ปีนี้เป็นปีครบรอบปีที่ 15 ของการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของผู้นำสูงสุดเติ้ง เสี่ยวผิง ชีวิตของเติ้ง เสี่ยวผิง (1904-1997) เสมือนคลื่นใหญ่ซัดสาดแผ่วงกระเพื่อมกว้างไกล มหัศจรรย์ เต็มไปด้วยสีสัน ผู้นำเติ้งเผชิญอุปสรรคที่เข้ามาปะทะ ผลักให้ตกลงไปในหุบเหวแห่งชีวิต และได้หวนกลับขึ้นมาสู่เกียรติภูมิอันรุ่งโรจน์ถึงสามครั้งสามคราบนเส้นทางการเมือง สิ่งที่ท่านตัดสินและลงมือทำได้สร้างความตื่นตะลึงแก่โลก การปราศรัยระหว่างตรวจการเขตเศรษฐกิจภาคใต้ นโยบายปฏิรูปเปิดประเทศ ที่ทำให้ประเทศจีนพลิกโฉมอย่างมหัศจรรย์ ความกล้าหาญ สติปัญญา ชีวิตที่เต็มไปด้วยเสน่ห์เหลือล้นเหล่านี้ ยังคงติดตรึงประทับอยู่ในจิตใจผู้คนอย่างไม่รู้ลืม
สื่อจีนได้นำเสนอภาพห้วงเวลาแห่งชีวิต 18 ภาพ 18 เรื่อง เพื่อสะท้อนถึงชีวิตที่น่าอัศจรรย์ของเติ้ง เสี่ยวผิง ชายร่างเล็ก ผู้มีฉายา “เสือเตี้ย”หรือ “แมวเก้าชีวิต” โดยลำดับตามความน่าสนใจ ที่มา: เหรินหมินรื่อเป้า
"หนึ่งนิ้วของเติ้ง ที่ทำโลกตะลึง": วันที่ 4 มิ.ย. 1985 (2528) ในการประชุมใหญ่คณะกรรมการธิการทหารกลาง ณ มหาศาลาประชาคม กรุงปักกิ่ง ขณะนั้นเติ้ง เสี่ยวผิงดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการธิการทหารกลาง ค่อยๆชูนิ้วขึ้นหนึ่งนิ้ว กล่าวว่า“กองทัพปลดแอกประชาชนจีนตัดลดกำลังทหาร 1,000,000 คน” พลัน...ผู้สื่อข่าวแห่งสำนักข่าวซินหวาก็ได้เก็บภาพประวัติศาสตร์ในชั่วขณะที่ลั่นวาจานี้ไว้ ต่อมา กลุ่มสื่อเทศจึงได้ขนานนามเติ้ง เสี่ยวผิง “นิ้วเดียว ที่ลดกำลังทหารหนึ่งล้าน” สร้างความตื่นตะลึงแก่ชาวโลก
ฝ่าขวากหนามบนเวทีการเมืองครั้งแรก: เดือนมกราคม ค.ศ.1933 (2476) คณะกรรมการกลางเฉพาะกาลแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ย้ายจากนครเซี่ยงไฮ้ มายังฐานที่มั่นการปฏิวัติกลาง (Central Revolutionary Base Area)ในมณลเจียงซี คณะกรรมการกลางเฉพาะกาลฯนำโดยหวัง หมิง กำลังถลำสู่เส้นทางลัทธิสุ่มเสี่ยงเอียงซ้าย กลุ่มที่ต่อต้านได้พยายามใช้แนวคิดของเหมา เจ๋อตงเข้าคัดค้าน การเผชิญหน้าทางความคิดนี้ เป็นเหตุให้เติ้ง เสี่ยวผิงซึ่งสนับสนุนแนวคิดเหมา ต้องกระเด็นจากเวทีอำนาจการเมือง โดยในปลายเดือนมีนาคม คณะกรรมการกลางเฉพาะกาลฯได้ประณามเติ้ง เสี่ยวผิง พร้อมกับริบตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการศูนย์กลางในอำเภอฮุ่ยชัง นับเป็นการเผชิญอุปสรรคการเมืองครั้งแรก
"คาวบอยเติ้ง เสี่ยวผิง": ภาพที่สร้างความประทับใจแก่ชาวอเมริกันระหว่างที่เติ้ง เสี่ยวผิงเยือนสหรัฐฯปี 1979 (2522) ก็คือ การที่ผู้นำเติ้งสวมหมวกคาวบอยเข้าชมการแสดงขี่ม้าที่หมู่บ้านซิมอนตันใกล้กับฮุสตัน สหรัฐอเมริกา นับเป็นท่าทีปฏิสัมพันธ์แบบ “เข้าเมืองตาลิ่วก็ลิ่วตาตาม” สะท้อนว่าผู้นำจีนเคารพนับถือวัฒนธรรมอเมริกัน และเป็นการแสดงถึงความรู้สึกเป็นมิตรกับอเมริกันชน
เติ้ง เสี่ยวผิง ตรวจการภาคใต้ การปฏิรูปเปิดประเทศก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว: ระหว่างวันที่ 18-21 มกราคม 1992 (2535) เติ้ง เสี่ยวผิง เดินทางไปยังอู่ชัง เซินเจิ้น จูไห่ เซี่ยงไฮ้ และเขตอื่นๆ เพื่อตรวจการการพัฒนาในพื้นที่ และได้กล่าวปราศรัยครั้งสำคัญ เพื่อให้ผู้คนเข้าใจกระจ่างในการปฏิรูป
"พายุหมุนเติ้ง เสี่ยวผิง" ที่เกาะญี่ปุ่น: บ่ายวันที่ 25 ตุลาคม 1978 (2521) เติ้ง เสี่ยวผิงแถลงในที่ประชุมข่าวที่กรุงโตเกียว เมื่อผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นถามปัญหาการคืนเกาะ ‘เซนกากุ’ ทำให้บรรยากาศตึงเครียดขึ้นมาทันที ทุกคนต่างเงี่ยหูฟังคำตอบของเติ้ง เสี่ยวผิงอย่างใจระทึก แต่เติ้ง เสี่ยวผิงกลับตอบด้วยสีหน้าปกติ ‘เกาะเซนกากุ’ พวกเราเรียกว่า ‘เกาะเตี้ยวอี๋ว์’ ชื่อเกาะแห่งนี้เราเรียกไม่เหมือนกัน ทั้งสองฝ่ายมีวิธีคิดไม่เหมือนกัน ในการบรรลุการปรับความสัมพันธ์ปกติระหว่างจีนกับญี่ปุ่น(1972-2515) เราสัญญากันแล้วว่าจะไม่หยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาถกเถียง
เติ้ง เสี่ยวผิง เสนอ “หนึ่งประเทศสองระบบ” ครั้งแรก: หลังการประชุมผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศสมัยที่ 11 เติ้ง เสี่ยวผิงได้เสนอแนวความคิด “หนึ่งประเทศ สองระบบ”สำหรับแก้ไขปัญหาฮ่องกงและไต้หวัน วันที่ 24 ตุลาคม 1982 (2525) เติ้ง เสี่ยวผิง ได้ประชุมกับนายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษ มาร์กาแรต แทตเชอร์ ในการประชุมฯดังกล่าวได้วางพื้นฐานการแก้ไขปัญหาคืนดินแดนฮ่องกง วันที่ 19 ธันวาคม 1984 จีนและอังกฤษได้ลงนามแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยปัญหาฮ่องกง แทตเชอร์กล่าวว่า “หนึ่งประเทศสองระบบ” เป็นความคิดที่ยอดเยี่ยมที่สุด เป็นแนวคิดที่เต็มไปด้วยพลังสร้างสรรค์ เป็นเสาหลักในการแก้ไขปัญหาฮ่องกง เติ้ง เสี่ยวผิงกล่าวหลายครั้งว่า ความฝันสูงสุดของฉันคือมีชีวิตอยู่ถึงปี 1997 ปีที่ฮ่องกงกลับสู่มาตุภูมิ ฉันจะไปเยือนที่นั่น แต่เติ้ง เสี่ยวผิง ก็จากไปก่อนวันส่งมอบเกาะฮ่องกงแก่จีนเพียงไม่กี่เดือน
“5 ปีแล้ว การพัฒนาก้าวหน้าไปถึงไหน ผมจะต้องไปดูด้วยตาตัวเอง” : ปลายเดือนมกราคม 1984 (2527) เติ้ง เสี่ยวผิง เริ่มเดินทางไปตรวจการเขตเศรษฐกิจพิเศษครั้งแรก จากเขตเศรษฐกิจเซินเจิ้น จูไห่ เติ้งเขียนข้อความแนะแนวทางทำให้ชาวเซินเจิ้นนั่งกันไม่ติด เวลานั้น จังหรงผู้รับผิดชอบการต้อนรับอาคันตุกะจากเซินเจิ้นได้รุดมายังก่วงตง รอคำแนะแนวทางจากเติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งได้ระบุว่า“ประสบการณ์และการพัฒนาในเซินเจิ้น ได้พิสูจน์ว่า นโยบายการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษของเราถูกต้อง”
หลังจากปลดเกษียณ ใช้ชีวิตกับครอบครัวอย่างอบอุ่น: วันที่ 9 พฤศจิกายน 1989 การประชุมผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีนทั่วประเทศสมัยที่ 13 ยอมรับคำร้องขอลาออกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการทหารกลางของเติ้ง เสี่ยวผิง เมื่อเติ้ง เสี่ยวผิงได้ปลดเกษียณ ใช้ชีวิตอย่างสงบสุขอบอุ่นอยู่กับลูกๆหลานๆ ชีวิตประจำวันของท่านดำเนินไปอย่างมีระเบียบวินัย เติ้ง เสี่ยวผิง ติดตามการแข่งขันกีฬาอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย และชื่นชอบการชมฟุตบอลเป็นพิเศษ เติ้ง เสี่ยวผิงชอบการออกกำลังกายเป็นที่สุด แต่ละวันก่อนเดินเล่น ก็จะทำท่ากายบริหาร ทั้งการยืดแขน-ขา หมุนเอว ซึ่งเป็นการบริหารร่างกายอย่างง่ายที่สุด แต่เขาก็ปฏิบัติบัติอย่างเคร่งครัดมาก เติ้ง เสี่ยวผิงชอบเด็กมาก มีบุตรธิดา 5 คน หลาน 4 คน หลังจากที่ปลดเกษียณแล้ว เขาใช้เวลาอยู่กับหลานมากขึ้น และก็ทำให้เขาดูอ่อนเยาว์ขึ้นด้วย
เติ้ง เสี่ยวผิง วิพากษ์วิจารณ์ “สองประการที่ต้องยึดถือปฏิบัติไม่ว่าอย่างไรก็ตาม*”-- วันที่ 10 เมษายน 1977(2520) เติ้ง เสี่ยวผิงเขียนจดหมายไปยังคณะกรรมการกลางพรรคฯ เกี่ยวกับ “สองประการที่ต้องยึดถือปฏิบัติไม่ว่าอย่างไรก็ตาม” อรรถาธิบายถึงทัศนะท่าทีต่อหลักทฤษฎีเหมา เจ๋อตง ที่ถูกต้องสอดคล้องกับความเป็นจริง“พวกเราจะต้องสืบทอดหลักทฤษฎีเหมา เจ๋อตง อย่างบริบูรณ์ถูกต้อง ชี้นำพรรคฯ กองทัพ และประเทศทั้งหมดทั้งมวล ผลักดันภารกิจสังคมนิยมและพรรคฯ การเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์สากล ให้ก้าวไปข้างหน้าสู่ชัยชนะ
(ภาพ--เดือนมีนาคม 1978 เติ้ง เสี่ยวผิงพบปะกับผู้แทนการประชุมใหญ่บัณทิตยสถาน)
* สองประการที่ต้องยึดถือปฏิบัติไม่ว่าอย่างไรก็ตาม” (两个凡是/Two Whatevers) ได้แก่ “(1)ทุกอย่างที่เหมา เจ๋อตงได้ตัดสิน เราจะต้องปกป้องอย่างเหนียวแน่น (2)ทุกอย่างที่เหมา เจ๋อตง ได้ชี้นำ เราจะต้องยึดถือตลอดไป” เป็นคำกล่าวของฮว่า กั๋วเฟิง ทายาทการเมืองของเหมา เจ๋อตง กล่าวในตอนสิ้นสุดยุคปฏิวัติวัฒนธรรม
“คุณทำได้ดีมาก!”โจว เอินไหล กล่าวกับเติ้ง เสี่ยวผิง: บ่ายวันที่ 20 กันยายน 1975 แพทย์เตรียมการผ่าตัดใหญ่แก่โจว เอินไหล โจว เอินไหลนอนอยู่บนรถเข็นที่กำลังถูกเข็นไปยังห้องผ่าตัด ท่านได้ถามคนรอบข้างว่า "เสี่ยวผิงมาหรือยัง?” เมื่อได้ยินเสียงเรียกถามถึง เติ้ง เสี่ยวผิงก็รีบเดินมาข้างหน้า มาอยู่ข้างๆโจว เอินไหล โจว เอินไหลรวบรวมแรงยื่นมือออกไปจับมือของเติ้ง เสี่ยวผิงไว้แน่น และรวบรวมพลังเปล่งเสียงดังออกมา “หนึ่งปีมานี้ คุณทำได้ดีมาก ดีมากกว่าผมเสียอีก!” (ภาพ เติ้ง เสี่ยวผิงในห้องรับแขกของเหมา เจ๋อตง ปี 1975)
เติ้ง เสี่ยวผิง เผชิญชะตาชีวิต “สามขึ้น สามลง” : เติ้ง เสี่ยวผิงเผชิญมรสุมชีวิตการเมืองครั้งแรก ที่เขตฐานการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในต้นทศวรรษที่ 1930 ที่ขณะนั้นเป็น "เขตโซเวียตกลางในมณฑลเจียงซี หรือ โซเวียต เจียงซี" เวลานั้นปั๋ว กู่ สมาชิกในคณะรัฐบาลเฉพาะกาลฯ ได้เป็นตัวแทนนำขบวนผลักดันลัทธิสุ่มเสี่ยงเอียงซ้าย ขณะที่ เติ้ง เสี่ยวผิง เหมา เจ๋อถัน ซย่า เวยจวิ้น และสมาชิกอื่นๆ สนับสนุนแนวทางที่ถูกต้องของเหมา เจ๋อตง และต่อต้านยุทธวิธี “เมืองเป็นศูนย์กลาง” นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เติ้ง เสี่ยวผิงถูกโจมตีอย่างหนัก และถูกคุมขังในคุก อีกทั้งยังถูกเพิกถอนตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการศูนย์กลางฮุ่ยชังและผู้อำนวยการฝ่ายโฆษณาการมณฑลเจียงซี ตลอดจนถูกตักเตือนอย่างร้ายแรง ในปีนั้นเติ้ง เสี่ยวผิง อยู่ในวัย 29 ปี กระทั่ง ‘การประชุมจวินอี้’ (遵义会议)ปี 1935 ที่ประชุมฯรับรองแนวทางของเหมา เจ๋อตง เป็นแนวทางใหม่ของการปฏิวัติ ชะตาชีวิตที่ได้ตกลงไปและทะยานขึ้นมาอีกครั้ง ของเติ้ง เสี่ยวผิง ก็ดำเนินมาครบวงจร แห่งการ “ลง-ขึ้น”
ชะตาชีวิต “ลง-ขึ้น” ครั้งที่สอง: เติ้ง เสี่ยวผิง ประสบความทุกข์แสนสาหัสที่สุดระหว่างยุคปฏิวัติวัฒนธรรม ที่เริ่มเปิดฉากในปี 1966 (2509) ครอบครัวเติ้งถูกส่งไปใช้แรงงานในโรงงานในมณฑลเจียงซี หลังเหตุการณ์ผู้นำกลุ่มต่อต้านการปฏิวัติที่คิดโค่นล้มเหมา เจ๋อตง คือหลิน เปียว ประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกเสียชีวิตเมื่อปี 19 มีนาคม ปี 1971(2514) เติ้ง เสี่ยวผิง ก็ได้เขียนจดหมายถึงเหมา เจ๋อตงสองครั้ง เรียกร้องขอกลับมาทำงาน และเหมา เจ๋อตงได้ตอบรับ ในปี 1973 เติ้ง เสี่ยวผิง ได้หวนคืนสู่เวทีการเมืองอีกครั้ง ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีแห่งคณะมุขมนตรี และในต้นปี 1975 เติ้ง เสี่ยวผิงได้ดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ รองนายกรัฐมนตรีลำดับที่หนึ่งแห่งคณะมุขมนตรี รองประธานคณะกรรมการทหารกลางควบตำแหน่งเสนาธิการทหารร่วม เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักในการปฏิบัติงานประจำวันของทั้งพรรคฯ การปกครองบริหาร และการทหาร (ภาพ เติ้ง เสี่ยวผิง ตรวจการเขตชนบท)
ชะตาชีวิต “ลง-ขึ้น” ครั้งที่สาม: อุบัติขึ้นระหว่างปี 1976-1977 (2519-2520)การเคลื่อนไหว “กระแสวิพากษ์เติ้ง ฟื้นกรณีกวาดล้างกลุ่มเอียงขวา” ได้ผลักเติ้ง เสี่ยวผิงลงจากอำนาจการเมืองอีกครั้ง กระทั่งการประชุมผู้แทนพรรคฯ เติ้ง เสี่ยวผิงจึงได้หวนคืนสู่อำนาจการเมือง เติ้ง เสี่ยวผิงเผชิญมรสุมชีวิตที่ปะทะชีวิตล้มลงไปและได้หวนคืนสู่อำนาจถึง 3 ครั้งนี้ ทำให้ต่างชาติขนานนามเติ้งว่า “คนร่างเล็ก ที่มิอาจโค่นล้มไปตลอดกาล” หรือ “แมวเก้าชีวิต”
เติ้ง เสี่ยวผิงเยือนแดนอภิมหาอำนาจแห่งสหภาพโซเวียต: นายกรัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียต นิกิตา ครุชเชฟ (1958-1964) กล่าวว่า “คนๆนี้ยอดเยี่ยมจริงๆ ผมเคยติดต่อกับเขา ในปี 1956 (2499) เขาก็มา อย่าดูเบาว่าเขาเป็นคนตัวเล็ก สติปัญญาและความคิดของเขา สูงล้ำมาก”
เติ้ง เสี่ยวผิง ผูกพันธ์กับทะเล : เติ้ง เสี่ยวผิงชื่นชอบการว่ายน้ำมาก โดยเฉพาะการว่ายน้ำในท้องทะเล เติ้งกล่าวว่า “สุขภาพร่างกายของผมยังดีอยู่ สมองยังปลอดโปร่ง ความจำก็ยังดี ผมว่ายน้ำในแม่น้ำเป่ยไต้ทุกวัน วันละ 1 ชั่วโมง ไม่ชอบว่ายน้ำในสระว่ายน้ำ การว่ายน้ำท่ามกลางธรรมชาติ ที่ทำให้รู้สึกถึงอิสระเสรี และมีพลังมาก”
แนวคิดยุติปัญหาจีนสองฝากฝั่ง : เติ้งเสนอของ “แนวคิดหกประการ” (Six Conceptions) เพื่อยุติปัญหาแบ่งแยกดินแดนสองฝากฝั่ง (ภาพเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 1984) เติ้ง เสี่ยวผิง พบปะกับคณะผู้แทนจากศูนย์การศึกษากิจการระหว่างประเทศและยุทธศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ สหรัฐอเมริกา (Center for Strategic and International Studies) กล่าวว่า ข้อเสนอรูปแบบรวมชาติระหว่างแผ่นดินใหญ่และไต้หวัน ตาม “แนวคิดหกประการ” นี้ เหมาะสมที่สุด
เปิดกว้างปฏรูปชนบท “พวกคุณทำเช่นนี้ต่อไป”: ฤดูใบไม้ผลิ ปี 1978 (2531) ชาวนา 18 ครัวเรือนในหมู่บ้านเสี่ยวกัง อำเภอเฟิ่งหยัง มณฑลอันฮุย ได้แอบทำสัญญาจัดสรรที่ดิน เมื่อเติ้ง เสี่ยวผิงได้ยินเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินในเขตชนบทแห่งนี้ ก็สนับสนุน “พวกคุณทำเช่นนี้ต่อไป แสวงหาจากประสบการณ์จริงกันต่อไป มิต้องจำกัดรูปแบบ การทดลองรูปแบบวิธีการต่างๆ จะทำให้เกษตรกรมั่งคั่งกันขึ้นมาได้” วันที่ 31 พฤษภาคม 1980 เติ้ง กล่าวสนับสนุนประสบการณ์การปฏิรูปชนบทในอันฮุย และที่อื่นๆ
เติ้ง เสี่ยวผิงได้หวนคืนสู่เวทีการเมือง: สร้างความฮือฮาใหญ่ วันที่ 12 เมษายน 1973 โจว เอินไหลได้จัดงานเลี้ยงอาหารค่ำต้อนรับเจ้านโรดมสีหนุแห่งกัมพูชาที่มหาศาลาประชาชน โจว เอินไหลได้พารองนายกรัฐมนตรีเติ้ง เสี่ยวผิง เดินคู่กันมาต้อนรับเจ้าสีหนุ นับเป็นครั้งแรกที่เติ้ง เสี่ยวผิงได้ปรากฏตัวในที่สาธารณะนับจากวันที่กระเด็นออกจากเวทีการเมืองปี 1967 (2510) แม้ในการประชุมนี้เขาจะไม่ได้กล่าวคำปราศรัยใดๆ แต่การปรากฏตัว ณ ที่นี้ ของเติ้ง ก็ได้ประกาศชัดว่าเติ้งได้กลับสู่อำนาจการเมืองแล้ว สร้างความฮือฮาแก่วงการมาก ผู้สื่อข่าวต่าวชาติได้เสนอข่าวใหญ่ “เติ้ง เสี่ยวผิง กลับมาแล้ว!”
ภาพ: เมษายน 1973 โจว เอินไหล จัดงานเลี้ยงอาหารค่ำต้อนรับเจ้าสีหนุ โดยมีเติ้ง เสี่ยวผิง ปรากฏกายคู่กับโจว เอินไหล
สื่อจีนได้นำเสนอภาพห้วงเวลาแห่งชีวิต 18 ภาพ 18 เรื่อง เพื่อสะท้อนถึงชีวิตที่น่าอัศจรรย์ของเติ้ง เสี่ยวผิง ชายร่างเล็ก ผู้มีฉายา “เสือเตี้ย”หรือ “แมวเก้าชีวิต” โดยลำดับตามความน่าสนใจ ที่มา: เหรินหมินรื่อเป้า
"หนึ่งนิ้วของเติ้ง ที่ทำโลกตะลึง": วันที่ 4 มิ.ย. 1985 (2528) ในการประชุมใหญ่คณะกรรมการธิการทหารกลาง ณ มหาศาลาประชาคม กรุงปักกิ่ง ขณะนั้นเติ้ง เสี่ยวผิงดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการธิการทหารกลาง ค่อยๆชูนิ้วขึ้นหนึ่งนิ้ว กล่าวว่า“กองทัพปลดแอกประชาชนจีนตัดลดกำลังทหาร 1,000,000 คน” พลัน...ผู้สื่อข่าวแห่งสำนักข่าวซินหวาก็ได้เก็บภาพประวัติศาสตร์ในชั่วขณะที่ลั่นวาจานี้ไว้ ต่อมา กลุ่มสื่อเทศจึงได้ขนานนามเติ้ง เสี่ยวผิง “นิ้วเดียว ที่ลดกำลังทหารหนึ่งล้าน” สร้างความตื่นตะลึงแก่ชาวโลก
ฝ่าขวากหนามบนเวทีการเมืองครั้งแรก: เดือนมกราคม ค.ศ.1933 (2476) คณะกรรมการกลางเฉพาะกาลแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ย้ายจากนครเซี่ยงไฮ้ มายังฐานที่มั่นการปฏิวัติกลาง (Central Revolutionary Base Area)ในมณลเจียงซี คณะกรรมการกลางเฉพาะกาลฯนำโดยหวัง หมิง กำลังถลำสู่เส้นทางลัทธิสุ่มเสี่ยงเอียงซ้าย กลุ่มที่ต่อต้านได้พยายามใช้แนวคิดของเหมา เจ๋อตงเข้าคัดค้าน การเผชิญหน้าทางความคิดนี้ เป็นเหตุให้เติ้ง เสี่ยวผิงซึ่งสนับสนุนแนวคิดเหมา ต้องกระเด็นจากเวทีอำนาจการเมือง โดยในปลายเดือนมีนาคม คณะกรรมการกลางเฉพาะกาลฯได้ประณามเติ้ง เสี่ยวผิง พร้อมกับริบตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการศูนย์กลางในอำเภอฮุ่ยชัง นับเป็นการเผชิญอุปสรรคการเมืองครั้งแรก
"คาวบอยเติ้ง เสี่ยวผิง": ภาพที่สร้างความประทับใจแก่ชาวอเมริกันระหว่างที่เติ้ง เสี่ยวผิงเยือนสหรัฐฯปี 1979 (2522) ก็คือ การที่ผู้นำเติ้งสวมหมวกคาวบอยเข้าชมการแสดงขี่ม้าที่หมู่บ้านซิมอนตันใกล้กับฮุสตัน สหรัฐอเมริกา นับเป็นท่าทีปฏิสัมพันธ์แบบ “เข้าเมืองตาลิ่วก็ลิ่วตาตาม” สะท้อนว่าผู้นำจีนเคารพนับถือวัฒนธรรมอเมริกัน และเป็นการแสดงถึงความรู้สึกเป็นมิตรกับอเมริกันชน
เติ้ง เสี่ยวผิง ตรวจการภาคใต้ การปฏิรูปเปิดประเทศก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว: ระหว่างวันที่ 18-21 มกราคม 1992 (2535) เติ้ง เสี่ยวผิง เดินทางไปยังอู่ชัง เซินเจิ้น จูไห่ เซี่ยงไฮ้ และเขตอื่นๆ เพื่อตรวจการการพัฒนาในพื้นที่ และได้กล่าวปราศรัยครั้งสำคัญ เพื่อให้ผู้คนเข้าใจกระจ่างในการปฏิรูป
"พายุหมุนเติ้ง เสี่ยวผิง" ที่เกาะญี่ปุ่น: บ่ายวันที่ 25 ตุลาคม 1978 (2521) เติ้ง เสี่ยวผิงแถลงในที่ประชุมข่าวที่กรุงโตเกียว เมื่อผู้สื่อข่าวญี่ปุ่นถามปัญหาการคืนเกาะ ‘เซนกากุ’ ทำให้บรรยากาศตึงเครียดขึ้นมาทันที ทุกคนต่างเงี่ยหูฟังคำตอบของเติ้ง เสี่ยวผิงอย่างใจระทึก แต่เติ้ง เสี่ยวผิงกลับตอบด้วยสีหน้าปกติ ‘เกาะเซนกากุ’ พวกเราเรียกว่า ‘เกาะเตี้ยวอี๋ว์’ ชื่อเกาะแห่งนี้เราเรียกไม่เหมือนกัน ทั้งสองฝ่ายมีวิธีคิดไม่เหมือนกัน ในการบรรลุการปรับความสัมพันธ์ปกติระหว่างจีนกับญี่ปุ่น(1972-2515) เราสัญญากันแล้วว่าจะไม่หยิบยกปัญหานี้ขึ้นมาถกเถียง
เติ้ง เสี่ยวผิง เสนอ “หนึ่งประเทศสองระบบ” ครั้งแรก: หลังการประชุมผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศสมัยที่ 11 เติ้ง เสี่ยวผิงได้เสนอแนวความคิด “หนึ่งประเทศ สองระบบ”สำหรับแก้ไขปัญหาฮ่องกงและไต้หวัน วันที่ 24 ตุลาคม 1982 (2525) เติ้ง เสี่ยวผิง ได้ประชุมกับนายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษ มาร์กาแรต แทตเชอร์ ในการประชุมฯดังกล่าวได้วางพื้นฐานการแก้ไขปัญหาคืนดินแดนฮ่องกง วันที่ 19 ธันวาคม 1984 จีนและอังกฤษได้ลงนามแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยปัญหาฮ่องกง แทตเชอร์กล่าวว่า “หนึ่งประเทศสองระบบ” เป็นความคิดที่ยอดเยี่ยมที่สุด เป็นแนวคิดที่เต็มไปด้วยพลังสร้างสรรค์ เป็นเสาหลักในการแก้ไขปัญหาฮ่องกง เติ้ง เสี่ยวผิงกล่าวหลายครั้งว่า ความฝันสูงสุดของฉันคือมีชีวิตอยู่ถึงปี 1997 ปีที่ฮ่องกงกลับสู่มาตุภูมิ ฉันจะไปเยือนที่นั่น แต่เติ้ง เสี่ยวผิง ก็จากไปก่อนวันส่งมอบเกาะฮ่องกงแก่จีนเพียงไม่กี่เดือน
“5 ปีแล้ว การพัฒนาก้าวหน้าไปถึงไหน ผมจะต้องไปดูด้วยตาตัวเอง” : ปลายเดือนมกราคม 1984 (2527) เติ้ง เสี่ยวผิง เริ่มเดินทางไปตรวจการเขตเศรษฐกิจพิเศษครั้งแรก จากเขตเศรษฐกิจเซินเจิ้น จูไห่ เติ้งเขียนข้อความแนะแนวทางทำให้ชาวเซินเจิ้นนั่งกันไม่ติด เวลานั้น จังหรงผู้รับผิดชอบการต้อนรับอาคันตุกะจากเซินเจิ้นได้รุดมายังก่วงตง รอคำแนะแนวทางจากเติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งได้ระบุว่า“ประสบการณ์และการพัฒนาในเซินเจิ้น ได้พิสูจน์ว่า นโยบายการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษของเราถูกต้อง”
หลังจากปลดเกษียณ ใช้ชีวิตกับครอบครัวอย่างอบอุ่น: วันที่ 9 พฤศจิกายน 1989 การประชุมผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีนทั่วประเทศสมัยที่ 13 ยอมรับคำร้องขอลาออกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการทหารกลางของเติ้ง เสี่ยวผิง เมื่อเติ้ง เสี่ยวผิงได้ปลดเกษียณ ใช้ชีวิตอย่างสงบสุขอบอุ่นอยู่กับลูกๆหลานๆ ชีวิตประจำวันของท่านดำเนินไปอย่างมีระเบียบวินัย เติ้ง เสี่ยวผิง ติดตามการแข่งขันกีฬาอย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อย และชื่นชอบการชมฟุตบอลเป็นพิเศษ เติ้ง เสี่ยวผิงชอบการออกกำลังกายเป็นที่สุด แต่ละวันก่อนเดินเล่น ก็จะทำท่ากายบริหาร ทั้งการยืดแขน-ขา หมุนเอว ซึ่งเป็นการบริหารร่างกายอย่างง่ายที่สุด แต่เขาก็ปฏิบัติบัติอย่างเคร่งครัดมาก เติ้ง เสี่ยวผิงชอบเด็กมาก มีบุตรธิดา 5 คน หลาน 4 คน หลังจากที่ปลดเกษียณแล้ว เขาใช้เวลาอยู่กับหลานมากขึ้น และก็ทำให้เขาดูอ่อนเยาว์ขึ้นด้วย
เติ้ง เสี่ยวผิง วิพากษ์วิจารณ์ “สองประการที่ต้องยึดถือปฏิบัติไม่ว่าอย่างไรก็ตาม*”-- วันที่ 10 เมษายน 1977(2520) เติ้ง เสี่ยวผิงเขียนจดหมายไปยังคณะกรรมการกลางพรรคฯ เกี่ยวกับ “สองประการที่ต้องยึดถือปฏิบัติไม่ว่าอย่างไรก็ตาม” อรรถาธิบายถึงทัศนะท่าทีต่อหลักทฤษฎีเหมา เจ๋อตง ที่ถูกต้องสอดคล้องกับความเป็นจริง“พวกเราจะต้องสืบทอดหลักทฤษฎีเหมา เจ๋อตง อย่างบริบูรณ์ถูกต้อง ชี้นำพรรคฯ กองทัพ และประเทศทั้งหมดทั้งมวล ผลักดันภารกิจสังคมนิยมและพรรคฯ การเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์สากล ให้ก้าวไปข้างหน้าสู่ชัยชนะ
(ภาพ--เดือนมีนาคม 1978 เติ้ง เสี่ยวผิงพบปะกับผู้แทนการประชุมใหญ่บัณทิตยสถาน)
* สองประการที่ต้องยึดถือปฏิบัติไม่ว่าอย่างไรก็ตาม” (两个凡是/Two Whatevers) ได้แก่ “(1)ทุกอย่างที่เหมา เจ๋อตงได้ตัดสิน เราจะต้องปกป้องอย่างเหนียวแน่น (2)ทุกอย่างที่เหมา เจ๋อตง ได้ชี้นำ เราจะต้องยึดถือตลอดไป” เป็นคำกล่าวของฮว่า กั๋วเฟิง ทายาทการเมืองของเหมา เจ๋อตง กล่าวในตอนสิ้นสุดยุคปฏิวัติวัฒนธรรม
“คุณทำได้ดีมาก!”โจว เอินไหล กล่าวกับเติ้ง เสี่ยวผิง: บ่ายวันที่ 20 กันยายน 1975 แพทย์เตรียมการผ่าตัดใหญ่แก่โจว เอินไหล โจว เอินไหลนอนอยู่บนรถเข็นที่กำลังถูกเข็นไปยังห้องผ่าตัด ท่านได้ถามคนรอบข้างว่า "เสี่ยวผิงมาหรือยัง?” เมื่อได้ยินเสียงเรียกถามถึง เติ้ง เสี่ยวผิงก็รีบเดินมาข้างหน้า มาอยู่ข้างๆโจว เอินไหล โจว เอินไหลรวบรวมแรงยื่นมือออกไปจับมือของเติ้ง เสี่ยวผิงไว้แน่น และรวบรวมพลังเปล่งเสียงดังออกมา “หนึ่งปีมานี้ คุณทำได้ดีมาก ดีมากกว่าผมเสียอีก!” (ภาพ เติ้ง เสี่ยวผิงในห้องรับแขกของเหมา เจ๋อตง ปี 1975)
เติ้ง เสี่ยวผิง เผชิญชะตาชีวิต “สามขึ้น สามลง” : เติ้ง เสี่ยวผิงเผชิญมรสุมชีวิตการเมืองครั้งแรก ที่เขตฐานการปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในต้นทศวรรษที่ 1930 ที่ขณะนั้นเป็น "เขตโซเวียตกลางในมณฑลเจียงซี หรือ โซเวียต เจียงซี" เวลานั้นปั๋ว กู่ สมาชิกในคณะรัฐบาลเฉพาะกาลฯ ได้เป็นตัวแทนนำขบวนผลักดันลัทธิสุ่มเสี่ยงเอียงซ้าย ขณะที่ เติ้ง เสี่ยวผิง เหมา เจ๋อถัน ซย่า เวยจวิ้น และสมาชิกอื่นๆ สนับสนุนแนวทางที่ถูกต้องของเหมา เจ๋อตง และต่อต้านยุทธวิธี “เมืองเป็นศูนย์กลาง” นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้เติ้ง เสี่ยวผิงถูกโจมตีอย่างหนัก และถูกคุมขังในคุก อีกทั้งยังถูกเพิกถอนตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการศูนย์กลางฮุ่ยชังและผู้อำนวยการฝ่ายโฆษณาการมณฑลเจียงซี ตลอดจนถูกตักเตือนอย่างร้ายแรง ในปีนั้นเติ้ง เสี่ยวผิง อยู่ในวัย 29 ปี กระทั่ง ‘การประชุมจวินอี้’ (遵义会议)ปี 1935 ที่ประชุมฯรับรองแนวทางของเหมา เจ๋อตง เป็นแนวทางใหม่ของการปฏิวัติ ชะตาชีวิตที่ได้ตกลงไปและทะยานขึ้นมาอีกครั้ง ของเติ้ง เสี่ยวผิง ก็ดำเนินมาครบวงจร แห่งการ “ลง-ขึ้น”
ชะตาชีวิต “ลง-ขึ้น” ครั้งที่สอง: เติ้ง เสี่ยวผิง ประสบความทุกข์แสนสาหัสที่สุดระหว่างยุคปฏิวัติวัฒนธรรม ที่เริ่มเปิดฉากในปี 1966 (2509) ครอบครัวเติ้งถูกส่งไปใช้แรงงานในโรงงานในมณฑลเจียงซี หลังเหตุการณ์ผู้นำกลุ่มต่อต้านการปฏิวัติที่คิดโค่นล้มเหมา เจ๋อตง คือหลิน เปียว ประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกเสียชีวิตเมื่อปี 19 มีนาคม ปี 1971(2514) เติ้ง เสี่ยวผิง ก็ได้เขียนจดหมายถึงเหมา เจ๋อตงสองครั้ง เรียกร้องขอกลับมาทำงาน และเหมา เจ๋อตงได้ตอบรับ ในปี 1973 เติ้ง เสี่ยวผิง ได้หวนคืนสู่เวทีการเมืองอีกครั้ง ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีแห่งคณะมุขมนตรี และในต้นปี 1975 เติ้ง เสี่ยวผิงได้ดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ รองนายกรัฐมนตรีลำดับที่หนึ่งแห่งคณะมุขมนตรี รองประธานคณะกรรมการทหารกลางควบตำแหน่งเสนาธิการทหารร่วม เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลักในการปฏิบัติงานประจำวันของทั้งพรรคฯ การปกครองบริหาร และการทหาร (ภาพ เติ้ง เสี่ยวผิง ตรวจการเขตชนบท)
ชะตาชีวิต “ลง-ขึ้น” ครั้งที่สาม: อุบัติขึ้นระหว่างปี 1976-1977 (2519-2520)การเคลื่อนไหว “กระแสวิพากษ์เติ้ง ฟื้นกรณีกวาดล้างกลุ่มเอียงขวา” ได้ผลักเติ้ง เสี่ยวผิงลงจากอำนาจการเมืองอีกครั้ง กระทั่งการประชุมผู้แทนพรรคฯ เติ้ง เสี่ยวผิงจึงได้หวนคืนสู่อำนาจการเมือง เติ้ง เสี่ยวผิงเผชิญมรสุมชีวิตที่ปะทะชีวิตล้มลงไปและได้หวนคืนสู่อำนาจถึง 3 ครั้งนี้ ทำให้ต่างชาติขนานนามเติ้งว่า “คนร่างเล็ก ที่มิอาจโค่นล้มไปตลอดกาล” หรือ “แมวเก้าชีวิต”
เติ้ง เสี่ยวผิงเยือนแดนอภิมหาอำนาจแห่งสหภาพโซเวียต: นายกรัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียต นิกิตา ครุชเชฟ (1958-1964) กล่าวว่า “คนๆนี้ยอดเยี่ยมจริงๆ ผมเคยติดต่อกับเขา ในปี 1956 (2499) เขาก็มา อย่าดูเบาว่าเขาเป็นคนตัวเล็ก สติปัญญาและความคิดของเขา สูงล้ำมาก”
เติ้ง เสี่ยวผิง ผูกพันธ์กับทะเล : เติ้ง เสี่ยวผิงชื่นชอบการว่ายน้ำมาก โดยเฉพาะการว่ายน้ำในท้องทะเล เติ้งกล่าวว่า “สุขภาพร่างกายของผมยังดีอยู่ สมองยังปลอดโปร่ง ความจำก็ยังดี ผมว่ายน้ำในแม่น้ำเป่ยไต้ทุกวัน วันละ 1 ชั่วโมง ไม่ชอบว่ายน้ำในสระว่ายน้ำ การว่ายน้ำท่ามกลางธรรมชาติ ที่ทำให้รู้สึกถึงอิสระเสรี และมีพลังมาก”
แนวคิดยุติปัญหาจีนสองฝากฝั่ง : เติ้งเสนอของ “แนวคิดหกประการ” (Six Conceptions) เพื่อยุติปัญหาแบ่งแยกดินแดนสองฝากฝั่ง (ภาพเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 1984) เติ้ง เสี่ยวผิง พบปะกับคณะผู้แทนจากศูนย์การศึกษากิจการระหว่างประเทศและยุทธศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ สหรัฐอเมริกา (Center for Strategic and International Studies) กล่าวว่า ข้อเสนอรูปแบบรวมชาติระหว่างแผ่นดินใหญ่และไต้หวัน ตาม “แนวคิดหกประการ” นี้ เหมาะสมที่สุด
เปิดกว้างปฏรูปชนบท “พวกคุณทำเช่นนี้ต่อไป”: ฤดูใบไม้ผลิ ปี 1978 (2531) ชาวนา 18 ครัวเรือนในหมู่บ้านเสี่ยวกัง อำเภอเฟิ่งหยัง มณฑลอันฮุย ได้แอบทำสัญญาจัดสรรที่ดิน เมื่อเติ้ง เสี่ยวผิงได้ยินเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินในเขตชนบทแห่งนี้ ก็สนับสนุน “พวกคุณทำเช่นนี้ต่อไป แสวงหาจากประสบการณ์จริงกันต่อไป มิต้องจำกัดรูปแบบ การทดลองรูปแบบวิธีการต่างๆ จะทำให้เกษตรกรมั่งคั่งกันขึ้นมาได้” วันที่ 31 พฤษภาคม 1980 เติ้ง กล่าวสนับสนุนประสบการณ์การปฏิรูปชนบทในอันฮุย และที่อื่นๆ
เติ้ง เสี่ยวผิงได้หวนคืนสู่เวทีการเมือง: สร้างความฮือฮาใหญ่ วันที่ 12 เมษายน 1973 โจว เอินไหลได้จัดงานเลี้ยงอาหารค่ำต้อนรับเจ้านโรดมสีหนุแห่งกัมพูชาที่มหาศาลาประชาชน โจว เอินไหลได้พารองนายกรัฐมนตรีเติ้ง เสี่ยวผิง เดินคู่กันมาต้อนรับเจ้าสีหนุ นับเป็นครั้งแรกที่เติ้ง เสี่ยวผิงได้ปรากฏตัวในที่สาธารณะนับจากวันที่กระเด็นออกจากเวทีการเมืองปี 1967 (2510) แม้ในการประชุมนี้เขาจะไม่ได้กล่าวคำปราศรัยใดๆ แต่การปรากฏตัว ณ ที่นี้ ของเติ้ง ก็ได้ประกาศชัดว่าเติ้งได้กลับสู่อำนาจการเมืองแล้ว สร้างความฮือฮาแก่วงการมาก ผู้สื่อข่าวต่าวชาติได้เสนอข่าวใหญ่ “เติ้ง เสี่ยวผิง กลับมาแล้ว!”
ภาพ: เมษายน 1973 โจว เอินไหล จัดงานเลี้ยงอาหารค่ำต้อนรับเจ้าสีหนุ โดยมีเติ้ง เสี่ยวผิง ปรากฏกายคู่กับโจว เอินไหล