เซาท์ไชน่า มอร์นิ่งโพสต์- ผลสำรวจองค์กรระหว่างประเทศชี้ ในเด็กระดับอายุ 15 ปี เด็กแดนมังกรมีทักษะความรู้ด้านการเงินแน่นปึ้ก เหนือเด็กหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว
องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Cooperation and Development หรือ OECD) ทำการทดสอบเด็กวัยรุ่น ระดับอายุ 15 ปี จาก 18 ประเทศ ตามโครงการประเมินนักเรียนนานาชาติ เพื่อวัดมาตรฐานระบบการศึกษาทั่วโลก
การทดสอบดังกล่าว เป็นการประเมินความรู้ด้านการเงินของเด็กวัยรุ่นเป็นครั้งแรกของโครงการฯ โดยใช้คำถามทดสอบความสามารถหลายระดับทั้งง่ายและยากผสมกัน ซึ่งเด็กๆ มีเวลาเขียนตอบ 2 ชั่วโมง
ตัวอย่างคำถามที่ง่ายที่สุด เน้นทักษะความรู้พื้นฐานด้านการเงิน อาทิ อธิบายความสำคัญของใบกำกับสินค้า หรือเปรียบเทียบราคาต่อหน่วยเพื่อหาของที่คุ้มค่ากว่า ส่วนข้อที่ยากที่สุด เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์สมมุติที่ซับซ้อน อาทิ ตรวจใบคำขอกู้เงินที่มีอัตราและเงื่อนไขต่างกัน จากนั้นเลือกข้อเสนอที่ดีที่สุด
ทั้งนี้ จากผลการประเมินที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 9 ก.ค. พบว่า เด็กเซี่ยงไฮ้ทำคะแนนเฉลี่ยได้สูงสุด 603 คะแนน ตามมาด้วยเด็กเบลเยียม เอสโตเนีย นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก โปแลนด์ ลัตเวีย อเมริกา รัสเซีย และฝรั่งเศส ในขณะที่เด็กอเมริกัน ได้คะแนนเฉลี่ย 492 คะแนน
ส่วนประเทศที่รั้งท้ายกลุ่มได้แก่ โครเอเชีย อิสราเอล สโลวาเกีย อิตาลี และโคลัมเบีย ซึ่งได้คะแนนต่ำสุด 379 คะแนน
ด้าน ไมเคิล เดวิดสัน ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษาของ OECD ระบุ โรงเรียนในเซี่ยงไฮ้คอยประกบเด็กที่มีปัญหาและให้ความช่วยเหลือตามที่พวกเขาต้องการ จึงถือเป็นระบบการศึกษาที่ประสบความสำเร็จ เพราะพวกเขาไม่ทิ้งให้เด็กตามไม่ทัน เดวิดสันกล่าว
อนึ่งการสำรวจความรู้ด้านการเงินของเด็ก เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2555 โดยมีเด็กระดับอายุ 15 ปี จากประเทศสมาชิก OECD 13 ประเทศและกลุ่มประเทศพันธมิตร 5 ประเทศ เข้าร่วมทั้งหมด 29,000 คน
พื้นฐานความรู้ด้านการเงินเป็นสิ่งชี้ขาดสำหรับเด็กๆ ในการตัดสินใจว่าจะเข้าสู่ตลาดแรงงานหรือเข้าเรียนต่อในระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย และปัจจุบัน เด็กหลายคนก็ใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินเป็นกันแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ในอเมริกา เด็กอายุ 15 ปี ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์มีบัญชีเงินฝากของตนเอง และ 15 เปอร์เซ็นต์มีบัตรเดบิตใช้ นายเดวิดสัน กล่าว
องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Cooperation and Development หรือ OECD) ทำการทดสอบเด็กวัยรุ่น ระดับอายุ 15 ปี จาก 18 ประเทศ ตามโครงการประเมินนักเรียนนานาชาติ เพื่อวัดมาตรฐานระบบการศึกษาทั่วโลก
การทดสอบดังกล่าว เป็นการประเมินความรู้ด้านการเงินของเด็กวัยรุ่นเป็นครั้งแรกของโครงการฯ โดยใช้คำถามทดสอบความสามารถหลายระดับทั้งง่ายและยากผสมกัน ซึ่งเด็กๆ มีเวลาเขียนตอบ 2 ชั่วโมง
ตัวอย่างคำถามที่ง่ายที่สุด เน้นทักษะความรู้พื้นฐานด้านการเงิน อาทิ อธิบายความสำคัญของใบกำกับสินค้า หรือเปรียบเทียบราคาต่อหน่วยเพื่อหาของที่คุ้มค่ากว่า ส่วนข้อที่ยากที่สุด เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์สมมุติที่ซับซ้อน อาทิ ตรวจใบคำขอกู้เงินที่มีอัตราและเงื่อนไขต่างกัน จากนั้นเลือกข้อเสนอที่ดีที่สุด
ทั้งนี้ จากผลการประเมินที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 9 ก.ค. พบว่า เด็กเซี่ยงไฮ้ทำคะแนนเฉลี่ยได้สูงสุด 603 คะแนน ตามมาด้วยเด็กเบลเยียม เอสโตเนีย นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก โปแลนด์ ลัตเวีย อเมริกา รัสเซีย และฝรั่งเศส ในขณะที่เด็กอเมริกัน ได้คะแนนเฉลี่ย 492 คะแนน
ส่วนประเทศที่รั้งท้ายกลุ่มได้แก่ โครเอเชีย อิสราเอล สโลวาเกีย อิตาลี และโคลัมเบีย ซึ่งได้คะแนนต่ำสุด 379 คะแนน
ด้าน ไมเคิล เดวิดสัน ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษาของ OECD ระบุ โรงเรียนในเซี่ยงไฮ้คอยประกบเด็กที่มีปัญหาและให้ความช่วยเหลือตามที่พวกเขาต้องการ จึงถือเป็นระบบการศึกษาที่ประสบความสำเร็จ เพราะพวกเขาไม่ทิ้งให้เด็กตามไม่ทัน เดวิดสันกล่าว
อนึ่งการสำรวจความรู้ด้านการเงินของเด็ก เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2555 โดยมีเด็กระดับอายุ 15 ปี จากประเทศสมาชิก OECD 13 ประเทศและกลุ่มประเทศพันธมิตร 5 ประเทศ เข้าร่วมทั้งหมด 29,000 คน
พื้นฐานความรู้ด้านการเงินเป็นสิ่งชี้ขาดสำหรับเด็กๆ ในการตัดสินใจว่าจะเข้าสู่ตลาดแรงงานหรือเข้าเรียนต่อในระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย และปัจจุบัน เด็กหลายคนก็ใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินเป็นกันแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ในอเมริกา เด็กอายุ 15 ปี ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์มีบัญชีเงินฝากของตนเอง และ 15 เปอร์เซ็นต์มีบัตรเดบิตใช้ นายเดวิดสัน กล่าว