xs
xsm
sm
md
lg

BGRIM รุกตลาดโซลาร์รูฟท็อป นำร่องเชื่อมสมาร์ทกริด-ESS

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



“บี.กริม” รุกธุรกิจโซลาร์รูฟท็อป ป้อนลูกค้าทั้งในและนอกนิคมฯ พร้อมผุดโครงการนำร่องเชื่อมโยงโซลาร์รูฟท็อปกับระบบสมาร์ดกริดและระบบกักเก็บพลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพจ่ายไฟ เผยโซลาร์ลอยน้ำเขื่อนสิริธรเลื่อนจ่ายไฟไปต้นปี 64 เล็กน้อย

นางปรียนาถ สุนทรวาทะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด(มหาชน) หรือ BGRIM เปิดเผยว่า บริษัทฯ เตรียมพร้อมในการขยายการลงทุนติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) เพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมที่มีความต้องการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเพิ่มขึ้น โดยจะติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปควบคู่สมาร์ทกริดในอนาคต ขณะนี้อยู่ระหว่างหาพันธมิตรร่วมทุนด้วย

ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ดำเนินการติดตั้งให้แก่ลูกค้าไปบ้างแล้ว เช่น ไอคอนสยาม และสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ เป็นต้น คิดเป็นกำลังการผลิตโซลาร์รูฟท็อปในมือ ประมาณ 26 เมกะวัตต์ ในจำนวนนี้จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) แล้ว 8 เมกะวัตต์ ส่วนที่เหลือยังอยู่ในขั้นตอนการขอใบอนุญาตต่างๆ

นางปรียนาถกล่าวว่า บริษัทฯ อยู่ระหว่างเตรียมจัดทำโครงการนำร่อง (Pilot Project) ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) และระบบสมาร์ทกริด ในเบื้องต้นมีแผนจะดำเนินการในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ และในนิคมฯ อมตะ เบียนหัว ที่ประเทศเวียดนามด้วย เนื่องจากรัฐบาลเวียดนามเปิดกว้างให้สามารถขายไฟฟ้าเชื่อมเข้าสายส่งหลัก (Grid) ได้

สำหรับโครงการนำร่อง (Pilot Project) จะมีขนาดไม่ใหญ่มาก ใกล้เคียงกับโครงการที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) ดำเนินการร่วมกับบีซีพีจี และพาวเวอร์เล็ดเจอร์ ทดลองติดตั้งลักษณะ Peer to Peer (P2P) ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีกำลังผลิต 12 เมกะวัตต์

การรุกเข้าสู่ธุรกิจให้บริการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปนั้น ถือเป็นการเตรียมความพร้อมของบริษัทฯ ที่จะปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้สอดรับกับการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานอย่างรวดเร็ว ที่ผ่านมาก็มีลูกค้าในนิคมฯ ที่ซื้อไฟฟ้าและไอน้ำจากบริษัทมาขอติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป โดยมองว่าวัตถุประสงค์หลักไม่ได้ต้องการลดรายจ่ายค่าไฟฟ้า แต่ลูกค้าต้องการภาพละการใช้พลังงานสะอาด (clean energy) มากกว่า ดังนั้น บริษัทเองก็ต้องเตรียมพร้อมในเรื่องนี้ เพราะในอนาคตต้นทุนโซลาร์เซลล์จะถูกลงเรื่อยๆ

ส่วนความคืบหน้าโครงการโซลาร์ลอยน้ำเขื่อนสิรินธร ขนาด 45 เมกะวัตต์ คาดว่าจะต้องเลื่อนกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) จากแผนเดิม ธ.ค. 2563 ออกไปประมาณ 2-3 เดือน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2563 จนนำไปสู่การออกมาตรการล็อกดาวน์ทั้งในประเทศไทย และประเทศจีนที่เป็นพันธมิตรร่วมลงทุนในโครงการนี้ซึ่งไม่สามารถดำเนินการจัดส่งเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ เข้ามาได้ตามกำหนด ส่งผลให้การก่อสร้างโครงการฯ ต้องขยับออกไป โดยส่งเรื่องให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พิจารณา เชื่อว่า กฟผ.เข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้น คงไม่มีปัญหาในการเจรจาเลื่อนกำหนด COD เพราะเป็นเหตุสุดวิสัย ส่วนในแง่ของเม็ดเงินลงทุนในโครงการนี้

ทั้งนี้ กิจการค้าร่วม บี.กริม เพาเวอร์ ‘BGRIM’-เอ็นเนอร์ยี่ ไชน่า เป็นผู้ชนะการประมูลโครงการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ติดตั้งบนทุ่นลอยน้ำกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธรร่วมกับ กฟผ. กำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ มูลค่าโครงการกว่า 842 ล้านบาท
กำลังโหลดความคิดเห็น