วันนี้เป็นวาระครบรอบ 2 ปีการยึดอำนาจครั้งล่าสุดของทหารข้ออ้างของการยึดอำนาจได้แก่ความขัดแย้งร้ายแรงซึ่งแสดงออกมาผ่านหลากหลายทาง รวมทั้งการตั้งเวทีปราศรัยขนาดใหญ่ในสถานที่ต่างๆ อย่างยืดเยื้อ หนึ่งในเวทีดังกล่าวนั้นตั้งอยู่ในศูนย์ราชการริมถนนแจ้งวัฒนะซึ่งในช่วงหนึ่งถูกปิดตายเพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าไปชุมนุมต่อต้านรัฐบาล ในช่วงนั้น บางส่วนของศูนย์ราชการเต็มไปด้วยผู้ต่อต้านจนบางครั้งแทบไม่มีที่เดิน ต่างกับเช้าวันอาทิตย์ที่ 22 นี้ซึ่งมีแต่ความว่างเปล่าทำให้ดูเงียบเหงาวังเวงชอบกล อย่างไรก็ดี หลายแห่งมีพระบรมฉายาลักษณ์ขยาดยักษ์พร้อมคำขวัญสั้นๆ และกระชับกำกับอยู่ หนึ่งนั้นในเป็นกลอนสุภาพอันไพเราะกินใจ ได้แก่
“เศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพ่อ รู้เพียงพอก่อสุขทุกสถาน
ทรงเสียสละมากล้นพ้นประมาณ ๖๐ ล้านดวงใจถวายพระพร”
หลังเวลาผ่านไป 2 ปีมีคำถามสารพัดเกิดขึ้น โดยเฉพาะจากผู้ที่เริ่มมองว่าการยึดอำนาจกำลังจะทำให้เสียเวลาเปล่าอีกครั้ง หลังจากประชาชนนับล้านคนออกมายืดหยัดสู้กับทรชนเป็นเวลาหลายปี ผู้อ่านคอลัมน์นี้อาจจำได้ว่าผมมองเห็นปัญหาตั้งแต่วันที่ คสช.แต่งตั้งที่ปรึกษา 10 คนเมื่อเดือนมิถุนายน 2557 โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจซึ่งสองในสามคนเคยมีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 และนโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายในช่วงหลังปี 2544
ในปัจจุบัน เราไม่อาจออกมาชุมนุมต่อต้านรัฐบาลได้ ผู้มองเห็นปัญหาส่วนใหญ่จึงคงใช้เวลาทำมาหาเลี้ยงชีพตามปกติ ส่วนผมยังคงไปๆ มาๆ ระหว่างอเมริกากับเมืองไทยและใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการค้นคว้าหาความรู้เพื่อนำมาเขียนหนังสือและบทความพร้อมกับสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาที่อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก อันเป็นบ้านเกิด (มีรายละเอียดอยู่ในเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com) การค้นคว้าส่วนใหญ่มุ่งไปในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเนื่องจากผมมีภูมิหลังทางด้านนี้ ในช่วงเวลา 2 ปี นอกจากจะเขียนคอลัมน์นี้และอื่นๆ แล้ว ผมเขียนหนังสือชื่อ ฝากภูมิปัญญาชาติไทยไว้กับครู ซึ่งพิมพ์ออกมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วนี้เอง
ผมตระหนักดีว่าชื่อของหนังสือไม่ค่อยสื่ออะไรมาก เนื่องจากยากที่จะเดาว่า “ภูมิปัญญาชาติไทย” คืออะไรแน่และเพราะอะไรจึงต้องฝากไว้กับครู จึงขอเฉลยเสียเลยว่า ภูมิปัญญาชาติไทยได้แก่แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและเหตุปัจจัยที่ฝากไว้กับครูได้แก่ ผมมองว่าครูจะเป็นผู้ทำความเข้าใจในแนวคิดอย่างถ่องแท้ได้ง่ายกว่าคนส่วนใหญ่ในสายอาชีพอื่น และมีโอกาสเผยแพร่ต่อไปมากกว่าผู้ทำอาชีพใดทั้งสิ้น
เมื่อเอ่ยถึงเศรษฐกิจพอเพียง ผมแน่ใจว่าคนไทยไม่เท่าไรเข้าใจอย่างถ่องแท้ แม้แต่ผู้เขียนกลอนและผู้สั่งให้นำกลอนนั้นมาขึ้นไว้ใกล้ๆ กับพระบรมฉายาลักษณ์ในภาพแรกผมเชื่อว่าไม่น่าจะเข้าใจสักเท่าไรนัก ด้วยเหตุนี้ผมจึงตัดสินใจเขียนหนังสือเรื่องที่อ้างถึงอีกครั้งทั้งที่ได้เขียนในแนวเดียวกันมาหลายครั้งแล้ว อย่างไรก็ดี เล่มนี้มีความสมบูรณ์มากกว่าและผมได้แยกการนำเสนอออกเป็นสองมิติใหญ่เพื่อให้ความกระจ่างอย่างครอบคลุมเพิ่มขึ้น กล่าวคือ มิติปรัชญาและมิติเศรษฐกิจ
มิติปรัชญาเป็นส่วนที่มีการนำเสนอกันอย่างกว้างขวางมาตั้งแต่หลังในหลวงตรัสกับพสกนิกรไทยในวงกว้างเป็นครั้งแรกเมื่อคืนวันที่ 4 ธันวาคม 2540 มิตินี้เป็นที่คุ้นหูคุ้นตาของคนไทยทั่วไปในรูปของ “สามห่วงสองเงื่อนไข” ได้แก่ห่วงความพอประมาณ ห่วงความมีเหตุผล ห่วงการมีภูมิคุ้มกันพร้อมด้วยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม อย่างไรก็ตาม การตีความหมายและการอรรถาธิบายมักไม่ค่อยกระจ่างมากนัก โดยเฉพาะเรื่องความพอประมาณซึ่งยากแก่การชี้วัดให้เกิดความมั่นใจ หลังเวลาผ่านไป เรื่องสามห่วงสองเงื่อนไขจึงดูจะกลายเป็นการท่องจำโดยปราศจากความเข้าใจและนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังไม่ต่างกับกรณีของการท่องศีล 5
ความพอประมาณเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงต่างจากแนวคิดทั้งหลายในสังคมฝรั่ง สำหรับเรื่องการวัด ผมเสนอให้ใช้ความจำเป็นของการดำเนินชีวิตเป็นฐานของการชี้บ่ง เช่น ความพอประมาณในด้านอาหาร เรารับประทานตามความจำเป็นของร่างกายซึ่งประกอบด้วยอาหารหลากหลายชนิด และเรารับประทานพอรู้สึกอิ่ม หากหลังได้รับประทานอาหารตามแนวดังกล่าวแล้วเรารู้สึกพอใจ นั่นหมายความว่าเรามีความพอเพียงในด้านอาหาร เราใช้หลักเดียวกันในด้านความจำเป็นอื่นๆ ของชีวิตเราด้วย
ภาค 1 ของหนังสือทบทวนมิติปรัชญาโดยการมองสังคมไทยว่าเป็นอย่างไรเมื่อใช้องค์ประกอบทั้ง 5 นั้นจับ ทั้งนี้เพื่อจะชี้ให้เห็นว่าเราจะปรับการดำเนินชีวิตอย่างไรให้เป็นไปตามแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง อันเป็นการดำเนินชีวิตที่มั่นคงและยั่งยืน
มิติเศรษฐกิจที่มีการนำเสนอโดยทั่วไป มักพูดถึงเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับเกษตรกรรมตามหลักทฤษฎีใหม่อันได้แก่การทำเกษตรกรรมแบบผสมผสาน พร้อมกับการบริหารจัดการน้ำและที่อยู่อาศัยในพื้นที่ขนาดเล็ก การนำเสนอแบบนี้มีโอกาสทำให้เกิดความเข้าใจผิดคิดกันไปว่านั่นคือเศรษฐกิจพอเพียงทั้งหมด ยิ่งกว่านั้น เท่าที่ผ่านมายังไม่มีใครอรรถาธิบายว่าแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมีรากเหง้าและความเป็นมาอย่างไรในบริบทวิวัฒนาการของแนวคิดทางด้านเศรษฐกิจ หนังสือเล่มนี้ป้องกันความเข้าใจผิดได้ด้วยการอธิบายไว้อย่างครอบคลุมในภาค 2 ภาคนี้จะชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่เราต้องใช้ระบบตลาดเสรี แต่เนื่องจากระบบตลาดเสรีกระแสหลักที่สังคมโลกใช้กันอยู่หมดสมัย เราจำจึงเป็นต้องใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง
ระบบตลาดเสรีกระแสหลักหมดสมัยเพราะใช้การกระตุ้นการบริโภคและการใช้จ่ายเพื่อทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอยู่ตลอดเวลาโดยอ้างว่าจะเกิดความสุขเพิ่มขึ้น แต่ชาวโลกโดยทั่วไปจะบริโภคและใช้จ่ายเช่นนั้นไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ทั้งนี้เพราะทรัพยากรโลกกำลังร่อยหรอลง ยิ่งกว่านั้น การวิจัยได้ยืนยันแล้วว่า การบริโภคและใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมิใช่จะทำให้เกิดความสุขเพิ่มขึ้นเสมอไป ตรงข้ามมันอาจทำให้เป็นทุกข์ โดยเฉพาะหลังจากเรามีทุกอย่างตามความจำเป็นของการดำเนินชีวิตแล้ว หนังสือนำข้อมูลมาเสนอว่าเพราะอะไรพร้อมกับเสนอปัจจัยที่ทำให้เกิดความสุขอย่างยั่งยืนในภาค 3
หนังสือเล่มนี้มิได้เสนอแนวนโยบายให้รัฐบาลมากนัก เนื่องจากผมไม่แน่ใจว่ารัฐบาลนี้เข้าใจและจริงใจต่อการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงบริหารประเทศ นอกจากนั้น ผมยังได้เสนอไว้แล้วว่า ถ้าจริงใจจะเริ่มต้นอย่างไรในหนังสือชื่อ ทางข้ามเหว : แนวคิดสำหรับแก้วิกฤติไทย ซึ่งดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนาดังที่อ้างถึง หลังจากหนังสือได้เผยแพร่ไปถึงครูและผู้สนใจในช่วงเวลาหนึ่งแล้ว ผมตั้งใจจะเดินสายฟังความเห็นจากผู้อ่านเพื่อนำมาพิจารณาว่าจะทำอย่างไร จึงจะทำให้การอธิบายแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกระจ่างยิ่งขึ้น และจะทำกิจกรรมอะไรเพื่อสนับสนุนให้คนไทยใช้แนวคิดเป็นฐานของการดำเนินชีวิตอย่างจริงจัง
การเขียนหนังสือเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และการดำเนินชีวิตตามแนวคิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงความจงรักภักดีต่อในหลวงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ผมจะเผยแพร่แนวคิดและดำเนินชีวิตดังที่ทำมาต่อไป ผู้อยู่ในรัฐบาลชุดปัจจุบันตอบได้ไหมว่าท่านทำอะไรอย่างจริงจังเกี่ยวกับแนวคิดอันประเสริฐยิ่งนี้ ในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา นอกจากการสนับสนุนให้เขียนคำขวัญอันแสนหรู และนำไปเสนอในเวทีต่างๆ รวมทั้งในต่างแดน การพูดแล้วไม่ทำรังแต่จะส่งผลให้ชาติย่ำอยู่กับที่เฉกเช่นที่เป็นมากว่าสิบปีแล้ว
“เศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพ่อ รู้เพียงพอก่อสุขทุกสถาน
ทรงเสียสละมากล้นพ้นประมาณ ๖๐ ล้านดวงใจถวายพระพร”
หลังเวลาผ่านไป 2 ปีมีคำถามสารพัดเกิดขึ้น โดยเฉพาะจากผู้ที่เริ่มมองว่าการยึดอำนาจกำลังจะทำให้เสียเวลาเปล่าอีกครั้ง หลังจากประชาชนนับล้านคนออกมายืดหยัดสู้กับทรชนเป็นเวลาหลายปี ผู้อ่านคอลัมน์นี้อาจจำได้ว่าผมมองเห็นปัญหาตั้งแต่วันที่ คสช.แต่งตั้งที่ปรึกษา 10 คนเมื่อเดือนมิถุนายน 2557 โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจซึ่งสองในสามคนเคยมีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 และนโยบายประชานิยมแบบเลวร้ายในช่วงหลังปี 2544
ในปัจจุบัน เราไม่อาจออกมาชุมนุมต่อต้านรัฐบาลได้ ผู้มองเห็นปัญหาส่วนใหญ่จึงคงใช้เวลาทำมาหาเลี้ยงชีพตามปกติ ส่วนผมยังคงไปๆ มาๆ ระหว่างอเมริกากับเมืองไทยและใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการค้นคว้าหาความรู้เพื่อนำมาเขียนหนังสือและบทความพร้อมกับสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาที่อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก อันเป็นบ้านเกิด (มีรายละเอียดอยู่ในเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนา www.bannareader.com) การค้นคว้าส่วนใหญ่มุ่งไปในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเนื่องจากผมมีภูมิหลังทางด้านนี้ ในช่วงเวลา 2 ปี นอกจากจะเขียนคอลัมน์นี้และอื่นๆ แล้ว ผมเขียนหนังสือชื่อ ฝากภูมิปัญญาชาติไทยไว้กับครู ซึ่งพิมพ์ออกมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วนี้เอง
ผมตระหนักดีว่าชื่อของหนังสือไม่ค่อยสื่ออะไรมาก เนื่องจากยากที่จะเดาว่า “ภูมิปัญญาชาติไทย” คืออะไรแน่และเพราะอะไรจึงต้องฝากไว้กับครู จึงขอเฉลยเสียเลยว่า ภูมิปัญญาชาติไทยได้แก่แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและเหตุปัจจัยที่ฝากไว้กับครูได้แก่ ผมมองว่าครูจะเป็นผู้ทำความเข้าใจในแนวคิดอย่างถ่องแท้ได้ง่ายกว่าคนส่วนใหญ่ในสายอาชีพอื่น และมีโอกาสเผยแพร่ต่อไปมากกว่าผู้ทำอาชีพใดทั้งสิ้น
เมื่อเอ่ยถึงเศรษฐกิจพอเพียง ผมแน่ใจว่าคนไทยไม่เท่าไรเข้าใจอย่างถ่องแท้ แม้แต่ผู้เขียนกลอนและผู้สั่งให้นำกลอนนั้นมาขึ้นไว้ใกล้ๆ กับพระบรมฉายาลักษณ์ในภาพแรกผมเชื่อว่าไม่น่าจะเข้าใจสักเท่าไรนัก ด้วยเหตุนี้ผมจึงตัดสินใจเขียนหนังสือเรื่องที่อ้างถึงอีกครั้งทั้งที่ได้เขียนในแนวเดียวกันมาหลายครั้งแล้ว อย่างไรก็ดี เล่มนี้มีความสมบูรณ์มากกว่าและผมได้แยกการนำเสนอออกเป็นสองมิติใหญ่เพื่อให้ความกระจ่างอย่างครอบคลุมเพิ่มขึ้น กล่าวคือ มิติปรัชญาและมิติเศรษฐกิจ
มิติปรัชญาเป็นส่วนที่มีการนำเสนอกันอย่างกว้างขวางมาตั้งแต่หลังในหลวงตรัสกับพสกนิกรไทยในวงกว้างเป็นครั้งแรกเมื่อคืนวันที่ 4 ธันวาคม 2540 มิตินี้เป็นที่คุ้นหูคุ้นตาของคนไทยทั่วไปในรูปของ “สามห่วงสองเงื่อนไข” ได้แก่ห่วงความพอประมาณ ห่วงความมีเหตุผล ห่วงการมีภูมิคุ้มกันพร้อมด้วยเงื่อนไขความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม อย่างไรก็ตาม การตีความหมายและการอรรถาธิบายมักไม่ค่อยกระจ่างมากนัก โดยเฉพาะเรื่องความพอประมาณซึ่งยากแก่การชี้วัดให้เกิดความมั่นใจ หลังเวลาผ่านไป เรื่องสามห่วงสองเงื่อนไขจึงดูจะกลายเป็นการท่องจำโดยปราศจากความเข้าใจและนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังไม่ต่างกับกรณีของการท่องศีล 5
ความพอประมาณเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงต่างจากแนวคิดทั้งหลายในสังคมฝรั่ง สำหรับเรื่องการวัด ผมเสนอให้ใช้ความจำเป็นของการดำเนินชีวิตเป็นฐานของการชี้บ่ง เช่น ความพอประมาณในด้านอาหาร เรารับประทานตามความจำเป็นของร่างกายซึ่งประกอบด้วยอาหารหลากหลายชนิด และเรารับประทานพอรู้สึกอิ่ม หากหลังได้รับประทานอาหารตามแนวดังกล่าวแล้วเรารู้สึกพอใจ นั่นหมายความว่าเรามีความพอเพียงในด้านอาหาร เราใช้หลักเดียวกันในด้านความจำเป็นอื่นๆ ของชีวิตเราด้วย
ภาค 1 ของหนังสือทบทวนมิติปรัชญาโดยการมองสังคมไทยว่าเป็นอย่างไรเมื่อใช้องค์ประกอบทั้ง 5 นั้นจับ ทั้งนี้เพื่อจะชี้ให้เห็นว่าเราจะปรับการดำเนินชีวิตอย่างไรให้เป็นไปตามแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง อันเป็นการดำเนินชีวิตที่มั่นคงและยั่งยืน
มิติเศรษฐกิจที่มีการนำเสนอโดยทั่วไป มักพูดถึงเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับเกษตรกรรมตามหลักทฤษฎีใหม่อันได้แก่การทำเกษตรกรรมแบบผสมผสาน พร้อมกับการบริหารจัดการน้ำและที่อยู่อาศัยในพื้นที่ขนาดเล็ก การนำเสนอแบบนี้มีโอกาสทำให้เกิดความเข้าใจผิดคิดกันไปว่านั่นคือเศรษฐกิจพอเพียงทั้งหมด ยิ่งกว่านั้น เท่าที่ผ่านมายังไม่มีใครอรรถาธิบายว่าแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมีรากเหง้าและความเป็นมาอย่างไรในบริบทวิวัฒนาการของแนวคิดทางด้านเศรษฐกิจ หนังสือเล่มนี้ป้องกันความเข้าใจผิดได้ด้วยการอธิบายไว้อย่างครอบคลุมในภาค 2 ภาคนี้จะชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่เราต้องใช้ระบบตลาดเสรี แต่เนื่องจากระบบตลาดเสรีกระแสหลักที่สังคมโลกใช้กันอยู่หมดสมัย เราจำจึงเป็นต้องใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง
ระบบตลาดเสรีกระแสหลักหมดสมัยเพราะใช้การกระตุ้นการบริโภคและการใช้จ่ายเพื่อทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอยู่ตลอดเวลาโดยอ้างว่าจะเกิดความสุขเพิ่มขึ้น แต่ชาวโลกโดยทั่วไปจะบริโภคและใช้จ่ายเช่นนั้นไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ทั้งนี้เพราะทรัพยากรโลกกำลังร่อยหรอลง ยิ่งกว่านั้น การวิจัยได้ยืนยันแล้วว่า การบริโภคและใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมิใช่จะทำให้เกิดความสุขเพิ่มขึ้นเสมอไป ตรงข้ามมันอาจทำให้เป็นทุกข์ โดยเฉพาะหลังจากเรามีทุกอย่างตามความจำเป็นของการดำเนินชีวิตแล้ว หนังสือนำข้อมูลมาเสนอว่าเพราะอะไรพร้อมกับเสนอปัจจัยที่ทำให้เกิดความสุขอย่างยั่งยืนในภาค 3
หนังสือเล่มนี้มิได้เสนอแนวนโยบายให้รัฐบาลมากนัก เนื่องจากผมไม่แน่ใจว่ารัฐบาลนี้เข้าใจและจริงใจต่อการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงบริหารประเทศ นอกจากนั้น ผมยังได้เสนอไว้แล้วว่า ถ้าจริงใจจะเริ่มต้นอย่างไรในหนังสือชื่อ ทางข้ามเหว : แนวคิดสำหรับแก้วิกฤติไทย ซึ่งดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของมูลนิธินักอ่านบ้านนาดังที่อ้างถึง หลังจากหนังสือได้เผยแพร่ไปถึงครูและผู้สนใจในช่วงเวลาหนึ่งแล้ว ผมตั้งใจจะเดินสายฟังความเห็นจากผู้อ่านเพื่อนำมาพิจารณาว่าจะทำอย่างไร จึงจะทำให้การอธิบายแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกระจ่างยิ่งขึ้น และจะทำกิจกรรมอะไรเพื่อสนับสนุนให้คนไทยใช้แนวคิดเป็นฐานของการดำเนินชีวิตอย่างจริงจัง
การเขียนหนังสือเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และการดำเนินชีวิตตามแนวคิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงความจงรักภักดีต่อในหลวงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ผมจะเผยแพร่แนวคิดและดำเนินชีวิตดังที่ทำมาต่อไป ผู้อยู่ในรัฐบาลชุดปัจจุบันตอบได้ไหมว่าท่านทำอะไรอย่างจริงจังเกี่ยวกับแนวคิดอันประเสริฐยิ่งนี้ ในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา นอกจากการสนับสนุนให้เขียนคำขวัญอันแสนหรู และนำไปเสนอในเวทีต่างๆ รวมทั้งในต่างแดน การพูดแล้วไม่ทำรังแต่จะส่งผลให้ชาติย่ำอยู่กับที่เฉกเช่นที่เป็นมากว่าสิบปีแล้ว