์ ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ
ก็อาจจะถือว่าเป็นงานที่ถ้าฝ่ายรัฐบาลอยากให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่าน ก็ต้องหล่อเลี้ยงอารมณ์และความรู้สึกของเสียงที่ยังไม่ตัดสินใจนี้ไว้ให้ดี.
แค่การจัดทำประชามติออกจากยุโรปนั้นล่อแหลมมากแล้ว เพราะเป็นการกระทบต่อเอกภาพของการรวมกลุ่มกันเป็นสหภาพยุโรป คล้ายๆ กับมีสมาชิกรุ่นก่อตั้งแสดงความลังเลว่า อยู่ต่อดี ไม่อยู่ต่อดี นั่นแหละ
เมื่อผลประชามติออกมาเป็นว่า Leave ไม่อยู่ต่อ ยิ่งกลายเป็นเรื่องช็อกโลกเข้าไปใหญ่ แต่ที่ช็อกหนักกว่า คือ ชาวสหราชอาณาจักรที่ลงมติขอแยกตัวเองนั่นแหละ
หุ้นในตลาดหุ้นตก ค่าเงินปอนด์ลดลง และผลกระทบอื่นๆ ทำให้ฝ่ายที่ออกเสียงขอให้แยกตัวถึงขนาดต้องไป Search ใน Google ดูว่า สหภาพยุโรปคืออะไร ส่งผลอย่างไรต่อประเทศด้วยซ้ำ
ยิ่งทำให้คนสงสัยเข้าไปใหญ่ว่า อ้าว แล้วก่อนไปลงประชามตินี่ ไม่ได้ดู ไม่ได้ศึกษาก่อนเลยหรือ
จากสถิติของการลงประชามติ พบว่า ผู้ที่ออกเสียงประชามติให้ออกจากสหภาพยุโรปส่วนใหญ่เป็นคนมีอายุมาก ส่วนคนที่โหวตว่าขออยู่ต่อนั้นเป็นคนหนุ่มสาว
ก็เลยมีเสียงพูดกันว่า แล้วอย่างนี้จะยุติธรรมหรือไม่ ในเมื่อคนที่จะต้องรับชะตากรรมกับประเทศนี้ต่อไปอีกนานกว่า เห็นว่าควรอยู่ต่อ ในขณะที่คนที่เหลือเวลาอยู่อีกไม่นานกลับบอกให้ออก และคนหนุ่มสาวก็ต้องรับผลแห่งการตัดสินใจอันนั้นไป
นอกจากนี้ก็ยังมีการประเมินอีกมากมายว่า ที่เสียงส่วนใหญ่ลงประชามติให้ออก เป็นเพราะความรู้สึกเชิงอนุรักษนิยมของคนอังกฤษ ที่มักจะคิดว่าตัวเองไม่ใช่พวกเดียวกับชาวยุโรปภาคพื้นแผ่นดินใหญ่ หรือความเข้าใจผิดว่า หากลาออกจาก EU อังกฤษจะมีเงินเหลือเอามาทำโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้
ทั้งยังมีปัญหาว่าประเทศที่รวมในสหราชอาณาจักรอย่างสกอตแลนด์ ซึ่งเพิ่งลงประชามติไปไม่นานนี้ว่ายังยินดีรวมอยู่กับสหราชอาณาจักรนั้น เป็นฝ่ายที่ออกเสียงว่าควรอยู่กับสหภาพยุโรปต่อไป
เมื่อผลกลายเป็นว่า สกอตแลนด์ก็ต้องพ้นจากสหภาพยุโรปไปด้วยเช่นนี้ ก็มีเสียงจากฝั่งสกอตแลนด์มาว่า เมื่อสกอตแลนด์อยากอยู่ แต่อังกฤษอยากออกแบบนี้ ก็มาลงประชามติกันใหม่ดีไหม ว่าสกอตแลนด์ยังอยากรวมตัวอยู่กับอังกฤษเป็นสหราชอาณาจักรอยู่หรือไม่
นอกจากนี้ทางสหภาพยุโรปก็เหมือนจะ “ตัดบัวไม่เหลือใย” เหมือนกัน ด้วยท่าทีไม่แคร์ว่าอังกฤษจะออกจากสหภาพยุโรปไป แถมยังมีการเสนอด้วยว่า ถ้าอย่างนั้น จะตัดภาษาอังกฤษออกจากภาษาเป็นทางการของสหภาพยุโรปดีไหม
สรุปว่าเรื่องนี้ สหราชอาณาจักรหรือเฉพาะฝ่ายอังกฤษ (ที่เป็นเสียงส่วนใหญ่โหวตออกหรือ Brexit) นี่มีแต่เสียกับเสีย
ด้วยเหตุผลทั้งหมด ฝ่ายที่เห็นว่าไม่ควรออกจากสหภาพยุโรปจึงเสนออยากให้มีการลงประชามติกันใหม่ ซึ่งเอาเข้าจริงก็คงทำเช่นนั้นไม่ได้ เพราะไม่งั้นเท่ากับเป็นการแพ้แล้วพาล หรือการไม่ยอมรับผลของการลงคะแนน ซึ่งเป็นเสียงจากประชาชนโดยตรง เป็นประชาธิปไตยทางตรงที่ศักดิ์สิทธิ์กว่าการเลือกตั้งผู้แทนในสภาฯ เสียอีก
ชะตากรรมของชาวสหราชอาณาจักรก็ว่ากันไปเรื่องของเขา
ส่วนประชามติของไทยเราก็ว่ากันของเรา ซึ่งเมื่อวานนี้ ศาลรัฐธรรมนูญก็เพิ่งมีคำวินิจฉัยว่า กฎหมายประชามติ มาตรา 61 วรรคสอง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
ก็เท่ากับว่า ก็ยังดำเนินกระบวนการประชามติกันได้ต่อไป และ กกต.ก็มีอำนาจในการห้ามการแสดงประชามติที่มีลักษณะเป็นการชี้นำหรือก้าวร้าวหยาบคายต่อไปได้
ส่วนฝ่ายที่พยายามแสดงออกว่าจะมาป่วนประชามติ เช่น กลุ่ม Vote No หรือ No Vote ก็ถูกทาง คสช.ดำเนินคดีด้วยข้อหาหนัก คือเล่นกันว่าเป็นการฝ่าฝืนประกาศ คสช.เลยทีเดียว ไม่ใช่แค่ผิดตามกฎหมายประชามติเท่านั้น
มีการประเมินกันกว่า จากที่ไม่ค่อยมั่นใจว่าประชามติจะผ่านความเห็นชอบจากประชาชนหรือไม่ ตอนนี้ดูลู่ทาง ทิศทางลมแล้ว เชื่อว่าน่าจะผ่านได้แบบไม่ลุ้นมากนัก
เพราะดูจากกระแสฝ่ายต่อต้านก็เริ่มแผ่วๆ ลงไปแล้ว การออกมาต่อต้านถูกดำเนินการจับกุมอย่างเด็ดขาด แถมเมื่อจับกุมตัวไปแล้ว ก็ไม่เกิดแรงกระเพื่อมอะไรมากมายเหมือนการจับกุมนักศึกษาในครั้งก่อน ทั้งๆ คนที่ถูกจับกุมก็เป็นกลุ่มเดียวกัน
จึงเชื่อว่าทั้งฝ่ายหนุนฝ่านต้าน มองว่าไม่จำเป็นต้องมีการรณรงค์อะไรแล้ว ถึงเวลาไปหาโหวตรับ ไม่รับ ตามธงของแต่ละฝ่าย ซึ่งไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรเท่าไร
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีคนเตือนว่า ประชามตินี้ก็อาจจะยังไม่ปลอดภัยเท่าไรนัก เพราะยังมีโอกาสผันผวนอยู่ได้สูง จากพลังเงียบ หรือ Swing Voter บวกกับกลุ่มผู้ลงคะแนนจากพรรคการเมือง
เสียงสำคัญอยู่ที่พรรคเพื่อไทยที่มีลักษณะของการ “สั่งได้” ที่ชัดเจนกว่า และมีเสียงตุนอยู่ในมือมาก เรียกว่าถ้าเสียงไม่ตกไปมากจากตอนเลือกตั้งใหญ่ปี 54 อย่างน้อยๆ ร่วมสิบกว่าล้านเสียงรอสัญญาณจาก “นายใหญ่” ว่าจะ Yes จะ No
ส่วนเสียงของทางประชาธิปัตย์ก็จะออกมากั๊กๆ หน่อย คือสายที่ยังเชื่อ “กำนันสุเทพ” กปปส.ก็น่าจะโหวตรับอยู่แล้ว
แต่ที่ยังดูท่าทีไม่ออก คือ สายพรรคที่นำโดย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะหัวหน้าพรรค ซึ่งมีท่าทีแบบเหยียบเรือสองแคมยังกั๊กๆ อยู่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย เพราะการแสดงออกมานั้น บางครั้งก็เหมือนกับไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญเสียอย่างนั้น
มีผู้รู้วิจารณ์ว่า ประชาธิปัตย์เสียงแตกแบบนี้ รัฐธรรมนูญจะผ่านหรือไม่ อาจจะต้องไปวัดกันที่เสียงของคนส่วนที่ไม่ใช่ฐานเสียงแน่นอนของพรรคการเมือง
จากบทเรียนของอังกฤษ การออกเสียงประชามติ ผู้ลงประชามติอาจจะไม่ได้ตั้งใจออกเสียงในประเด็นเสมอไป มักจะมีอารมณ์ ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ
ก็อาจจะถือว่าเป็นงานที่ถ้าฝ่ายรัฐบาลอยากให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่าน ก็ต้องหล่อเลี้ยงอารมณ์และความรู้สึกของเสียงที่ยังไม่ตัดสินใจนี้ไว้ให้ดี.