สื่อจีนเผยภาพถ่ายล้ำค่าของกรุงปักกิ่งและผู้คนในเมืองหลวงเมื่อเกือบร้อยปีที่ผ่านมา จากผลงานของ เฮดดา มอรริสัน (1908–1991) ช่างภาพชาวเยอรมัน ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พาวเวอร์เฮาส์ มิวเซียม ในกรุงซิดนีย์
ข้อมูลระบุว่า เฮดดา มอรริสัน เป็นช่างภาพชาวเยอรมัน คนแรกๆ ที่เดินทางเข้าไปทำงานในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อปีค.ศ. 1933 และถ่ายภาพถ่ายล้ำค่านี้ เผยสู่โลกภายนอก โดยเธอทำงานในกรุงปักกิ่งนาน 13 ปี ทั้งเปิดสตูดิโอห้องภาพ (1933 - 1938) และเป็นช่างภาพอิสระฯ โดยได้ถ่ายภาพจำนวนมากมายหลายพันรูป ครอบคลุมทุกตรอกซอกซอย ชีวิตริมถนน พ่อค้าหาบเร่ ช่างฝีมือ ไปจนถึงนักบวชเต๋าบนสำนักเขาสูง ผลงานมหาศาลของมอรริสัน จัดเป็นสมบัติล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ยุคใหม่จีน
มอรริสัน กล่าวว่าเธอหลงใหลในสถาปัตยกรรมของกรุงปักกิ่ง ทั้งพระราชวังต้องห้าม โบสถ์วิหาร สำนักเต๋าต่างๆ อาทิ ถันเจ้อซือ (潭柘寺) และ เจียไถซือ ( 戒台寺) มีเวลาครั้งใดเป็นต้องขี่จักรยานลัดเลาะกำแพงเมืองโบราณ ขึ้นรถไฟ และขนาดขี่ลาท่องไปกับคนนำทางท้องถิ่นก็ยังมี
ผู้เชี่ยวชาญฯ กล่าวว่า เฮดดา มอรริสัน ต่างจากช่างภาพต่างชาติคนอื่นๆ ตรงที่เธอถ่ายรูปด้วยหัวใจ ให้ความสนใจในชีวิตจริงๆ ของผู้คน ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของจีน บ่อยครั้งเธอยังเข้าไปร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดกับบรรดาศิลปินและช่างภาพท้องถิ่นด้วย
ทั้งนี้ ผลงานรวมภาพถ่ายของมอรริสัน ที่พิมพ์เป็นเล่มนั้นมี อาทิ The ["G.E. Morrison Papers," , "The Other 'Morrison of Peking': Hedda Morrison and her Photographs of China.", "The Hedda Morrison Photographs of China, 1933 -1946,, The Road to Peking (Canberra: A. Morrison, 1998). "Hedda Morrison in Peking: A Personal Recollection,", "In Her View: Hedda Morrison's Photographs of Peking
ภาพชุดจีนแผ่นดินใหญ่ ของมอรริสัน เป็นอีกหนึ่งงานศิลปะที่พิสูจน์ว่าภาพถ่ายแต่ละใบนั้น ซ่อนเรื่องราวข้างหลังภาพไว้มากมาย และสามารถพาเราโบยบินไปยังที่ไหนก็ได้ในกาลเวลา