ทราบกันดีว่า คนจีนนั้นชอบจดบันทึกมาตั้งแต่สมัยโบราณ ไม่ใช่แค่จดแค่โน่นนิดนี่หน่อย แต่จดแบบลงลึกไปในรายละเอียดเสียด้วย มีข้อมูลยืนยันว่า ขนาดในแต่ละคืน ฮ่องเต้จะเข้าห้องสนมคนไหน ถึงกับมีการจดบันทึกเก็บไว้
วัฒนธรรมการเขียนอ่านหนังสือ จึงอยู่คู่ชาวจีนมาช้านาน ในโลกยุคใหม่ตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมา ตลาดของการเขียนและอ่านทางอินเทอร์เน็ตกำลังเป็นที่นิยมแรงขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่สังคมชาวจีน เดี๋ยวนี้คนจีนหลายๆ ล้านชอบอ่านทางอินเทอร์เน็ต มีนักเขียนนับแสนกระโจนเข้ามาสู่โลกไซเบอร์สเปซ พูดรวมถึงไต้หวัน ฮ่องกง จีนแผ่นดินใหญ่ ตอนนี้การอ่านในอินเทอร์เน็ตคือพื้นที่ใหญ่แล้วกว้างขวางมาก ขยายยักษ์ขึ้นไปเรื่อยๆ ใครเขียนเรื่องที่ติดตลาด นั่นหมายถึงรายได้มหาศาล คิดง่ายๆ แค่เก็บตังค์ค่าอ่านตอนละแค่บาทเดียว (คิดง่ายๆ ด้วยเงินไทยนะ) คนเข้ามาอ่านทีละแสนคนนี่ก็ได้ตอนละแสนบาทแล้ว และถึงขณะนี้ตัวเลขของนักเขียนระดับท็อปฮิตนั้น รายได้ในแต่ละตอนไม่ใช่แค่หลักแสน แต่เป็นหลักล้าน!
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา จึงเกิดมหาเศรษฐีนักเขียนขึ้นในแวดวงการเขียนหนังสือที่เมืองจีนหลายราย นักเขียนออนไลน์ถ้าเขียนโดนขึ้นมาสักเรื่องนั่นพอๆ กับถูกหวย
คำถามมีอยู่ว่า แล้วโลกของหนังสือออนไลน์นั้นจะถล่มลงมาทับโลกของหนังสือกระดาษให้กระจุยหายไปหรือไม่?
ตอบสั้นๆ ก็คือ มีบ้างแต่ไม่มาก
และถ้าจะตอบให้ยาวกว่านั้นก็คือ ทั้งนี้ก็เพราะ สังคมการอ่านของจีนได้สร้างระบบและวัฒนธรรมการอ่านขึ้นมาใหม่มากกว่าที่จะเป็นในรูปแบบที่ของเก่ามาแทนที่ของเดิม นั่นคือที่พูดไว้ในหัวเรื่อง หนึ่งเชื้อชาติสองระบบการอ่านนั่นเอง
นั่นคือ อ่านอินเทอร์เน็ตก็เรื่องนึง แต่พอฮิตแล้วก็เอามาเข้าสู่ระบบการพิมพ์เป็นเล่มนั้นก็แยกเป็นอีกส่วนหนึ่ง กลายเป็นระบบที่เอื้อประโยชน์ร่วมกันไป สังคมนักอ่านจีนถ้าชอบเรื่องไหน แม้จะจ่ายตังค์อ่านออนไลน์แล้ว แต่ก็จะซื้อเล่มเก็บไว้ด้วย ดังนั้น ระบบธุรกิจหนังสือออนไลน์กับธุรกิจหนังสือเล่ม จึงอยู่ร่วมกันอย่างเอื้อหนุนซึ่งกันและกัน
ส่วนแรกนั้นก็ขยายอาณาจักรมหาศาลในทางปริมาณกันไป ในขณะนั้นส่วนที่สองก็กระชับตัวเองให้แน่นในทางคุณภาพมากขึ้น
ในกรณีของคนเขียนที่ต้องตอบสนองวัฒนธรรมการอ่านของคนในเน็ต สิ่งสำคัญที่สุดคือ “ความเร็ว” นั่นก็หมายถึง นักอ่านเป็นล้านในโลกไซเบอร์กดดันคุณอยู่ตลอดเวลาให้รีบเข็นงานขึ้นเว็บ ยิ่งเรื่องที่สนุก มีคนติดตามเยอะยิ่งจะโดนกดดัน (แต่นั่นก็หมายถึงเงินมหาศาลที่จะมาพร้อมกันด้วย) มีหลายครั้งที่นักเขียนโดนกดดันมากๆ จนเขียนไม่จบแล้วหายตัวไปเลยก็มีให้เห็นบ่อยๆ
กองทัพนักอ่านชาวจีนนั้นเป็นแรงกดดันระดับเกิน 8 ริกเตอร์ ดังนั้น นักเขียนยอดนิยมแต่ละคนนอกจากเขียนหนังสือแล้ว ยังต้องมีการบริหารจัดการกับแฟนคลับของตัวเองให้ได้ด้วย
มีเกร็ดสนุกเล่าว่า สมัยที่ “จิ่วถู” เขียนมหากาพย์ไตรภาคสุยถังภาคแรก คือ “ยุทธการกู้บัลลังค์” ตอนนั้นคนอ่านติดกันตรึม และไม่เพียงแต่กดดันเร่งให้จิ่วถูรีบผลิตงานแต่ละตอนออกมาเท่านั้น แต่ยังวิพากษ์วิจารณ์งานเขียนของเขาอย่างโน้นอย่างนี้ ในครั้งหนึ่งที่จิ่วถูกำลังเขียนฉากการรบของ “หลี่ซี” ตัวเอกของเรื่อง ผ่านระยะตอนต่อตอนด้วยลีลาการเขียนดุเดือดเลือดพล่าน ในระหว่างนั้นเองนักอ่านของจิ่วถูก็คอมเมนท์ผ่านระบบเว็บบอร์ดวิพากษ์วิจารณ์เขา ประมาณว่าทำไมไม่อย่างนั้นทำไมไม่อย่างนี้
ด้วยความหงุดหงิดสุดขีดกับกองทัพนักอ่าน จิ่วถูเลยออกตอนใหม่ ที่เขียนให้อยู่ดีๆ “หลี่ซีของทุกคน” ก็โดนข้าศึกฟันฉับ โดนฆ่าตายตกม้ากลางศึกเสียอย่างนั้น

เท่านั้นแหละ นักอ่านเกรียนคีย์บอร์ดถึงกับอึ้ง และก็เฮโลขอโทษขอโพยจิ่วถูกันแทบไม่ทัน จนสัปดาห์ต่อมาจิ่วถูก็ออกมาหัวเราะ ฮ่าๆ แล้วประกาศว่า “เป็นไงหล่ะ จะปล่อยให้อั๊วเขียนของอั๊วดีๆ มั้ย พวกลื้ออยากจะอ่านต่อมั้ย ถ้าอยากอ่านต่อพวกลื้ออย่ามาวิจารณ์กันเลอะเทอะ ปล่อยให้อั๊วเขียนของอั๊วไปจะดีกว่านะ” จากนั้น จิ่วถูก็เอาอยู่ และเดินเรื่องไตรภาคสุยถังต่อมาอีกเรื่อยๆ จนครบสามภาคนั่นแล
ดังที่เล่ามาข้างต้น ตลาดหนังสือออนไลน์ของจีน จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก คือ “ความเร็ว” และ “ความถี่” ที่สัมพันธ์อยู่อย่างอินเตอร์แอ็คทีฟกับแรงกดดันจากกองทัพคนอ่าน ดังนั้น นักเขียนออนไลน์จึงต้อง “เร่ง” และ “คุมสปีดให้ทันกับจังหวะที่เร่ง” นั้นอยู่ตลอดเวลา
เมื่อเป็นเช่นนี้ แต่ละบทแต่ละตอนออนไลน์นั้น ส่วนใหญ่หนีไม่พ้นที่จะเกิดความไม่เนียน และอาจจะหลุดบ้างในบางครั้ง แต่อย่างไรก็ดี ก็ถือเป็นความสนุกอีกแบบที่อาจจะสดและมีความกร้านแบบรู้สึกได้ถึงสากเสี้ยนของตัวอักษรอยู่เป็นตัวชูหลัก มันเป็นวัฒนธรรมที่สนุกสนานของการอ่านออนไลน์นั่นเอง
หลังจากจบเรื่องในโลกออนไลน์ นักเขียนจึงหยิบเอาทั้งหมดออกมา “ทำใหม่” ภายใต้กระบวนการ “เกลา” เนื้อหาเรื่องราวทั้งหมดด้วย “ความช้า” เอาให้ละเมียด เอาให้รัดกุม เอาให้เนียน เอาให้สละสลวย
ระบบหนังสือเล่ม จึงเป็นกระบวนการสลักเสลางานจากระบบอินเทอร์เน็ต มาสู่ระบบหนังสือเล่มซึ่งมีวัฒนธรรมที่ต่างกันในหลักการสำคัญ
ในขณะที่ระบบแรกเกิดและเติบโตมาด้วยการเลี้ยงดูด้วย “ความเร็ว” ที่เร่งรีบ แต่ระบบที่สองจะผ่านการประคบประหงมและค่อยๆ กลั่นกรองสลักเสลาด้วย “ความช้า” ที่เน้นความเนียนประณีต
นิยายเล่มดังในโลกอินเทอร์เน็ต เวลาออกมาในเวอร์ชั่นหนังสือเล่ม จึงเป็นตัวอักษรที่ผ่านการอบรมมารยาทมาเรียบร้อยแล้ว
+++++++++++++++++++++
เรื่องนี้มีต่ออีกหลายประเด็น กลัวจะยาวเลยแยกเป็นสองตอน ซึ่งยังมีประเด็นที่น่าสนใจมาก รอติดตามตอนสองสัปดาห์หน้านะครับ
วัฒนธรรมการเขียนอ่านหนังสือ จึงอยู่คู่ชาวจีนมาช้านาน ในโลกยุคใหม่ตลอดสิบกว่าปีที่ผ่านมา ตลาดของการเขียนและอ่านทางอินเทอร์เน็ตกำลังเป็นที่นิยมแรงขึ้นเรื่อยๆ ในหมู่สังคมชาวจีน เดี๋ยวนี้คนจีนหลายๆ ล้านชอบอ่านทางอินเทอร์เน็ต มีนักเขียนนับแสนกระโจนเข้ามาสู่โลกไซเบอร์สเปซ พูดรวมถึงไต้หวัน ฮ่องกง จีนแผ่นดินใหญ่ ตอนนี้การอ่านในอินเทอร์เน็ตคือพื้นที่ใหญ่แล้วกว้างขวางมาก ขยายยักษ์ขึ้นไปเรื่อยๆ ใครเขียนเรื่องที่ติดตลาด นั่นหมายถึงรายได้มหาศาล คิดง่ายๆ แค่เก็บตังค์ค่าอ่านตอนละแค่บาทเดียว (คิดง่ายๆ ด้วยเงินไทยนะ) คนเข้ามาอ่านทีละแสนคนนี่ก็ได้ตอนละแสนบาทแล้ว และถึงขณะนี้ตัวเลขของนักเขียนระดับท็อปฮิตนั้น รายได้ในแต่ละตอนไม่ใช่แค่หลักแสน แต่เป็นหลักล้าน!
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา จึงเกิดมหาเศรษฐีนักเขียนขึ้นในแวดวงการเขียนหนังสือที่เมืองจีนหลายราย นักเขียนออนไลน์ถ้าเขียนโดนขึ้นมาสักเรื่องนั่นพอๆ กับถูกหวย
คำถามมีอยู่ว่า แล้วโลกของหนังสือออนไลน์นั้นจะถล่มลงมาทับโลกของหนังสือกระดาษให้กระจุยหายไปหรือไม่?
ตอบสั้นๆ ก็คือ มีบ้างแต่ไม่มาก
และถ้าจะตอบให้ยาวกว่านั้นก็คือ ทั้งนี้ก็เพราะ สังคมการอ่านของจีนได้สร้างระบบและวัฒนธรรมการอ่านขึ้นมาใหม่มากกว่าที่จะเป็นในรูปแบบที่ของเก่ามาแทนที่ของเดิม นั่นคือที่พูดไว้ในหัวเรื่อง หนึ่งเชื้อชาติสองระบบการอ่านนั่นเอง
นั่นคือ อ่านอินเทอร์เน็ตก็เรื่องนึง แต่พอฮิตแล้วก็เอามาเข้าสู่ระบบการพิมพ์เป็นเล่มนั้นก็แยกเป็นอีกส่วนหนึ่ง กลายเป็นระบบที่เอื้อประโยชน์ร่วมกันไป สังคมนักอ่านจีนถ้าชอบเรื่องไหน แม้จะจ่ายตังค์อ่านออนไลน์แล้ว แต่ก็จะซื้อเล่มเก็บไว้ด้วย ดังนั้น ระบบธุรกิจหนังสือออนไลน์กับธุรกิจหนังสือเล่ม จึงอยู่ร่วมกันอย่างเอื้อหนุนซึ่งกันและกัน
ส่วนแรกนั้นก็ขยายอาณาจักรมหาศาลในทางปริมาณกันไป ในขณะนั้นส่วนที่สองก็กระชับตัวเองให้แน่นในทางคุณภาพมากขึ้น
ในกรณีของคนเขียนที่ต้องตอบสนองวัฒนธรรมการอ่านของคนในเน็ต สิ่งสำคัญที่สุดคือ “ความเร็ว” นั่นก็หมายถึง นักอ่านเป็นล้านในโลกไซเบอร์กดดันคุณอยู่ตลอดเวลาให้รีบเข็นงานขึ้นเว็บ ยิ่งเรื่องที่สนุก มีคนติดตามเยอะยิ่งจะโดนกดดัน (แต่นั่นก็หมายถึงเงินมหาศาลที่จะมาพร้อมกันด้วย) มีหลายครั้งที่นักเขียนโดนกดดันมากๆ จนเขียนไม่จบแล้วหายตัวไปเลยก็มีให้เห็นบ่อยๆ
กองทัพนักอ่านชาวจีนนั้นเป็นแรงกดดันระดับเกิน 8 ริกเตอร์ ดังนั้น นักเขียนยอดนิยมแต่ละคนนอกจากเขียนหนังสือแล้ว ยังต้องมีการบริหารจัดการกับแฟนคลับของตัวเองให้ได้ด้วย
มีเกร็ดสนุกเล่าว่า สมัยที่ “จิ่วถู” เขียนมหากาพย์ไตรภาคสุยถังภาคแรก คือ “ยุทธการกู้บัลลังค์” ตอนนั้นคนอ่านติดกันตรึม และไม่เพียงแต่กดดันเร่งให้จิ่วถูรีบผลิตงานแต่ละตอนออกมาเท่านั้น แต่ยังวิพากษ์วิจารณ์งานเขียนของเขาอย่างโน้นอย่างนี้ ในครั้งหนึ่งที่จิ่วถูกำลังเขียนฉากการรบของ “หลี่ซี” ตัวเอกของเรื่อง ผ่านระยะตอนต่อตอนด้วยลีลาการเขียนดุเดือดเลือดพล่าน ในระหว่างนั้นเองนักอ่านของจิ่วถูก็คอมเมนท์ผ่านระบบเว็บบอร์ดวิพากษ์วิจารณ์เขา ประมาณว่าทำไมไม่อย่างนั้นทำไมไม่อย่างนี้
ด้วยความหงุดหงิดสุดขีดกับกองทัพนักอ่าน จิ่วถูเลยออกตอนใหม่ ที่เขียนให้อยู่ดีๆ “หลี่ซีของทุกคน” ก็โดนข้าศึกฟันฉับ โดนฆ่าตายตกม้ากลางศึกเสียอย่างนั้น
เท่านั้นแหละ นักอ่านเกรียนคีย์บอร์ดถึงกับอึ้ง และก็เฮโลขอโทษขอโพยจิ่วถูกันแทบไม่ทัน จนสัปดาห์ต่อมาจิ่วถูก็ออกมาหัวเราะ ฮ่าๆ แล้วประกาศว่า “เป็นไงหล่ะ จะปล่อยให้อั๊วเขียนของอั๊วดีๆ มั้ย พวกลื้ออยากจะอ่านต่อมั้ย ถ้าอยากอ่านต่อพวกลื้ออย่ามาวิจารณ์กันเลอะเทอะ ปล่อยให้อั๊วเขียนของอั๊วไปจะดีกว่านะ” จากนั้น จิ่วถูก็เอาอยู่ และเดินเรื่องไตรภาคสุยถังต่อมาอีกเรื่อยๆ จนครบสามภาคนั่นแล
ดังที่เล่ามาข้างต้น ตลาดหนังสือออนไลน์ของจีน จึงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก คือ “ความเร็ว” และ “ความถี่” ที่สัมพันธ์อยู่อย่างอินเตอร์แอ็คทีฟกับแรงกดดันจากกองทัพคนอ่าน ดังนั้น นักเขียนออนไลน์จึงต้อง “เร่ง” และ “คุมสปีดให้ทันกับจังหวะที่เร่ง” นั้นอยู่ตลอดเวลา
เมื่อเป็นเช่นนี้ แต่ละบทแต่ละตอนออนไลน์นั้น ส่วนใหญ่หนีไม่พ้นที่จะเกิดความไม่เนียน และอาจจะหลุดบ้างในบางครั้ง แต่อย่างไรก็ดี ก็ถือเป็นความสนุกอีกแบบที่อาจจะสดและมีความกร้านแบบรู้สึกได้ถึงสากเสี้ยนของตัวอักษรอยู่เป็นตัวชูหลัก มันเป็นวัฒนธรรมที่สนุกสนานของการอ่านออนไลน์นั่นเอง
หลังจากจบเรื่องในโลกออนไลน์ นักเขียนจึงหยิบเอาทั้งหมดออกมา “ทำใหม่” ภายใต้กระบวนการ “เกลา” เนื้อหาเรื่องราวทั้งหมดด้วย “ความช้า” เอาให้ละเมียด เอาให้รัดกุม เอาให้เนียน เอาให้สละสลวย
ระบบหนังสือเล่ม จึงเป็นกระบวนการสลักเสลางานจากระบบอินเทอร์เน็ต มาสู่ระบบหนังสือเล่มซึ่งมีวัฒนธรรมที่ต่างกันในหลักการสำคัญ
ในขณะที่ระบบแรกเกิดและเติบโตมาด้วยการเลี้ยงดูด้วย “ความเร็ว” ที่เร่งรีบ แต่ระบบที่สองจะผ่านการประคบประหงมและค่อยๆ กลั่นกรองสลักเสลาด้วย “ความช้า” ที่เน้นความเนียนประณีต
นิยายเล่มดังในโลกอินเทอร์เน็ต เวลาออกมาในเวอร์ชั่นหนังสือเล่ม จึงเป็นตัวอักษรที่ผ่านการอบรมมารยาทมาเรียบร้อยแล้ว
+++++++++++++++++++++
เรื่องนี้มีต่ออีกหลายประเด็น กลัวจะยาวเลยแยกเป็นสองตอน ซึ่งยังมีประเด็นที่น่าสนใจมาก รอติดตามตอนสองสัปดาห์หน้านะครับ