การใช้ความรุนแรงเพื่อตัดสินความขัดแย้งทางการเมืองถึงขั้นเอาชีวิต มีให้เห็นทุกยุคสมัย ตั้งแต่ระดับชาติ ลงมาถึงการเมืองในท้องถิ่น
นักการเมืองระดับโลกที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์หลายคน ถูกบันทึกในฐานะเหยื่อผู้ถูกลอบสังหาร ลิงคอล์น, เจ.เอฟ.เค., อินทิรา คานธี ฯลฯ หรือกระทั่ง เบนาซี บุตโต เมื่อปีกลาย
ประเทศไทย เคยมีกรณีโด่งดังที่ยังฝังใจผู้สนใจการเมือง คือ คดีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2492 ในยุคอัศวินผยอง
ประวัติศาสตร์บันทึกไว้แล้วว่า ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์นั่นเองที่เป็นผู้ลงมือ ฉีกกฎหมายที่ตนต้องรักษายังไม่พอ เพราะยังอุตส่าห์สร้างหลักฐานเป็นข้ออ้างทุเรศ ๆ ว่า มีโจรก่อการร้ายมาชิงตัว ... ข้ออ้างทุเรศ ๆ ของตำรวจในยุคนั้นคือรอยด่างที่ประทับอยู่บนองค์กรตำรวจไทยไม่สามารถลบออกได้
มาจาก 2475 มาถึง 2551 เส้นทางประชาธิปไตยของไทยในแต่ละช่วงต้องใช้ชีวิตของผู้คนที่เข้าไปเกี่ยวข้องจำนวนมาก การสังหารหัวคะแนน หรือ ผู้สมัครคู่แข่ง เกิดขึ้นมาโดยตลอดเพราะการพัฒนาประชาธิปไตยยังไม่สมบูรณ์ มีลักษณะของประชาธิปไตยแบบบ้านป่าเมืองเถื่อนผสมผสานอยู่
หลายคดี เป็นน้ำมือของมือปืนอาชีพ ขณะที่หลายคดี การสังหารปรปักษ์ทางการเมืองเกิดจากเงื้อมมือของตำรวจนอกแถว
การใช้ความรุนแรงถึงขั้นเอาชีวิต มิได้มุ่งกระทำต่อคู่แข่งทางการเมืองเพียงกลุ่มเดียว ยังขยายขอบเขตมาถึง ผู้ที่เป็นปฏิปักษ์หรือไปขัดขวางผลประโยชน์ทางการเมืองอีกด้วย
มีกรณีอ้างอิงถึงมากมาย แต่ที่จะยกมานำเสนอเป็นเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดไม่กี่ปี ค้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ได้ง่าย นั่นคือ เหตุความรุนแรงที่จังหวัดบุรีรัมย์
เมื่อ 14 มีนาคม พ.ศ. 2543 นายลิขิต เพชรสว่าง รองอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ น้องชายของ นายโสภณ เพชรสว่าง รองประธานสภาผู้แทนราษฎร(ในเวลานั้น) ถูกลอบยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสที่กรุงเทพฯ ซึ่งต่อมานายโสภณ เพชรสว่าง รองประธานสภาผู้แทนราษฎร, ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคชาติพัฒนาออกมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน พุ่งประเด็นสงสัยไปยัง นายเนวิน ชิดชอบ คู่แข่งทางการเมืองในพื้นที่จังหวัดเดียวกัน ขณะที่นายเนวิน ปฏิเสธไม่เกี่ยวข้องและประกาศฟ้องร้องกลับ
ก่อนหน้านั้นเพียง 4 เดือน เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2542 เกิดเหตุลอบยิง นาย ปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์ ส.ส.ประชาธิปัตย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ถูกมือสังหารลอบยิง 5 นัดโชคดีที่ไม่เสียชีวิตแต่อาการสาหัส
จากแฟ้มข่าว...เจ้าหน้าที่ตำรวจจับมือปืนที่ชื่อ นายชัยยศ หรือ อ๊อด รุ่งเจริญพร ได้อย่างรวดเร็วในวันที่ 25 ธ.ค. พร้อมสารภาพหมดเปลือกว่า ได้รับการจ้างวานจาก แอ๊ด ขาว นักเลงโตแห่งบ่อนย่านเตาปูน หรือ นายทวีศักดิ์ ชิดชอบ ทายาทคนที่ 3 ของ นางละออง กับ นายชัย ชิดชอบ ส.ส.บุรีรัมย์ ซึ่งกำลังเปิดศึกชนิดเอาเป็นเอาตายกับนายปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์ ในเขตเลือกตั้งที่ 5
นายทวีศักดิ์ ชิดชอบ บุตรคนที่ 3 ของ นายชัย ชิดชอบ เป็นพี่ชายแท้ ๆ ของ นายเนวิน ชิดชอบ ส.ส.บุรีรัมย์ ร่วมจังหวัด
คดีนี้ขึ้นศาลเร็วมาก โดยที่สุด ศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิตมือปืน..เอารายละเอียดมาให้ดู
เมื่อเวลา 11.10 น. (20 ม.ค.) ที่ห้องพิจารณาที่ 701 ศาลอาญา นายศิริชัย จิระบุญศรี รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา พร้อมองค์คณะ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีพยายามฆ่า นายปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์ ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคประชาธิปัตย์ ที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง นายชัยยศ หรือ อ๊อด รุ่งเจริญพร มือปืนเป็นจำเลย ในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพกพาอาวุธปืนไปในที่สาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควร
คดีนี้อัยการยื่นฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2543 ว่า เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2542 เวลา 00.40 น.จำเลยได้ใช้อาวุธปืนยิงนายปณวัตรหลายนัดจนได้รับบาดเจ็บ ก่อนที่จะขึ้นรถจักรยานยนต์ที่มีผู้ขับขี่รออยู่หลบหนีไป เหตุเกิดที่บริเวณประตูทางเข้า จันทาพร อพาร์ตเมนท์ ซอยประดิพัทธ์ 15 ที่พักของนายปณวัตร ต่อมาวันที่ 25 ธันวาคม เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมจำเลยได้ที่จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพ และเมื่อถูกนำตัวเข้าขอขมาต่อนายปณวัตรที่โรงพยาบาลเปาโล จำเลยก็ยอมรับว่า สาเหตุที่รับงานฆ่านายปณวัตรก็เพื่อทดแทนบุญคุณของ นายทวีศักดิ์ ชิดชอบ พี่ชายของนายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อย่างไรก็ตาม ในการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2543 แม้จำเลยจะให้การยอมรับว่าเป็นผู้ยิงนายปณวัตรจริง แต่กลับปฏิเสธว่านายทวีศักดิ์ไม่ได้เป็นผู้จ้างวานและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ผู้จ้างวานที่แท้จริงเป็นชายคนหนึ่งแต่ไม่ทราบชื่อ พร้อมกับแถลงต่อศาลขอให้ลงโทษสถานเบา อ้างว่ามีบุตรสาว 3 คน และมารดาซึ่งอายุมากและป่วยเป็นอัมพาต ไม่มีใครดูแล
สรุปว่า ใครจ้างจำเลยไม่รู้จัก ไม่ทราบชื่อ ส่วนตระกูลชิดชอบนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องแต่ประการใด
..........
เอาแฟ้มข่าวเก่า ๆ มาทบทวนเล่าสู่กันฟัง
เอาเป็นว่า คดีคึกโครมดังกล่าวจับผู้บงการไม่ได้.. ยังคงลอยนวลมาถึงปัจจุบัน !!
หยิบเรื่องเก่ามาเล่าสู่..เพื่อจะบอกว่า การเมืองไทยยังอยู่ในวังวนที่สามารถจะใช้ความรุนแรงถึงขั้นเอาชีวิตกันได้ทุกเมื่อ เหตุที่เกิดกับนักการเมืองระดับชาติ และ ข้าราชการชั้นรองอธิบดี เมื่อปี 2542-2543 นั้น เพิ่งผ่านไปไม่ถึง 10 ปี
………….
มาถึง พ.ศ.นี้ เมืองไทยก็ยังคงมีนักการเมือง(บางคน)ที่กล้าทำทุกอย่างที่เลวทรามได้..เพียงเพื่อรักษาอำนาจ และสืบทอดอำนาจ
ส่วนผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่ดีก็มี..ที่ระยำก็เยอะ ...ไอ้แบบที่ระยำนั้นคนกากีเหล่านี้มันสามารถทำทุกอย่างได้ เพื่อแลกกับความก้าวหน้า และผลประโยชน์ของมัน
จากยุคอัศวินมาถึงยุคนี้เกิน 60 ปีเข้าไปแล้ว ..แต่เชื้อชั่วก็ไม่ยอมตายสักที..กรรมจริง ๆ ประเทศไทย !!!
..........
นักการเมืองระดับโลกที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์หลายคน ถูกบันทึกในฐานะเหยื่อผู้ถูกลอบสังหาร ลิงคอล์น, เจ.เอฟ.เค., อินทิรา คานธี ฯลฯ หรือกระทั่ง เบนาซี บุตโต เมื่อปีกลาย
ประเทศไทย เคยมีกรณีโด่งดังที่ยังฝังใจผู้สนใจการเมือง คือ คดีสังหาร 4 อดีตรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2492 ในยุคอัศวินผยอง
ประวัติศาสตร์บันทึกไว้แล้วว่า ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์นั่นเองที่เป็นผู้ลงมือ ฉีกกฎหมายที่ตนต้องรักษายังไม่พอ เพราะยังอุตส่าห์สร้างหลักฐานเป็นข้ออ้างทุเรศ ๆ ว่า มีโจรก่อการร้ายมาชิงตัว ... ข้ออ้างทุเรศ ๆ ของตำรวจในยุคนั้นคือรอยด่างที่ประทับอยู่บนองค์กรตำรวจไทยไม่สามารถลบออกได้
มาจาก 2475 มาถึง 2551 เส้นทางประชาธิปไตยของไทยในแต่ละช่วงต้องใช้ชีวิตของผู้คนที่เข้าไปเกี่ยวข้องจำนวนมาก การสังหารหัวคะแนน หรือ ผู้สมัครคู่แข่ง เกิดขึ้นมาโดยตลอดเพราะการพัฒนาประชาธิปไตยยังไม่สมบูรณ์ มีลักษณะของประชาธิปไตยแบบบ้านป่าเมืองเถื่อนผสมผสานอยู่
หลายคดี เป็นน้ำมือของมือปืนอาชีพ ขณะที่หลายคดี การสังหารปรปักษ์ทางการเมืองเกิดจากเงื้อมมือของตำรวจนอกแถว
การใช้ความรุนแรงถึงขั้นเอาชีวิต มิได้มุ่งกระทำต่อคู่แข่งทางการเมืองเพียงกลุ่มเดียว ยังขยายขอบเขตมาถึง ผู้ที่เป็นปฏิปักษ์หรือไปขัดขวางผลประโยชน์ทางการเมืองอีกด้วย
มีกรณีอ้างอิงถึงมากมาย แต่ที่จะยกมานำเสนอเป็นเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดไม่กี่ปี ค้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ได้ง่าย นั่นคือ เหตุความรุนแรงที่จังหวัดบุรีรัมย์
เมื่อ 14 มีนาคม พ.ศ. 2543 นายลิขิต เพชรสว่าง รองอธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ น้องชายของ นายโสภณ เพชรสว่าง รองประธานสภาผู้แทนราษฎร(ในเวลานั้น) ถูกลอบยิงได้รับบาดเจ็บสาหัสที่กรุงเทพฯ ซึ่งต่อมานายโสภณ เพชรสว่าง รองประธานสภาผู้แทนราษฎร, ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคชาติพัฒนาออกมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน พุ่งประเด็นสงสัยไปยัง นายเนวิน ชิดชอบ คู่แข่งทางการเมืองในพื้นที่จังหวัดเดียวกัน ขณะที่นายเนวิน ปฏิเสธไม่เกี่ยวข้องและประกาศฟ้องร้องกลับ
ก่อนหน้านั้นเพียง 4 เดือน เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2542 เกิดเหตุลอบยิง นาย ปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์ ส.ส.ประชาธิปัตย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ถูกมือสังหารลอบยิง 5 นัดโชคดีที่ไม่เสียชีวิตแต่อาการสาหัส
จากแฟ้มข่าว...เจ้าหน้าที่ตำรวจจับมือปืนที่ชื่อ นายชัยยศ หรือ อ๊อด รุ่งเจริญพร ได้อย่างรวดเร็วในวันที่ 25 ธ.ค. พร้อมสารภาพหมดเปลือกว่า ได้รับการจ้างวานจาก แอ๊ด ขาว นักเลงโตแห่งบ่อนย่านเตาปูน หรือ นายทวีศักดิ์ ชิดชอบ ทายาทคนที่ 3 ของ นางละออง กับ นายชัย ชิดชอบ ส.ส.บุรีรัมย์ ซึ่งกำลังเปิดศึกชนิดเอาเป็นเอาตายกับนายปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์ ในเขตเลือกตั้งที่ 5
นายทวีศักดิ์ ชิดชอบ บุตรคนที่ 3 ของ นายชัย ชิดชอบ เป็นพี่ชายแท้ ๆ ของ นายเนวิน ชิดชอบ ส.ส.บุรีรัมย์ ร่วมจังหวัด
คดีนี้ขึ้นศาลเร็วมาก โดยที่สุด ศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิตมือปืน..เอารายละเอียดมาให้ดู
เมื่อเวลา 11.10 น. (20 ม.ค.) ที่ห้องพิจารณาที่ 701 ศาลอาญา นายศิริชัย จิระบุญศรี รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา พร้อมองค์คณะ ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาคดีพยายามฆ่า นายปณวัตร เลี้ยงผ่องพันธุ์ ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคประชาธิปัตย์ ที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง นายชัยยศ หรือ อ๊อด รุ่งเจริญพร มือปืนเป็นจำเลย ในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน มีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพกพาอาวุธปืนไปในที่สาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควร
คดีนี้อัยการยื่นฟ้องต่อศาลเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2543 ว่า เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2542 เวลา 00.40 น.จำเลยได้ใช้อาวุธปืนยิงนายปณวัตรหลายนัดจนได้รับบาดเจ็บ ก่อนที่จะขึ้นรถจักรยานยนต์ที่มีผู้ขับขี่รออยู่หลบหนีไป เหตุเกิดที่บริเวณประตูทางเข้า จันทาพร อพาร์ตเมนท์ ซอยประดิพัทธ์ 15 ที่พักของนายปณวัตร ต่อมาวันที่ 25 ธันวาคม เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมจำเลยได้ที่จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพ และเมื่อถูกนำตัวเข้าขอขมาต่อนายปณวัตรที่โรงพยาบาลเปาโล จำเลยก็ยอมรับว่า สาเหตุที่รับงานฆ่านายปณวัตรก็เพื่อทดแทนบุญคุณของ นายทวีศักดิ์ ชิดชอบ พี่ชายของนายเนวิน ชิดชอบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อย่างไรก็ตาม ในการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2543 แม้จำเลยจะให้การยอมรับว่าเป็นผู้ยิงนายปณวัตรจริง แต่กลับปฏิเสธว่านายทวีศักดิ์ไม่ได้เป็นผู้จ้างวานและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ผู้จ้างวานที่แท้จริงเป็นชายคนหนึ่งแต่ไม่ทราบชื่อ พร้อมกับแถลงต่อศาลขอให้ลงโทษสถานเบา อ้างว่ามีบุตรสาว 3 คน และมารดาซึ่งอายุมากและป่วยเป็นอัมพาต ไม่มีใครดูแล
สรุปว่า ใครจ้างจำเลยไม่รู้จัก ไม่ทราบชื่อ ส่วนตระกูลชิดชอบนั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องแต่ประการใด
..........
เอาแฟ้มข่าวเก่า ๆ มาทบทวนเล่าสู่กันฟัง
เอาเป็นว่า คดีคึกโครมดังกล่าวจับผู้บงการไม่ได้.. ยังคงลอยนวลมาถึงปัจจุบัน !!
หยิบเรื่องเก่ามาเล่าสู่..เพื่อจะบอกว่า การเมืองไทยยังอยู่ในวังวนที่สามารถจะใช้ความรุนแรงถึงขั้นเอาชีวิตกันได้ทุกเมื่อ เหตุที่เกิดกับนักการเมืองระดับชาติ และ ข้าราชการชั้นรองอธิบดี เมื่อปี 2542-2543 นั้น เพิ่งผ่านไปไม่ถึง 10 ปี
………….
มาถึง พ.ศ.นี้ เมืองไทยก็ยังคงมีนักการเมือง(บางคน)ที่กล้าทำทุกอย่างที่เลวทรามได้..เพียงเพื่อรักษาอำนาจ และสืบทอดอำนาจ
ส่วนผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่ดีก็มี..ที่ระยำก็เยอะ ...ไอ้แบบที่ระยำนั้นคนกากีเหล่านี้มันสามารถทำทุกอย่างได้ เพื่อแลกกับความก้าวหน้า และผลประโยชน์ของมัน
จากยุคอัศวินมาถึงยุคนี้เกิน 60 ปีเข้าไปแล้ว ..แต่เชื้อชั่วก็ไม่ยอมตายสักที..กรรมจริง ๆ ประเทศไทย !!!
..........