แม้ว่าเหมือนจะทุกฝ่ายช่วยกัน “รุม” รัฐธรรมนูญอย่างที่เราได้เห็นในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนการลงประชามติ แต่ในที่สุดการ “รุม” นั้น ก็หาทำอะไรต่อร่างรัฐธรรมนูญได้ไม่
เมื่อในที่สุดถึงเวลาในการลงมติจริงๆ ผู้คนก็หลั่งไหลกันไปแสดงพลังให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ จนกระทั่งเสียงเห็นชอบท่วมท้น 16,820,402 คะแนน (61.35 %) ไม่เห็นชอบ 10,598,037 (38.65 %) เห็นชอบคำถามพ่วง 15,132,050 คะแนน (58.07 %) ไม่เห็นชอบ 10,926,648 (41.93 %)
เรียกว่าเล่นเอาฝ่ายที่ต่อต้านรัฐธรรมนูญถึงกับเสียศูนย์ไปเหมือนกัน เนื่องจากแม้อาจจะทำใจไว้บ้าง แต่ก็คาดไม่ถึงว่าจะแพ้กันย่อยยับขนาดนี้
เสียศูนย์จนฝ่าย “Vote No” คือฝ่ายที่เห็นว่าคนที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญนี้ ควรออกไปแสดงพลังมากๆ ในการกาไม่รับร่าง ถึงกับกัดแขวะแซะฝ่าย “No vote” คือฝ่ายที่มีแนวทางว่าเมื่อเห็นว่ากระบวนการในการร่างรัฐธรรมนูญของ คสช.นั้นไม่ชอบมาตั้งแต่ต้น ก็ไม่ควรไปเข้าร่วม การไปลงมติก็เหมือนกับการยอมรับในกติกาของ คสช. นั่นเอง ซึ่งฝ่ายนี้เห็นว่าถ้าจะแสดงออกว่า “ไม่เอา คสช.” วันอาทิตย์ที่ 7 ก็ควรนอนอยู่บ้านเฉยๆ
เช่นนี้เองทำให้เมื่อผลประชามติออกมาแพ้ราบคาบเช่นนี้ ฝ่าย “Vote No” จึงหันไปกัดเอาฝ่าย “No Vote” ว่าทำให้ “เสียของ” คือ มาตัดคะแนนกันเองในหมู่คนไม่เอา คสช.ด้วยกัน
ทะเลาะฝุ่นตลบไปในโลกโซเชียลจนถึงวันนี้
มีข้อน่าสังเกตว่า คะแนนเสียงในเขตที่คะแนนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้นชนะเสียงรับร่าง ได้แก่ภาคอีสานเกือบทั้งภาค และภาคเหนือบางจังหวัดที่ “แดงเข้ม” แต่ภาคเหนือโดยรวม คะแนนเห็นชอบมากกว่า
ผลออกมาโดยรวม จึงกลายเป็นว่าคะแนนเสียง “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ น้อยกว่าการลงประชามติในปี 2550 เสียอีก
ส่อแสดงถึงความไม่เป็นเอกภาพของฐานเสียงพรรคเพื่อไทยที่เคยเชื่อกันว่าครองภาคเหนือหรือไม่ หรือเอาเข้าจริงไม่มีสัญญาณอะไรชัดเจนว่าทางพรรคสั่งให้รับหรือไม่รับ จึงโหวตกันไปตามใจชอบก็เป็นไปได้
แต่กระนั้น การที่แกนนำของพรรค ทั้งนายวัฒนา เมืองสุข อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรือแม้แต่ “นายใหญ่” อย่างทักษิณ ชินวัตรออกมาแสดงจุดยืนว่าไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ แต่การณ์กลับกลายเป็นว่าเขตฐานเสียงของตัวเองโหวตสวน ก็อาจจะมีนัยสำคัญบางอย่าง ซึ่งเราจะพิสูจน์สมมติฐานนี้ได้ ก็ต่อเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้น ตามโรดแมปคือปลายปี 2560 มาถึง ซึ่งจะเป็นตัววัดว่าพรรคเพื่อไทย เมื่อปราศจากนายใหญ่ เมื่อท่อน้ำเลี้ยงอาจจะเริ่มติดขัด จะมีเอกภาพอยู่ได้แค่ไหนเพียงไร
อย่างไรก็ตาม นอกจากฝ่าย “ไม่เอา คสช.” ฝ่ายเสื้อแดง และฝ่ายพรรคเพื่อไทยจะสะเทือนแล้ว คนที่สะเทือนไม่แพ้กัน คือ อดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะซึ่งออกมาแสดงจุดยืนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญไว้ก่อน
โดยสวนทางกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตแกนนำ กปปส.ที่ออกมาแสดงท่าทีเทใจ “เห็นชอบ” ร่างรัฐธรรมนูญตั้งแต่ตอนร่างออกมาใหม่ๆ
เมื่อปรากฏว่า เขตที่เป็นเขตฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ส่วนใหญ่ เสียงโหวตรับร่างรัฐธรรมนูญชนะขาด นั่นก็หมายถึงว่า อิทธิพลของ “กำนันสุเทพ” นั้นเหนือกว่าหัวหน้าพรรคอย่างอภิสิทธิ์
อนาคตทางการเมืองของอดีตนายกฯ จากพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นเช่นไร ในเมื่อตัวเองแสดงความไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญมาก่อน แล้วจะลงเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญที่ตัวเองเคยตั้งรังเกียจไว้หรือ
นี่คือสิ่งที่อาจจะต้องไป “วัดใจ” พลพรรคประชาธิปัตย์ ถึงอนาคตของอภิสิทธิ์ รวมถึงท่าทีของเจ้าตัวด้วย ซึ่งคงจะได้เห็นกัน ในวาระแรกที่ คสช.คลายเข็มขัด อนุญาตให้พรรคการเมืองจัดการประชุมพรรคการเมืองกันได้ ซึ่งน่าจะเป็นหลังจากที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญผ่านการเห็นชอบจาก สนช.ไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม การ “เหมา” ว่าผลของประชามตินั้นสะท้อนถึงฐานคะแนนเสียงของพรรคการเมือง ก็ออกจะเป็นการดูถูก “พลังเงียบ” ที่ออกมากันอย่างท่วมท้นจนรัฐธรรมนูญผ่านเกินไป
เพราะมีคนจำนวนหนึ่งที่ออกมาให้ความเห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญ โดยไม่เกี่ยวกับว่าเป็นฐานเสียงหรือเป็นคนของพรรคการเมืองไหน
อาจจะแบ่งเป็นกลุ่มคนที่อยากให้มีการเลือกตั้งเร็วๆ และจะได้มีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรใช้เสียที ซึ่งกลุ่มนี้ก็น่าจะมีจำนวนมาก รวมถึงกลุ่มแม่ยกที่ยังนิยมในตัวท่านนายก ฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ชัดเจนจากการแสดงท่าทีของท่านว่าตัวท่านเองจะรับร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงด้วย กลุ่มแฟนพล.อ.ประยุทธ์เห็นท่าทีดังกล่าวแล้วก็นับว่าหายสับสน ว่าควรจะโหวตรับหรือไม่รับดี เพราะก่อนหน้านี้ก็มีกระแสว่า อยากให้ท่านนายกฯ อยู่ต่อต้องโหวตไม่รับ
แต่สุดท้ายแล้ว เชื่อว่าเป็นเพราะคนไทยต้องการที่จะอยู่กับอนาคตอันใกล้ที่มองเห็นได้ มากกว่าการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญแล้วไปลุ้นเอาในอนาคตว่าจะได้รัฐธรรมนูญใหม่มาได้อย่างไร มีใครมาร่าง และโรดแมปจะเอาอย่างไรต่อไป
เมื่อรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติ ขั้นตอนต่อไปก็คือการแก้ไขนำคำถามพ่วงไปใส่เป็นบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญ ส่งต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจว่าตัวบทที่แก้ไขลงไปนั้นตรงตามเจตนารมณ์ของคำถามพ่วงหรือไม่ จากนั้นก็รอนำขึ้นทูลเกล้าฯ หากพระราชทานกลับลงมาแล้วก็ดำเนินการจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกลไกต่างๆ ตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายระบุไว้ และนำไปสู่การเลือกตั้งในปลายปี 2560 หรืออย่างช้าเต็มที่ก็ไม่เกินต้นปี 2561
นี่คืออนาคตที่มองเห็นได้จากตอนนี้
ส่วนอนาคตอีกเรื่องที่น่าสนใจ คือ เมื่อรัฐธรรมนูญกับคำถามพ่วงมารวมกัน ก็เท่ากับว่า ส.ว.จะมีอำนาจในการเลือกหานายกรัฐมนตรีได้ร่วมกับ ส.ส.และนายกรัฐมนตรีดังกล่าวก็ไม่จำเป็นจะต้องมาจาก ส.ส.ก็ได้ เป็นคนนอกก็ได้ด้วย
ก็มีเสียงถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ ที่เราจะได้นายกฯ คนเดิมคนปัจจุบัน มาเป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญใหม่
โดยทางเทคนิคตามรัฐธรรมนูญแล้วก็นับว่าเป็นไปได้ เพราะ ส.ว.ชุดแรกนี้ก็จะมาจากการแต่งตั้งของ คสช.ซึ่งจะมีจำนวนถึง 250 คน ซึ่งหลายคนเรียกว่าเป็น “พรรค ส.ว.” ซึ่งเป็นแรงโน้มถ่วงสำคัญในการสรรหาเลือกตัวนายกรัฐมนตรีในวาระแรกหลังจากการเลือกตั้งตามโรดแมป ทั้งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ไม่ได้ปิดกั้นห้ามคนนอกมาเป็นนายกฯ
และจากระบบเลือกตั้งที่ออกแบบให้สะท้อนเสียงของคนทั้งประเทศ ก็เป็นไปได้ว่าจะไม่มีใครได้เสียงชนะเด็ดขาด หรือคู่ขัดแย้งทางการเมืองยังมีอิทธิพลอยู่มาก อย่างที่ใครขึ้นมา อีกฝ่ายก็จะออกมาเต็มถนนอีก ประเทศชาติก็จะกลับไปสู่วงจรเดิมๆ อีก
ก็ไม่แน่ว่าถ้าเงื่อนไขเป็นเช่นนั้น และมีช่องทางตามรัฐธรรมนูญ
นายกรัฐมนตรีคนแรกจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เอี่ยมนี้ก็ยังอาจจะเป็นคนเดิม.
เมื่อในที่สุดถึงเวลาในการลงมติจริงๆ ผู้คนก็หลั่งไหลกันไปแสดงพลังให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ จนกระทั่งเสียงเห็นชอบท่วมท้น 16,820,402 คะแนน (61.35 %) ไม่เห็นชอบ 10,598,037 (38.65 %) เห็นชอบคำถามพ่วง 15,132,050 คะแนน (58.07 %) ไม่เห็นชอบ 10,926,648 (41.93 %)
เรียกว่าเล่นเอาฝ่ายที่ต่อต้านรัฐธรรมนูญถึงกับเสียศูนย์ไปเหมือนกัน เนื่องจากแม้อาจจะทำใจไว้บ้าง แต่ก็คาดไม่ถึงว่าจะแพ้กันย่อยยับขนาดนี้
เสียศูนย์จนฝ่าย “Vote No” คือฝ่ายที่เห็นว่าคนที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญนี้ ควรออกไปแสดงพลังมากๆ ในการกาไม่รับร่าง ถึงกับกัดแขวะแซะฝ่าย “No vote” คือฝ่ายที่มีแนวทางว่าเมื่อเห็นว่ากระบวนการในการร่างรัฐธรรมนูญของ คสช.นั้นไม่ชอบมาตั้งแต่ต้น ก็ไม่ควรไปเข้าร่วม การไปลงมติก็เหมือนกับการยอมรับในกติกาของ คสช. นั่นเอง ซึ่งฝ่ายนี้เห็นว่าถ้าจะแสดงออกว่า “ไม่เอา คสช.” วันอาทิตย์ที่ 7 ก็ควรนอนอยู่บ้านเฉยๆ
เช่นนี้เองทำให้เมื่อผลประชามติออกมาแพ้ราบคาบเช่นนี้ ฝ่าย “Vote No” จึงหันไปกัดเอาฝ่าย “No Vote” ว่าทำให้ “เสียของ” คือ มาตัดคะแนนกันเองในหมู่คนไม่เอา คสช.ด้วยกัน
ทะเลาะฝุ่นตลบไปในโลกโซเชียลจนถึงวันนี้
มีข้อน่าสังเกตว่า คะแนนเสียงในเขตที่คะแนนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้นชนะเสียงรับร่าง ได้แก่ภาคอีสานเกือบทั้งภาค และภาคเหนือบางจังหวัดที่ “แดงเข้ม” แต่ภาคเหนือโดยรวม คะแนนเห็นชอบมากกว่า
ผลออกมาโดยรวม จึงกลายเป็นว่าคะแนนเสียง “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ น้อยกว่าการลงประชามติในปี 2550 เสียอีก
ส่อแสดงถึงความไม่เป็นเอกภาพของฐานเสียงพรรคเพื่อไทยที่เคยเชื่อกันว่าครองภาคเหนือหรือไม่ หรือเอาเข้าจริงไม่มีสัญญาณอะไรชัดเจนว่าทางพรรคสั่งให้รับหรือไม่รับ จึงโหวตกันไปตามใจชอบก็เป็นไปได้
แต่กระนั้น การที่แกนนำของพรรค ทั้งนายวัฒนา เมืองสุข อดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรือแม้แต่ “นายใหญ่” อย่างทักษิณ ชินวัตรออกมาแสดงจุดยืนว่าไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ แต่การณ์กลับกลายเป็นว่าเขตฐานเสียงของตัวเองโหวตสวน ก็อาจจะมีนัยสำคัญบางอย่าง ซึ่งเราจะพิสูจน์สมมติฐานนี้ได้ ก็ต่อเมื่อมีการเลือกตั้งใหม่ที่จะเกิดขึ้น ตามโรดแมปคือปลายปี 2560 มาถึง ซึ่งจะเป็นตัววัดว่าพรรคเพื่อไทย เมื่อปราศจากนายใหญ่ เมื่อท่อน้ำเลี้ยงอาจจะเริ่มติดขัด จะมีเอกภาพอยู่ได้แค่ไหนเพียงไร
อย่างไรก็ตาม นอกจากฝ่าย “ไม่เอา คสช.” ฝ่ายเสื้อแดง และฝ่ายพรรคเพื่อไทยจะสะเทือนแล้ว คนที่สะเทือนไม่แพ้กัน คือ อดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะซึ่งออกมาแสดงจุดยืนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญไว้ก่อน
โดยสวนทางกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตแกนนำ กปปส.ที่ออกมาแสดงท่าทีเทใจ “เห็นชอบ” ร่างรัฐธรรมนูญตั้งแต่ตอนร่างออกมาใหม่ๆ
เมื่อปรากฏว่า เขตที่เป็นเขตฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ส่วนใหญ่ เสียงโหวตรับร่างรัฐธรรมนูญชนะขาด นั่นก็หมายถึงว่า อิทธิพลของ “กำนันสุเทพ” นั้นเหนือกว่าหัวหน้าพรรคอย่างอภิสิทธิ์
อนาคตทางการเมืองของอดีตนายกฯ จากพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นเช่นไร ในเมื่อตัวเองแสดงความไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญมาก่อน แล้วจะลงเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญที่ตัวเองเคยตั้งรังเกียจไว้หรือ
นี่คือสิ่งที่อาจจะต้องไป “วัดใจ” พลพรรคประชาธิปัตย์ ถึงอนาคตของอภิสิทธิ์ รวมถึงท่าทีของเจ้าตัวด้วย ซึ่งคงจะได้เห็นกัน ในวาระแรกที่ คสช.คลายเข็มขัด อนุญาตให้พรรคการเมืองจัดการประชุมพรรคการเมืองกันได้ ซึ่งน่าจะเป็นหลังจากที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญผ่านการเห็นชอบจาก สนช.ไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม การ “เหมา” ว่าผลของประชามตินั้นสะท้อนถึงฐานคะแนนเสียงของพรรคการเมือง ก็ออกจะเป็นการดูถูก “พลังเงียบ” ที่ออกมากันอย่างท่วมท้นจนรัฐธรรมนูญผ่านเกินไป
เพราะมีคนจำนวนหนึ่งที่ออกมาให้ความเห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญ โดยไม่เกี่ยวกับว่าเป็นฐานเสียงหรือเป็นคนของพรรคการเมืองไหน
อาจจะแบ่งเป็นกลุ่มคนที่อยากให้มีการเลือกตั้งเร็วๆ และจะได้มีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรใช้เสียที ซึ่งกลุ่มนี้ก็น่าจะมีจำนวนมาก รวมถึงกลุ่มแม่ยกที่ยังนิยมในตัวท่านนายก ฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ชัดเจนจากการแสดงท่าทีของท่านว่าตัวท่านเองจะรับร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงด้วย กลุ่มแฟนพล.อ.ประยุทธ์เห็นท่าทีดังกล่าวแล้วก็นับว่าหายสับสน ว่าควรจะโหวตรับหรือไม่รับดี เพราะก่อนหน้านี้ก็มีกระแสว่า อยากให้ท่านนายกฯ อยู่ต่อต้องโหวตไม่รับ
แต่สุดท้ายแล้ว เชื่อว่าเป็นเพราะคนไทยต้องการที่จะอยู่กับอนาคตอันใกล้ที่มองเห็นได้ มากกว่าการคว่ำร่างรัฐธรรมนูญแล้วไปลุ้นเอาในอนาคตว่าจะได้รัฐธรรมนูญใหม่มาได้อย่างไร มีใครมาร่าง และโรดแมปจะเอาอย่างไรต่อไป
เมื่อรัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติ ขั้นตอนต่อไปก็คือการแก้ไขนำคำถามพ่วงไปใส่เป็นบทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญ ส่งต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจว่าตัวบทที่แก้ไขลงไปนั้นตรงตามเจตนารมณ์ของคำถามพ่วงหรือไม่ จากนั้นก็รอนำขึ้นทูลเกล้าฯ หากพระราชทานกลับลงมาแล้วก็ดำเนินการจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกลไกต่างๆ ตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายระบุไว้ และนำไปสู่การเลือกตั้งในปลายปี 2560 หรืออย่างช้าเต็มที่ก็ไม่เกินต้นปี 2561
นี่คืออนาคตที่มองเห็นได้จากตอนนี้
ส่วนอนาคตอีกเรื่องที่น่าสนใจ คือ เมื่อรัฐธรรมนูญกับคำถามพ่วงมารวมกัน ก็เท่ากับว่า ส.ว.จะมีอำนาจในการเลือกหานายกรัฐมนตรีได้ร่วมกับ ส.ส.และนายกรัฐมนตรีดังกล่าวก็ไม่จำเป็นจะต้องมาจาก ส.ส.ก็ได้ เป็นคนนอกก็ได้ด้วย
ก็มีเสียงถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ ที่เราจะได้นายกฯ คนเดิมคนปัจจุบัน มาเป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญใหม่
โดยทางเทคนิคตามรัฐธรรมนูญแล้วก็นับว่าเป็นไปได้ เพราะ ส.ว.ชุดแรกนี้ก็จะมาจากการแต่งตั้งของ คสช.ซึ่งจะมีจำนวนถึง 250 คน ซึ่งหลายคนเรียกว่าเป็น “พรรค ส.ว.” ซึ่งเป็นแรงโน้มถ่วงสำคัญในการสรรหาเลือกตัวนายกรัฐมนตรีในวาระแรกหลังจากการเลือกตั้งตามโรดแมป ทั้งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ไม่ได้ปิดกั้นห้ามคนนอกมาเป็นนายกฯ
และจากระบบเลือกตั้งที่ออกแบบให้สะท้อนเสียงของคนทั้งประเทศ ก็เป็นไปได้ว่าจะไม่มีใครได้เสียงชนะเด็ดขาด หรือคู่ขัดแย้งทางการเมืองยังมีอิทธิพลอยู่มาก อย่างที่ใครขึ้นมา อีกฝ่ายก็จะออกมาเต็มถนนอีก ประเทศชาติก็จะกลับไปสู่วงจรเดิมๆ อีก
ก็ไม่แน่ว่าถ้าเงื่อนไขเป็นเช่นนั้น และมีช่องทางตามรัฐธรรมนูญ
นายกรัฐมนตรีคนแรกจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เอี่ยมนี้ก็ยังอาจจะเป็นคนเดิม.