xs
xsm
sm
md
lg

ติดตาม ประชุมมติฯ WHO สอบสวนต้นเหตุไวรัสฯ และดึงไต้หวันร่วมฯ

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


การประชุมสมัชชาอนามัยโลก ครั้งที่ 72 (ภาพจากแฟ้มองค์การอนามัยโลก)
กลุ่มสื่อทั้งจีนและตะวันตก กำลังติดตามการประชุมประจำปีของสมัชชาอนามัยโลกที่จะเริ่มขึ้นในวันนี้ (18 - 19 พ.ค.) ซึ่งก่อนการระบาดใหญ่คงไม่มีใครคาดคิดว่าการประชุมสองวันสั้น ๆ นี้ กำลังจะเป็นการประชุมสุดยอดทางการเมืองที่สำคัญที่สุดของปี 2020

นอกเหนือจากประชุมลงมติในวาระประจำปีทั่วไป ที่น่าสนใจคือจะมีวาระประชุมลงมติพิเศษ 2 เรื่อง ที่น่าจะเป็นข้อขัดแย้งกันโดยตรงกับจีน ได้แก่ 1. การเรียกร้องให้ไต้หวันเข้าร่วมการประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์ และ 2. ร่างมติฯ ของประเทศออสเตรเลียซึ่งเรียกร้องให้มีกระบวนการสอบสวนต้นกำเนิดของไวรัส

ล่าสุดก่อนการประชุมฯ ร่างมติที่ออสเตรเลียเป็นผู้ริเริ่มฯ ได้มีการรวมตัวของประเทศต่าง ๆ อย่างน้อย 116 ประเทศแล้ว ที่สนับสนุนข้อเรียกร้องของออสเตรเลีย ที่ให้มีการสอบสวนอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับต้นกำเนิดของการระบาดของโรคโคโรนาไวรัส

รายงานของ WHO ว่าร่างมติของออสเตรเลียนี้จะมีการนำเสนอต่อสมัชชาอนามัยโลกในวันอังคาร (19 พ.ค.) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศสำคัญ ๆ เช่น ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้งหมด 27 ประเทศ ยังมี อินเดีย ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร แคนาดา นิวซีแลนด์ อินโดนีเซีย รัสเซีย เม็กซิโก และกลุ่มประเทศต่าง ๆ ในทวีปแอฟริกา

ข้อเสนอต้องการให้นายแพทย์เทดรอส แอดนาฮอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่ขององค์การอนามัยโลก ริเริ่ม "กระบวนการขั้นตอนที่เป็นกลางในการประเมินที่เป็นกลาง เป็นอิสระและครอบคลุม"

ก่อนหน้านี้ ปักกิ่งขู่ออสเตรเลียหากออสเตรเลียยื่นข้อเรียกร้องเพื่อกล่าวหาทำลายจีน และว่าเป็นการเคลื่อนไหวทางการเมือง

จีนยังกล่าวว่าจะตอบโต้บังคับใช้มาตรการลงโทษในการส่งออกข้าวบาร์เลย์ออสเตรเลียและระงับการส่งออกเนื้อวัว

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ตามรายงานของ เดลีเทเลกราฟ มีประเทศต่าง ๆ อย่างน้อย 116 ประเทศ จากเดิมมี 62 ประเทศ แต่ล่าสุดมีกลุ่มแอฟริกา เพิ่มเข้ามาร่วมสนับสนุน สกอตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ซึ่งเสนอองค์ประกอบสำคัญในการเรียกร้องให้สอบสวนต้นกำเนิดของไวรัสและข้อขัดแย้งซึ่งอาจจะมีผล หรือไม่มีผลกับจีนโดยตรง

ประเทศที่ให้การสนับสนุนการสอบสวน มีอาทิ แอลเบเนีย, ออสเตรเลีย,บังคลาเทศ, เบลารุส, ภูฏาน, บราซิล, แคนาดา, ชิลี, จิบูตี, สาธารณรัฐโดมินิกัน, เอกวาดอร์, เอลซัลวาดอร์, กัวเตมาลา, กายอานา, ไอซ์แลนด์, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, จอร์แดน, คาซัคสถาน , มาเลเซีย, มัลดีฟส์, เม็กซิโก, โมนาโก, มอนเตเนโกร, นิวซีแลนด์, มาซิโดเนียเหนือ, นอร์เวย์, ปารากวัย, เปรู, กาตาร์, สาธารณรัฐเกาหลี, สาธารณรัฐมอลโดวา, รัสเซีย, ซานมารีโน, ซาอุดีอาระเบีย, กลุ่มแอฟริกาและประเทศสมาชิก สหภาพยุโรปและประเทศสมาชิก ตูนิเซีย, ตุรกี, ยูเครนและสหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์เหนือ

ข้อเรียกร้องให้สอบสวนต้นกำเนิดของไวรัส นั้น มี 4 ประการ
1. ต้องการให้การสอบสวนเปิดกว้างและโปร่งใส
2. ต้องมีอิสระ ปราศจากอิทธิพลทางการเมืองและสามารถให้คำแนะนำเพื่อช่วยเสริมสร้างการปกป้องจากการระบาดใหญ่ในอนาคต
3. ต้องการการเตรียมการเพื่อเร่งตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ขององค์การอนามัยโลก
4. ต้องการรับรองว่าองค์การอนามัยโลกจะ“ไม่เอนเอียงในทางใดทางหนึ่ง” หลังการจัดการขององค์กรถูกมองว่าดำเนินไปอย่างไม่น่าเชื่อและห่วงความเปราะบางทางการเมืองของปักกิ่ง

การตอบสนองของพรรคคอมมิวนิสต์ต่อการเสนอร่างมติฯ ในวันอังคารนี้ จะรวมถึงข้อซักถามมาที่เหตุของการไม่อนุญาตให้ผู้ตรวจสอบชาวต่างชาติเข้าอู่ฮั่น ระงับเผยแพร่งานวิจัยเกี่ยวกับไวรัส ความล้มเหลวในการส่งมอบตัวอย่างไวรัส

มติดึงไต้หวันกลับเข้าร่วมสมัชชาอนามัยโลกอีกครั้ง (ในฐานะผู้สังเกตการณ์) นั้น ด้วยผลงานความสำเร็จกับการต่อสู้การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับองค์การอนามัยโลก

ก่อนนี้ไต้หวัน ก็เคยอยู่ในสมัชชาอนามัยโลก ระหว่างปี 2552 ถึง 2559 แต่ถูกแยกออกจากองค์กรไป หลังจาก ไช่ อิง-เหวิน พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (ไต้หวัน) ได้ชัยชนะในการเลือกตั้งเดือนพฤษภาคม 2559

ขณะที่ปักกิ่ง ยืนยันชัดเจนว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน ใต้อธิปไตยนโยบาย "จีนเดียว" บนเวทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การคัดค้านของจีนก็มีจุดยืนของตนเพื่อป้องกันอธิปไตย

ทั้งนี้ ไต้หวัน มีพันธมิตรทางการทูตกับ 13 ประเทศ แต่องค์การอนามัยโลกมีรัฐสมาชิก 194 รัฐ การสนับสนุนมติเข้าร่วมคงจะยังห่างไกลจำนวนเสียงมติฯ ที่เพียงพอ แต่ในมติการเรียกร้องให้มีการสอบสวนต้นกำเนิดไวรัสฯ ที่ริเริ่มโดยออสเตรเลียนั้น น่าสนใจมากในการประชุม ซึ่งจะมีการเสนอมติในวันอังคารฯ นี้

ผู้เชี่ยวชาญฯ หลายฝ่ายมองว่า ก่อนการระบาดใหญ่คงไม่มีใครคาดคิดว่าการประชุมสองวันสั้น ๆ นี้ จะเป็นการประชุมสุดยอดทางการเมืองที่สำคัญที่สุดของปี2020

การประชุม 2 วันนี้ จะได้เห็นการตั้งกลุ่มพันธมิตรหลวม ๆ ของประเทศต่าง ๆ หลังจากสหรัฐอเมริกา ไม่ได้มีความเป็นผู้นำใด ๆ ในการเผชิญวิกฤตโลกครั้งนี้


กำลังโหลดความคิดเห็น