xs
xsm
sm
md
lg

BEM เซ็นจ้าง CK ต้นส.ค.ออกNTPลุยก่อสร้าง”สีส้ม” ลงทุน1.2 แสนล้านบาท สั่งรถ32 ขบวนเร่งเปิดเฟสแรก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



BEM เซ็นสัญญา จ้าง ช.การช่าง ต้นส.ค.ลุยก่อสร้างสายสีส้ม 9 หมื่นล้านบาท ติดตั้งระบบซื้อรถไฟฟ้า 32 ขบวน 3 หมื่นล้านบาท ลดค่าโดยสาร 10 ปีแรก เหลือ 17-44 บาท เก็บค่าแรกเข้าครั้งเดียวเดินทางข้ามระบบรฟม.

วันนี้ (23 ก.ค.) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ได้ลงนามสัญญาจ้าง บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK ให้เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันตก บางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และจัดหาติดตั้งระบบรถไฟฟ้าสำหรับทั้งโครงการโดยช่วงตะวันออกจากศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรี โดยมีนายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหาร CK เป็นประธาน

นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM กล่าวว่า หน้าที่ของ BEM คือ ก่อสร้างงานโยธารถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงตะวันตก บางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และจัดหา
ติดตั้งระบบรถไฟฟ้าสำหรับทั้งโครงการ ซึ่งอยู่ระหว่างหารือกับ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) คาดว่าจะจะออกหนังสือให้เริ่มงาน (NTP ) วันที่ 31 ก.ค.หรือวันที่ 1 ส.ค. 67 นี้ บริษัทจะเร่งออกแบบ และติดตั้งระบบรถไฟฟ้าสำหรับทั้งโครงการโดยช่วงตะวันออกจากศูนย์วัฒนธรรมฯ - มีนบุรี มีกำหนดแล้วเสร็จภายใน 3 ปี 6 เดือนมั่นใจว่าจะสามารถเปิดให้บริการส่วนนี้ได้ก่อนกำหนดอย่างแน่นอน โดยมีระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี นับจากเริ่มเปิดให้บริการช่วงตะวันออก

ส่วนช่วงตะวันตกจากศูนย์วัฒนธรรมฯ -บางขุนนนท์ ที่จะก่อสร้างงานโยธา มีกำหนดแล้วเสร็จภายใน 6 ปี ในปีแรก จะเป็นการออกแบบและเข้ารื้อย้ายสาธารณูปโภค ขุดสำรวจใต้ดิน ใช้เวลาประมาณ1 ปีกว่า จากนั้นจะเริ่มขุดเจาะสถานี และทำผนัง ในอีก 3 ปีต่อไป จะเป็นเรื่องของหัวเจาะอุโมงค์ ช่วงปีที่5-6 จะเป็นการเก็บงานและทดสอบระบบ

“รถไฟฟ้าสายสีส้ม ออกแบบไปพร้อมก่อสร้าง หรือ Design&Built เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ซึ่งงานใต้ดิน 11 สถานี ด้านตะวันตกจะผ่านพื้นที่ชุมชม และโบราณสถาน พื้นที่อนุรักษ์ ต้องมีการดูแลพื้นที่ โบราณวัตถุ และสิ่งแวดล้อมอย่างดี ซึ่งเป็นงานยาก แต่ช.การช่าง มีประสบการณ์และเทคโนโลยีที่เคยใช้ในการก่อสร้างสายสีน้ำเงินช่วงสนามไชย จึงไม่น่ามีปัญหา และจะหารือกับรฟม. และกทม.ในการใช้พื้นที่ถนน ให้น้อยที่สุด”

นายพงษ์สฤษดิ์ กล่าวว่า BEM ได้เงินกู้จากธนาคารกรุงเทพ จำนวน 1.2 แสนล้านบาทลงทุนสายสีส้ม โดยแบ่งค่าก่อสร้าง 9 หมื่นล้านบาท ค่าจัดหาระบบ รถไฟฟ้า 32 ขบวนๆละ3 ตู้ โดยจัดหาเฟสแรก 16 ขบวนเพื่อเปิดเดินรถสายตะวันออก ปี 71 และเฟส 2 อีก 16 ขบวน รองรับเดินรถสายตะวันตก ปี73 ขณะที่ค่าโดยสารที่เสนอ ปีแรก เริ่มต้นที่ 20 บาท สูงสุด 62 บาท แต่ได้มีการเจรจารัฐได้ต่อรอง กับรฟม. จะลดอัตราค่าโดยสารสายสีส้ม ในช่วง 10 ปีแรก เหลือ 17-44 บาท โดยปีที่ 11 จะกลับไปจัดเก็บตามข้อเสนอที่ 25-65 บาท คิดตามCPI และเงื่อนไขค่าแรกเข้าครั้งเดียว กรณีเดินทางข้ามระบบภายใต้โครงข่ายของ รฟม.

“ตามเงื่อนไขสัญญาสายสีส้ม เอกชนลงทุนระบบรถไฟฟ้า 30,000 ล้านบาท ส่วนรัฐจะอุดหนุน ค่างานโยธาไม่เกิน96,012 ล้านบาท โดยทยอยชำระคืนตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นเวลา 6 ปี ซึ่งจ่ายคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งค่อนข้างต่ำประมาณ3% กว่า เพราะธนาคารมีความเชื่อมั่นโครงการ ขณะที่มีเงื่อนไขแบ่งรายได้ให้รฟม.วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท เริ่มแบ่งตั้งแต่ปีที่10 เป็นต้นไปจนครบสัญญาสัมปทาน และส่วนแบ่งรายได้ผลตอบแทนเพิ่มอีกส่วนหนึ่ง”


@คาด Backlog มูลค่าถึง 2.5 แสนล้านบาท

นายพงษ์สฤษดิ์ กล่าวว่า จ้างทางCK ประกอบการงานลงทุนดรงไฟฟ้า ที่หลวงพระบาง และคาดว่า จะได้รับงานทางด่วนชั้นที่ 2 Double Deck ประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท ลงทุน 4 ปีที่พน้อมเริ่มในปีนี้ทันที แล้วยังจะมีสายสีม่วงใต้ ที่หากสรุปจะได้งานติดตั้งระบบและรถไฟฟ้าประมร 3 หมื่นล้านบาท จะมาเติมมูลค่างานในมือ (Backlog) ใหม่สูงสุดถึง 2.5 แสนล้านบาท นอกจากนี้ ยังพร้อมประมูลโครงการสนามบินสุวรรณภูมิก่อสร้างอาคารผู้โดยสารด้านตะวันออกและด้านตะวันตก โครงการรถไฟทางคู่ระยะที่2 และมอเตอร์เวย์

ด้านนายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ BEM กล่าวว่า BEM มีความพร้อมที่จะดำเนินโครงการและการก่อสร้างงานโยธาช่วงตะวันตก มีพันธมิตรที่แข็งแกร่งอย่าง CK ที่มีประสบการณ์ ความรู้ความชำนาญในงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อน มีการออกแบบและทำงานร่วมกันตั้งแต่ต้น ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาแก้ไขหรือปรับปรุงในอนาคต รวมถึงถึงลดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วยโดย CKได้จัดเตรียมทีมงานและเครื่องจักรอุปกรณ์พร้อมเข้าดำเนินงานได้ทันทีจึงมั่นใจได้ว่าจะสามารถดำเนินงานได้แล้วเสร็จตามกำหนดการอย่างมีคุณภาพและให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยสูงสุด

ส่วนการจัดหาติดตั้งระบบรถไฟฟ้านั้นปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจากับผู้ผลิตเพื่อสั่งซื้อรถไฟฟ้าแบบล็อตใหญ่รวม 53 ขบวน แบ่งเป็น รถไฟฟ้าที่ใช้ในสายสีส้ม 32 ขบวนและรถไฟฟ้าสำหรับบริการในโครงการสายสีน้ำเงินเพิ่มเติมอีก 21 ขบวนโดยบริษัทให้ความสำคัญกับคุณภาพและความปลอดภัยเป็นลำดับแรกเห็นได้จากในโครงการที่ผ่านมาบริษัทเลือกใช้ผู้ผลิตจากประเทศเยอรมันและญี่ปุ่นเป็นหลัก"

ทั้งนี้บริษัทฯคาดการณ์จำนวนผู้โดยสารในปีแรกของการให้บริการช่วงตะวันออกจะมีประมาณ 1.2 แสนคน/วัน และเมื่อเปิดตลอดเส้นทางคาดว่าจะมี 3-4 แสนคน/วัน


กำลังโหลดความคิดเห็น