xs
xsm
sm
md
lg

“ศักดิ์สยาม” เช็กโปรเจกต์แก้รถติด "พระราม 2" กทพ.ปักธง ม.ค. 67 เปิดใช้สะพานขึง "ด่วนพระราม 3"

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“ศักดิ์สยาม” ตรวจโปรเจกต์แก้รถติดพระราม 2 "บางขุนเทียน-เอกชัย-บ้านแพ้ว” 13 ตอน ทยอยเสร็จปี 66-68 ด้าน กทพ.เร่งทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนฯ เชื่อมแลมป์ทางขึ้น-ลงสุขสวัสดิ์ คาด ม.ค. 67 เปิดใช้สะพานคู่ขนานพระราม 9

วันที่ 9 มี.ค. 2565 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ลงพื้นที่ถนนพระราม 2 เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการก่อสร้างทางยกระดับ ช่วงบางขุนเทียน-เอกชัย-บ้านแพ้ว ของกรมทางหลวง (ทล.) และโครงการทางพิเศษพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคมกล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาจราจรบนถนนพระราม 2 มาอย่างต่อเนื่อง โดยโครงการปรับปรุงทางหลวงหมายเลข 35 (ถนนพระราม 2) สายธนบุรี-ปากช่อง ตอนทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน-เอกชัย กม. 9+800 - 21+500 ระยะทาง 11.7 กม. จำนวน 3 ตอน ได้แก่ ตอน 1 กม. 9+800 - 13+300 ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2564 , ตอน 2 กม. 13+300 - 17+400 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2564 และตอน 3 กม. 17+400 - 21+500 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2563

ขณะที่ปัจจุบันมีโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 3 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการก่อสร้างทางยกระดับทางหลวงหมายเลข 35 สายธนบุรี-ปากช่อง ตอนทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน-เอกชัย ระยะทาง 8.2 กม. ช่วง กม.ที่ 11+959.904 - 20+295.417 ของกรมทางหลวง เป็นการก่อสร้างทางยกระดับ จำนวน 6 ช่องจราจรไป-กลับ (ทิศทางละ 3 ช่องจราจร) ภาพรวมโครงการมีความคืบหน้า 61% ช้ากว่าแผนประมาณ 1.48% เนื่องจากการเข้าพื้นที่ล่าช้าและปิดแคมป์ก่อสร้าง 2 เดือนจากสถานการณ์โควิด คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จเดือน มิ.ย. 2566

โดยแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ระยะทาง 2.575 กม. รวมทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน ค่าก่อสร้าง 3,994.4 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า เอ็นทีเอ เป็นผู้รับจ้าง ปัจจุบันมีความคืบหน้า 62.61% เร็วกว่าแผน 1.02%

ตอนที่ 2 ระยะทาง 4.1 กม. ค่าก่อสร้าง 3,992 ล้านบาท มี บจ.วิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง เป็นผู้รับจ้าง ปัจจุบันมีความคืบหน้า 46.75% ช้ากว่าแผน 1.50%

ตอนที่ 3 ระยะทาง 1.6 กม. รวมทางแยกต่างระดับเอกชัย ค่าก่อสร้าง 2,491 ล้านบาท มี ITD เป็นผู้รับจ้ง ปัจจุบันมีความคืบหน้า 74.84% ช้ากว่าแผน 8.1%

2. โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว ของกรมทางหลวง ซึ่งมีแนวสายทางเชื่อมต่อกับโครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก บริเวณด่านบางขุนเทียน ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 10 สัญญา ตั้งแต่ กม.ที่ 20+295 - 36+645 ระยะทาง 16.4 กิโลเมตร มูลค่า 18,759.230 ล้านบาท เริ่มต้นสัญญาวันที่ 1 ก.พ. 2565 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 15 ม.ค. 2568 ทั้งนี้ กรมทางหลวงจะเร่งรัดให้เสร็จภายในปลายปี 2567

3. โครงการทางพิเศษสายพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตกของ กทพ. ระยะทาง 18.7 กม. มูลค่า 28,611.30 ล้านบาท ภาพรวมการก่อสร้างมีความคืบหน้า 24.32% เร็วกว่าแผน 3.31% คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2567 ประกอบด้วย 5 สัญญา คือ สัญญาที่ 1 ระยะทาง 6.4 กม. มี UN-CC Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ค่างาน 7,350 ล้านบาท มีความก้าวหน้า 0.82% เร็วกว่าแผน 0.36%

สัญญาที่ 2 ระยะทาง 5.3 กม. มี CTB Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ค่างาน 6,440 ล้านบาท มีความก้าวหน้า 34.33% เร็วกว่าแผน 3.80%

สัญญาที่ 3 ระยะทาง 5 กม. มี ITD-VCB Joint Venture เป็นผู้รับจ้าง ค่างาน 7,359.3 ล้านบาท มีความก้าวหน้า 1.48% เร็วกกว่าแผน 1.02%

สัญญาที่ 4 ระยะทาง 2 กม. มี บมจ.ช.การช่าง เป็นผู้รับจ้าง ค่างาน 6,636 ล้านบาท มีความก้าวหน้า 68.88% เร็วกว่าแผน 9.03% และสัญญาที่ 5 งานระบบจัดเก็บค่าผ่านทาง ระบบควบคุมจราจร และระบบสื่อสาร อยู่ระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง

@กทพ.เร่งเชื่อมแลมป์ทางขึ้น-ลง คาด ม.ค. 67 เปิดใช้สะพานคู่ขนานพระราม 9

กทพ.รายงานถึงแผนการเปิดใช้สะพานคู่ขนานสะพานพระราม 9 ว่า เนื่องจากสะพานคู่ขนาน ซึ่งอยู่ในสัญญา 4 กำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือน ต.ค. 2566 ขณะที่สัญญา 3 ที่เป็นส่วนต่อเชื่อมกันจะเสร็จในเดือน ต.ค. 2567 ดังนั้นเพื่อให้สามารถเปิดใช้ส่วนของสะพานใหม่คู่ขนานสะพานพระราม 9 ได้ก่อน กทพ.จึงได้ประสานกับผู้รับเหมาสัญญา 3 เพื่อให้วางแผนก่อสร้างในส่วนของแลมป์ทางขึ้น-ลง บริเวณสุขสวัสดิ์ เพื่อให้สามารถรับรถสู่สะพานใหม่ คู่ขนานสะพานพระราม 9 ได้ โดยคาดว่าจะสามารถเปิดใช้สะพานคู่ขนานได้ในเดือน ม.ค. 2567 เพื่อช่วยระบายรถบางส่วนจากสะพานพระราม 9 เดิมแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดของทางพิเศษเฉลิมมหานคร ช่วงบางโคล่-สะพานพระราม 9-ดาวคะนอง ที่มีปริมาณการจราจรเฉลี่ยสูงถึง 150,000 คันต่อวัน

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า กรณีการเปิดใช้สะพานใหม่คู่ขนานสะพานพระราม 9 ซึ่งอยู่ในสัญญา 4 ของโครงการทางด่วนพระราม 3-ดาวคะนองฯ ก่อนนั้น กทพ.ต้อง ทำแผนปฏิบัติให้ชัดเจนและคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ทาง การสื่อสาร ทำความเข้าใจและประชาสัมพันธ์ต้องชัดเจน เพราะโครงการยังไม่ได้แล้วเสร็จทั้งหมด กรณีปิดเส้นทางจะต้องมีแนวกั้นที่ขัดเจนและไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดจนเกิดอุบัติเหตุ

นอกจากนี้ ให้ ทล.และ กทพ.คำนึงถึงปัจจัยเรื่องอุทกภัย ในการออกแบบและบริหารจัดการโครงการ และเพิ่มความถี่ในการประชาสัมพันธ์โครงการให้เข้าถึงประชาชนให้มากที่สุดโดยเฉพาะช่องทาง Social Media การใช้ Influencer เข้ามาช่วยในการสื่อสารและการทำกิจกรรมของโครงการ เพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจให้เป็นวงกว้างและเข้าถึงทุกกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

@พัฒนาพื้นที่สร้างเชิงพาณิชย์ อุดหนุนลดค่าผ่านทางให้ประชาชน

นอกจากนี้ การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่จะต้องวางแผนการพัฒนา Business Model ที่ชัดเจน เพื่อให้หน่วยงานมีรายได้เลี้ยงตัวเองอันจะเป็นการลดภาระทางงบประมาณของภาครัฐในระยะยาว รวมถึงต้องคำนึงถึงการพัฒนา TOD (Transit Oriented Development) และโอกาสในการพัฒนาพื้นที่อสังหาริมทรัพย์ใหม่ๆ ที่โครงการสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ และนำมาอุดหนุนลดค่าผ่านทางให้ประชาชนในอนาคต

ในภาพรวมถือว่าพอใจ การก่อสร้างของทั้ง 3 โครงการ และการแก้ปัญหาจราจรบนถนนพระราม 2 สำหรับ KPI ในการบริหารจัดการก่อสร้างและการจราจร ซึ่งมีการพัฒนาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาบริหารจัดการก่อสร้างอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น












กำลังโหลดความคิดเห็น