xs
xsm
sm
md
lg

ปิด 762 ร้านอาหารญี่ปุ่น โควิด-19ทุบสถิติแตก

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



การตลาด – โควิด-19 (COVID-19) พ่นพิษใส่ร้านอาหารญี่ปุ่นรายเล็กเดี้ยง ปิดตัวระนาวมากกว่า 762 ร้าน ทุบสถิติแตกมากที่สุดเท่าที่เคยสำรวจมาโดย”เจโทร กรุงเทพฯ” ประธานเจโทรยันตลาดอาหารญี่ปุ่นยังไปได้ดีระยะยาว แค่เจอปัญหาที่ไม่คาดฝันอย่างโควิดเหมือนทุกธุรกิจ แม้ปิดมากแต่ปีนี้ก็มีเปิดรวมของเก่า 4,094 ร้าน

ใครจะเชื่อว่า ร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยที่เห็นเปิดร้านใหม่กันมากมายราวดอกเห็ด ได้ปิดตัวลงไปมากถึง 726 ร้านค้า ภายในปี2563 นี้เพียงปีเดียว

ทว่า นี่คือปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจริง จากคำกล่าวที่ยืนยันได้ของ นายอัทสึชิ ทาเคทานิ ประธาน เจโทร กรุงเทพ ที่ระบุว่า
“ จากการสำรวจตลาดร้านอาหารญี่ปุ่นในไทย ปีนี้ของเจโทร พบว่า ปีนี้ร้านอาหารญีุ่ปุ่นต้องเปิดตัวลงไปถึง 726 ร้านค้า ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ปิดมากที่สุดนับตั้งแต่เจโทรมีการสำรวจประเด็นนี้มาเมื่อปี2550 แต่ก็มีที่เปิดใหม่บ้างเช่นกันแต่หักลบแล้วก็เป็นตัวเลขนี้” 

ผลสำรวจดังกล่าวเริ่มเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ถึง 31 ตุลาคม 2563 และจากการสัมภาษณ์ 13 บริษัทและองค์กร วันที่ 1 พฤศจิกายน ถึง 10 ธันวาคม 2563


เมื่อมามองถึงเหตุผลที่ทำไมร้านอาหารญี่่ปุ่นถึงปิดตัวลงไปมากขนาดนี้ ประธานเจโทร ให้เหตุผลว่า

1.ประเด็นหลักคือ สถานการณ์โควิด-19 ที่ระบาดรุนแรงทั่วโลกและไทยด้วย ส่งผลกระทบอย่างตรงและหนักที่สุด โดยเฉพาะช่วงของการล็อกดาวน์ และแม้ว่าจะมีปลดล็อกมาแล้วแต่บางร้านก็ต้องปิดกิจการหรือเปลี่ยนเจ้าของไปโดยปริยาย เพราะไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ซึ่งมียอดขายลดลงเหลือเพียง20-30% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว, ร้านอาหารญีุ่่ปุ่นที่มียอดขายตกลงก็ยังไม่กระเตื้องขึ้นมากนัก ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายช่วงโควิดระบาดแรกทำให้ยอดขายที่กลับมายังน้อยมาก เพราะผู้บริโภคโภคบางส่่วนลดการใช้จ่ายและทำอาหารทานเองที่บ้าน ร้านที่มีลูกค้าหลักเป็นนักท่องเ ที่ยวต่างชาติอห รือใช้เป็นการเลี้ยงรับรองลูกค้า จะฟื้นตัวค่อนข้างช้า

แต่โดยรวมแล้วยอดขายในไตรมาสที่3 จะกลับมาอยู่ที่ 30% - 85% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
2. สภาพเศรษฐกิจโดยรวมที่ไม่ค่อยดีมาก่อนหน้านี้แล้ว และ กำลังซื้อที่ซบเซา

3. การแข่งขันกันเองที่รุนแรงของร้านอาหารญี่ปุ่นเพราะมีปริมาณมากขึ้น รวมทั้ง ร้านอาหารอื่นๆที่มีหลากหลายเป็นตัวเลือกไม่ได้มีแค่ร้านอาหารญี่ปุ่นเท่านั้น


อย่างไรก็ตามเมื่อดูจากปัจจัยลบเหล่านี้แล้ว ประเด็นหลักๆก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับภาพรวมเศรษฐกิจ เพราะทุกธุรกิจก็ได้รับผลกระทบจากโควิดอยูู่แล้ว ไม่ใช่แค่ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น

เพราะเมื่อดูจากมูลค่าตลาดร้านอาหารทั้งระบบในไทยปี2563นี้ที่คาดว่าจะตกลงประมาณ 9.7% - 10.6% เลยทีเดียว ส่งผลให้มูลค่าตลาดรวมเหลือที่ 3.85 3.89 แสนล้านบาท

นายอัทสึชิ กล่าวให้ความเห็นด้วยว่า แม้ว่า2563ปีนี้จะลดลงไปมาก แต่ก็ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมา ซึ่งไม่ได้เป็นเหตุจากปัจจัยลบของตัวอาหารญี่ปุ่นแต่อย่างใด แต่เป็นผลกระทบจากปัจจัยอื่นในวงกว้าง ซึ่งยังมีความมั่นใจว่า ร้านอาหารญี่ปุ่นในไทยยังเป็นตลาดที่สดใสและเป็นที่ยอมรับอยู่แล้ว ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมากอย่างต่อเนื่อง

เนื่องจากร้านอาหารญี่่ปุ่นในไทยเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2543 เพราะวัฒนธรรมการทานอาหารญี่ปุ่นมีการแพร่หลายมากขึ้น ทั้งช่วงระดับราคาก็มีหลากหลายช่วงให้เลือก ส่งผลให้ฐานลูกค้ามีทุกระดับ และขยายตัวตามไปด้วย รวมท้้งการมีศูนย์การค้าเปิดมากขี้นในต่างจังหวัดก็ทำให้อาหารญีุ่่ปุ่นสามารถเจาะเข้าไปในต่างจังหวัดได้ทั่วประเทศ ประกอบกับประเภทของอาหารญี่ปุ่นที่หลากหลายให้เลือกก็เป็นอีกปัจจัยที่เติบโตได้เช่นกัน


ทั้งนี้แม้ว่าตัวเลขปิดร้านลงปีนี้จะมีมากมาย แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นร้านประเภทร้านเดียวหรือที่มีสาขาไม่มากนัก ไม่ได้เป็นเชนใหญ่ แต่ก็มีทั้งร้านค้าที่เป็นของคนไทยและที่้เป็นของคนญี่ปุ่น

โดยในปี2563 นี้พบว่า มีร้านอาหารญี่ปุ่นทั้งหมดรวม 4,094 ร้าน เติบโตถึง 12.6% โดยแบ่งเป็นร้านที่อยู่ในกรุงเทพฯ ประมาณ 2,105 ร้าน เพ่ิ่มเพียง 5% และอยู่ต่างจังหวัด 1,989 ร้านเพิ่มมากถึง 21%

ขณะที่ภาพรวมจากการสำรวจของปีก่อนๆ ปีนี้ยังมีมากกว่าปี2562 ที่มีรวม 3,637 ร้าน ส่วนปี 2561 มีประมาณ3,004 ร้าน ซึ่งเพิ่มจากปี 2,560 มีจำนวน 2,774 ร้าน 

ทั้งนี้แนวโน้มการเติบโตในต่างจังหวัดมีมากขึ้นโดยปี 2560 ในต่างจังหวัดมีร้านอาหารญี่ปุ่นมีสัดส่วนเพียง 37.3% แต่ในปี2563 นี้สัดส่วนเพิ่มมาเป็น 48.6% แล้ว โดยประเภทร้านซูชิและภัตตาคารอาหารญี่ปุ่นในต่างจังหวัดมีมากขึ้น 2 เท่าเมื่อเทียบกับในกรุงเทพฯ ทำให้สัดส่วนกว่า 60% ของร้านอาหารประเภทนี้เป็นร้านที่อยู่ในต่างจังหวัด


สำหรับประเภทของร้านที่มากที่สุดในปีนี้คือ ซูชิ จำนวน 1.038 ร้าน เพิ่มมากถึง 50.9% โดยเพิ่มมากสุดถึง 504 ร้าน สาเหตุคือ มีการขยายตัวในรุปแบบแฟรนไชส์ที่เปิดใหม่ในต่างจังหวัดมากขึ้น, ส่วนประเภทที่เพิ่มน้อยสุดคือ โซบะกับอูด้ง มีเพียง 4 ร้าน ติดลบถึง 34.1% 

การวิเคราะห์จำนวนสาขาของแต่ละแบรนด์ พบว่าในปี2563 จำนวนร้านที่มีสาขาเดียวมีประมาณ 1,381 ร้าน กล่าวได้ว่า จำนวน 1 ใน 3 ของร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยเป็นร้านที่มีสาขาเดียว โดยสัดส่วนร้านที่มีสาขาเดียวกับร้านที่มีลักษณะเป็นเชนร้านอาหารที่มีหลายสาขาอยู่ในระดัับเดียวกันกับผลสำรวจปีที่แล้ว

สำหรับจำนวนร้านที่มีสาขาเดียวและจำนวนร้านที่มีหลายสาขานั้้่นพบว่า ตั้งแต่ปีี 2560 มี 898 แบรนด์ และเพิ่มมาเป็น 934 แบรนด์ปี2561 ส่วนปี2562 มีรวมเป็น 1,203 แบรนด์ และเป็น 1,381 แบรนด์ในปี2563

ส่วนแบรนด์ที่มี 2-5 สาขา ปี2560 มี 158 แบรนด์ , ปี2561 เพิ่มเป็น 192 แบรนด์, และยังเพิ่่มขึ้นอีกเป็น 248 ร้านในปี 2562 และทะยานสู่ 277 ในปี2563นี้

ขณะที่แบรนด์ที่มี 6-10 สาขา เมื่อปี2560 มีเพียง34 แบรนด์, เพิ่มมาเล็กน้อยเป็น 41 แบรนด์ เมื่อปี2561 และปี2562มี 45 แบรนด์ ล่าสุดปี2563นี้กลับเหลือ 38 แบรนด์

ส่วนแบรนด์ที่มี 11 – 50 สาขา พบว่าเมื่อปี 2560มีเพียง 28 ร้าน เพิ่มมาเป็น 30 ร้านในปี2561 และในปี2562มี34 แบรนด์ ล่าสุดปี2563มี 41 แบรนด์

ขณะที่แบรนด์ที่มี 50 สาขาขึ้นไป ช่วงปี 2560 – 2562 มี 7 แบรนด์


เมื่อพิจารณาจากประเด็นการกระจายตัวจะพบว่า กรุงเทพยังคงเป็นตลาดใหญ่ที่สุดโดยในปี2563 มีจำนวน 2,105 ร้าน เพิ่มขึ้นมา 491 ร้าน ส่วนปี2562กรุงเทพฯมีจำนวน 1993 ร้าน รองลงมาคือชลบุรี มี 256ร้าน ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่มากรองจากกรุงเทพ และนนทบุรีมี 256 ร้าน เชียงใหม่มี 162 ร้าน และสมุทรปราการมี 129 ร้าน

ที่น่าสนในอีกอย่างคือว่า การสำรวจในปี2561 และ 2562 ไม่พบร้านอาหารญี่ปุ่นในบางจังหวัด แต่ปีนี้กลับพบมีร้านอาหารญี่ปุ้่นดำเนินกิจการด้วย

เหตุผลหนึ่งที่ทำให้อาหารญี่ปุ่นกระจายไปทั่วประเทศ นอกจากการขยายสาขาของผู้ประกอบการเองแล้วยังเป็นผลมาจาก ยังเป็นผลมาจากระบบโลจิสติกส์ที่มีความแข็งแกร่ง.และพัฒนาระบบไปไกล รวมถึงปริมาณวัตถุดิบทางด้านอาหารญี่ปุ่นที่มีหลายระดับที่ซัพพลายเออร์สามารถจีดการนำมาสนองตอบตลาดได้


นายนาโอะ มูรามัทซึ เลขานุการ สถานฑูตญี่ปุ่น กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์การส่งออกสินค้าทางด้านอาหารจากประเทศญี่ปุ่นนำเข้ามายังประเทศไทยยังมีการเติบโตต่อเนื่องและเป็นไปในทิศทางที่ดี โดยช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคมปี 2563 พบว่า ประเทศไทยนำเข้าอาหารจากญี่ปุ่นมากถึง 34,000 ล้านเยน เติบโต 2-3% ซึ่งก็มีทั้งอาหารแห้ง อาหารสด อาหารแปรรูป หรือวัตถุดิบต่างๆ เช่น ปลาโอ ปลาซาบะ ปลาแซลมอน เป็นต้น หรือแม้แต่ปลากระป๋อง ส่วนผักผลไม้ก็จะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกันโดยเฉพาะมันเทศ อย่างไรก็ตามถ้าเป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ หรือสาเก จะลดลงเล็กน้อย 

ขณะนี้ประเทศไทยเป็นตลาดส่งออกอาหารจากญี่ปุ่นที่สำคัญสูงเป็นอันดับที่6 ของโลก และเป็นตลาดหลักที่2รองจากเวียดนามในตลาดอาเซียน

นายอัทสึชิ ประธาน เจโทร กรุงเทพฯ กล่าวด้วยว่า ถึงแม้ว่าผลกระทบจากโควิด-19 ที่เกิดขึ้นจะยังส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่อง แต่เจโทรยังคงมุ่งมั่นที่จะดำเนินโครงการต่างๆเพ่ือส่งเสริมและประชาสัมพันธ์เสน่ห์ของวัตถุดิบอาหารนำเข้าจากญี่ปุ่นแลร่วมกระตุ้นธุรกิจตลาดร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยให้กลับมาฟื้นตัวและส่งเสริมให้อาหารญี่ปุ่นได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางมากขึ้่นอีกต่อไป
ล่าสุดเมื่อเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายนที่ผ่านมา เจโทร กรุงเทพฯ ได้จัดงานเจรจาธุรกิจออนไลน์อาหารและวัตถุดิบอาหารญี่ปุ่น 2020 เพื่อให้เกิดความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการร้านอาหารญี่ปุ่นกับผู้นำเข้าวัตถุดิบต่างๆ ตัวแทนจำหน่ายผู้ค้าส่งค้าปลีกและร้านอาหารในประเทศไทย โดยมีผู้ประกอบการจากญี่ปุ่นนจำนวน 131 ราย จากไทยจำนว 66 รายเข้าร่วมงาน ทำให้เกิดการเจรจาทางธุรกิจทางออนไลน์รวม 367 คู่ 

อีกทั้งยังมีแผนจัดแคมเปญประชาสัมพันธ์เสน่ห์ของผลไม้นำเข้าจากญี่ปุ่นช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้าด้วย












กำลังโหลดความคิดเห็น