เอเชียน วอลล์สตรีต เจอร์นัล - แม้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจแดนมังกรเห็นผลเร็วเกินคาด แต่รักษาการเติบโตของเศรษฐกิจได้ในระยะสั้นเท่านั้น นักวิเคราะห์ระบุ พร้อมกับเตือนจีนอาจมัวแต่ดีใจ จนลืมมองปัญหาท้าทายการเติบโตในระยะยาว
จนบัดนี้ รัฐบาลจีนยังมิได้เสนอแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ก่อการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างระดับลึก ซึ่งจำเป็นสำหรับการรักษาการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง หลังจากงบประมาณในแผนกระตุ้นเศรษฐกิจหมดลงแล้ว อันเป็นสิ่งที่แตกต่างจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของประธานาธิบดีบารัก โอบาม่าแห่งสหรัฐฯ ซึ่งมีการบรรจุเรื่องการปรับปรุงระบบดูแลสุขภาพประชาชน, การศึกษา และการใช้พลังงานในระยะยาวเข้าไว้ด้วย
นอกจากนั้น ยังมีความแตกต่างจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนเองในช่วงวิกฤตการเงินเอเชียเมื่อปี 2540-2541 ซึ่งเศรษฐกิจจีนชะลอตัวอย่างมาก ครั้งนั้นรัฐบาลได้บรรจุแผนยกเครื่องเศรษฐกิจรวมเข้าไว้ด้วย โดยมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจการเคหะไปสู่มือเอกชน นอกจากนั้น ยังเริ่มการผลักดันให้จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก
แผนกระตุ้นเศรษฐกิจปัจจุบันของจีนมีลักษณะของการชดเชยชั่วคราว มิใช่ทางออก จากความเห็นของอาร์เทอร์ โครเบอร์ กรรมการผู้จัดการบริษัทวิจัย ดราโกโนมิกส์ ในกรุงปักกิ่ง
แผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนปัจจุบัน ทุ่มเทงบประมาณไปในการก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภค เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจโตในระยะสั้น
สำหรับชนบท รัฐกลับเริ่มโครงการให้เงินอุดหนุน เพื่อช่วยเกษตรกรซื้อรถ และอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ อันเป็นการช่วยเหลือชั่วคราว แทนที่จะยกเลิกมาตรการกีดขวางชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพวกเขา เช่น การเปิดโอกาสให้ได้เข้าถึงแหล่งการเงินได้มากขึ้น
ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจในเขตชนบทมีสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 4 ของเศรษฐกิจจีน แต่กลับได้รับสินเชื่อจากธนาคารประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น จากข้อมูลขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD)
ปัญหาท้าทายในระยะยาว ที่นักวิเคราะห์มองว่า มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับจีน นอกเหนือจากการมองหาวิธีการอื่น เพิ่มเติมจากการพึ่งพาเฉพาะการส่งออกเพื่อรักษาการเติบโตของเศรษฐกิจแล้ว ยังได้แก่ การผ่อนคลายกฎระเบียบในเศรษฐกิจของจีน ซึ่งยังมีลักษณะผสมผสานระหว่างระบบตลาดกับการเข้ามาควบคุมของรัฐ ทั้งนี้ก็เพื่อพัฒนาศักยภาพในการผลิต โดยแม้ว่าศักยภาพนอกภาคเกษตรกรรม ซึ่งอาจเป็นภาคบริการ จะเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในอนาคต ทว่าวิสาหกิจรัฐก็ยังเป็นผู้ครอบงำภาคบริการหลัก ๆ เช่น การขนส่ง และการสื่อสาร
นักเศรษฐศาสตร์หลายคนชี้ว่า หากรัฐบาลจีนยกเลิกมาตรการกีดกัน เปิดทางให้เอกชนเข้ามาลงทุนในภาคเหล่านั้น ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเศรษฐกิจทั้งประเทศ และกระตุ้นให้เกิดคลื่นการลงทุนลูกใหม่ในภาคธุรกิจ ที่ก่อผลกำไร
“เราไม่อาจปล่อยเนื้อก้อนโตชิ้นนี้ตกเป็นอาหารอันโอชะสำหรับภาครัฐได้อีกต่อไป เราจำเป็นต้องเปิดประตูให้เอกชนเข้ามาลงทุน” จาง เสี่ยวชิง นักเศรษฐศาสตร์ของสถาบันสังคมศาสตร์แห่งจีน ซึ่งเป็นสถาบันของรัฐระบุ
จางและนักเศรษฐศาสตร์อีกหลายคนหยิบยกตัวอย่างกรณีรัฐบาลปล่อยให้การสร้างบ้านเป็นธุรกิจของเอกชนเมื่อ 2541 ซึ่งนำไปสู่คลื่นการลงทุนของบริษัทเอกชน และการใช้จ่ายของผู้บริโภคครั้งใหม่
ธนาคารประชาชนจีนยังระบุในรายงานช่วงไตรมาส 4 เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า การเร่งย่างก้าวในการปรับโครงสร้างและการปฏิรูปเศรษฐกิจนับว่ามีความสำคัญมากกว่าการรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวอาจไปขัดแย้งกับภารกิจสำคัญอันดับแรก ๆ ของรัฐบาลจีนได้ เช่น การสร้างให้ประเทศจีนติดอันดับหนึ่งของโลกในด้านต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังมีอุปสรรคจากการรีรอของเจ้าหน้าที่ในการเปิดให้เอกชนเข้ามาแข่งขันได้มากขึ้น ทั้งที่วิสาหกิจรัฐทำกำไรได้มากในช่วงไม่กี่ปีก่อนก็ตาม
“ปัญหาก็คือรัฐบาลเข้ามาควบคุมแหล่งทรัพยากรทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมมากเกินไป ผลประโยชน์ของรัฐบาลเองจึงตกอยู่ในความเสี่ยง” นักเศรษฐศาสตร์ผู้หนึ่งของสถาบันยูนิรูล (Unirule Institute) ซึ่งเป็นสถาบันนักคิดอิสระไม่กี่รายในจีนสรุป
จนบัดนี้ รัฐบาลจีนยังมิได้เสนอแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ก่อการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างระดับลึก ซึ่งจำเป็นสำหรับการรักษาการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง หลังจากงบประมาณในแผนกระตุ้นเศรษฐกิจหมดลงแล้ว อันเป็นสิ่งที่แตกต่างจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของประธานาธิบดีบารัก โอบาม่าแห่งสหรัฐฯ ซึ่งมีการบรรจุเรื่องการปรับปรุงระบบดูแลสุขภาพประชาชน, การศึกษา และการใช้พลังงานในระยะยาวเข้าไว้ด้วย
นอกจากนั้น ยังมีความแตกต่างจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนเองในช่วงวิกฤตการเงินเอเชียเมื่อปี 2540-2541 ซึ่งเศรษฐกิจจีนชะลอตัวอย่างมาก ครั้งนั้นรัฐบาลได้บรรจุแผนยกเครื่องเศรษฐกิจรวมเข้าไว้ด้วย โดยมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจการเคหะไปสู่มือเอกชน นอกจากนั้น ยังเริ่มการผลักดันให้จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก
แผนกระตุ้นเศรษฐกิจปัจจุบันของจีนมีลักษณะของการชดเชยชั่วคราว มิใช่ทางออก จากความเห็นของอาร์เทอร์ โครเบอร์ กรรมการผู้จัดการบริษัทวิจัย ดราโกโนมิกส์ ในกรุงปักกิ่ง
แผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนปัจจุบัน ทุ่มเทงบประมาณไปในการก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภค เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจโตในระยะสั้น
สำหรับชนบท รัฐกลับเริ่มโครงการให้เงินอุดหนุน เพื่อช่วยเกษตรกรซื้อรถ และอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ อันเป็นการช่วยเหลือชั่วคราว แทนที่จะยกเลิกมาตรการกีดขวางชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพวกเขา เช่น การเปิดโอกาสให้ได้เข้าถึงแหล่งการเงินได้มากขึ้น
ทั้งนี้ การประกอบธุรกิจในเขตชนบทมีสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 4 ของเศรษฐกิจจีน แต่กลับได้รับสินเชื่อจากธนาคารประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น จากข้อมูลขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD)
ปัญหาท้าทายในระยะยาว ที่นักวิเคราะห์มองว่า มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับจีน นอกเหนือจากการมองหาวิธีการอื่น เพิ่มเติมจากการพึ่งพาเฉพาะการส่งออกเพื่อรักษาการเติบโตของเศรษฐกิจแล้ว ยังได้แก่ การผ่อนคลายกฎระเบียบในเศรษฐกิจของจีน ซึ่งยังมีลักษณะผสมผสานระหว่างระบบตลาดกับการเข้ามาควบคุมของรัฐ ทั้งนี้ก็เพื่อพัฒนาศักยภาพในการผลิต โดยแม้ว่าศักยภาพนอกภาคเกษตรกรรม ซึ่งอาจเป็นภาคบริการ จะเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจจีนในอนาคต ทว่าวิสาหกิจรัฐก็ยังเป็นผู้ครอบงำภาคบริการหลัก ๆ เช่น การขนส่ง และการสื่อสาร
นักเศรษฐศาสตร์หลายคนชี้ว่า หากรัฐบาลจีนยกเลิกมาตรการกีดกัน เปิดทางให้เอกชนเข้ามาลงทุนในภาคเหล่านั้น ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเศรษฐกิจทั้งประเทศ และกระตุ้นให้เกิดคลื่นการลงทุนลูกใหม่ในภาคธุรกิจ ที่ก่อผลกำไร
“เราไม่อาจปล่อยเนื้อก้อนโตชิ้นนี้ตกเป็นอาหารอันโอชะสำหรับภาครัฐได้อีกต่อไป เราจำเป็นต้องเปิดประตูให้เอกชนเข้ามาลงทุน” จาง เสี่ยวชิง นักเศรษฐศาสตร์ของสถาบันสังคมศาสตร์แห่งจีน ซึ่งเป็นสถาบันของรัฐระบุ
จางและนักเศรษฐศาสตร์อีกหลายคนหยิบยกตัวอย่างกรณีรัฐบาลปล่อยให้การสร้างบ้านเป็นธุรกิจของเอกชนเมื่อ 2541 ซึ่งนำไปสู่คลื่นการลงทุนของบริษัทเอกชน และการใช้จ่ายของผู้บริโภคครั้งใหม่
ธนาคารประชาชนจีนยังระบุในรายงานช่วงไตรมาส 4 เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า การเร่งย่างก้าวในการปรับโครงสร้างและการปฏิรูปเศรษฐกิจนับว่ามีความสำคัญมากกว่าการรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวอาจไปขัดแย้งกับภารกิจสำคัญอันดับแรก ๆ ของรัฐบาลจีนได้ เช่น การสร้างให้ประเทศจีนติดอันดับหนึ่งของโลกในด้านต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังมีอุปสรรคจากการรีรอของเจ้าหน้าที่ในการเปิดให้เอกชนเข้ามาแข่งขันได้มากขึ้น ทั้งที่วิสาหกิจรัฐทำกำไรได้มากในช่วงไม่กี่ปีก่อนก็ตาม
“ปัญหาก็คือรัฐบาลเข้ามาควบคุมแหล่งทรัพยากรทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมมากเกินไป ผลประโยชน์ของรัฐบาลเองจึงตกอยู่ในความเสี่ยง” นักเศรษฐศาสตร์ผู้หนึ่งของสถาบันยูนิรูล (Unirule Institute) ซึ่งเป็นสถาบันนักคิดอิสระไม่กี่รายในจีนสรุป