ในขณะนี้ นับว่าครบหนึ่งสัปดาห์พอดีแล้ว ที่นายกฯ ปูเด้งพ้นเก้าอี้ โดยเป็นผลมาจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
แต่จนวันนี้ก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปใดๆ เกี่ยวกับอนาคตของประเทศชาติได้เลย โดยรัฐบาลหัวขาด ก็ยังคงอ้างอำนาจในการปกครองและใช้อำนาจอย่างรัฐบาลเต็มอยู่ แม้ปราศจากนายกรัฐมนตรี
เฉลิมก็กลับมา ศอรส.พร้อมกับคำขู่ว่าจะจับประชาชนจำนวนมากซึ่งเป็นแนวร่วมกับ กปปส. โดยอ้างว่า ยังไม่มีพระบรมราชโองการให้พ้นตำแหน่งรัฐมนตรี
รายชื่อในหมายจับ มีแม้แต่นักวิชาการ ข้าราชการ ที่เพียงเคยแสดงความเห็นด้วย หรือขึ้นเวที ศอรส.เพียงครั้งสองครั้ง
จนน่ากลัวว่า ดีไม่ดี การที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งฟันปูพ้นตำแหน่งไป ซึ่งอาจจะเป็นช่องให้แก้ปัญหาชาติได้ อาจจะกลายเป็นเรื่องเสียเปล่า
หลายคนอาจจะนึกโทษศาลรัฐธรรมนูญว่า ฟันทั้งที ทำไมไม่เอาไปหมดทั้งบาง จะได้ไม่ต้องมีปัญหามายักแย่ยักยันอ้างอำนาจรักษาการเมือง ก็ต้องเรียนให้ทราบอีกครั้งว่า ศาลรัฐธรรมนูญเองก็มีอำนาจจำกัดตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งเมื่อกฎหมายเปิดช่องให้ไปได้แค่นั้น ซึ่งสมเหตุสมผลตามกฎหมายอยู่ดีแล้ว คือเมื่อคณะรัฐมนตรีชุดหนึ่งกระทำความผิด คนใน ครม.นั้นก็ต้องรับผิดทุกคน ยกเว้นคนที่แต่งตั้งเข้ามาทีหลังซึ่งไม่ได้กระทำผิด ซึ่งเป็นการให้ความยุติธรรมด้วยเหตุผลตามธรรมดา ด้วยเหตุนี้ ทำให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ต้องออกมาในรูปแบบนี้ ซึ่งแม้ระวังขนาดนี้แล้ว ยังถูกพวกเสื้อแดงหาเรื่องไปแจ้งความดำเนินคดีเลย
ปัญหาจึงอยู่ที่องค์อำนาจอื่นๆ ที่ควรจะดำเนินการเพื่อการแก้ไขวิกฤตการเมืองครั้งนี้ต่างหาก ที่เหมือนยังติดปัญหาไม่เดินหน้าต่อ
ซึ่งขณะนี้ นอกจากประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยเบื้องต้นแล้ว องค์อำนาจทางการเมืองที่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ยังเหลืออยู่สถาบันเดียว คือ วุฒิสภา ซึ่งถือว่าเป็นองค์อำนาจเดียวขณะที่มีหัวมีตัวครบ ในสภาพที่สภาผู้แทนฯ ไม่มี คณะรัฐมนตรีก็หัวขาด
สมควรที่จะใช้อำนาจของตนอย่างไม่ลังเล หลังจากที่ได้หารือประชุมหรือรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ ก็ควรจะ “พอได้แล้ว” ในไม่ช้า
เพราะขณะนี้เพียงวุฒิสภาเท่านั้นที่จะมีอำนาจเต็มในการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี เนื่องจากสภาวะช่องว่างทางรัฐธรรมนูญ เนื่องจากปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
รัฐธรรมนูญมาตรา 180 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า “ในกรณีที่ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 182 (1) (2) (3) (4) (5) (7) หรือ (8) ให้ดำเนินการตามมาตรา 172 และมาตรา 173 โดยอนุโลม”
ซึ่งในกรณีนี้ ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงด้วยเหตุกระทำการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา 266 ประกอบมาตรา 267 คือการใช้อำนาจเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเองในการบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้ายข้าราชการประจำ
ส่วนมาตรา 172 และมาตรา 173 นั้น มีเนื้อหาสรุปคือ ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภา โดยอาศัยเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง หรือเสียงข้างมาก ในกรณีที่พ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภา ตามมาตรา 173
แม้รัฐธรรมนูญจะบัญญัติให้ผู้ดำเนินการตามมาตรา 172 นี้จะต้องเป็น “สภาผู้แทนราษฎร” แต่เมื่อในข้อเท็จจริงที่ประจักษ์ในขณะนี้ สภาผู้แทนราษฎรไม่อาจจะมีได้เลยไม่ว่าในทางใด เนื่องจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาที่เป็นโมฆะ และไม่อาจจัดการเลือกตั้งไปจนมีสภาผู้แทนราษฎรใหม่ได้ภายในสามสิบวันนับแต่นายกฯ พ้นตำแหน่ง ตามความในรัฐธรรมนูญมาตรา 180 ประกอบมาตรา 172 และมาตรา 173 เป็นแน่แท้ ซึ่งเท่ากับการให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้สรรหานายกรัฐมนตรีภายใน 30 วันนั้นตกเป็นพ้นวิสัยโดยสิ้นเชิงในทางกฎหมาย
และเมื่อพิจารณาจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา แล้วก็จะเห็นว่า การสรรหาเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีนี้ เป็นหน้าที่ของรัฐสภา ซึ่งในขณะนี้รัฐสภาเท่ากับมีเพียงวุฒิสภาเท่านั้น
จึงเป็นหน้าที่ที่วุฒิสภาซึ่งมีความชอบธรรมในฐานะของสภาฯ ที่มีที่มาจากทั้งตัวแทนของประชาชนทุกจังหวัดในประเทศ และผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการยอมรับผ่านกระบวนการสรรหา ในฐานะของรัฐสภาเพียงเท่าที่เหลืออยู่จะต้องรักษาการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ นั่นคือจะต้องเป็นผู้สรรหาและนำเสนอชื่อของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ หลังจากคนเดิมสิ้นสถานภาพไปภายใน 30 วัน ตามบังคับของรัฐธรรมนูญ
ซึ่งทั้งหมดจะอยู่ในกรอบของหลักการการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบรัฐสภา และรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น เพราะหากจะยักแย่ยักยันให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ได้ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นได้เมื่อใด นอกจากจะขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 172 แล้ว ก็ยังจะเท่ากับทำให้รัฐบาลไม่มีนายกรัฐมนตรีสามารถบริหารประเทศไปได้ข้ามปีข้ามชาติด้วย
ส่วนที่ว่า นายกรัฐมนตรีจำเป็นต้องเป็น ส.ส.ตามมาตรา 171 วรรคสอง หรือไม่นั้น เห็นว่า เนื่องจากในขณะนี้เป็นสภาพยกเว้น เนื่องจากไม่มีใครในประเทศไทยนี้เป็น ส.ส.อยู่ และไม่อาจจะมีใครเป็น ส.ส.ขึ้นมาได้โดยแน่แท้ ภายในกรอบเวลา 30 วัน ตามมาตรา 172 และมาตรา 173 ด้วย จึงเท่ากับข้อกำหนดเรื่องนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็น ส.ส.นี้ ต้องถูกยกเว้นไปโดยสภาพความเป็นจริง แต่การที่ประเทศจำเป็นต้องมีนายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจสมบูรณ์นั้น เป็นสาระสำคัญของการปกครองประเทศที่หลีกเลี่ยงหรืองดเว้นเสียไม่ได้
หากจะตั้งคำถามว่า ข้อยกเว้นนี้จะใช้อ้างจริงหรือ? ก็ขอให้ย้อนไปดูว่าช่วงที่นายกฯ ปูเป็น “นายกรัฐมนตรีรักษาการ” นั้น อดีตนายกฯ ปูเป็น ส.ส. อยู่หรือไม่? ไม่เป็นนะครับ! เพราะมีการยุบสภาไปแล้ว นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นเพียง “ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.” คนหนึ่งเท่านั้นเอง แต่ก็ยังถือว่าเป็น “นายกรัฐมนตรี” อยู่ได้ในขณะนั้น จนพ้นตำแหน่งไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
หรือไม่ต้องอ้างอะไรไกล เพราะในการนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล นายกฯ รักษาการในขณะนี้เองก็ไม่ได้เป็น ส.ส.ในชุดที่เพิ่งยุบสภาไป เพราะลาออกจาก ส.ส.ตั้งแต่ปี 2555 แล้ว แต่ก็ยังอ้างว่ามีอำนาจเต็มอย่างนายกรัฐมนตรีอยู่เลย นั่นเท่ากับว่า ทางเพื่อไทยก็เลือกนายกฯ รักษาการ มาจาก “รัฐมนตรีโควตาคนนอก” เหมือนกัน
ดังนั้น “ข้อยกเว้น” ของการที่นายกฯ ต้องมาจาก ส.ส.นี้ แม้แต่ฝ่ายเพื่อไทยเองก็ยังยอมรับและใช้อยู่ในปัจจุบันเลยด้วยซ้ำไป
จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นว่า ในข้อกฎหมายและรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจเต็มของท่านประธานวุฒิสภาแล้ว ที่จะสรรหานายกฯ คนใหม่ที่มาจากใครก็ได้ที่ประชาชนยอมรับ ไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส.ภายในกรอบเวลา 30 วัน นับแต่อดีตนายกูพ้นตำแหน่งเมื่อวันพุธที่แล้ว เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
ข้อกฎหมายพร้อม มวลมหาประชาชนพร้อมให้การสนับสนุนท่านอยู่แล้ว เหลือเพียงความกล้าหาญในทางการเมืองของท่านเท่านั้นที่จะฝ่าทางตันนี้ออกไปได้ ท่านประธานวุฒิสภา!
แต่จนวันนี้ก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปใดๆ เกี่ยวกับอนาคตของประเทศชาติได้เลย โดยรัฐบาลหัวขาด ก็ยังคงอ้างอำนาจในการปกครองและใช้อำนาจอย่างรัฐบาลเต็มอยู่ แม้ปราศจากนายกรัฐมนตรี
เฉลิมก็กลับมา ศอรส.พร้อมกับคำขู่ว่าจะจับประชาชนจำนวนมากซึ่งเป็นแนวร่วมกับ กปปส. โดยอ้างว่า ยังไม่มีพระบรมราชโองการให้พ้นตำแหน่งรัฐมนตรี
รายชื่อในหมายจับ มีแม้แต่นักวิชาการ ข้าราชการ ที่เพียงเคยแสดงความเห็นด้วย หรือขึ้นเวที ศอรส.เพียงครั้งสองครั้ง
จนน่ากลัวว่า ดีไม่ดี การที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งฟันปูพ้นตำแหน่งไป ซึ่งอาจจะเป็นช่องให้แก้ปัญหาชาติได้ อาจจะกลายเป็นเรื่องเสียเปล่า
หลายคนอาจจะนึกโทษศาลรัฐธรรมนูญว่า ฟันทั้งที ทำไมไม่เอาไปหมดทั้งบาง จะได้ไม่ต้องมีปัญหามายักแย่ยักยันอ้างอำนาจรักษาการเมือง ก็ต้องเรียนให้ทราบอีกครั้งว่า ศาลรัฐธรรมนูญเองก็มีอำนาจจำกัดตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งเมื่อกฎหมายเปิดช่องให้ไปได้แค่นั้น ซึ่งสมเหตุสมผลตามกฎหมายอยู่ดีแล้ว คือเมื่อคณะรัฐมนตรีชุดหนึ่งกระทำความผิด คนใน ครม.นั้นก็ต้องรับผิดทุกคน ยกเว้นคนที่แต่งตั้งเข้ามาทีหลังซึ่งไม่ได้กระทำผิด ซึ่งเป็นการให้ความยุติธรรมด้วยเหตุผลตามธรรมดา ด้วยเหตุนี้ ทำให้คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ต้องออกมาในรูปแบบนี้ ซึ่งแม้ระวังขนาดนี้แล้ว ยังถูกพวกเสื้อแดงหาเรื่องไปแจ้งความดำเนินคดีเลย
ปัญหาจึงอยู่ที่องค์อำนาจอื่นๆ ที่ควรจะดำเนินการเพื่อการแก้ไขวิกฤตการเมืองครั้งนี้ต่างหาก ที่เหมือนยังติดปัญหาไม่เดินหน้าต่อ
ซึ่งขณะนี้ นอกจากประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยเบื้องต้นแล้ว องค์อำนาจทางการเมืองที่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ยังเหลืออยู่สถาบันเดียว คือ วุฒิสภา ซึ่งถือว่าเป็นองค์อำนาจเดียวขณะที่มีหัวมีตัวครบ ในสภาพที่สภาผู้แทนฯ ไม่มี คณะรัฐมนตรีก็หัวขาด
สมควรที่จะใช้อำนาจของตนอย่างไม่ลังเล หลังจากที่ได้หารือประชุมหรือรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ ก็ควรจะ “พอได้แล้ว” ในไม่ช้า
เพราะขณะนี้เพียงวุฒิสภาเท่านั้นที่จะมีอำนาจเต็มในการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี เนื่องจากสภาวะช่องว่างทางรัฐธรรมนูญ เนื่องจากปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
รัฐธรรมนูญมาตรา 180 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า “ในกรณีที่ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 182 (1) (2) (3) (4) (5) (7) หรือ (8) ให้ดำเนินการตามมาตรา 172 และมาตรา 173 โดยอนุโลม”
ซึ่งในกรณีนี้ ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงด้วยเหตุกระทำการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา 266 ประกอบมาตรา 267 คือการใช้อำนาจเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเองในการบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้ายข้าราชการประจำ
ส่วนมาตรา 172 และมาตรา 173 นั้น มีเนื้อหาสรุปคือ ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภา โดยอาศัยเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง หรือเสียงข้างมาก ในกรณีที่พ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภา ตามมาตรา 173
แม้รัฐธรรมนูญจะบัญญัติให้ผู้ดำเนินการตามมาตรา 172 นี้จะต้องเป็น “สภาผู้แทนราษฎร” แต่เมื่อในข้อเท็จจริงที่ประจักษ์ในขณะนี้ สภาผู้แทนราษฎรไม่อาจจะมีได้เลยไม่ว่าในทางใด เนื่องจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาที่เป็นโมฆะ และไม่อาจจัดการเลือกตั้งไปจนมีสภาผู้แทนราษฎรใหม่ได้ภายในสามสิบวันนับแต่นายกฯ พ้นตำแหน่ง ตามความในรัฐธรรมนูญมาตรา 180 ประกอบมาตรา 172 และมาตรา 173 เป็นแน่แท้ ซึ่งเท่ากับการให้สภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้สรรหานายกรัฐมนตรีภายใน 30 วันนั้นตกเป็นพ้นวิสัยโดยสิ้นเชิงในทางกฎหมาย
และเมื่อพิจารณาจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา แล้วก็จะเห็นว่า การสรรหาเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีนี้ เป็นหน้าที่ของรัฐสภา ซึ่งในขณะนี้รัฐสภาเท่ากับมีเพียงวุฒิสภาเท่านั้น
จึงเป็นหน้าที่ที่วุฒิสภาซึ่งมีความชอบธรรมในฐานะของสภาฯ ที่มีที่มาจากทั้งตัวแทนของประชาชนทุกจังหวัดในประเทศ และผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการยอมรับผ่านกระบวนการสรรหา ในฐานะของรัฐสภาเพียงเท่าที่เหลืออยู่จะต้องรักษาการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ นั่นคือจะต้องเป็นผู้สรรหาและนำเสนอชื่อของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ หลังจากคนเดิมสิ้นสถานภาพไปภายใน 30 วัน ตามบังคับของรัฐธรรมนูญ
ซึ่งทั้งหมดจะอยู่ในกรอบของหลักการการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบรัฐสภา และรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น เพราะหากจะยักแย่ยักยันให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ได้ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นได้เมื่อใด นอกจากจะขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 172 แล้ว ก็ยังจะเท่ากับทำให้รัฐบาลไม่มีนายกรัฐมนตรีสามารถบริหารประเทศไปได้ข้ามปีข้ามชาติด้วย
ส่วนที่ว่า นายกรัฐมนตรีจำเป็นต้องเป็น ส.ส.ตามมาตรา 171 วรรคสอง หรือไม่นั้น เห็นว่า เนื่องจากในขณะนี้เป็นสภาพยกเว้น เนื่องจากไม่มีใครในประเทศไทยนี้เป็น ส.ส.อยู่ และไม่อาจจะมีใครเป็น ส.ส.ขึ้นมาได้โดยแน่แท้ ภายในกรอบเวลา 30 วัน ตามมาตรา 172 และมาตรา 173 ด้วย จึงเท่ากับข้อกำหนดเรื่องนายกรัฐมนตรีจะต้องเป็น ส.ส.นี้ ต้องถูกยกเว้นไปโดยสภาพความเป็นจริง แต่การที่ประเทศจำเป็นต้องมีนายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจสมบูรณ์นั้น เป็นสาระสำคัญของการปกครองประเทศที่หลีกเลี่ยงหรืองดเว้นเสียไม่ได้
หากจะตั้งคำถามว่า ข้อยกเว้นนี้จะใช้อ้างจริงหรือ? ก็ขอให้ย้อนไปดูว่าช่วงที่นายกฯ ปูเป็น “นายกรัฐมนตรีรักษาการ” นั้น อดีตนายกฯ ปูเป็น ส.ส. อยู่หรือไม่? ไม่เป็นนะครับ! เพราะมีการยุบสภาไปแล้ว นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นเพียง “ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.” คนหนึ่งเท่านั้นเอง แต่ก็ยังถือว่าเป็น “นายกรัฐมนตรี” อยู่ได้ในขณะนั้น จนพ้นตำแหน่งไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
หรือไม่ต้องอ้างอะไรไกล เพราะในการนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล นายกฯ รักษาการในขณะนี้เองก็ไม่ได้เป็น ส.ส.ในชุดที่เพิ่งยุบสภาไป เพราะลาออกจาก ส.ส.ตั้งแต่ปี 2555 แล้ว แต่ก็ยังอ้างว่ามีอำนาจเต็มอย่างนายกรัฐมนตรีอยู่เลย นั่นเท่ากับว่า ทางเพื่อไทยก็เลือกนายกฯ รักษาการ มาจาก “รัฐมนตรีโควตาคนนอก” เหมือนกัน
ดังนั้น “ข้อยกเว้น” ของการที่นายกฯ ต้องมาจาก ส.ส.นี้ แม้แต่ฝ่ายเพื่อไทยเองก็ยังยอมรับและใช้อยู่ในปัจจุบันเลยด้วยซ้ำไป
จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นว่า ในข้อกฎหมายและรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจเต็มของท่านประธานวุฒิสภาแล้ว ที่จะสรรหานายกฯ คนใหม่ที่มาจากใครก็ได้ที่ประชาชนยอมรับ ไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส.ภายในกรอบเวลา 30 วัน นับแต่อดีตนายกูพ้นตำแหน่งเมื่อวันพุธที่แล้ว เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
ข้อกฎหมายพร้อม มวลมหาประชาชนพร้อมให้การสนับสนุนท่านอยู่แล้ว เหลือเพียงความกล้าหาญในทางการเมืองของท่านเท่านั้นที่จะฝ่าทางตันนี้ออกไปได้ ท่านประธานวุฒิสภา!