เมื่อวานนี้ (15 กรกฎาคม 2558) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) อีก 9 มาตรา จึงขอสรุปสาระสำคัญที่ควรจะทราบไว้ เพราะมีผลสำคัญต่อการดำเนินโรดแมปต่อไปของ คสช. และกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วย ตลอดจนการประเมินสถานการณ์การเมืองต่อไปในอนาคตอีกด้วย ดังนี้
1. แก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องคุณสมบัติของสมาชิก สนช. และรัฐมนตรี ให้มาจากผู้ที่เคยถูกตัดสิทธิทางการเมืองแต่พ้นโทษแล้วก็ได้ (มาตรา 3) การแก้ไขมาตรานี้ จะเปิดโอกาสให้บุคคลที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง แต่ในปัจจุบันไม่ได้อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแล้ว สามารถเข้ามาดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรวมถึงตำแหน่งอื่นๆ ที่ยึดโยงกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย อันได้แก่ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
2. แก้ไขเพิ่มเติมให้การถวายสัตย์ฯ ต่อองค์พระมหากษัตริย์ ให้สามารถกระทำต่อองค์รัชทายาทหรือผู้แทนพระองค์ก็ได้ (มาตรา 4) โดยบัญญัติว่า “การถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายพระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กระทำต่อพระรัชทายาทซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว หรือต่อผู้แทนพระองค์ก็ได้”
3. เพิ่ม “เวลาทำงาน” ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (มาตรา 5) เพื่อให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสามารถขยายระยะเวลาในการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญตามคำขอแก้ไขเพิ่มเติมจากฝ่ายต่างๆ ไปได้อีกไม่เกิน 30 วัน หากมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเป็นจำนวนมากหรืออาจมีผลกระทบต่อโครงสร้างของร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งสอดคล้องกับความเป็นจริง เพื่อให้สามารถแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้อย่างเต็มที่และเป็นไปตามเจตนารมณ์ร่วมกันกับองค์กรอื่นๆ ที่เสนอความเห็นมาให้เป็นร่างรัฐธรรมนูญที่ยอมรับได้มากที่สุดก่อนนำเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อให้ลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ
ทั้งนี้รวมแล้ว คณะกรรมาธิการจะมีเวลาพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญรวมกันได้ถึง 90 วัน
4. การแก้ไขมาตราให้รองรับการที่ประชาชนจะออกเสียงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ หลังจากที่ผ่านความเห็นชอบจาก สปช.แล้ว (มาตรา 5 วรรคสาม วรรคสี่ และมาตรา 6) ซึ่งเป็นสาระสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ รายละเอียดในเรื่องนี้มีมาก ใคร่ขอยกไปอธิบายไว้เต็มๆ ในตอนหน้า
5. กำหนดการพ้นตำแหน่งของ สปช.ใหม่ จากเดิมที่ สปช.จะพ้นตำแหน่งหากไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฯ เป็นให้พ้นตำแหน่งทันทีไม่ว่าจะเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ก็ตาม (มาตรา 7) ดังนั้น ไม่ว่า สปช.จะให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการหรือไม่ ก็จะต้องเป็นอันสิ้นสุดลง ซึ่งผลของการแก้ไขนี้จะเท่ากับไม่มีเงื่อนไขหรือข้อจูงใจให้ สปช.จะต้องลงมติเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้ตนดำรงตำแหน่งต่อไปในช่วงของการจัดเตรียมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะถือว่าเป็นประโยชน์จูงใจไปในทางที่ให้เห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขมาตรานี้จะลดแรงจูงใจเช่นนั้น นั่นเพราะไม่ว่าจะเห็นชอบหรือไม่ สปช.ก็จะต้องพ้นตำแหน่งทุกกรณี จึงอาจจะทำให้ สปช.พิจารณารัฐธรรมนูญได้อย่างอิสระมากขึ้นเนื่องจากไม่ต้องพิจารณาถึงผลในอนาคต ซึ่งความเป็นอิสระนี้เอง อาจจะทำให้เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญก็ได้
6. แก้ไขในกรณีที่หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้รับความเห็นชอบไม่ว่าในขั้นตอนใด จะไม่ต้องตั้ง สปช. และ กมธ.ใหม่ แต่จะให้ตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 20 คนขึ้นมาแทน โดยเป็นอำนาจของ คสช.ในการเสนอชื่อบุคคล นอกจากนี้ จำนวนของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวนที่น้อยกว่าคณะ กมธ.ตามรัฐธรรมนูญเดิมด้วย คือจะเหลือเพียง 20 คน ซึ่งน่าจะเป็นผลให้การทำงานนั้นเป็นไปโดยกระชับและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพราะอย่างที่กล่าวกันว่า “มากคนก็มากความ” นั่นแหละ ซึ่งกรอบของรัฐธรรมนูญที่แก้ไขใหม่นี้ กำหนดให้การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นแทนจะต้องกระทำภายในเวลาประมาณ 180 วัน นับแต่ได้ตั้งคณะกรรมาธิการ
7. ให้มีสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศขึ้นหลังจาก สปช.สิ้นสุดลงแล้ว โดยมีจำนวน 200 คน แต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี (มาตรา 8) โดบคราวนี้จะไม่มีการจำกัดว่าจะต้องมี สปช. จากตัวแทนจังหวัด หรือ สปช.เพื่อการปฏิรูปด้านใด เป็นการเปิดกว้างตามแต่นายกรัฐมนตรีจะแต่งตั้ง โดยมีคุณสมบัติเพียงสองประการเท่านั้น คือ (1) เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และ (2) มีอายุไม่ต่ำว่าสามสิบห้าปี
ซึ่งในอีกแง่หนึ่ง การตั้งสภาขับเคลื่อนนี้ ก็มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า สภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ ทำไปทำมาอาจจะเป็นการตั้งเพื่อให้ “รางวัล” แก่สมาชิก สปช.ที่จะต้องพ้นตำแหน่งโดยอัตโนมัติ โดยเลือกจากสมาชิกที่ “เรียบร้อย - ไม่มีปัญหา” ร่วมกับบุคคลภายนอกรายใหม่ตามที่นายกรัฐมนตรีจะเห็นสมควร
สังเกตว่ารัฐธรรมนูญที่แก้ไขใหม่นี้ กำหนดคุณสมบัติของสมาชิกสภาขับเคลื่อนฯ ไว้น้อยมาก และไม่มีกระบวนการสรรหาที่ซับซ้อน หากมองให้เป็นข้อดีก็คือความสะดวกรวดเร็ว แต่หากพิจารณาถึงข้อเสีย คือไม่มีมาตรฐานหรือหลักประกันรับรองใดๆ เลยว่าบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งดังกล่าวจะเป็นใครมาจากไหนหรือต้องมีคุณสมบัติ มีความเชี่ยวชาญประสบการณ์อย่างไร ทั้งหมดจะขึ้นกับนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว
แต่ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อรองรับในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญ “ตกไป” ไม่ว่าจะด้วยเหตุใด ก็เป็นการเขียนเพื่อกำหนดให้โรดแมปนั้นสั้นลง เนื่องจากจะต้องไปเพิ่มขั้นตอนของการทำประชามติเข้าไป ซึ่งรวมๆ แล้วกว่าจะรู้เรื่องอาจจะครึ่งค่อนปี และหากรัฐธรรมนูญตกไปแล้วต้องมา Reset กระบวนการปฏิรูปกันใหม่ ตั้ง สปช. หรือ กมธ.กันใหม่ ก็จะยิ่งทำให้เวลาทอดนานออกไปอีก
ส่วนเรื่องการทำประชามติรัฐธรรมนูญ และประเด็นต่างๆ ในรัฐธรรมนูญนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องวิเคราะห์กัน จึงขอยกยอดไปกล่าวกันในรายละเอียดอีกครั้งในสัปดาห์หน้า
1. แก้ไขเพิ่มเติมในเรื่องคุณสมบัติของสมาชิก สนช. และรัฐมนตรี ให้มาจากผู้ที่เคยถูกตัดสิทธิทางการเมืองแต่พ้นโทษแล้วก็ได้ (มาตรา 3) การแก้ไขมาตรานี้ จะเปิดโอกาสให้บุคคลที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง แต่ในปัจจุบันไม่ได้อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแล้ว สามารถเข้ามาดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรวมถึงตำแหน่งอื่นๆ ที่ยึดโยงกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย อันได้แก่ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
2. แก้ไขเพิ่มเติมให้การถวายสัตย์ฯ ต่อองค์พระมหากษัตริย์ ให้สามารถกระทำต่อองค์รัชทายาทหรือผู้แทนพระองค์ก็ได้ (มาตรา 4) โดยบัญญัติว่า “การถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายพระมหากษัตริย์จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กระทำต่อพระรัชทายาทซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว หรือต่อผู้แทนพระองค์ก็ได้”
3. เพิ่ม “เวลาทำงาน” ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (มาตรา 5) เพื่อให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญสามารถขยายระยะเวลาในการแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญตามคำขอแก้ไขเพิ่มเติมจากฝ่ายต่างๆ ไปได้อีกไม่เกิน 30 วัน หากมีประเด็นที่ต้องพิจารณาเป็นจำนวนมากหรืออาจมีผลกระทบต่อโครงสร้างของร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งสอดคล้องกับความเป็นจริง เพื่อให้สามารถแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้อย่างเต็มที่และเป็นไปตามเจตนารมณ์ร่วมกันกับองค์กรอื่นๆ ที่เสนอความเห็นมาให้เป็นร่างรัฐธรรมนูญที่ยอมรับได้มากที่สุดก่อนนำเสนอต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติเพื่อให้ลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ
ทั้งนี้รวมแล้ว คณะกรรมาธิการจะมีเวลาพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญรวมกันได้ถึง 90 วัน
4. การแก้ไขมาตราให้รองรับการที่ประชาชนจะออกเสียงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ หลังจากที่ผ่านความเห็นชอบจาก สปช.แล้ว (มาตรา 5 วรรคสาม วรรคสี่ และมาตรา 6) ซึ่งเป็นสาระสำคัญอย่างยิ่งในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ รายละเอียดในเรื่องนี้มีมาก ใคร่ขอยกไปอธิบายไว้เต็มๆ ในตอนหน้า
5. กำหนดการพ้นตำแหน่งของ สปช.ใหม่ จากเดิมที่ สปช.จะพ้นตำแหน่งหากไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฯ เป็นให้พ้นตำแหน่งทันทีไม่ว่าจะเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ก็ตาม (มาตรา 7) ดังนั้น ไม่ว่า สปช.จะให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการหรือไม่ ก็จะต้องเป็นอันสิ้นสุดลง ซึ่งผลของการแก้ไขนี้จะเท่ากับไม่มีเงื่อนไขหรือข้อจูงใจให้ สปช.จะต้องลงมติเห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญเพื่อให้ตนดำรงตำแหน่งต่อไปในช่วงของการจัดเตรียมกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจจะถือว่าเป็นประโยชน์จูงใจไปในทางที่ให้เห็นชอบในร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขมาตรานี้จะลดแรงจูงใจเช่นนั้น นั่นเพราะไม่ว่าจะเห็นชอบหรือไม่ สปช.ก็จะต้องพ้นตำแหน่งทุกกรณี จึงอาจจะทำให้ สปช.พิจารณารัฐธรรมนูญได้อย่างอิสระมากขึ้นเนื่องจากไม่ต้องพิจารณาถึงผลในอนาคต ซึ่งความเป็นอิสระนี้เอง อาจจะทำให้เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญก็ได้
6. แก้ไขในกรณีที่หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้รับความเห็นชอบไม่ว่าในขั้นตอนใด จะไม่ต้องตั้ง สปช. และ กมธ.ใหม่ แต่จะให้ตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 20 คนขึ้นมาแทน โดยเป็นอำนาจของ คสช.ในการเสนอชื่อบุคคล นอกจากนี้ จำนวนของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวนที่น้อยกว่าคณะ กมธ.ตามรัฐธรรมนูญเดิมด้วย คือจะเหลือเพียง 20 คน ซึ่งน่าจะเป็นผลให้การทำงานนั้นเป็นไปโดยกระชับและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพราะอย่างที่กล่าวกันว่า “มากคนก็มากความ” นั่นแหละ ซึ่งกรอบของรัฐธรรมนูญที่แก้ไขใหม่นี้ กำหนดให้การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นแทนจะต้องกระทำภายในเวลาประมาณ 180 วัน นับแต่ได้ตั้งคณะกรรมาธิการ
7. ให้มีสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศขึ้นหลังจาก สปช.สิ้นสุดลงแล้ว โดยมีจำนวน 200 คน แต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี (มาตรา 8) โดบคราวนี้จะไม่มีการจำกัดว่าจะต้องมี สปช. จากตัวแทนจังหวัด หรือ สปช.เพื่อการปฏิรูปด้านใด เป็นการเปิดกว้างตามแต่นายกรัฐมนตรีจะแต่งตั้ง โดยมีคุณสมบัติเพียงสองประการเท่านั้น คือ (1) เป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และ (2) มีอายุไม่ต่ำว่าสามสิบห้าปี
ซึ่งในอีกแง่หนึ่ง การตั้งสภาขับเคลื่อนนี้ ก็มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า สภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ ทำไปทำมาอาจจะเป็นการตั้งเพื่อให้ “รางวัล” แก่สมาชิก สปช.ที่จะต้องพ้นตำแหน่งโดยอัตโนมัติ โดยเลือกจากสมาชิกที่ “เรียบร้อย - ไม่มีปัญหา” ร่วมกับบุคคลภายนอกรายใหม่ตามที่นายกรัฐมนตรีจะเห็นสมควร
สังเกตว่ารัฐธรรมนูญที่แก้ไขใหม่นี้ กำหนดคุณสมบัติของสมาชิกสภาขับเคลื่อนฯ ไว้น้อยมาก และไม่มีกระบวนการสรรหาที่ซับซ้อน หากมองให้เป็นข้อดีก็คือความสะดวกรวดเร็ว แต่หากพิจารณาถึงข้อเสีย คือไม่มีมาตรฐานหรือหลักประกันรับรองใดๆ เลยว่าบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งดังกล่าวจะเป็นใครมาจากไหนหรือต้องมีคุณสมบัติ มีความเชี่ยวชาญประสบการณ์อย่างไร ทั้งหมดจะขึ้นกับนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว
แต่ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อรองรับในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญ “ตกไป” ไม่ว่าจะด้วยเหตุใด ก็เป็นการเขียนเพื่อกำหนดให้โรดแมปนั้นสั้นลง เนื่องจากจะต้องไปเพิ่มขั้นตอนของการทำประชามติเข้าไป ซึ่งรวมๆ แล้วกว่าจะรู้เรื่องอาจจะครึ่งค่อนปี และหากรัฐธรรมนูญตกไปแล้วต้องมา Reset กระบวนการปฏิรูปกันใหม่ ตั้ง สปช. หรือ กมธ.กันใหม่ ก็จะยิ่งทำให้เวลาทอดนานออกไปอีก
ส่วนเรื่องการทำประชามติรัฐธรรมนูญ และประเด็นต่างๆ ในรัฐธรรมนูญนั้น เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องวิเคราะห์กัน จึงขอยกยอดไปกล่าวกันในรายละเอียดอีกครั้งในสัปดาห์หน้า