xs
xsm
sm
md
lg

แก้ไม่ได้! ใช้เหรียญโดยสารเชื่อมม่วง-น้ำเงินจ่ายสองต่อ รฟม.แนะใช้ระบบตั๋วร่วม "MRT PLUS"

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


รฟม.จัดอีเวนต์ แนะนำรายละเอียดรถไฟฟ้าสายสีม่วง บางใหญ่-เตาปูน เผยเปิดทดลอง 2 สัปดาห์มีประชาชนเข้าร่วมเกือบ 4 หมื่นคนแล้ว “ผู้ว่าการ รฟม.” แนะผู้โดยสารเปลี่ยนบัตรเป็น MRT PLUS เชื่อมรอยต่อม่วง-น้ำเงิน ไม่เสียค่าแรกเข้า ส่วนใช้เหรียญต้องจ่ายแรกเข้า 2 ระบบ

นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่าภายหลังเปิดงาน “Thankful MRT Purple Line” วันนี้ (20 มิ.ย.) ว่าเป็นกิจกรรมที่ รฟม.จัดขึ้นเพื่อแสดงความขอบคุณประชาชนในพื้นที่ตามแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-เตาปูน
ณ ลานโปรโมชัน ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต ระหว่างวันที่ 20-26 มิ.ย. โดยจะเป็นการประชาสัมพันธ์ข้อมูลรถไฟฟ้าสายสีม่วงทั้งรูปแบบและการใช้บัตรโดยสาร โดยจากการเปิดให้ประชาชนร่วมทดลองใช้บริการเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีประชาชนร่วมเกือบ 40,000 คนแล้ว และในเดือน ก.ค.จะเปิดทดลองในช่วงเย็น (16.00-20.00 น.) เพิ่มจากเดือน มิ.ย.ที่ให้ร่วมทดลองในช่วงเช้า (07.00-09.00 น.) เท่านั้น

ทั้งนี้ การใช้บริการระหว่างสายสีม่วงเชื่อมต่อสายเฉลิมรัชมงคลนั้น ผู้โดยสารที่ใช้บัตรสมาร์ทการ์ด (MRT PLUS) จะมีความสะดวกมากเพราะจะไม่เสียค่าแรกเข้าระบบ กรณีใช้บริการจากสถานีเตาปูนของสายสีม่วง เชื่อมต่อสถานีบางซื่อ ของสายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งในช่วงแรก รฟม.จะจัดเมล์และรถไฟไว้บริการในระหว่างที่เดินรถช่วงรอยต่อ (เตาปูน-บางซื่อ) ยังไม่เปิดบริการ โดยบัตร MRT PLUSจะมีเวลา 1 ชม. สำหรับการเชื่อมต่อระหว่างสถานีดังกล่าว ส่วนเหรียญโดยสารไม่สามารถทำได้ จะต้องจ่ายค่าแรกเข้า เพราะจะต้องแยกเหรียญของแต่ละสาย ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้โดยสารนำบัตรโดยสาร MRT ในปัจจุบัน เปลี่ยนเป็น MRT PLUS ซึ่งไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่วนผู้ซื้อบัตรใหม่จะได้รับบัตร MRT PLUS อยู่แล้ว

เปิด 6 ส.ค. สถานียังโล่งไร้ร้านค้า รอสรุปแนวเจรจา BEM

สำหรับการบริการ ร้านค้าต่างๆ ในสถานีสายสีม่วงนั้น นายพีระยุทธกล่าวว่า ในวันที่ 6 ส.ค. 2559 ซึ่งจะเปิดเดินรถอย่างเป็นทางการ จะยังไม่มีร้านค้าในสถานี เนื่องจากในช่วงแรก รฟม.ต้องการเน้นการให้บริการเดินรถให้มีความสะดวกมากที่สุดก่อน ส่วนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ใน 16 สถานีนั้น ขณะนี้ รฟม.ได้มีการศึกษาเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสม ระหว่างการเปิดระมูล หรือ เจรจาให้บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ผู้เดินรถสายสีม่วง ซึ่งจะสรุปเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.ในการประชุมเดือน ก.ค.นี้

โดหลักการสัญญาพัฒนาเชิงพาณิชย์ในสถานีรถไฟฟ้านั้น การเปิดประมูลหากเป็นคนละบริษัทกับผู้เดินรถ อาจจะมีความเสี่ยงในการดำเนินงานซึ่งอาจจะกระทบต่อการเดินรถความปลอดภัยในการระบบเดินรถได้ ขณะที่หากเป็นผู้เดินรถรับงานพัฒนาเชิงพาณิชย์ในสถานีไปด้วยจะสะดวกมากกว่า แต่จะต้องเสนอบอร์ด รฟม.พิจารณา และจะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 เนื่องจากประเมินมูลค่าลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท ซึ่งหากเลือกเจรจากับผู้เดินรถ รฟม.จะต้องตั้งคณะกรรมการ มาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 เพราะจะเข้าสู่ขั้นตอนเจรจาเพิ่มเติมในสัญญาเดิม

“หลักการพิจารณาตามเหตุผล ความเหมาะสม กรณีคนพัฒนาเชิงพาณิชย์เป็นคนละรายกับผู้เดินรถ ในทางปฏิบัติอาจมีปัญหา เช่น กำหนดจุดตั้งร้านค้า กระทบต่อการให้บริการความคล่องตัวของผู้โดยสารไม่ได้ การจัดสรรพื้นที่จะต้องให้ผู้เดินรถร่วมพิจารณาด้วยซึ่งยุ่งยาก และอาจจะกระทบต่อการเดินรถ ความปลอดภัยต่างๆ ได้ เรื่องนี้ไม่ได้มีการเอื้อประโยชน์ใคร แต่พิจารณาตามแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม และสัญญาพัฒนาเชิงพาณิชย์ อาจจะเป็นระยะยาว 10 ปี, 15 ปี ไม่ยาวเท่าสัญญาจ้างเดินรถ ส่วนศูนย์ซ่อมบำรุง (เดปโป้) สายสีม่วง นั้น รฟม.จะแยกเป็นอีกโครงการ ซึ่งจะพิจารณาต่อไป”
กำลังโหลดความคิดเห็น