“ศักดิ์สยาม” สั่งกรมรางเร่งออกแนวทางปฏิบัติผ่อนคลายมาตรการลดระยะห่างในระบบรถไฟฟ้า ให้นั่งติดกันได้หากเป็นครอบครัวเดียวกันหรือเดินทางมาด้วยกัน เพื่อเพิ่มการรองรับผู้โดยสารเปิดเทอม เริ่มได้ 1 ก.ค. ส่วนรถ บขส.ยังให้เว้นที่นั่งเหมือนเดิม
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังร่วมกิจกรรมรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และแจกหน้ากากผ้าให้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT จำนวน 1 ล้านชิ้น ว่า ปัจจุบันรัฐบาลได้ประกาศมาตรการผ่อนคลายระยะ 4 แล้ว ตามสถานการณ์ที่ประเทศไทยสามารถควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งทำให้มีจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2 แสนคน/วันแล้ว ซึ่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ได้รับทราบถึงแนวทางผ่อนคลายมาตรการลงเพื่อลดภาระต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งทางราง ทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ
ทั้งนี้ ตามผลการศึกษาของทางการแพทย์พบว่ากรณีการเดินทางที่ใช้เวลาไม่เกิน 50 นาที โดยสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ รวมถึงใช้เจลแอกอฮอล์ ลดการสัมผัสต่างๆ ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ โอกาสที่จะแพร่ระบาดนั้นเป็นศูนย์ ซึ่งได้แจ้งแก่ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ที่จะผ่อนคลายจากที่นั่งเว้นที่นั่ง เป็น 2 ที่นั่งเว้น 1 ที่นั่ง กรณีที่ผู้โดยสารเดินทางมาด้วยกันเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน เป็นต้น
โดยได้ให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) เร่งออกแบบแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจน กรณีผู้ที่จะสามารถนั่งติดกันได้ และประชาสัมพันธ์ สื่อสารข้อมูลให้ประชาชนรับทราบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความเข้าใจผิดในการกำหนดที่นั่ง เช่น ตรวจสอบก่อนเข้าระบบ มีสติกเกอร์เป็นสัญลักษณ์ว่ามาด้วยกันสามารถนั่งติดกันได้ คาดว่าในสัปดาห์หน้าจะมีความชัดเจนและเริ่มใช้ได้ประมาณต้นเดือน ก.ค.นี้
สำหรับรถโดยสาร บขส.ที่มีระยะทางไกลและใช้เวลาในการเดินทางเกิน 50 นาทีนั้น จะต้องคงมาตรการเว้นระยะห่าง ที่นั่งเว้นที่นั่งต่อไป เนื่องจากยังไม่มั่นใจในเรื่องการติดเชื้อ ทั้งนี้เพื่อความมั่นใจว่าจะสามารถดูแลสุขภาพของประชาชนในภาพรวมได้
“ในประเทศไม่มีการติดเชื้อเกิน 14 วันแล้ว ค่อนข้างเชื่อมั่น แต่จะต้องไม่ประมาทเพราะอาจจะยังมีบุคคลที่เข้ามาในช่องทางที่ไม่ได้มีการตรวจสอบได้ ดังนั้นจะต้องคงมาตรการป้องกันต่อไปก่อน ที่ผ่านมา ประเทศไทยทำมาตรการต่างๆ อย่างเป็นระบบ ซึ่งไม่อยากให้ประเทศไทยเหมือนกับหลายประเทศที่ควบคุมไม่ได้”
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวว่า ได้เตรียมการรองรับการกำหนดมาตรการดูแลผู้โดยสารในช่วงเปิดภาคเรียนของนักเรียน นักศึกษา ต้นเดือน ก.ค.นี้ร่วมกับผู้ให้บริการระบบรางทุกราย ซึ่งปัจจุบันมีผู้โดยสารกลับมาใช้บริการรวมกว่า 800,000 คน/วัน และคาดว่าหากเปิดเทอมจะมีผู้โดยสารมากกว่า 1,000,000 เที่ยวคน ซึ่งหากยังคงมาตรการเดิมอาจทำให้เกิดการติดเชื้ออื่นๆ เช่น ไข้หวัด จากการรอบริเวณสถานีเป็นจำนวนมากในชั่วโมงเร่งด่วน ซึ่งมาตรการลดระยะห่าง โดยจำกัดความหนาแน่นในระบบรถไฟฟ้าที่ 25% ดังนั้นจะมีการผ่อนคลาย โดยอนุญาตให้นั่งในที่นั่งติดกันได้ซึ่งจะให้ในระบบมีความหนาแน่นได้ไม่เกิน 70% ส่วนในชั่วโมงเร่งด่วนจะอนุญาตให้จำกัดความหนาแน่นอยู่ที่ 50% เพื่อเพิ่มการรองรับตามจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น
“ศักดิ์สยาม” สั่งกรมรางเร่งออกแนวทางปฏิบัติผ่อนคลายมาตรการลดระยะห่างในระบบรถไฟฟ้า ให้นั่งติดกันได้หากเป็นครอบครัวเดียวกันหรือเดินทางมาด้วยกัน เพื่อเพิ่มการรองรับผู้โดยสารเปิดเทอม เริ่มได้ 1 ก.ค. ส่วนรถ บขส.ยังให้เว้นที่นั่งเหมือนเดิม
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังร่วมกิจกรรมรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และแจกหน้ากากผ้าให้แก่ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT จำนวน 1 ล้านชิ้น ว่า ปัจจุบันรัฐบาลได้ประกาศมาตรการผ่อนคลายระยะ 4 แล้ว ตามสถานการณ์ที่ประเทศไทยสามารถควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งทำให้มีจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2 แสนคน/วันแล้ว ซึ่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ได้รับทราบถึงแนวทางผ่อนคลายมาตรการลงเพื่อลดภาระต้นทุนให้แก่ผู้ประกอบการ ทั้งทางราง ทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ
ทั้งนี้ ตามผลการศึกษาของทางการแพทย์พบว่ากรณีการเดินทางที่ใช้เวลาไม่เกิน 50 นาที โดยสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ รวมถึงใช้เจลแอกอฮอล์ ลดการสัมผัสต่างๆ ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ โอกาสที่จะแพร่ระบาดนั้นเป็นศูนย์ ซึ่งได้แจ้งแก่ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ที่จะผ่อนคลายจากที่นั่งเว้นที่นั่ง เป็น 2 ที่นั่งเว้น 1 ที่นั่ง กรณีที่ผู้โดยสารเดินทางมาด้วยกันเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน เป็นต้น
โดยได้ให้กรมการขนส่งทางราง (ขร.) เร่งออกแบบแนวทางปฏิบัติให้ชัดเจน กรณีผู้ที่จะสามารถนั่งติดกันได้ และประชาสัมพันธ์ สื่อสารข้อมูลให้ประชาชนรับทราบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความเข้าใจผิดในการกำหนดที่นั่ง เช่น ตรวจสอบก่อนเข้าระบบ มีสติกเกอร์เป็นสัญลักษณ์ว่ามาด้วยกันสามารถนั่งติดกันได้ คาดว่าในสัปดาห์หน้าจะมีความชัดเจนและเริ่มใช้ได้ประมาณต้นเดือน ก.ค.นี้
สำหรับรถโดยสาร บขส.ที่มีระยะทางไกลและใช้เวลาในการเดินทางเกิน 50 นาทีนั้น จะต้องคงมาตรการเว้นระยะห่าง ที่นั่งเว้นที่นั่งต่อไป เนื่องจากยังไม่มั่นใจในเรื่องการติดเชื้อ ทั้งนี้เพื่อความมั่นใจว่าจะสามารถดูแลสุขภาพของประชาชนในภาพรวมได้
“ในประเทศไม่มีการติดเชื้อเกิน 14 วันแล้ว ค่อนข้างเชื่อมั่น แต่จะต้องไม่ประมาทเพราะอาจจะยังมีบุคคลที่เข้ามาในช่องทางที่ไม่ได้มีการตรวจสอบได้ ดังนั้นจะต้องคงมาตรการป้องกันต่อไปก่อน ที่ผ่านมา ประเทศไทยทำมาตรการต่างๆ อย่างเป็นระบบ ซึ่งไม่อยากให้ประเทศไทยเหมือนกับหลายประเทศที่ควบคุมไม่ได้”
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) กล่าวว่า ได้เตรียมการรองรับการกำหนดมาตรการดูแลผู้โดยสารในช่วงเปิดภาคเรียนของนักเรียน นักศึกษา ต้นเดือน ก.ค.นี้ร่วมกับผู้ให้บริการระบบรางทุกราย ซึ่งปัจจุบันมีผู้โดยสารกลับมาใช้บริการรวมกว่า 800,000 คน/วัน และคาดว่าหากเปิดเทอมจะมีผู้โดยสารมากกว่า 1,000,000 เที่ยวคน ซึ่งหากยังคงมาตรการเดิมอาจทำให้เกิดการติดเชื้ออื่นๆ เช่น ไข้หวัด จากการรอบริเวณสถานีเป็นจำนวนมากในชั่วโมงเร่งด่วน ซึ่งมาตรการลดระยะห่าง โดยจำกัดความหนาแน่นในระบบรถไฟฟ้าที่ 25% ดังนั้นจะมีการผ่อนคลาย โดยอนุญาตให้นั่งในที่นั่งติดกันได้ซึ่งจะให้ในระบบมีความหนาแน่นได้ไม่เกิน 70% ส่วนในชั่วโมงเร่งด่วนจะอนุญาตให้จำกัดความหนาแน่นอยู่ที่ 50% เพื่อเพิ่มการรองรับตามจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น