xs
xsm
sm
md
lg

จีนรับมติ WHO ไต่สวนไวรัส ฉบับเสนอโดยสหภาพยุโรป

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ารประชุมสมัชชาอนามัยโลก ผ่านระบบออนไลน์ สองวันประวัติศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก ปี 2020 เมื่อวันที่ 18-19 พฤษภาคม (ภาพ WHO)
กลุ่มสื่อต่างประเทศรายงาน (20 พ.ค.) - หลังจากการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สองวันประวัติศาสตร์ของปี 2020 (18-19 พ.ค.) ล่าสุดหลังการประชุมผ่านระบบออนไลน์ ประเทศสมาชิกได้ให้การสนับสนุนอย่างแข็งแกร่งมติการประชุมสมัชชาอนามัยโลก เมื่อวันอังคารที่ 19 พฤษภาคม ขณะที่โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ร่วมประชุมด้วยการยืนจดหมายกล่าวโจมตีองค์กรฯ ขู่ถอนตัวจากองค์กรที่เป็นหน่วยงานใหญ่ของสหประชาชาตินี้ และให้เวลา 30 วันในการปฏิรูปการทำงาน หากไม่เช่นนั้น จะสูญเสียเงินทุนสนับสนุนจากสหรัฐฯ

สหรัฐฯตำหนิWHOและขู่ถอนตัว

การประชุมเริ่มต้นเมื่อวันจันทร์ ประธานาธิบดีสหรัฐ เปิดตัวการโจมตีส่งจดหมายยืนยันความเชื่อของอเมริกาว่าองค์การอนามัยโลกไม่ได้เป็นอิสระจากจีนอย่างเพียงพอ และยอมรับง่ายเกินไปกับคำอธิบายเกี่ยวกับต้นกำเนิดของการระบาดของโรคโคโรนา

“ หากองค์การอนามัยโลกไม่ได้มุ่งมั่นในการปรับปรุงที่สำคัญภายใน 30 วันข้างหน้า ผมจะหยุดการให้ทุนชั่วคราวแก่ WHO เป็นการถาวรและพิจารณาการเป็นสมาชิกของเรา” ทรัมป์ แถลงในจดหมายถึง นายเทดรอส อาดานอม เกเบรเยซัส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก


จีนเสนอความช่วยเหลือแบ่งปันทั่วโลก
ตรงข้ามกับ ผู้นำจีน สีจิ้นผิง แถลงในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก จีนเปิดเผย โปร่งใส รับผิดชอบ ในการรับมือการระบาดของโควิด พร้อมรับการตรวจสอบ และยังจะมอบเงินช่วยเหลือนานาชาติ 2,000 ล้านดอลลาร์

เราต้องมีรับผิดชอบมากกว่าใคร” สี จิ้นผิงกล่าวในคำแถลงฯสี จิ้นผิง กล่าวว่า เมื่อจีนวิจัยวัคซีนโควิด ได้สำเร็จ จีนจะแบ่งปันให้กับทั่วโลก และ จะร่วมกับสหประชาชาติสร้าง “ทางด่วน” เพื่อแบ่งปันความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม และการรับมือโรคระบาดผู้จีนยังระบุว่า ขณะนี้โรคโควิดยังไม่หมดสิ้นไป ยังต้องทุ่มเทควบคุมโรค ส่งเสริมการนำขององค์การอนามัยโลก ช่วยเหลือประเทศในแอฟริกา เสริมสร้างระบบสาธารณสุขทั่วโลก ฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม เร่งฟื้นคืนการผลิต การทำงาน การเรียน รวมทั้งกระชับความร่วมมือของนานาชาติ

สมัชชาลงมติสนับสนุนผู้อำนวยการใหญ่ฯ
ในที่สุด สมัชชาฯ ได้ลงมติสนับสนุนการทำงานของ เทดรอส อาดานอม เกเบรเยซัส ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การอนามัยโลก และมีมติเห็นชอบ การสอบสวนการตอบสนองระดับโลกต่อการแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัสขณะที่การเสนอร่างมติฯ ร้องขอไต่สวนต้นกำเนิดและการตอบสนองระหว่างประเทศ ที่ริเริ่มโดยออสเตรเลียและสหรัฐฯ นั้น เมื่อประชุมวันอังคารได้มีการทำร่างฉบับที่สองซึ่งนำโดยสหภาพยุโรปเป็นผู้นำในการเสนอ ไม่ใช่ออสเตรเลีย ก็ได้ผ่านการประชุมสมัชชาอนามัยโลกเช่นกัน

ก่อนเวลา 22.00 น. ในคืนวันอังคาร มติดังกล่าวมีผู้ร่วมสนับสนุนจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ -137 ประเทศ เอกฉันท์ โดยไม่มีผู้คัดค้าน การตัดสินใจดังกล่าวจะทำให้มีกระบวนการไต่สวนต้นเหตุไวรัส

ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กล่าวผ่านการประชุมออนไลน์ว่า “การไต่สวนนี้ต้องมีทัศนคติทางวิทยาศาสตร์ มีหลักการวิชาชีพ และจำเป็นต้องได้รับการนำโดย WHO ยึดหลักการของความเที่ยงธรรมและความเป็นธรรม”ผู้นำจีนยืนยันการจัดการปัญหาโรคระบาดว่า "เราดำเนินการด้วยความเปิดกว้างและโปร่งใสและรับผิดชอบ"


จีนรับร่างไต่สวนฯโดยสหภาพยุโรปเป็นผู้นำ
นายเทดรอส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกกล่าว ต้อนรับการลงมติและว่าเขาจะออกหมายเรียกไต่สวนตามเวลาที่เหมาะสมประธานาธิบดีจีนจินผิงกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมสมัชชา และลงนาม เห็นชอบในการไต่สวน COVID-19การตัดสินใจในนาทีสุดท้ายของจีนที่สนับสนุนมติดังกล่าว เนื่องจากร่างมติเรียกร้องการไต่สวนอิสระฉบับที่สอง ซึ่งเสนอโดยสหภาพยุโรป มีความแตกต่างกับร่างมติฯ ฉบับแรกของออสเตรเลีย โดยกระทรวงการต่างประเทศของจีนอ้างว่า ร่างเสนอมติฯ ของออสเตรเลียนั้น มีวาระทางการเมือง

ในร่างมติฯ ฉบับสหภาพยุโรปนั้น มีท่าทีการประนีประนอมและการเจรจาและเลี่ยงการอ้างอิงพุ่งเป้าประเทศจีน รวมถึงการเปลี่ยนข้อกำหนดเช่น "การสอบสวน" เปลี่ยนเป็น "ทบทวน" เพ่งความสนใจไปที่ "บทเรียนที่ได้รับจากการตอบสนองด้านสุขภาพระดับสากลต่อ COVID-19"

มติเรียกร้องผู้อำนวยการใหญ่ฯ องค์การอนามัยโลกนี้ อยู่ในหมวด/ข้อ OP9.6 COVID-19 response ระบุว่า "การดำเนินงานอย่างใกล้ชิดกับองค์การอาหารสัตว์โลก (OIE) และองค์การเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และประเทศต่าง ๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ One-Health Approach เพื่อระบุแหล่งที่มาของสัตว์ที่ติดเชื้อไวรัสและเส้นทางการติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์ รวมถึงบทบาทที่เป็นไปได้ของโฮสต์ระดับกลาง รวมถึงความพยายาม เช่น ภารกิจทางวิทยาศาสตร์และการทำงานร่วมกันซึ่งจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายและวาระการวิจัยเพื่อลดความเสี่ยงของเหตุการณ์ที่คล้ายกันรวมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการป้องกันการติดเชื้อ SARS-COV2 ในสัตว์และมนุษย์ และป้องกันการเกิดใหม่ของอุบัติการณ์ระบาดโรคติดเชื้อจากสัตว์"


มติเอกฉันท์ไมมีผู้คัดค้าน
ทั้งนี้ จากเอกสารมติการประชุมสมัชชา องค์การอนามัยโลก ระบุว่าร่างมติเสนอโดยแอลเบเนีย, ออสเตรเลีย, บาห์เรน, บังคลาเทศ, เบลารุส, ภูฏาน, โบลิเวีย, บราซิล, แคนาดา, ชิลี, จีน, โคลัมเบีย, คอสตาริกา, จิบูตี, สาธารณรัฐโดมินิกัน, เอกวาดอร์, เอลซัลวาดอร์, ฟิจิ, กัวเตมาลา, กายอานา, ไอซ์แลนด์, อินเดีย, อินโดนีเซีย, อิรัก, ญี่ปุ่น, จอร์แดน, คาซัคสถาน, มัลดีฟส์, เกาะมาร์แชล, เม็กซิโก, ไมโครนีเซีย (สหพันธรัฐ), โมนาโก, มอนเตเนโกร, โมร็อกโก, นิวซีแลนด์, มาซิโดเนียตอนเหนือ, นอร์เวย์, ปานามา, ปารากวัย, เปรู, กาตาร์, สาธารณรัฐเกาหลี, สาธารณรัฐมอลโดวา, สหพันธรัฐรัสเซีย, ซานมารีโน, ซาอุดิอาระเบีย, สิงคโปร์, ศรีลังกา, ไทย, กลุ่มประเทศแอฟริกา, ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป , ตูนิเซีย, ตุรกี, ยูเครน และสหราชอาณาจักรกับไอร์แลนด์เหนือ

กำลังโหลดความคิดเห็น