ผู้จัดการรายวัน 360 - เศรษฐกิจฉุดลูกค้ารูดซิปโฆษณา หันพึ่งโปรโมชัน ณ จุดขายเรียก มีเดียเอเยนซีปาดเหงื่อทำงานหนักขึ้น ลูกค้าหวังผลลงโฆษณามากกว่าเดิม สื่อรองยังโตได้แต่สื่อหลักมีสะเทือน “มีเดีย อินไซต์” ฟันธงสิ้นปีอุตสาหกรรมโฆษณาร่วง 15% ตกต่ำสุดในรอบ 10 ปี มูลค่าจริงคาดไม่เกิน 70,000 ล้านบาท จาก 110,000 ล้านบาท
นายภวัต เรืองเดชวรชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มีเดีย อินไซต์ จำกัด ในเครือ บริษัท มีเดียอินเทลลิเจนซ์ หรือ MI ผู้ให้บริการวางกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาด และซื้อขายสื่อโฆษณาให้แก่ค่ายรถยนต์ เปิดเผยว่า ภาพรวมการใช้งบซื้อสื่อโฆษณาของลูกค้าในช่วงครึ่งปีแรกพบว่าลดลงในทุกกลุ่มสินค้า รวมถึงกลุ่มหลักอย่างสินค้า FMCG และกลุ่มรถยนต์ ที่ลดลงไปกว่า 10-15% ส่วนสำคัญมาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ 1. เศรษฐกิจที่ไม่ดี 2. กำลังซื้อไม่มีเงิน ทำให้ขายของไม่ได้ ส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีแรกจะเห็นการทำโปรโมชัน ณ จุดขาย กระตุ้นกำลังซื้อเพื่อสร้างยอดขายเป็นหลัก
ส่วนครึ่งปีหลังตลาดโฆษณาน่าจะเหมือนครึ่งปีแรกติดลบที่ 10% ส่งผลให้ตลอดทั้งปีนี้ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณามูลค่า 110,000 ล้านบาท จากตัวเลขของทางนีลเส็นที่สำรวจไว้ น่าจะตกลง 10-15% ต่ำสุดในรอบ 10 ปี ขณะที่ตัวเลขจริงในตลาดโฆษณาหลังหักลบส่วนลดต่างๆ ออกไปแล้วประมาณ 70,000 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งแนวโน้มปีหน้าน่าจะดีขึ้นบ้าง ในของของบริษัทเองนั้นเนื่องจากมุ่งเน้นการทำเอนเกจเมนต์ให้แก่ลูกค้า รวมถึงมีฐานลูกค้าใหม่เข้ามาเพิ่ม ปีนี้เติบโต 20% จากรายได้ 200 ล้านบาทปี2558
ในส่วนของลูกค้าที่ซื้อสื่อโฆษณา เปลี่ยนแปลงไปใน 2 เรื่องหลัก คือ 1. การเลือกซื้อสื่อ จากเดิมที่จะเน้นไปกับสื่อหลักอย่างทีวี โดยเฉพาะช่อง 3 และช่อง 7 เริ่มหันมาให้ความสนใจกับช่องทีวีดิจิตอลมากขึ้น ดูจากคอนเทนต์ที่น่าสนใจตรงกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงราคาโฆษณาที่ถูกกว่ากัน 3-5 เท่า โดยที่ทีวียังคงเป็นสื่อสำคัญในการเข้าถึงกลุ่มแมสแต่จะถูกลดบทบาทลง
จากการที่เริ่มจำกัดการใช้เงินโฆษณา ส่งผลให้สื่อรองเป็นสื่อที่ได้รับความสนใจมากขึ้นแทน ไม่ว่าจะเป็น สื่อออนไลน์โต 30% สื่อเอาต์ออฟโฮมโต 15% และสื่อในโรงภาพยนตร์โต 30% ซึ่งทั้ง 3 สื่อนี้เป็นสื่อเติบโตได้ดีทั้งในสถานการณ์ปกติและในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจไม่ดีก็ตาม และ 2. การให้ความสำคัญต่อกลุ่มเป้าหมาย เดิมการซื้อสื่อโฆษณาเพียงวางกรอบกว้างๆ สำหรับเจาะกลุ่มเป้าหมาย แต่ปัจจุบันเจาะลึกถึงอินไซด์ผู้บริโภคมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพฤติกรรม ความชื่นชอบ และไลฟ์สไตล์ เป็นต้น
“รูปแบบการเลือกซื้อสื่อโฆษณาของลูกค้า ปัจจุบันหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องอินไซด์ของผู้บริโภคเป็นหลัก เป็นโจทย์ในการนำมาใช้เพื่อวางแผนการเลือกซื้อสื่อโฆษณา ขณะเดียวกัน รูปแบบโฆษณาจะไม่ใช่เพียงการลงสปอตโฆษณาอย่างที่ผ่านมา แต่จะต้องเป็นในรูปแบบของการเอนเกจเมนต์ หรือมีการซื้อโฆษณาแบบเป็นแพกเกจ เพิ่มมูลค่าและประสิทธิภาพในการเลือกซื้อสื่อนั้นๆ มากขึ้น มีการเอนเกจแบรนด์สินค้าเข้าไปสู่คอนเทนต์ในแต่ละรายการมากขึ้น รวมถึงการทำแบรนด์เอจคอนเทนต์มากขึ้น”
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 5-6 เดือนที่ผ่านมา พบว่า 5 กลุ่มหลักที่มีการใช้งบโฆษณามากสุด คือ 1. หน่วยงานภาครัฐ 2. ยานยนต์ 3. ซอฟต์ดริงก์ 4. ประกันภัย และ 5. เทเลคอมมูนิเคชัน ตามลำดับ โดยเฉพาะในส่วนของรถยนต์นั้น 5 อันดับที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด ได้แก่ 1. โตโยต้า 1,200 ล้านบาท 2. อีซูซุ 734 ล้านบาท 3. มาสด้า 404 ล้านบาท 4. ฮอนด้า 332 ล้านบาท และ 5. นิสสัน 320 ล้านบาท
นายภวัต เรืองเดชวรชัย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มีเดีย อินไซต์ จำกัด ในเครือ บริษัท มีเดียอินเทลลิเจนซ์ หรือ MI ผู้ให้บริการวางกลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาด และซื้อขายสื่อโฆษณาให้แก่ค่ายรถยนต์ เปิดเผยว่า ภาพรวมการใช้งบซื้อสื่อโฆษณาของลูกค้าในช่วงครึ่งปีแรกพบว่าลดลงในทุกกลุ่มสินค้า รวมถึงกลุ่มหลักอย่างสินค้า FMCG และกลุ่มรถยนต์ ที่ลดลงไปกว่า 10-15% ส่วนสำคัญมาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ 1. เศรษฐกิจที่ไม่ดี 2. กำลังซื้อไม่มีเงิน ทำให้ขายของไม่ได้ ส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีแรกจะเห็นการทำโปรโมชัน ณ จุดขาย กระตุ้นกำลังซื้อเพื่อสร้างยอดขายเป็นหลัก
ส่วนครึ่งปีหลังตลาดโฆษณาน่าจะเหมือนครึ่งปีแรกติดลบที่ 10% ส่งผลให้ตลอดทั้งปีนี้ภาพรวมอุตสาหกรรมโฆษณามูลค่า 110,000 ล้านบาท จากตัวเลขของทางนีลเส็นที่สำรวจไว้ น่าจะตกลง 10-15% ต่ำสุดในรอบ 10 ปี ขณะที่ตัวเลขจริงในตลาดโฆษณาหลังหักลบส่วนลดต่างๆ ออกไปแล้วประมาณ 70,000 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งแนวโน้มปีหน้าน่าจะดีขึ้นบ้าง ในของของบริษัทเองนั้นเนื่องจากมุ่งเน้นการทำเอนเกจเมนต์ให้แก่ลูกค้า รวมถึงมีฐานลูกค้าใหม่เข้ามาเพิ่ม ปีนี้เติบโต 20% จากรายได้ 200 ล้านบาทปี2558
ในส่วนของลูกค้าที่ซื้อสื่อโฆษณา เปลี่ยนแปลงไปใน 2 เรื่องหลัก คือ 1. การเลือกซื้อสื่อ จากเดิมที่จะเน้นไปกับสื่อหลักอย่างทีวี โดยเฉพาะช่อง 3 และช่อง 7 เริ่มหันมาให้ความสนใจกับช่องทีวีดิจิตอลมากขึ้น ดูจากคอนเทนต์ที่น่าสนใจตรงกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงราคาโฆษณาที่ถูกกว่ากัน 3-5 เท่า โดยที่ทีวียังคงเป็นสื่อสำคัญในการเข้าถึงกลุ่มแมสแต่จะถูกลดบทบาทลง
จากการที่เริ่มจำกัดการใช้เงินโฆษณา ส่งผลให้สื่อรองเป็นสื่อที่ได้รับความสนใจมากขึ้นแทน ไม่ว่าจะเป็น สื่อออนไลน์โต 30% สื่อเอาต์ออฟโฮมโต 15% และสื่อในโรงภาพยนตร์โต 30% ซึ่งทั้ง 3 สื่อนี้เป็นสื่อเติบโตได้ดีทั้งในสถานการณ์ปกติและในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจไม่ดีก็ตาม และ 2. การให้ความสำคัญต่อกลุ่มเป้าหมาย เดิมการซื้อสื่อโฆษณาเพียงวางกรอบกว้างๆ สำหรับเจาะกลุ่มเป้าหมาย แต่ปัจจุบันเจาะลึกถึงอินไซด์ผู้บริโภคมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพฤติกรรม ความชื่นชอบ และไลฟ์สไตล์ เป็นต้น
“รูปแบบการเลือกซื้อสื่อโฆษณาของลูกค้า ปัจจุบันหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องอินไซด์ของผู้บริโภคเป็นหลัก เป็นโจทย์ในการนำมาใช้เพื่อวางแผนการเลือกซื้อสื่อโฆษณา ขณะเดียวกัน รูปแบบโฆษณาจะไม่ใช่เพียงการลงสปอตโฆษณาอย่างที่ผ่านมา แต่จะต้องเป็นในรูปแบบของการเอนเกจเมนต์ หรือมีการซื้อโฆษณาแบบเป็นแพกเกจ เพิ่มมูลค่าและประสิทธิภาพในการเลือกซื้อสื่อนั้นๆ มากขึ้น มีการเอนเกจแบรนด์สินค้าเข้าไปสู่คอนเทนต์ในแต่ละรายการมากขึ้น รวมถึงการทำแบรนด์เอจคอนเทนต์มากขึ้น”
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 5-6 เดือนที่ผ่านมา พบว่า 5 กลุ่มหลักที่มีการใช้งบโฆษณามากสุด คือ 1. หน่วยงานภาครัฐ 2. ยานยนต์ 3. ซอฟต์ดริงก์ 4. ประกันภัย และ 5. เทเลคอมมูนิเคชัน ตามลำดับ โดยเฉพาะในส่วนของรถยนต์นั้น 5 อันดับที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด ได้แก่ 1. โตโยต้า 1,200 ล้านบาท 2. อีซูซุ 734 ล้านบาท 3. มาสด้า 404 ล้านบาท 4. ฮอนด้า 332 ล้านบาท และ 5. นิสสัน 320 ล้านบาท