xs
xsm
sm
md
lg

ชาวม้งเขาค้อหลายร้อยคนได้ตั้งถิ่นฐานสมบูรณ์ในลาว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> พล.จ.บัวเสี้ยง จำปาพัน รองหัวหน้ากรมใหญ่เสนาธิการกองทัพประชาชนลาว หัวหน้าคณะกรรมการผู้กำกับดูแลเรื่องนี้ มอบหมู่บ้านพัฒนาเขาหลักให้แก่เจ้าเมือง (นายอำเภอ) กาสี เลขาพรรค/เจ้าแขวง (จังหวัด) เวียงจันทน์ นายคำเมิง พงทะดี (เสื้อขาว-กลาง) ร่วมในพิธี บ้านเขาหลักเป็นที่ตั้งถิ่นฐานใหม่ของชาวม้งหลายร้อยคน ซึ่งส่วนใหญ่ไปจากศูนย์พักพิงใน อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ของไทยในอดีต สื่อของทางการกล่าว แต่ก็ยังมีหมู่บ้านพัฒนาแบบเดียวกันนี้อีกจำนวนหนึ่งที่รอส่งมอบให้แก่ทางการท้องถิ่น. -- ภาพ: เวียงจันทน์ใหม่.   </font></b>
.

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- เวลาผ่านไป 2 ปีกับ 6 เดือน ชาวม้งที่ถูกส่งไปจากศูนย์พักพิงห้วยน้ำขาว อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ของไทยในปลายปี 2552 จำนวนหลายร้อยคนได้ตั้งหลักแหล่งอย่างสมบูรณ์แล้วในแขวงเวียงจันทน์ทางตอนเหนือเมืองหลวงของลาว โดยหน่วยงานที่ดูเรื่องนี้ได้มอบชุมชนแห่งใหม่ให้แก่ทางการท้องถิ่น สื่อของทางการลาวรายงานเรื่องนี้ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

หมายความว่าการตั้งหลักแหล่งได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว และทุกครอบครัวมีบ้านเรือนอาศัย มีที่ทำกิน และอยู่ภายใต้การปกครองของทางการแขวงเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป

พิธีส่งมอบ “หมู่บ้านพัฒนาเขาหลัก” ในเขตเมือง (อำเภอ) กาสี ให้แก่ทางการแขวงเวียงจันทน์จัดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ โดย พลจัตวา บัวเสี้ยง จำปาพัน รองหัวหน้ากรมใหญ่เสนาธิการ กองทัพประชาชนลาว ในฐานะหัวหน้าคณะรับผิดชอบชี้นำแก้ไขปัญหาคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย เป็นผู้มอบให้แก่นายบัวสอน เพ็ดลาวัน เจ้าเมือง (นายอำเภอ)

นายคำเมิง พงทะดี กรรมการศูนย์กลางพรรค เลขาฯ พรรค/เจ้าแขวง แขวงเวียงจันทน์ เข้าร่วมพิธีด้วย หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่รายงาน

ชุมชนแห่งนี้สร้างขึ้นมาก่อน คือตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2550 ปัจจุบันมีราษฎรทั้งหมด 52 ครัวเรือน รวม 484 คน ประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้อพยพจากศูนย์ห้วยน้ำขาวในประเทศไทย สื่อของทางการนครเวียงจันทน์กล่าว

แต่ละครอบครัวมีเนื้อที่สำหรับทำนา 4.2 ไร่ และยังมีพื้นที่อีกส่วนหนึ่งสำหรับการเลี้ยงสัตว์ เพาะปลูก และเป็นแหล่งค้าขาย ทุกครัวเรือนมีน้ำริน (น้ำจากธรรมชาติ) ใช้ มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีสถานีอนามัย โรงเรียนประถมศึกษาตอนต้น-ตอนปลาย และโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายอีก 1 แห่ง

“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการศึกษาอบรมแนวคิดพ่อแม่พี่น้องประชาชน โดยได้นำเอาเอกสารแนวทางนโยบายของพรรค (ประชาชนปฏิวัติลาว) เช่น เอกสารกลอุบายเปลี่ยนแปลงโดยสันติ ของศัตรู เอกสารระเบียบกฎหมายต่างๆ เพื่อให้พ่อแม่ประชาชนได้รับรู้และเข้าใจ” เวียงจันทน์ใหม่ระบุ

หนังสือพิมพ์ของทางการนครเวียงจันทน์กล่าวอีกว่า รัฐบาลยังได้ลงทุนสร้างถนนเข้าหมู่บ้าน สร้างข่ายสายไฟฟ้า บุกเบิกพื้นที่เพาะปลูก สร้างระบบชลประทาน มอบรถไถนาขนาดเล็ก รถการแพทย์ฉุกเฉิน ให้แก่ชุมชนแห่งนี้อีกด้วย

“โดยรวมแล้วพ่อแม่ประชาชนในหมู่บ้านผาหลักมีความเชื่อมั่นต่อการนำของพรรคและรัฐในแต่ละระยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจการปกครองขั้นบ้าน เมือง และขั้นแขวง ซึ่งตลอดเวลาได้เอาใจใส่ดูแลให้การช่วยเหลือคนเหล่านี้เป็นการปรับปรุงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้หลุดพ้นจากความทุกข์ยาก ปัจจุบันประชาชนมีความคุ้นเคยต่อการทำมาหากินแบบคงที่ รู้จักทำนา รู้จักค้าขาย..” และที่สำคัญคือ “ลูกหลานได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง ทำให้คนเหล่านี้มีความรู้ความสามารถแยกแยะความผิดความถูกได้อย่างชัดแจ้ง”

ย้อนอดีต 2 ปีครึ่ง by Reuters
<bR><FONT color=#000033>ภาพที่เผยแพร่โดยกองทัพไทย เจ้าหน้าที่หญิงของไทยอุ้มหนูน้อยชาวม้งออกจากศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านน้ำขาว อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ในวันที่ 28 ธ.ค.2552 ทหารไทยได้นำชาวม้งกลุ่มสุดท้ายราว 4,400 คน ไปมอบให้ทางการลาวในฐานะคนเข้าเมืองผิดกฎหมายในโครงการความร่วมมือของสองประเทศ คนเหล่านี้กระจายอยู่ตามแหล่งต่างๆ ในแขวงภาคกลางและภาคเหนือลาว สัปดาห์ที่แล้วหลายร้อยคนได้ตั้งหลักแหล่งถาวรอีก. --  REUTERS/Royal Thai Army/Handout.   </b>
2
<bR><FONT color=#000033>ทหารกับตำรวจราจรช่วยกันแบกขนสิ่งของ ของชาวม้งออกจากศูนย์พักพิงห้วยขาว อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ในวันที่ 28 ธ.ค.2552 ในภาพที่เผยแพร่โดยกองทัพไทย ท่ามกลางความห่วงใยของประชาคมโลกที่เกรงว่า ผู้หลบหนีออกจากประเทศเพื่อแสวงหาโอกาสไปประเทศที่สามเหล่านี้ จะถูกรัฐบาลคอมมิวนิสต์ลาวลงโทษ สื่อของทางการรายงานสัปดาห์นี้ว่า ชาวม้งจากที่นี่อีกหลายร้อยคนได้ตั้งหลักแหล่งอย่างสมบูรณ์แล้วในแขวงภาคเหนือของลาว. --  REUTERS/Royal Thai Army/Handout.  </b>
3
<bR><FONT color=#000033>ภาพที่เผยแพร่โดยกองทัพไทย เจ้าหน้าที่แพทย์ทหารไทยตรวจช่องปากของเจ้าหนูชาวม้งในวันที่ 26 ธ.ค.2552 ในขั้นตอนเตรียมการส่งชาวม้งชุดสุดท้ายราว 4,400 คน ออกจากศูนย์พักพิงห้วยน้ำขาว อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ไปให้ฝ่ายลาว สื่อของทางการรายงานสัปดาห์นี้ว่า ชาวม้งหลายร้อยคนจากที่นี่ได้ตั้งถิ่นฐานอย่างสมบูรณ์แล้วและชุมชนของพวกเขาถูกส่งมอบให้กับทางการท้องถินเมือง (อำเภอ) กาสี แขวง (จังหวัด) เวียงจันทน์เมื่อเร็วๆ นี้. --   REUTERS/Royal Thai Army Handout. </b>
4
<bR><FONT color=#000033>ชนชาติส่วนน้อยชาวม้งบนรถบรรทุกของทหารไทย ขณะออกจากศูนย์พักพิงห้วยน้ำขาว อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ไปยังชายแดน จ.หนองคาย เพื่อส่งมอบให้กับฝ่ายลาวฐานคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย สื่อของทางการลาวรายงานสัปดาห์นี้ว่า ชาวม้งจากที่อีกหลายร้อยคนได้ตั้งหลักแหล่งอย่างสมบูรณ์ในเขตเมืองกาสี แขวงเวียงจันทน์. -- REUTERS/Sukree Sukplang. </b>
5
<bR><FONT color=#000033>ชาวม้งชุดแรกบนรถบรรทุกของกองทัพไทยที่มีทหารไทยคอยกำกับ แล่นออกจากศูนย์พักพิงห้วยน้ำขาว อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ วันที่ 28 ธ.ค.2552  กองทัพไทยได้นำชาวม้งกลุ่มสุดท้ายราว 4,400 คนที่ยังไม่ยอมกลับประเทศโดยสมัครใจ ไปมอบให้แก่ฝ่ายลาวตามแผนความร่วมมือสองฝ่าย ท่ามกลางความห่วงใยของประชาคมโลกที่เกรงว่าคนเหล่านี้จะถูกรัฐบาลคอมมิวนิสต์ลาวลงโทษ. --  REUTERS/Sukree Sukplang. </b>
6
.

อย่างไรก็ตาม สื่อของทางการไม่ได้กล่าวถึงชาวม้งอีกหลายพันคนที่อพยพไปจากศูนย์พักพิงห้วยน้ำขาวในคราวเดียวกัน แต่กล่าวว่าชาวม้งที่บ้านเขาหลักนี้ได้อาศัยอยู่กับชาวม้งอีกจำนวนหนึ่งที่เคยอยู่ในเขตเขาและถูกนำลงพื้นราบ เพื่อทำกินตามแผนพัฒนาตามนโยบายของพรรคและรัฐบาล

ก่อนปีใหม่ปี 2553 เพียงไม่กี่วัน ทหารไทยหลายพันนายได้ขนย้ายชาวม้งราว 4,400 คนไปยังศูนย์ตรวจคนเข้าเมือง จ.หนองคาย ก่อนจะส่งมอบคนทั้งหมดให้แก่ทางการลาว ในความร่วมมือระหว่างสองประเทศนำคนเหล่านี้กลับในฐานะผู้ลักลอบออกนอกประเทศอย่างผิดกฎหมายในลาว และเป็นผู้เข้าเมืองผิดกฎหมายในประเทศไทย

ฝ่ายทหารของไทยไม่อนุญาตให้ผู้สื่อข่าวเข้ารายงานการขนย้าย โดยกล่าวว่าไม่ต้องการเปิดโอกาสให้ชาวม้ง “โฆษณาชวนเชื่อผิดๆ” ให้เกิดความเข้าใจผิดๆ รวมทั้งการทำร้ายตัวเองจนได้รับบาดเจ็บและกล่าวหาว่าถูกเจ้าหน้าที่ของไทยทุบตี กระทำทารุณกรรม ทั้งนี้เพื่ออ้างเป็นสาเหตุมิให้ถูกส่งตัวกลับ

การนำกลับลาวมีขึ้นหลังจากไม่มีประเทศใดแสดงความต้องการนำคนเหล่านี้ตั้งถิ่นฐาน ขณะที่รัฐบาลไทยและลาวกล่าวว่า ผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายเหล่านี้ไม่มีคุณสมบัติจะเป็นผู้ลี้ภัยเนื่องจากเป็นผู้หนีความยากลำบากทางเศรษฐกิจ แม้หน่วยงานสิทธิมนุษยชนจะยืนยันว่าหลายคนเข้าข่ายที่จะได้รับฐานะผู้ลี้ภัยก็ตาม

ในเดือน ธ.ค. 2552 องค์การนิรโทษกรรมสากลและหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ออกคำแถลงด่วน เรียกร้องมิให้รัฐบาลไทยส่งตัวชาวม้งจากศูนย์ห้วยน้ำขาวให้แก่ทางการลาว หลายฝ่ายเกรงว่าคนเหล่านี้อาจจะถูกทางการคอมมิวนิสต์ลงโทษ
.

<bR><FONT color=#000033>ภาพถ่ายวันที่ 26 มี.ค.2553 จากเฮลิคอปเตอร์ของกองทัพประชาชนลาว แสดงให้เห็นชุมชนใหม่บ้านโพนคำ ในแขวงบอลิคำไซ ซึ่งเป็นที่ตั้งหลักแหล่งของชาวม้งราว 3,000 คน จากศูนย์พักพิงห้วยน้ำขาว อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ของไทย ที่ถูกส่งกลับ 3 เดือนก่อนหน้านั้น ไปอยู่ใต้การกำกับดูและของคณะกรรมการระดับชาติว่าด้วยคนเข้าเมืองผิดกฎหมายชุดหนึ่ง คณะกรรมการดังกล่าวได้มอบชุมชนชาวม้งอีกแห่งหนึ่งให้แก่ทางการท้องถิ่นเมืองกาสี แขวงเวียงจันทน์เมื่อเร็วๆ นี้ หมายความว่าการตั้งถิ่นฐานใหม่ของชาวม้งหลายร้อยคนที่นั่นได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว. -- AFP PHOTO/Hoang Dinh Nam. </b>
7
<bR><FONT color=#000033>หญิงชาวม้งที่ไม่ทราบชื่อคนหนึ่งร้องไห้ขณะที่อีกคนหนึ่งพยายามจะพูดกับนักการทูตและผู้แทนสื่อที่ได้รับอนุญาตเข้าเยี่ยมชม ที่ตั้งหลักแหล่งบ้านโพนคำ แขวงบอลิคำไซ ในภาพวันที่ 26 มี.ค.2553 หรือ 3 เดือนหลังถูกนำไปจากศูนย์พักพิงบ้านห้วยน้ำขาว อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ของไทย ชุมชนนี้มีชาวม้งราว 3,000 คน อยู่ใต้การดูแลของคณะกรรมการระดับชาติที่รับผิด สื่อของทางการรายงานสัปดาห์นี้ว่า คณะกรรมการดังกล่าวได้ส่งมอบชุมชุนพัฒนาของชาวม้งจากห้วยน้ำขาวหลายร้อยคน ให้ทางการท้องถิ่นแขวงเวียงจันทน์เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งถือเป็นการตั้งหลักแหล่งที่สมบูรณ์.--  AFP PHOTO/Hoang Dinh Nam. </b>
8
.

เวลาต่อมาทางการลาวได้อนุญาตให้ผู้สื่อข่าวจากทั่วโลก เจ้าหน้าที่องค์การระหว่างประเทศ และเจ้าหน้าที่การทูตในนครเวียงจันทน์ได้เข้าไปสังเกตการณ์การตั้งถิ่นฐานของคนเหล่านี้ซึ่งกระจายอยู่ในหลายจุด ทั้งแขวงบอลิคำไซ และแขวงเวียงจันทน์

ชาวม้งถูกเรียกเป็น “พันธมิตรที่ถูกลืม” ของสหรัฐฯ คนเหล่านี้เคยร่วมกับวอชิงตันทำสงครามต่อต้านฝ่ายคอมมิวนิสต์ปะเทดลาวในช่วงสงครามเวียดนาม และได้ชื่อเป็นนักรบที่ทรหด 

รัฐสภาสหรัฐฯ ไม่เคยอนุญาตให้รัฐบาลประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เข้าทำสงครามในลาว แต่องค์การสืบราชการลับ (ซีไอเอ) ได้ปฏิบัติการอย่างลับๆ เข้าจัดตั้งฝึกฝนและติดอาวุธ ในเขตทุ่งไหหิน แขวงเชียงขวาง จนเกิดเป็นกองทัพชาวม้งขึ้นมา และเลือก พล.ต.วังปาว นายทหารชนชาติม้งแห่งกองทัพฝ่ายรัฐบาลราชอาณาจักร เป็นผู้บัญชาการ

ทางการลาวได้บันทึกเอาไว้ในประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ลาว-เวียดนามที่เรียบเรียงขึ้นใหม่เมื่อ 2553 ระบุว่า “บั้นรบแขวงเชียงขวาง” เป็นสมรภูมิรบใหญ่ 1 ใน 3 แห่งในดินแดนลาว ในช่วงสงครามเวียดนาม

นายพล วังปาวได้เดินทางออกจากลาวก่อนที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์จะยึดอำนาจได้สำเร็จในเดือน ธ.ค. 2518 และ ถึงแก่กรรมในเดือน ม.ค. 2554 แต่ไม่ได้รับเกียรติให้ฝังศพในสุสานอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย ซึ่งเป็นสุสานวีรชนแห่งชาติ.
กำลังโหลดความคิดเห็น