xs
xsm
sm
md
lg

“กู๊ด ดอกเตอร์” ปั้นโซลูชัน ให้คำปรึกษาผู้ป่วยผ่านเทเลเมดิซีน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



บริษัท กู๊ด ดอกเตอร์ เทคโนโลยี ประเทศไทย (Good Doctor Technology Thailand: GDTT) คือบริษัทในเครือของกู๊ด ดอกเตอร์ เทคโนโลยี (GDT) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพในระดับภูมิภาคผ่านการสนับสนุนจากเทคโนโลยีและเป็นผู้นำด้านดิจิทัล GDT เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างแพลตฟอร์มบริการดูแลสุขภาพแบบครบวงจรชั้นนำของจีน Ping An Healthcare and Technology Company Limited กับ Grab Holdings Inc (“Grab”)

ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม O2O แนวหน้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดตัวครั้งแรกในปี 2561 เพื่อให้บริการด้านสุขภาพออนไลน์ที่จะมาพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ ด้วยวิสัยทัศน์ที่จะทำให้ “หนึ่งแพทย์ต่อหนึ่งครอบครัวทั่ว SEA” และพันธกิจที่จะทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการด้านการรักษาพยาบาลได้ในราคาประหยัด GDT พร้อมกับเปิดตัวบริการด้านสุขภาพทั้งผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ในปี 2564 โดยมีเป้าหมายเพื่อเปิดประสบการณ์การดูแลสุขภาพดิจิทัลภายในประเทศไทย
นพ. สุทธิชัย โชคกิจชัย หัวหน้าฝ่ายการแพทย์ บริษัท กู๊ด ดอกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด อธิบายว่า มองศักยภาพของตลาดการแพทย์ทางไกลในประเทศไทยว่ามีศักยภาพสูง เนื่องจากในประเทศไทยเองมีอัตราส่วนแพทย์ต่อผู้ป่วยต่ำมาก กล่าวคือ แพทย์ 1 คนจะดูแลผู้ป่วยประมาณ 1,771 คน ผู้ป่วยหลายคนไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ทันเวลา เนื่องจากต้องใช้เวลาในการเดินทาง ต้องใช้ระยะเวลาในการรอ และมีผู้ใช้บริการแออัดตามโรงพยาบาลหรือคลินิก แบบเดิม ๆ ซึ่งเรื่องของความแออัดนี้ก็เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังอย่างมากในช่วงการระบาดใหญ่ของเชื้อโควิด ด้วยการเปิดตัวบริการการแพทย์ทางไกลและการสั่งยาออนไลน์ (e-pharmacy) ของ GDTT ประชาชนในประเทศไทยจะสามารถเข้าถึงการบริการทางการแพทย์เพิ่มมาอีกหนึ่งช่องทาง ซึ่งพวกเขาจะได้รับมาตรฐานการดูแลผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล แม้ว่าการบริการทางการแพทย์ทางไกลจะไม่สามารถมาแทนที่การบริการสุขภาพแบบเดิม แต่การแพทย์ทางไกลก็ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการให้บริการด้านการแพทย์ที่มีความน่าเชื่อถือ ด้วยการปรึกษากับแพทย์ได้แบบส่วนตัว

หากสถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้นแล้ว ทิศทางของการแพทย์ทางไกล ที่เนื่องจากว่าการแพทย์ทางไกลยังคงเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างใหม่ในประเทศไทย สิ่งสำคัญที่ควร ทำความเข้าใจร่วมกันก็คือการแพทย์ทางไกลไม่ได้เป็นแค่เรื่องของการให้คำปรึกษาของแพทย์กับผู้ป่วยผ่านช่องทางเสมือนจริงเท่านั้น แต่การแพทย์ทางไกลยังมีประโยชน์มากมายในแง่ของการเฝ้าติดตามสุขภาพของผู้ป่วยจากระยะไกล ซึ่งเป็นประโยชนสำหรับผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ด้วยวิธีการเหล่านี้ เราจะสามารถทำให้ผู้ป่วยรับรู้ถึงสภาวะของโรคอย่างต่อเนื่องว่าสามารถควบคุมได้ดี

“ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 นั้น จริง ๆ แล้วถือเป็นตัวอย่างที่ดีมากในการใช้การดูแลแบบระยะไกลของ Telemedicine โดยแพทย์จะสามารถทราบถึงความรุนแรงของอาการของผู้ป่วย โดยเฉพาะในแง่ของการประเมินระดับออกซิเจนและอุณหภูมิร่างกายรายวัน นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับเราในประเทศไทยที่จะได้เริ่มคุ้นเคยกับการใช้แพลตฟอร์มสุขภาพบนช่องทางดิจิทัลเพื่อจัดทำบันทึกอาการที่สำคัญต่าง ๆ”

นพ. สุทธิชัย กล่าวต่อไปว่า แอพพลิเคชันของ Good Doctor ให้บริการ Telemedicine ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเน้นการบริการให้คำปรึกษาทางไกล แต่ยังไม่เน้นให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีGood Doctor ได้นำการให้บริการการแพทย์ทางไกลที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถรับคำปรึกษาทางไกลผ่านข้อความได้อย่างมีประสิทธิภาพ Good Doctor ยังสามารถจัดส่งยาตามใบสั่งยาของแพทย์ไปยังผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว และช่วยอำนวยความสะดวกเพื่อทำการนัดหมายล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชันมือถือออนไลน์

ทั้งนี้ แพลตฟอร์ม e-pharmacy ภายในแอปพลิเคชันยังให้ความสะดวกต่อผู้ใช้ในการซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและสุขภาพทั่วไปในกรณี ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ใบสั่งยาของแพทย์ นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูเนื้อหาทางการแพทย์ที่จัดทำขึ้นได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยเพิ่มความรู้เกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยที่พบบ่อยในคนไทย Good Doctor กำลังหาโอกาส ในการเข้าเป็นพันธมิตรกับห้องปฏิบัติการเอกชนทั่วประเทศไทยเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่ต้องการการตรวจโดยใช้ห้องปฏิบัติการเหล่านี้ ส่วนในกรณีของการตรวจร่างกาย เรายังคงสามารถให้บริการได้เหมือนปกติผ่านคลินิกของเราที่ผู้ป่วยสามารถเข้ามารับบริการได้โดยตรง
“สำหรับแผนการดำเนินงานในอนาคตจะขึ้นอยู่กับความต้องการของ บริษัทพันธมิตรต่างๆที่สนใจจะเข้ามาใช้บริการของเรา (B2B) เราจะทำงานร่วมกันเพื่อสนับสนุนบริษัทพันธมิตรเหล่านั้น ในการบรรลุเป้าหมายด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานในองค์กร เราจะทำงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรกลุ่มนี้เพื่อพัฒนาฟีเจอร์ด้านสุขภาพดิจิทัลตามความต้องการของพวกเขา ในปัจจุบัน ด้วยสถานการณ์การระบาดใหญ่ในประเทศไทย เรากำลังทำงานร่วมกับบริษัทยาชั้นนำอย่าง บริษัทโรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อผสานรวมชุดทดสอบด้วยตนเองเข้ากับบริการด้านสุขภาพดิจิทัลของเรา เพื่อให้องค์กรมีความพร้อมในการตรวจสอบพนักงานของตนได้เอง”

อีกทั้งจะมีการพัฒนาโซลูชันด้านการดูแลสุขภาพที่ให้บริการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์โดยใช้เทคโนโลยี AI จะนำกระบวนการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพมาใช้ ทำให้เราสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น GDTT ได้จัดเตรียมชุดเครื่องมือและทรัพยากรเอาไว้เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อที่มีความครอบคลุมสำหรับผู้ป่วย

ความโดดเด่นที่ทำให้ GDT แตกต่างจากคู่แข่ง คือ GDTT จะให้ผู้ป่วยเชื่อมต่อกับแพทย์ได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยระยะเวลาการรอในแอปพลิเคชันของเราจะอยู่ที่เพียง 60 วินาทีเท่านั้น อีกทั้งจะมีการนำความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้บริการด้านการรักษาพยาบาลคุณภาพสูงแก่ผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วผ่านเส้นทางทางคลินิกแบบอัตโนมัติและระบบคัดแยกทางการแพทย์อัตโนมัติเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ช่วยสร้างความแตกต่าง

และล่าสุด GDT ได้มีการ ผนึกกำลัง สปสช. เดินหน้าให้บริการการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และยกระดับบริการด้านสุขภาพสำหรับผู้ต้องแยกกักตัวอยู่ที่บ้าน (Home Isolation) ซึ่งสปสช. ได้มีการอนุมัติคลินิกทางการแพทย์ กู๊ด ดอกเตอร์ เทคโนโลยี ประเทศไทย (GDTT) ให้บริการการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการและผู้ที่ไม่มีอาการรุนแรงแล้วเบื้องต้น




กำลังโหลดความคิดเห็น