xs
xsm
sm
md
lg

รัฐมนตรีฝีปากกล้า “สุบัน สะลิดทะลาด” สิ้นลม

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <bR><FONT color=#000033>นายสุบัน สะลิดทิลาด ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ รัฐมนตรีสำนักประธานประเทศ และอดีตรัฐมนตรี รมช.ต่างประเทศลาว ระหว่างการสัมภาษณ์พิเศษในเดือน มี.ค.2527 สุมิตรา จันทร์เงา อดีตผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มติชนรายวันถ่ายภาพนี้ นายสุบันซึ่งเคยนำทีมเจรจาขับเคี่ยวกับฝ่ายไทยหลายต่อหลายครั้งในกรณีพิพาทชายแดนด้าน จ.อุตรดิตย์และ จ.พิษณุโลก ถึงแก่กรรมในวันอังคาร 17 ก.ค.ที่ผ่านมา รวมอายุ 76 ปี. -- ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร. </b>
.

โดย วุฒิพงษ์ หลักคำ - บุญญะสาร
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ทางการลาวแต่งตั้งคณะกรรมการระดับศูนย์กลางขึ้นมาชุดหนึ่ง ในวันอังคาร 17 ก.ค.ที่ผ่านมา เพื่อจัดพิธีศพ นายสุบัน สะลิดทิลาด อดีตรัฐมนตรีหลายยุคหลายสมัย และอดีตกรรมการศูนย์กลางพรรค ซึ่งเป็นผู้ที่รู้จักประเทศไทยดีที่สุดคนหนึ่ง เนื่องจากเคยนำทีมฝ่ายลาวเจรจากับฝ่ายไทยหลายรอบในกรณี “สามหมู่บ้าน” และกรณี “บ้านร่มเกล้า” เมื่อ 25-30 ปีก่อน

นายสุบัน อายุ 76 ปี ถึงแก่กรรมในตอนสายวันเดียวกันด้วยโรคประจำตัว พรรค และรัฐได้ประกาศจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อจัดพิธีศพ โดยนางอ่อนจัน ทำมะวง รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เป็นประธาน มีรัฐมนตรี และกรรมการศูนย์กลางพรรค ร่วมเป็นกรรมการอีกหลายคน รวมทั้งสมาชิกครอบครับสลิดทะลาดด้วย หนังสือพิมพ์ “ประชาชน” ของพรรคประชาชนปฏิวัติลาวรายงาน

พิธีฌาปนกิจมีกำหนดขึ้นในบ่ายวันศุกร์ 20 ก.ค.นี้ ที่วัดเทพนิมิต (วัดทาดฝุ่น หรือ “วัดเจดีย์ฝุ่น”) นครเวียงจันทน์

นายสุบัน เป็นกรรมการศูนย์กลางพรรค 2 สมัย คือ ชุดที่ 7 และ 8 ก่อนจะเกษียณตัวเองออกไปในชุดที่ 9 ปัจจุบัน พร้อมกับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักประธานประเทศ ทั้งนี้ เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ แต่ยังคงทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติต่อมา

ก่อนหน้านั้น เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศมายาวนาน เป็นหัวหน้าทีมเจรจาแก้ไขปัญหาพิพาทเขตแดนทางบกบ้านใหม่ บ้านกลาง และบ้านสว่าง ด้าน จ.อุตรดิตถ์-แขวงไซยะบูลี ที่ปะทุขึ้นมาในช่วงปี 2526 นำไปสู่การปะทะด้วยอาวุธครั้งรุนแรงระหว่างสองฝ่าย

ความบาดหมางกรณีเดิมยังไม่ได้รับการแก้ไข อีกไม่กี่ปีถัดมาไทยและลาวได้ดำดิ่งเข้าสู่การขัดแย้งกับการปะทะครั้งใหม่เหนือพื้นที่ราว 5 ตารางกิโลเมตร ที่ชายแดนบ้านร่มเกล่า จ.พิษณุโลก-แขวงไซยะบูลี

นายสุบันเป็นผู้นำทีมเจรจากับฝ่ายไทยหลายครั้ง ทั้งในเวียงจันทน์ และในกรุงเทพฯ ก่อนสองฝ่ายได้ตกลงยุติการใช้อาวุธ และหันมาแก้ปัญหาอย่างสันติด้วยข้อเท็จจริง

ไทย และลาว ได้ส่งคณะทำงานหลายชุดลงพื้นที่จริงเพื่อสำรวจเขตแดนธรรมชาติ ซึ่งรวมทั้งแนวสันปันน้ำในกรณี 3 หมู่บ้าน และทางไหลของลำน้ำเหือง ที่ใช้เป็นพรมแดนธรรมชาติในกรณีบ้านร่วมเกล้า ตามสนธิสัญญาฝรั่งเศส-สยาม ค.ศ.1907 และ 1909
.
<bR><FONT color=#000033>นายสุบัน สะลิดทิลาด (2 จากขวา) รัฐมนตรีประจำสำนักประธานประเทศ ร่วมต้อนรับนายนิตย์ พิบูลย์สงคราม อดีตรัฐมนตรีรต่างประเทศไทยที่เข้าพบเยี่ยมคำนับ พล.ท.จูมมะลี ไซยะสอน ประธานประเทศลาว วันที่ 9 มี.ค.2550 ในโอกาสไปเยือนและเจรจาเกี่ยวกับการปักปันเขตแดนสองฝ่าย. --ภาพโดย วุฒิพงษ์ หลักคำ-บุญญะสาร.</b>
<bR><FONT color=#000033>รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ลาว สุบัน สะลิดทิลาด กับผู้แทนพิเศษด้านการปราบปรามยาเสพติดและอาชญากรรมขององค์การสหประชาชาติ ร่วมการประชุมด้านยาเสพติดในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขงในกรุงฮานอย เวียดนาม วันที่ 25 ก.ย.2546 หรือ 10 ปีที่แล้ว นายสุบันถึงแก่กรรมในวันอังคาร 17 ก.ค.ที่ผ่านมารวมอายุ 76 ปี พิธีฌาปนกิจมีกำหนดขึ้นวันศุกร์ 20 ก.ค.นี้ที่วัดเทพนิมิต นครเวียงจันทน์-- ภาพ: AFP PHOTO/Hoang Dinh Nam. </b>
<bR><FONT color=#000033>นายสุบัน สะลิดทิลาด ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติลาว ในพิธีรับมอบความช่วยเหลือจากนายไบอัน นิโคลส์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของกระทรวงการต่างประเทศ ในโอกาสเดินทางเยือนลาวระหว่างวันที่ 7-9 มิ.ย.2555 นายสุบันอยู่ในตำแหน่งสุดท้ายนี้จนถึงวันสุดท้ายแห่งชีวิตในวันอังคาร 17 ก.ค.ที่ผ่านมา. -- ภาพ: เวียงจันทน์ใหม่.  </b>
.
อย่างไรก็ตาม กว่า 20 ปีมานี้ ไทย-ลาวได้ยังไม่เคยได้ปักปันเขตแดนในพื้นที่พิพาทแม้แต่จุดเดียว แต่ได้ร่วมกันปักปันเขตแดนตอนล่างที่ไม่มีปัญหาให้แล้วเสร็จก่อน นั่นคือด้าน จ.อุบลราชธานี-แขวงจำปาสัก

สามารถกล่าวได้ว่า ผลงานของนายสุบันมีส่วนสำคัญยิ่ง ทำให้ไทย และลาวได้ฟื้นฟูสายสัมพันธ์ และร่วมพันพัฒนาความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นเช่นทุกวันนี้

นายสุบันนับเป็นชาวต่างชาติที่ศึกษาประวัติศาสตร์ชนชาติไทยอย่างตั้งใจอีกผู้หนึ่ง โดยได้อ่านงานของทุกค่าย รวมทั้งงานเขียนของจิตร ภูมิศักดิ์ อดีตนักหนังสือพิมพ์ นักคิดนักเขียนคนสำคัญที่หนีการปราบปรามของรัฐบาลทหารไ ปเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

รัฐมนตรีลาวผู้ล่วงลับเคยกล่าวกับผู้เขียนว่า จิตร ภูมิศักดิ์ ค้นคว้าข้อมูล และนำเสนอแนวคิดได้อย่างน่าทึ่งมาก “รวมทั้งมีความสามารถทางภาษาศาสตร์อย่างอัศจรรย์”

แต่ที่ชอบมากที่สุดก็คือ หนังสือของจิตร 3 เล่ม “โฉมหน้าศักดินาไทย” กับ “ความเป็นมาของคำสยาม ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ” และ “โองการแช่งน้ำ และข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา” นายสุบันกล่าว

“นามสกุลของข้าพเจ้า ควรจะอ่านเป็นภาษาไทยว่า -สะหริดทิรัด- แต่ถ้าท่านจะอ่านเช่นนั้นก็ตามใจ” นายสุบันบอกกับผู้เขียนเมื่อพบรู้จักกันครั้งแรกในนครเวียงจันทน์

นั่นคือในวันที่ 2 พ.ค.2519 หรือ 5 เดือนหลังจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ลาวประกาศสถาปนาประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในปัจจุึบัีน ซึ่งในขณะนายสุบันมีตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวงการต่างประเทศ.

[หมายเหต: ตามรายงานของสำนักข่าวสารปะเทดลาวในวันที่ 20 ก.ค.2555 พิธีฌาปนกิจมีกำหนดขึ้นในวันอาทิตย์ 22 ก.ค. ที่วัดทาดฝุ่น นครเวียงจันทน์.- บก.]
กำลังโหลดความคิดเห็น