ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า โรคโควิด-19 ทำให้บริษัทยาต่างก็ได้ลืมตาอ้าปาก ด้วยมูลค่าของหุ้นที่ขึ้นเป็นสองสามเท่าตัว บริษัทที่อู้ฟู่อยู่แล้วก็รวยขึ้นอีก ขณะที่ฝั่งที่กำลังคลำหาทางก็รอดตายราวปาฏิหาริย์ โดยเฉพาะบริษัทที่วิจัยวัคซีนออกมาสำเร็จ จนตอนนี้กลายเป็นเซเลบไปตามๆ กัน
อัลเบิร์ต บูร์ลา - ไฟเซอร์
ประธานบริษัทไฟเซอร์ ดร.อัลเบิร์ต บูร์ลา เป็นสัตวแพทย์ชาวกรีก เข้ามาร่วมงานกับไฟเซอร์ในปี 1993 โดยได้ทำงานบริหารแผนกต่างๆ ของบริษัทหลายแผนก ก่อนจะขึ้นเป็นกรรมการบริษัทและประธาน
อัลเบิร์ต ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มาเปลี่ยนโฉมหน้าของการผลิตยา โดยเฉพาะการไม่เบียดเบียนสัตว์ รวมทั้ง การพยายามต่อสู้ด้านราคาและสิทธิบัตรยา ซึ่งเขาเห็นว่า มีความสำคัญในการค้นคว้าวิจัยยาอื่นๆ ในอนาคต และประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง ในความร่วมมือกับ ไบออนเทค ของเยอรมนี ในการผลิตวัคซีนโควิด-19 โดยเขาเป็นผู้ผลักดันให้ทีมวิจัยเร่งทำงานให้เร็วขึ้น
ดร.อัลเบิร์ต เกิดและเติบโตในเมืองเทสซาโลนิกิ ประเทศกรีซ ในครอบครัวชาวยิวซึ่งเป็นหนึ่งใน 2,000 คนจาก 50,000 คนในเมืองเทสซาโลนิกิที่ต้องหนีเอาชีวิตรอดจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของนาซี แม่ของเขาเกือบถูกสังหาร แต่เคราะห์ดีที่พี่ชายของเธอติดสินบนหน่วยเอสเอสทำให้หนีทัน ขณะที่พ่อของเขาแอบหนีออกมาชุมชนยิวไปก่อนจะถูกส่งเข้าค่ายกักกันในเอาสชวิตซ์ และหนีไปซ่อนตัว ทำให้เขาไม่ได้พบพ่อแม่ของเขาอีกเลยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เขาจบปริญญาเอกด้านเทคโนโลยีชีวภาพด้านการสืบพันธุ์ที่ คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยอริสโตเติลแห่งเทสซาโลนิกิ และออกจากกรีซกับภรรยาหลังจากการเลื่อนตำแหน่งในไฟเซอร์ และอาศัยอยู่ใน 7 เมือง ใน 4 ประเทศที่แตกต่างกัน
ปัจจุบัน ดร.อัลเบิร์ตและภรรยาอาศัยอยู่ในสการ์สเดล นิวยอร์ก พวกมีทายาทชายหนึ่งหญิงหนึ่ง แม้จะใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในนิวยอร์ก ทว่า เขาไม่เคยลืมวัฒนธรรมกรีก นอกจากกลับบ้านเกิดทุกฤดูร้อนแล้ว ยังสนับสนุนสโมสรกีฬาอริส เทสซาโลนิกิด้วย นอกจากนี้ เขายังบริจาควัคซีน ความช่วยเหลือทางการแพทย์สำหรับผู้ลี้ภัย และเงินมากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่มีหลักประกัน และก่อตั้ง Pfizer Artificial Intelligence Center ในบ้านเกิด
ล่าสุด ดร.อัลเบิร์ต ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นบิดาแห่งปี 2021 ของสหรัฐฯ โดยไฟเซอร์เป็นบริษัทยาแห่งแรกที่ร่วมผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งได้รับการอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินในสหรัฐอเมริกา ทำให้คณะกรรมการวันพ่อแห่งชาติแสดงความขอบคุณด้วยการเสนอชื่อ ดร.อัลเบิร์ต บูร์ลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารไฟเซอร์ ให้เป็น บิดาแห่งปี 2021 ซึ่งตัวเขาตกลงที่จะรับเกียรติในนามของพนักงานไฟเซอร์ทุกคน
จุ๊ๆ อย่าไปบอกโมเดน่านะ…
คู่แฝดสเตริงมันน์ - ไบออนเทค
หากพูดถึงคู่ค้าคนสำคัญของไฟเซอร์ อย่าง บริษัท ไบออนเทค ในเยอรมนี ก็ต้องพูดถึงพี่น้องฝาแฝด โทมัส และ แอนเดรส สเตริงมันน์ ที่ร่วมกันก่อตั้งบริษัทยาเฮกซัล ขึ้นมาในปี 1986 ก่อนจะขายให้กับบริษัทยายักษ์ใหญ่ โนวาติส ไปได้ถึง 7,000 ล้านดอลลาร์ แล้วไปลงทุนในบริษัทลูกครึ่งเยอรมัน-อเมริกัน อย่าง ไบออนเทค ซึ่งหลังประสบความสำเร็จในการผลิตวัคซีนโควิด-19 ก็ทำให้สองพี่น้องกลายเป็นมหาเศรษฐี
เดิมที สองพี่น้องนามสกุล โจอาคิม -- แต่แอนเดรส เลือกเรียนแพทย์ เพราะไม่ต้องการสานต่อกิจการผลิตสีดูราเคมีของครอบครัว ในขณะที่โทมัส ที่เอาดีทางด้านธุรกิจก็จบระดับดอกเตอร์เช่นกัน ทั้งคู่เลือกใช้นามสกุลของฝั่งมารดาเพื่อที่จะไม่ต้องมาทำงานที่โรงงานของพ่อ อย่างไรก็ตาม กิจการสีก็ตกเป็นของพวกเขาอยู่ดี เขาเลยขายทิ้งเพื่อตั้งบริษัทยาเฮกเซล
เออร์เนสโต แบร์ตาเรลลิ - อะเรส ไลฟ์ ไซแอนซ์
ทายาทบริษัทยาแท้ๆ ที่ภาพลักษณ์ออกจะเพลย์บอยหน่อยก็ต้อง เออร์เนสโต แบร์ตาเรลลิ ที่ต้องเลือกระหว่างการสานต่อกิจการของครอบครัว กับแพสชั่นในกรเป็นนักแล่นเรือใบ
เออร์เนสโต เกิดในกรุงโรม โดยบิดาของเขาทำงานให้บริษัทยาโซโรโน ซึ่งผลิตฮอร์โมนที่ช่วยให้มีบุตร อย่าง เพอร์โกนอล ในทศวรรษ 1970s บิดาของเขาถือหุ้นใหญ่ของบริษัท และเปลี่ยนชื่อเป็น อะเรส-โซโรโน และย้ายบ้าน-ย้ายบริษัทไปอยู่เจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
พวกเขาประสบความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้วครั้งแรก ในปี 1978 ทำให้บริษัทโด่งดังระดับโลก และได้เข้าตลาดหุ้นสวิส ในปี 1987 โดยขณะนั้น เออร์เนสโต ยังศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยแบ็บสัน ก่อนจะไปต่อเอ็มบีเอที่ฮาร์วาร์ด
ระหว่าง เออร์เนสโต ไปพักร้อนที่อิตาลี ในปี 1997 เขาก็พบรักกับ คริสตี โรเพอร์ นางงามอังกฤษ ปี 1988 พวกเขาแต่งงานกันในปี 2000 หลังจากที่บิดาเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง บริษัทยาได้ตกเป็นของเขาและน้องสาว ดอนนา ที่เปลี่นบริษัทยาธรรมดาให้เป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว
นอกจากฮอร์โมนช่วยรักษาภาวะมีบุตรยากในสตรีแล้ว พวกเขายังพัฒนาการรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Rebif) และภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต (ไซเซ็น)
พวกเขาขายหุ้นให้เมิร์ช ในเยอรมนีด้วยมูลค่ารวม 8,600 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบริษัท เมิร์ช - โซโรโน เมื่อไม่ต้องบริหารงานบริษัทยา พวกเขาหันมาโฟกัสที่ มูลนิธิแบร์ตาเรลลิ ที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางน้ำ และงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ
นอกจากนี้ สองพี่น้องยังมาลงทุนในบริษัท เวย์พอยต์ ที่ปรึกษาด้านการลงทุน รวมทั้ง บริษัท อะเรส ไลฟ์ ไซแอนซ์ ที่ลงทุนในเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ และเทคโนโลยีชีวภาพ
เออร์เนสโต ยังมีแพสชันในการแข่งเรือยอชต์ โดยเขาได้ก่อตั้งทีมอะลิงกีเข้าแข่งชิงถ้วยรางวัลหลายครั้ง และเคยชนะลุยส์วิตตองคัพ ในปี 2003 เช่นเดียวกับอเมริกันคัพ
อัลเบิร์ต บูร์ลา - ไฟเซอร์
ประธานบริษัทไฟเซอร์ ดร.อัลเบิร์ต บูร์ลา เป็นสัตวแพทย์ชาวกรีก เข้ามาร่วมงานกับไฟเซอร์ในปี 1993 โดยได้ทำงานบริหารแผนกต่างๆ ของบริษัทหลายแผนก ก่อนจะขึ้นเป็นกรรมการบริษัทและประธาน
อัลเบิร์ต ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้มาเปลี่ยนโฉมหน้าของการผลิตยา โดยเฉพาะการไม่เบียดเบียนสัตว์ รวมทั้ง การพยายามต่อสู้ด้านราคาและสิทธิบัตรยา ซึ่งเขาเห็นว่า มีความสำคัญในการค้นคว้าวิจัยยาอื่นๆ ในอนาคต และประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง ในความร่วมมือกับ ไบออนเทค ของเยอรมนี ในการผลิตวัคซีนโควิด-19 โดยเขาเป็นผู้ผลักดันให้ทีมวิจัยเร่งทำงานให้เร็วขึ้น
ดร.อัลเบิร์ต เกิดและเติบโตในเมืองเทสซาโลนิกิ ประเทศกรีซ ในครอบครัวชาวยิวซึ่งเป็นหนึ่งใน 2,000 คนจาก 50,000 คนในเมืองเทสซาโลนิกิที่ต้องหนีเอาชีวิตรอดจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของนาซี แม่ของเขาเกือบถูกสังหาร แต่เคราะห์ดีที่พี่ชายของเธอติดสินบนหน่วยเอสเอสทำให้หนีทัน ขณะที่พ่อของเขาแอบหนีออกมาชุมชนยิวไปก่อนจะถูกส่งเข้าค่ายกักกันในเอาสชวิตซ์ และหนีไปซ่อนตัว ทำให้เขาไม่ได้พบพ่อแม่ของเขาอีกเลยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
เขาจบปริญญาเอกด้านเทคโนโลยีชีวภาพด้านการสืบพันธุ์ที่ คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยอริสโตเติลแห่งเทสซาโลนิกิ และออกจากกรีซกับภรรยาหลังจากการเลื่อนตำแหน่งในไฟเซอร์ และอาศัยอยู่ใน 7 เมือง ใน 4 ประเทศที่แตกต่างกัน
ปัจจุบัน ดร.อัลเบิร์ตและภรรยาอาศัยอยู่ในสการ์สเดล นิวยอร์ก พวกมีทายาทชายหนึ่งหญิงหนึ่ง แม้จะใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในนิวยอร์ก ทว่า เขาไม่เคยลืมวัฒนธรรมกรีก นอกจากกลับบ้านเกิดทุกฤดูร้อนแล้ว ยังสนับสนุนสโมสรกีฬาอริส เทสซาโลนิกิด้วย นอกจากนี้ เขายังบริจาควัคซีน ความช่วยเหลือทางการแพทย์สำหรับผู้ลี้ภัย และเงินมากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่มีหลักประกัน และก่อตั้ง Pfizer Artificial Intelligence Center ในบ้านเกิด
ล่าสุด ดร.อัลเบิร์ต ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นบิดาแห่งปี 2021 ของสหรัฐฯ โดยไฟเซอร์เป็นบริษัทยาแห่งแรกที่ร่วมผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งได้รับการอนุมัติให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินในสหรัฐอเมริกา ทำให้คณะกรรมการวันพ่อแห่งชาติแสดงความขอบคุณด้วยการเสนอชื่อ ดร.อัลเบิร์ต บูร์ลา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารไฟเซอร์ ให้เป็น บิดาแห่งปี 2021 ซึ่งตัวเขาตกลงที่จะรับเกียรติในนามของพนักงานไฟเซอร์ทุกคน
จุ๊ๆ อย่าไปบอกโมเดน่านะ…
คู่แฝดสเตริงมันน์ - ไบออนเทค
หากพูดถึงคู่ค้าคนสำคัญของไฟเซอร์ อย่าง บริษัท ไบออนเทค ในเยอรมนี ก็ต้องพูดถึงพี่น้องฝาแฝด โทมัส และ แอนเดรส สเตริงมันน์ ที่ร่วมกันก่อตั้งบริษัทยาเฮกซัล ขึ้นมาในปี 1986 ก่อนจะขายให้กับบริษัทยายักษ์ใหญ่ โนวาติส ไปได้ถึง 7,000 ล้านดอลลาร์ แล้วไปลงทุนในบริษัทลูกครึ่งเยอรมัน-อเมริกัน อย่าง ไบออนเทค ซึ่งหลังประสบความสำเร็จในการผลิตวัคซีนโควิด-19 ก็ทำให้สองพี่น้องกลายเป็นมหาเศรษฐี
เดิมที สองพี่น้องนามสกุล โจอาคิม -- แต่แอนเดรส เลือกเรียนแพทย์ เพราะไม่ต้องการสานต่อกิจการผลิตสีดูราเคมีของครอบครัว ในขณะที่โทมัส ที่เอาดีทางด้านธุรกิจก็จบระดับดอกเตอร์เช่นกัน ทั้งคู่เลือกใช้นามสกุลของฝั่งมารดาเพื่อที่จะไม่ต้องมาทำงานที่โรงงานของพ่อ อย่างไรก็ตาม กิจการสีก็ตกเป็นของพวกเขาอยู่ดี เขาเลยขายทิ้งเพื่อตั้งบริษัทยาเฮกเซล
เออร์เนสโต แบร์ตาเรลลิ - อะเรส ไลฟ์ ไซแอนซ์
ทายาทบริษัทยาแท้ๆ ที่ภาพลักษณ์ออกจะเพลย์บอยหน่อยก็ต้อง เออร์เนสโต แบร์ตาเรลลิ ที่ต้องเลือกระหว่างการสานต่อกิจการของครอบครัว กับแพสชั่นในกรเป็นนักแล่นเรือใบ
เออร์เนสโต เกิดในกรุงโรม โดยบิดาของเขาทำงานให้บริษัทยาโซโรโน ซึ่งผลิตฮอร์โมนที่ช่วยให้มีบุตร อย่าง เพอร์โกนอล ในทศวรรษ 1970s บิดาของเขาถือหุ้นใหญ่ของบริษัท และเปลี่ยนชื่อเป็น อะเรส-โซโรโน และย้ายบ้าน-ย้ายบริษัทไปอยู่เจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
พวกเขาประสบความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้วครั้งแรก ในปี 1978 ทำให้บริษัทโด่งดังระดับโลก และได้เข้าตลาดหุ้นสวิส ในปี 1987 โดยขณะนั้น เออร์เนสโต ยังศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยแบ็บสัน ก่อนจะไปต่อเอ็มบีเอที่ฮาร์วาร์ด
ระหว่าง เออร์เนสโต ไปพักร้อนที่อิตาลี ในปี 1997 เขาก็พบรักกับ คริสตี โรเพอร์ นางงามอังกฤษ ปี 1988 พวกเขาแต่งงานกันในปี 2000 หลังจากที่บิดาเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง บริษัทยาได้ตกเป็นของเขาและน้องสาว ดอนนา ที่เปลี่นบริษัทยาธรรมดาให้เป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว
นอกจากฮอร์โมนช่วยรักษาภาวะมีบุตรยากในสตรีแล้ว พวกเขายังพัฒนาการรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Rebif) และภาวะขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต (ไซเซ็น)
พวกเขาขายหุ้นให้เมิร์ช ในเยอรมนีด้วยมูลค่ารวม 8,600 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นบริษัท เมิร์ช - โซโรโน เมื่อไม่ต้องบริหารงานบริษัทยา พวกเขาหันมาโฟกัสที่ มูลนิธิแบร์ตาเรลลิ ที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางน้ำ และงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ
นอกจากนี้ สองพี่น้องยังมาลงทุนในบริษัท เวย์พอยต์ ที่ปรึกษาด้านการลงทุน รวมทั้ง บริษัท อะเรส ไลฟ์ ไซแอนซ์ ที่ลงทุนในเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ และเทคโนโลยีชีวภาพ
เออร์เนสโต ยังมีแพสชันในการแข่งเรือยอชต์ โดยเขาได้ก่อตั้งทีมอะลิงกีเข้าแข่งชิงถ้วยรางวัลหลายครั้ง และเคยชนะลุยส์วิตตองคัพ ในปี 2003 เช่นเดียวกับอเมริกันคัพ