ผู้จัดการรายวัน 360 - ตลาดงบโฆษณามีนาคมเดือนเดียว ยังตก 6% ส่งผลให้ไตรมาสแรกปี 61 นี้ยังร่วง 6% เช่นกัน มูลค่ารวมทะลุ 24,691 ล้านบาท เผยสื่อนิตยสารวูบหนักสุด 37% ส่วนสื่อทีวีดิจิตอลเติบโตมากสุด 21%
รายงานจาก บริษัท นีลเส็น ประเทศไทย จำกัด ระบุว่า ตลาดงบโฆษณาประจำเดือนมีนาคม เดือนเดียวปี 2561 มีมูลค่ารวม 9,491 ล้านบาท ติดลบ 6.53% จากเดือนเดียวกันปีที่แล้ว ที่มีมูลค่า 10,154 ล้านบาท โดยสื่อที่ตกลง คือ สื่อทีวี มูลค่า 3,703 ล้านบาท ติดลบ 15.94% จากเดิมมี 4,405 ล้านบาท, สื่อเคเบิลทีวีดาวเทียม มูลค่า 208 ล้านบาท ติดลบ 29.97% จากเดิมมี 297 ล้านบาท, สื่อหนังสือพิมพ์ มูลค่า 547 ล้านบาท ติดลบ 28.96% จากเดิมมี 770 ล้านบาท, สื่อนิตยสาร มูลค่า 117 ล้านบาท ติดลบ 40.61% จากเดิมมี 197 ล้านบาท
สื่อโรงหนัง มูลค่า 517 ล้านบาท ติดลบ 16.88% จากเดิมมี 622 ล้านบาท, สื่อเคลื่อนที่ มูลค่า 528 ล้านบาท ติดลบ 14.42% จากเดิมมี 617 ล้านบาท, สื่ออินเทอร์เน็ต มูลค่า 121 ล้านบาท ติดลบ 20.39% จากเดิมมี 152 ล้านบาท
ขณะที่สื่อที่เติบโต คือ สื่อทีวีดิจิตอล มูลค่า 2,662 ล้านบาท เติบโต 28.10% จากเดิมมี 2,078 ล้านบาท, สื่อวิทยุ มูลค่า 419 ล้านบาท เติบโต 4.23% จากเดิมมี 402 ล้านบาท, สื่อกลางแจ้ง มูลค่า 567 ล้านบาท เติบโต 8.62% จากเดิมมี 522 ล้านบาท และสื่ออินสโตร์ มูลค่า 101 ล้านบาท เติบโต 8.60% จากเดิมมี 93 ล้านบาท
สำหรับตลาดรวมงบโฆษณาในช่วงไตรมาสแรกของปี 2561 พบว่า มีมูลค่ารวม 24,691 ล้านบาท ติดลบ 6.86% จากเดิมมีมูลค่า 26,510 ล้านบาท โดยสื่อที่มีมูลค่าติดลบคือ สื่อทีวีเดิม มูลค่า 9,239 ล้านบาท ติดลบ 18.69% จากกเดิมมี 11,363 ล้านบาท, สื่อเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียม มูลค่า 585 ล้านบาท ติดลบ 26.60% จากเดิมมี 797 ล้านบาท, สื่อหนังสือพิมพ์ มูลค่า 1,455 ล้านบาท ติดลบ 28.85% จากเดิมมี 2,045 ล้านบาท
สื่อนิตยสาร มูลค่า 323 ล้านบาท ติดลบ 37.76% จากเดิมมี 519 ล้านบาท, สื่อเคลื่อนที่ มูลค่า 1,538 ล้านบาท ติดลบ 7.90% จากเดิมมี 1,670 ล้านบาท, สื่ออินสโตร์ มูลค่า 244 ล้านบาท ติดลบ 2.79% จากเดิมมี 251 ล้านบาท และสื่ออินเทอร์เน็ต มูลค่า 351 ล้านบาท ติดลบ 5.14% จากเดิมมี 370 ล้านบาท
ส่วนช่วงไตรมาสแรกปี 2561 สื่อที่มีการเติบโตคือ สื่อ ทีวีดิจิตอล มูลค่า 6,538 ล้านบาท เติบโต 21.21% จากเดิมมี 5,394 ล้านบาท, สื่อวิทยุ มูลค่า 1,068 ล้านบาท เติบโต 1.71% จากเดิมมี 1,050 ล้านบาท, สื่อโรงหนัง มูลค่า 1,712 ล้านบาท เติบโต 9.46% จากเดิมมี 1,564 ล้านบาท และสื่อกลางแจ้ง มูลค่า 1,635 ล้านบาท เติบโต 9.81% จากเดิมมี 1,489 ล้านบาท
รายงานยังระบุด้วยว่า บริษัทที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด 3 อันดับแรกช่วงเดือนมีนาคมปี 2561 คือ 1.ยูนิลีเวอร์ไทย ใช้งบ 361 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 308 ล้านบาท, 2.โตโยต้า มอเตอร์ส ประเทศไทย ใช้งบ 200 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 232 ล้านบาท และ 3. พีแอนด์จี ประเทศไทย ใช้งบ 196 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 172 ล้านบาท
ส่วนบริษัท 3 อันดับแรกใช้งบโฆษณาสูงสุดในช่วงไตรมาสแรกปี 2561 เทียบกับ 2560 คือ 1. ยูนิลีเวอร์ประเทศไทย ใช้งบ 935 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 862 ล้านบาท 2. ทีวีไดเร็คส์ ใช้งบ 680 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้เพียง 72 ล้านบาท และ 3. พีแอนด์จี ประเทศไทย ใช้งบ 531 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 569 ล้านบาท
สำหรับ 3 แบรนด์สินค้าที่ใช้งบโฆษณาสูงสุดเดือนมีนาคม 2561 คือ 1. ทีวีไดเร็คเซลส์ ใช้งบ 159 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 22 ล้านบาท 2. มือถือซัมซุง ใช้งบ 100 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 18 ล้านบาท 3. โค้ก ใช้งบ 92 ล้านบาท ลดลงจากเดิมที่ใช้ 93 ล้านบาท
ส่วน 3 แบรนด์สินค้าใช้งบสูงสุดไตรมาสแรกปี 2561 คือ 1. ทีวีไดเร็คเซลส์ ใช้งบ 680 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 72 ล้านบาท 2. ธนาคารออมสิน ใช้งบ 246 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 96 ล้านบาท 3. โค้ก ใช้งบ 227 ล้านบาท เพิ่มจากเดิมที่ใช้ 225 ล้านบาท