- ECB มีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมอันต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.5% โดยประธาน ECB ระบุว่า ยังคงจับตาตลาดเงินอย่างใกล้ชิด ซึ่งอาจมีนัยสำคัญต่อจุดยืนของนโยบายการเงินและคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะยังคงอยู่ที่ระดับปัจจุบันหรือต่ำลงไปอีกระยะหนึ่ง
- ยอดขายรถยนต์ในสหรัฐพุ่งขึ้น 17 % ในเดือน ส.ค. โดยมียอดขาย 16.1 ล้านคันต่อปี (สูงสุดนับตั้งแต่ ต.ค. 2007) และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่เป็น 15.8 ล้านคัน
- รอยเตอร์ รายงานว่า นักกลยุทธ์ลงทุน 60 รายระบุว่า ดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินเดียวที่จะได้รับแรงหนุนในระยะใกล้เมื่อใดก็ตามที่ FED เริ่มต้นลดมาตรการ QE3 โดยยูโรจะไม่แข็งค่าขึ้นมากนักเนื่องจากวิกฤติหนี้ยูโรโซนยังไม่ได้รับการคลี่คลายอย่างสมบูรณ์ ถึงแม้มีสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนกำลังจะหลุดพ้นออกจากภาวะถดถอยก็ตาม
- OECD เปิดเผยว่า ปัจจัยเสี่ยงหลักในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ คือการที่FED จะลดขนาดของมาตรการ QE ทั้งนี้ คาดว่าในปีนี้เศรษฐกิจของสหรัฐจะขยายตัว1.7% ปรับลดจากคาดการณ์เดิมที่ 1.9% ต่อปี ขณะที่จีนจะขยายตัว 7.4% ปรับลดจากคาดการณ์เดิมที่ 7.8% ต่อปี โดยมองว่าจีนได้ผ่านพ้นช่วงต่าที่สุดไปแล้วและเริ่มที่จะฟื้นตัวต่อไปในช่วงครึ่งหลังปีนี้ ถึงแม้ว่าการขยายตัวอาจจะอยู่ในระดับไม่สูงนัก
- HSBC รายงานว่า ดัชนีคอมโพสิตภาคบริการและภาคการผลิตในตลาดเกิดใหม่พุ่งแตะระดับ 50.7 ในเดือน ส.ค. (ต่ำสุดเป็นอันดับ 3 ในรอบกว่า 4 ปี) จาก 49.5 ในเดือน ก.ค. ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมทรงตัว และภาคบริการยังคงชะลอตัว
- ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงนโยบายการเงินโดยยืนยันที่จะเพิ่มฐานเงินหรือเงินสดและเงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับ BOJ ในอัตรา 60-70 ล้านล้านเยนต่อปี และพร้อมที่จะดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติม ถ้าการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามแผนของรัฐบาลหรือความเสี่ยงอื่นๆ เป็นปัจจัยขัดขวางเศรษฐกิจและการบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อ 2% แต่ในขณะนี้ยังไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องดำเนินมาตรการกระตุ้นเพิ่ม
- ธ.กลางมาเลเซีย ตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 3.00% ตามความคาดหมายของตลาด ขณะที่เงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำที่ 1.7%
- มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส ลดอันดับความน่าเชื่อถือห้นกู้ด้อยสิทธิของธนาคารรายใหญ่ 3 แห่งของไทย ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ กสิกรไทย และไทยพาณิชย์ หลังจากได้เริ่มต้นทบทวนอันดับดังกล่าวในวันที่ 3 มิ.ย. ที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากการปรับเปลี่ยนปัจจัยในการคำนวณใหม่ ซึ่งให้น้ำหนักต่อการสนับสนุนของภาครัฐมากขึ้นหากธนาคารเกิดปัญหา โดยการเปลี่ยนแปลง มีดังนี้
- ธนาคารกรุงเทพ จาก Baa1 ลดลงมาอยู่ที่ C-/Baa2
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จาก Baa1 ลดลงมาอยู่ที่ C-/Baa2
- ธนาคารกสิกรไทย จาก Baa1 ลดลงมาอยู่ที่ C-/Baa2
- ม.หอการค้าไทย ระบุว่า เตรียมปรับคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในปีนี้ลงเหลือ 3.5-4.0% (เดิม 4.0-4.5%) โดยมีดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ส.ค.ที่ 79.3 จาก 80.3 ใน ก.ค. ซึ่งเป็นการปรับลดลง 5 เดือนติดต่อกันและต่ำสุดในรอบ 9 เดือน สะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจที่น่าเป็นห่วงมากขึ้น กับมีโอกาสที่จะเห็นการบริโภคชะลอตัวลงในช่วงไตรมาส 3 ต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาส 4 ของปีนี้
- ธปท. เตรียมแผนรองรับกรณีที่ FED อาจปรับลดขนาดของมาตรการ QE และจะทบทวนคาดการณ์ GDP กับการส่งออกของไทยในการประชุม กนง. ครั้งหน้า โดยคาดว่า การส่งออกของไทยในไตรมาส 3 และ 4 ของปีนี้จะปรับตัวดีขึ้นตามปัจจัยด้านฤดูกาล ซึ่งเงินบาทที่อ่อนค่าลงจะช่วยให้รายได้ของผู้ส่งออกในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้น
- กิตติรัตน์ ณ ระนอง คาดว่า การส่งออกในครึ่งหลังของปีนี้จะเติบโตสูงกว่าครึ่งปีแรก และพอใจหากการส่งออกทั้งปีเติบโตได้ในระดับ 4% โดยค่าเงินบาทในปัจจุบันเป็นระดับปกติและสะท้อนความเป็นจริงของเศรษฐกิจไทย รวมทั้งยังช่วยหนุนการส่งออกด้วย
- ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ชี้ว่า ค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (FT) งวดหน้า (ม.ค.-เม.ย.57) มีโอกาสสูงขึ้น หลังจากขึ้นไปแล้ว 7.08 สต./หน่วย เพราะราคาน้ำมันสูงขึ้น ส่งผลต่อก๊าซธรรมชาติที่เป็นต้นทุนหลัก และการอ่อนค่าลงทุก 1 บาท/ดอลลาร์ มีผลต่อต้นทุน FT 6 สต./หน่วย
สรุปยอดสุทธิการซื้อขายของแต่ละกลุ่ม
- SET Index ปิดที่ 1,313.49 จุด เพิ่มขึ้น 10.28 จุด หรือ 0.79% ด้วยมูลค่าซื้อขาย33,449.77 ล้านบาท เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย โดยตลาดยังอยู่ระหว่างรอความชัดเจนในเรื่องการโจมตีซีเรีย และการประชุม FED ในวันที่ 17-18 ก.ย.
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลเปลี่ยนแปลงในช่วง +0.01% ถึง +0.05%