คอยกันมานานแล้วครับ คอยกันมา 3 ปี สิ่งที่คนในประเทศนี้ตั้งตารอ คอยการประมูล 3G บนความถี่ 2.1GHz
มาทำความรู้จักกับ 3 จีกันก่อนแล้วกันนะครับ 3 จี ( 3G,3rd generation mobile telecommunications ) เป็นมาตรฐานโทรศัพท์มือถือในยุคที่ 3 ถูกพัฒนาเพื่อแทนที่ ระบบโทรศัพท์ 2G ซึ่ง 3G นั้นได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานของมาตรฐาน IMT-2000 ภายใต้กลุ่มของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
มาตรฐานโทรศัพท์มือถือยุคที่ 3 หรือที่เรียกว่า ระบบ UMTS หรือ W-CDMA ในระบบ GSM ใช้ช่วงกรณีที่ความถี่ตั้งแต่ 850 , 900 , 1800 , 1900 และ 2100 ผสานเทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูล ใช้งานด้านมัลติมีเดีย ส่งผ่านข้อมูลทั้งภาพและเสียงในระบบไร้สายด้วยความเร็วสูง
ขั้นตอนการประมูล 3 จี แบ่งเป็นสองขั้นตอนคร่าวๆ คือขั้นตอนแรก จะเป็นการประมูลเพื่อแข่งขันในการหาจำานวนคลื่นความถี่ที่ต้องการ เมื่อได้จำานวนคลื่นความถี่ที่ต้องการแล้ว ขั้นตอนที่ 2 จะเป็นการแข่งขันเพื่อกำาหนดตำแหน่งของคลื่นความถี่ ที่จะถือครองและใช้ในการให้บริการ ตำาแหน่งคลื่นความถี่ที่จะกำาหนดนี้จะมีการแข่งขันกัน เนื่องจากตำาแหน่งจะมีผลต่อต้นทุนในการวางโครงข่าย หรือการบำารุงดูแลรักษา อันเนื่องมาจากผลกระทบจากการรบกวนของผู้ให้บริการรายอื่นในย่านความถี่เดียวกันที่อยู่ติดกัน
สำหรับประเทศไทย มีการล้มการประมูล 3 จี มารอบหนึ่งแล้วเมื่อสามปีก่อน
คราวนี้ มี องค์กร นักวิชาการ นักกฎหมาย และอดีตสมาชิสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.ร.) เตรียมหารือร่วมกัน นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน ชี้แจงว่า มีจะยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง ขอคุ้มครองชั่วคราว สั่งระงับประมูลใบอนุญาต คลี่นความถี่ 3G. กรณีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดการประมูลใบอนุญาตให้บริการ 3จี 2.1 กิกะเฮิร์ตซ เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2552 หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว
เนื่องจาก กสทช.ได้กำหนดเพดานการถือครองคลื่นความถี่ไว้ที่รายละ 15 เมกะเฮิร์ตซ จากคลื่นความถี่ที่มีอยู่ 45 เมกะเฮิร์ตซ หรือ แบ่ง ออกเป็น 9 ใบ ใบละ 5 เมกะเฮิร์ตซ ขณะที่ผู้เข้าร่วมประมูลมีเพียง 3 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค, บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค และ บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ ส่งผลให้ไม่เกิดการแข่งขันด้านราคา เนื่องจากคลื่นความถี่ที่มีอยู่แบ่งกันได้ลงตัวพอดี
นอกจากนี้ กสทช.ยังกำหนดราคาเริ่มต้นประมูลใบละ 4,500 ล้านบาท ในขณะที่ ผลการศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลค่าความถี่ควรเป็น 6,400 ล้านบาท กสทช.เลือกราคาเริ่มต้นต่ำกว่าที่ควรเป็น คือเพียง 70% ของมูลค่าคลื่นจริง ทำให้ประเทศต้องเสียผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับ กว่า 18,000 ล้านบาท
ขณะที่เอกชนทั้ง 3 รายได้ประกาศความพร้อมด้านเม็ดเงินในการประมูลว่าได้เตรียมไว้ถึง 2 หมื่นล้านบาท ดังนั้น หาก กสทช.ขยับราคาขึ้น เอกชนก็ยังพร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลเหมือนเดิม
นอกจากนี้ อดีตสหภาพบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ยังยื่นฟ้องในประเด็นที่ผู้ประกอบการยังไม่ได้โอนทรัพย์สินให้หน่วยงานรัฐตามสัญญาสร้าง โอน ให้บริการ และนายบุญชัย รุ่งเรืองพิศาลสุข ตัวแทนผู้บริโภคจะยื่นฟ้องเรียกร้องให้กำหนดค่าบริการเหมาจ่าย 3 จี ในอัตรา 250 บาทต่อเดือน รวมถึงคดีของดร.อนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านโทรคมนาคม ที่ยื่นฟ้องขอคุ้มครองชั่วคราวเมื่อวันที่ 10 ต.ค.55
ครับการประมูล 3 จี มีผลประโยชน์เป็นเม็ดเงินมหาศาล ธุรกิจเอกชนที่ประมูลได้ สามารถกอบโกยผลประโยชน์เก็บเกี่ยวกำไรต่อเนื่องนานถึง 15 ปี การแบ่งเค้กก้อนนี้จึงมีทั้งการพยายามวิ่งเต้น วางเส้นวางสาย แย่งชิงและสมคบร่วมมือของหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
เมื่อ การประมูลส่อว่าจะมีการฮั้วกัน ไม่ใช่การประมูลอย่างแท้จริง ในขณะที่นักการเมืองชั่ว ข้าราชการเลว ก็คอยอ้าปากงับผลประโยชน์ทั้งตามน้ำและทวนน้ำ ทำให้รัฐและประชาชนเสียประโยชน์ ประชาชนมีสิทธิและมีหน้าที่ในการตรวจสอบและคัดค้าน
มีข่าวขึงขังจากกสทช.ว่า เพื่อไม่ให้ตัวแทนบริษัทผู้เข้าร่วมประมูล สามารถทราบข้อมูลข่าวสารภายนอก ถึงขนาดให้พนักงาน กสทช.ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่มีหน้าที่รับผิดชอบถือว่าวันที่ประมูลเป็นวันหยุดภายในซะเลย อีกทั้งการให้พนักงานหยุดก็เพื่อให้เกิดความสะดวกในเรื่องของการดูแลความปลอดภัย
คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรของประเทศชาติเป็นทรัพย์สมบัติของประชาชน การดำเนินการประมูลของ กสทช.ต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ และประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
การที่กสทช.มาจากการเสนอชื่อและคัดเลือกจากวุฒิสภา ไม่ได้หมายความว่า จะสามารถการันตีการดำเนินงานว่าประชาชนจะไว้วางใจได้ หรือละเว้นไม่ให้ประชาชนตรวจสอบ เมื่อวิธีการ เงื่อนไข ราคา ในการประมูลไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประชาชนจึงต้องคัดค้าน
การกำหนดราคาประมูลไว้ต่ำเกินจริง ทำให้รัฐสูญเสียรายได้ และไม่ได้หมายความว่าเมื่อผู้ประมูลประมูลในราคาต่ำ แล้วประชาชนจะได้รับการบริการที่ดีกว่า เพราะธุรกิจเอกชนฟันกำไรจากผู้ใช้บริการเต็มที่อยู่แล้ว ผู้บริโภครู้ซึ้งการเอารัดเอาเปรียบจากทั้งสามบริษัทมานานแล้ว
เมื่อไม่กี่วันก่อน มีคนถามผมว่าประมูล 3 จีปีนี้จะล่มไหม ผมตอบไปแบบทีเล่นทีจริงว่าคงไม่ล่มหรอก เพราะนายกตัวจริงที่หน้าเหลี่ยมๆอยากจะสไกพ์มาสั่งงานลูกน้องให้คอรัปชั่นโกงกินกันอย่าเบ็ดเสร็จ จะได้สั่งการลิ่วล้อแล้วสัญญาณไม่กระตุกหรือขาดหายเน็ทไม่ช้า พวกลิ่วล้อจะได้ฟังคำสั่งกันให้ชัดๆ ทุกตัวอักษร
ชาวบ้านสงสัยว่า ตอนนี้ไม่ว่าทรู ดีแท็ค หรือจีเอสเอ็ม ออกมาเป่าประกาศโปรโมชั่นต่างๆว่าเครื่อขายของตัวเอง 3 จี แล้วไวอย่างนั้น โหลดเร็วอย่างนี้ มันก็ไม่จริงเลยสิ แบบนี้กสทช. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรออกมาจัดการ ถือว่าเข้าข่าย หลอกลวงผู้บริโภคหรือไม่ วานผู้รู้ช่วยบอกหน่อย
ล่าสุด เย็นวันที่ 15 ตุลาคม 2555 ศาลปกครองยกคำร้องและจำหน่ายคดีที่ นายอนุภาพ ถิรลาภ ฟ้องระงับประมูล 3G ในขณะที่ศาลรับคำร้องคดีนายสุริยะใส กตะศิลา แต่ไม่มีคำสั่งไต่สวนฉุกเฉินหรือให้การคุ้มครองชั่วคราว ทำให้การประมูล 3G ในวันที่ 16 ต.ค.ยังสามารถดำเนินการต่อไปได้
ครับ เรื่องการประมูล 3 จี เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ประชาชนคนไทยต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ไม่ให้โจรในเสื้อสูทที่มีอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ ในภาครัฐและภาคเอกชน รวมหัวกันแบ่งเค้ก ปล้นทรัพย์สมบัติของประเทศชาติและประชาชน
มาทำความรู้จักกับ 3 จีกันก่อนแล้วกันนะครับ 3 จี ( 3G,3rd generation mobile telecommunications ) เป็นมาตรฐานโทรศัพท์มือถือในยุคที่ 3 ถูกพัฒนาเพื่อแทนที่ ระบบโทรศัพท์ 2G ซึ่ง 3G นั้นได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานของมาตรฐาน IMT-2000 ภายใต้กลุ่มของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
มาตรฐานโทรศัพท์มือถือยุคที่ 3 หรือที่เรียกว่า ระบบ UMTS หรือ W-CDMA ในระบบ GSM ใช้ช่วงกรณีที่ความถี่ตั้งแต่ 850 , 900 , 1800 , 1900 และ 2100 ผสานเทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูล ใช้งานด้านมัลติมีเดีย ส่งผ่านข้อมูลทั้งภาพและเสียงในระบบไร้สายด้วยความเร็วสูง
ขั้นตอนการประมูล 3 จี แบ่งเป็นสองขั้นตอนคร่าวๆ คือขั้นตอนแรก จะเป็นการประมูลเพื่อแข่งขันในการหาจำานวนคลื่นความถี่ที่ต้องการ เมื่อได้จำานวนคลื่นความถี่ที่ต้องการแล้ว ขั้นตอนที่ 2 จะเป็นการแข่งขันเพื่อกำาหนดตำแหน่งของคลื่นความถี่ ที่จะถือครองและใช้ในการให้บริการ ตำาแหน่งคลื่นความถี่ที่จะกำาหนดนี้จะมีการแข่งขันกัน เนื่องจากตำาแหน่งจะมีผลต่อต้นทุนในการวางโครงข่าย หรือการบำารุงดูแลรักษา อันเนื่องมาจากผลกระทบจากการรบกวนของผู้ให้บริการรายอื่นในย่านความถี่เดียวกันที่อยู่ติดกัน
สำหรับประเทศไทย มีการล้มการประมูล 3 จี มารอบหนึ่งแล้วเมื่อสามปีก่อน
คราวนี้ มี องค์กร นักวิชาการ นักกฎหมาย และอดีตสมาชิสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.ร.) เตรียมหารือร่วมกัน นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน ชี้แจงว่า มีจะยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง ขอคุ้มครองชั่วคราว สั่งระงับประมูลใบอนุญาต คลี่นความถี่ 3G. กรณีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จัดการประมูลใบอนุญาตให้บริการ 3จี 2.1 กิกะเฮิร์ตซ เข้าข่ายผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2552 หรือ พ.ร.บ.ฮั้ว
เนื่องจาก กสทช.ได้กำหนดเพดานการถือครองคลื่นความถี่ไว้ที่รายละ 15 เมกะเฮิร์ตซ จากคลื่นความถี่ที่มีอยู่ 45 เมกะเฮิร์ตซ หรือ แบ่ง ออกเป็น 9 ใบ ใบละ 5 เมกะเฮิร์ตซ ขณะที่ผู้เข้าร่วมประมูลมีเพียง 3 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค, บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค และ บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ ส่งผลให้ไม่เกิดการแข่งขันด้านราคา เนื่องจากคลื่นความถี่ที่มีอยู่แบ่งกันได้ลงตัวพอดี
นอกจากนี้ กสทช.ยังกำหนดราคาเริ่มต้นประมูลใบละ 4,500 ล้านบาท ในขณะที่ ผลการศึกษาของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลค่าความถี่ควรเป็น 6,400 ล้านบาท กสทช.เลือกราคาเริ่มต้นต่ำกว่าที่ควรเป็น คือเพียง 70% ของมูลค่าคลื่นจริง ทำให้ประเทศต้องเสียผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับ กว่า 18,000 ล้านบาท
ขณะที่เอกชนทั้ง 3 รายได้ประกาศความพร้อมด้านเม็ดเงินในการประมูลว่าได้เตรียมไว้ถึง 2 หมื่นล้านบาท ดังนั้น หาก กสทช.ขยับราคาขึ้น เอกชนก็ยังพร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลเหมือนเดิม
นอกจากนี้ อดีตสหภาพบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ยังยื่นฟ้องในประเด็นที่ผู้ประกอบการยังไม่ได้โอนทรัพย์สินให้หน่วยงานรัฐตามสัญญาสร้าง โอน ให้บริการ และนายบุญชัย รุ่งเรืองพิศาลสุข ตัวแทนผู้บริโภคจะยื่นฟ้องเรียกร้องให้กำหนดค่าบริการเหมาจ่าย 3 จี ในอัตรา 250 บาทต่อเดือน รวมถึงคดีของดร.อนุภาพ ถิรลาภ นักวิชาการอิสระด้านโทรคมนาคม ที่ยื่นฟ้องขอคุ้มครองชั่วคราวเมื่อวันที่ 10 ต.ค.55
ครับการประมูล 3 จี มีผลประโยชน์เป็นเม็ดเงินมหาศาล ธุรกิจเอกชนที่ประมูลได้ สามารถกอบโกยผลประโยชน์เก็บเกี่ยวกำไรต่อเนื่องนานถึง 15 ปี การแบ่งเค้กก้อนนี้จึงมีทั้งการพยายามวิ่งเต้น วางเส้นวางสาย แย่งชิงและสมคบร่วมมือของหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
เมื่อ การประมูลส่อว่าจะมีการฮั้วกัน ไม่ใช่การประมูลอย่างแท้จริง ในขณะที่นักการเมืองชั่ว ข้าราชการเลว ก็คอยอ้าปากงับผลประโยชน์ทั้งตามน้ำและทวนน้ำ ทำให้รัฐและประชาชนเสียประโยชน์ ประชาชนมีสิทธิและมีหน้าที่ในการตรวจสอบและคัดค้าน
มีข่าวขึงขังจากกสทช.ว่า เพื่อไม่ให้ตัวแทนบริษัทผู้เข้าร่วมประมูล สามารถทราบข้อมูลข่าวสารภายนอก ถึงขนาดให้พนักงาน กสทช.ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่มีหน้าที่รับผิดชอบถือว่าวันที่ประมูลเป็นวันหยุดภายในซะเลย อีกทั้งการให้พนักงานหยุดก็เพื่อให้เกิดความสะดวกในเรื่องของการดูแลความปลอดภัย
คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรของประเทศชาติเป็นทรัพย์สมบัติของประชาชน การดำเนินการประมูลของ กสทช.ต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ และประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
การที่กสทช.มาจากการเสนอชื่อและคัดเลือกจากวุฒิสภา ไม่ได้หมายความว่า จะสามารถการันตีการดำเนินงานว่าประชาชนจะไว้วางใจได้ หรือละเว้นไม่ให้ประชาชนตรวจสอบ เมื่อวิธีการ เงื่อนไข ราคา ในการประมูลไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประชาชนจึงต้องคัดค้าน
การกำหนดราคาประมูลไว้ต่ำเกินจริง ทำให้รัฐสูญเสียรายได้ และไม่ได้หมายความว่าเมื่อผู้ประมูลประมูลในราคาต่ำ แล้วประชาชนจะได้รับการบริการที่ดีกว่า เพราะธุรกิจเอกชนฟันกำไรจากผู้ใช้บริการเต็มที่อยู่แล้ว ผู้บริโภครู้ซึ้งการเอารัดเอาเปรียบจากทั้งสามบริษัทมานานแล้ว
เมื่อไม่กี่วันก่อน มีคนถามผมว่าประมูล 3 จีปีนี้จะล่มไหม ผมตอบไปแบบทีเล่นทีจริงว่าคงไม่ล่มหรอก เพราะนายกตัวจริงที่หน้าเหลี่ยมๆอยากจะสไกพ์มาสั่งงานลูกน้องให้คอรัปชั่นโกงกินกันอย่าเบ็ดเสร็จ จะได้สั่งการลิ่วล้อแล้วสัญญาณไม่กระตุกหรือขาดหายเน็ทไม่ช้า พวกลิ่วล้อจะได้ฟังคำสั่งกันให้ชัดๆ ทุกตัวอักษร
ชาวบ้านสงสัยว่า ตอนนี้ไม่ว่าทรู ดีแท็ค หรือจีเอสเอ็ม ออกมาเป่าประกาศโปรโมชั่นต่างๆว่าเครื่อขายของตัวเอง 3 จี แล้วไวอย่างนั้น โหลดเร็วอย่างนี้ มันก็ไม่จริงเลยสิ แบบนี้กสทช. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรออกมาจัดการ ถือว่าเข้าข่าย หลอกลวงผู้บริโภคหรือไม่ วานผู้รู้ช่วยบอกหน่อย
ล่าสุด เย็นวันที่ 15 ตุลาคม 2555 ศาลปกครองยกคำร้องและจำหน่ายคดีที่ นายอนุภาพ ถิรลาภ ฟ้องระงับประมูล 3G ในขณะที่ศาลรับคำร้องคดีนายสุริยะใส กตะศิลา แต่ไม่มีคำสั่งไต่สวนฉุกเฉินหรือให้การคุ้มครองชั่วคราว ทำให้การประมูล 3G ในวันที่ 16 ต.ค.ยังสามารถดำเนินการต่อไปได้
ครับ เรื่องการประมูล 3 จี เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ประชาชนคนไทยต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ไม่ให้โจรในเสื้อสูทที่มีอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ ในภาครัฐและภาคเอกชน รวมหัวกันแบ่งเค้ก ปล้นทรัพย์สมบัติของประเทศชาติและประชาชน