รัฐบาลของประธานาธิบดีบารัค โอบามาเตือนสภาคองเกรสว่า สหรัฐอาจหมดเงินที่จะใช้ในการชำระค่าใช้จ่ายต่างๆในเร็วๆนี้ หลังกลางเดือนต.ค. หากสมาชิกสภานิติบัญญัติไม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อเพิ่มเพดานการกู้ยืมของรัฐบาล
"สภาคองเกรสควรดำเนินการอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อปกป้องเครดิตที่ดีของสหรัฐ" นายแจ๊ค ลูว์ รมว.คลังสหรัฐ ระบุในจดหมายที่ส่งถึงบรรดาผู้นำสภาคองเกรส โดยเรียกร้องให้ดำเนินการก่อนที่จะเกิดความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ในไม่ช้านี้
รัฐบาลมีหนี้ชนเพดานที่ระดับ 16.7 ล้านล้านดอลลาร์นับตั้งแต่เดือน พ.ค. แต่ก็หลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ได้ด้วยการใช้มาตรการฉุกเฉิน ต่างๆเพื่อบริหารเงินสด อาทิ การระงับการลงทุนในกองทุนบำเหน็จบำนาญสำหรับข้าราชการ
นายลูว์กล่าวว่า รัฐบาลจะไม่สามารถกู้ยืมเงินได้อีกต่อไปในช่วงกลางเดือนต.ค. และจะเหลือเงินสดในมือเพียง 5 หมื่นล้านดอลลาร์ซึ่งเป็นจำนวนที่เขาระบุว่าอาจหมดได้ภายในวันเดียว ซึ่งจะทำให้สหรัฐใกล้ผิดนัดชำระหนี้ และอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในสหรัฐ
นายลูว์กล่าวเสริมว่า "ภาวะดังกล่าวอาจกดดันตลาดการเงินและส่งผลให้เศรษฐกิจของเราชะงักงันอย่างมาก"
การอภิปรายที่ร้อนแรงขึ้นในสหรัฐเกี่ยวกับเพดานหนี้เกือบนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้ในปี 2011 ซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินในเวลานั้น และทำให้สำนักงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือปรับลดอันดับเครดิตของสหรัฐ
ในปีนี้ พรรครีพับลิกันกำลังพิจารณาใช้ความจำเป็นในการปรับเพิ่ม เพดานหนี้เป็นเครื่องต่อรองในสภาคองเกรส โดยพรรครีพับลิกันกำลังพยายามที่จะทำให้โครงการยกเครื่องระบบดูแลสุขภาพของปธน.โอบามา อ่อนแอลง และต้องการที่จะปฏิรูปกฏหมายภาษี รวมทั้งกดดันให้ปธน.โอบามอนุมัติข้อเสนอเรื่องท่อส่งน้ำมัน
"เพดานหนี้ยังคงเป็นเครื่องเตือนว่า รัฐบาลสหรัฐภายใต้ปธน.โอบามา ประสบความล้มเหลวในการจัดการกับหนี้และยอดขาดดุลของสหรัฐ" นาย ไมเคิล สตีล โฆษกของนายจอห์น โบห์เนอร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรระบุ
ทางด้านปธน.โอบามายืนยันว่าจะไม่ปล่อยให้เรื่องเพดานหนี้เป็นข้อต่อรองในการหารือด้านการเมืองอื่นๆ
"เราจะไม่เจรจากับพรรครีพับลิกันในสภาคองเกรสเกี่ยวกับความรับผิดชอบ ของสภาคองเกรสในการชำระค่าใช้จ่าย" นายเจย์ คาร์นีย์ โฆษกทำเนียบขาว กล่าว
ก่อนหน้านี้ รัฐบาลปธน.โอบามาระบุว่า สภาคองเกรสจำเป็นต้องดำเนินการภายในต้นเดือนก.ย. แต่ภาวะเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้นได้ช่วยเพิ่มรายได้ของรัฐ ที่มาจากภาษี ซึ่งช่วยซื้อเวลาให้กับรัฐบาลสหรัฐมากขึ้นก่อนที่ภาระหนี้จะพุ่งถึง เพดานการกู้ยืม
รอยเตอร์เปิดเผยเอกสารที่ได้รับระบุว่า รัฐบาลญี่ปุ่นคาดว่าจะตั้งงบเพื่อการชำระหนี้สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 25.3 ล้านล้านเยน (2.57 แสนล้านดอลลาร์) ในปีงบประมาณหน้า ซึ่งบ่งชี้ถึงภาระอย่างหนัก ที่เกิดจากการกู้ยืมของรัฐบาล
ทั้งนี้ งบจำนวนดังกล่าว ซึ่งจะถูกจัดสรรสำหรับการชำระหนี้สำหรับปีงบประมาณที่จะเริ่มขึ้นในวันที่ 1 เม.ย.2014 นั้น มีมูลค่ามากเกือบจะเท่ากับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสิงคโปร์ ซึ่ง ธนาคารโลกประเมินไว้ที่ 2.75 แสนล้านดอลลาร์ ณ สิ้นปี 2012
เอกสารระบุว่า กระทรวงการคลังของญี่ปุ่น (MOF) ซึ่งรับผิดชอบในการร่างงบประมาณและออกพันธบัตรรัฐบาล จะเรียกร้องให้มีการชำระหนี้ 25.3 ล้านล้านเยน (2.57 แสนล้านดอลลาร์) ภายใต้งบประมาณดังกล่าว ซึ่งจะเพิ่มขึ้น 13.7% จากจำนวนที่กันไว้สำหรับ ปีงบประมาณปัจจุบัน และสะท้อนถึงแผนการของกระทรวงการคลังที่จะสกัดกั้นการปรับตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยระยะยาวในอนาคต
ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นอาจเพิ่มแรงกดดันต่อนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะในการดำเนินมาตรการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนตั้งแต่ปีหน้า ซึ่งเป็นมาตรการแรกที่จำเป็นในการแก้ไขภาวะการเงินที่ย่ำแย่ของญี่ปุ่น
แต่ขณะที่นายอาเบะให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกต่อนโยบายที่จะยุติภาวะเงินฝืดที่ดำเนินมา 15 ปี และการฟื้นฟูเศรษฐกิจของญี่ปุ่นนั้น ที่ปรึกษาและสมาชิกพรรคเสรีประชาธิปไตยบางคนต้องการให้เลื่อนหรือชะลอการ ปรับขึ้นภาษี VAT เนื่องจากวิตกว่าจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เพิ่งเริ่มต้น
การกระตุ้นด้านการคลังเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจเป็นเวลาหลายปี และค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคมที่พุ่งขึ้นสำหรับประชากรวัยสูงอายุ ได้ทำให้ญี่ปุ่นมีหนี้สาธารณะสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 1,000 ล้านล้านเยน (10 ล้านล้านดอลลาร๋) ซึ่งคิดเป็น 2 เท่าของขนาดเศรษฐกิจประเทศ และสูงที่สุดในบรรดาประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group
"สภาคองเกรสควรดำเนินการอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อปกป้องเครดิตที่ดีของสหรัฐ" นายแจ๊ค ลูว์ รมว.คลังสหรัฐ ระบุในจดหมายที่ส่งถึงบรรดาผู้นำสภาคองเกรส โดยเรียกร้องให้ดำเนินการก่อนที่จะเกิดความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ในไม่ช้านี้
รัฐบาลมีหนี้ชนเพดานที่ระดับ 16.7 ล้านล้านดอลลาร์นับตั้งแต่เดือน พ.ค. แต่ก็หลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ได้ด้วยการใช้มาตรการฉุกเฉิน ต่างๆเพื่อบริหารเงินสด อาทิ การระงับการลงทุนในกองทุนบำเหน็จบำนาญสำหรับข้าราชการ
นายลูว์กล่าวว่า รัฐบาลจะไม่สามารถกู้ยืมเงินได้อีกต่อไปในช่วงกลางเดือนต.ค. และจะเหลือเงินสดในมือเพียง 5 หมื่นล้านดอลลาร์ซึ่งเป็นจำนวนที่เขาระบุว่าอาจหมดได้ภายในวันเดียว ซึ่งจะทำให้สหรัฐใกล้ผิดนัดชำระหนี้ และอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในสหรัฐ
นายลูว์กล่าวเสริมว่า "ภาวะดังกล่าวอาจกดดันตลาดการเงินและส่งผลให้เศรษฐกิจของเราชะงักงันอย่างมาก"
การอภิปรายที่ร้อนแรงขึ้นในสหรัฐเกี่ยวกับเพดานหนี้เกือบนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้ในปี 2011 ซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินในเวลานั้น และทำให้สำนักงานจัดอันดับความน่าเชื่อถือปรับลดอันดับเครดิตของสหรัฐ
ในปีนี้ พรรครีพับลิกันกำลังพิจารณาใช้ความจำเป็นในการปรับเพิ่ม เพดานหนี้เป็นเครื่องต่อรองในสภาคองเกรส โดยพรรครีพับลิกันกำลังพยายามที่จะทำให้โครงการยกเครื่องระบบดูแลสุขภาพของปธน.โอบามา อ่อนแอลง และต้องการที่จะปฏิรูปกฏหมายภาษี รวมทั้งกดดันให้ปธน.โอบามอนุมัติข้อเสนอเรื่องท่อส่งน้ำมัน
"เพดานหนี้ยังคงเป็นเครื่องเตือนว่า รัฐบาลสหรัฐภายใต้ปธน.โอบามา ประสบความล้มเหลวในการจัดการกับหนี้และยอดขาดดุลของสหรัฐ" นาย ไมเคิล สตีล โฆษกของนายจอห์น โบห์เนอร์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรระบุ
ทางด้านปธน.โอบามายืนยันว่าจะไม่ปล่อยให้เรื่องเพดานหนี้เป็นข้อต่อรองในการหารือด้านการเมืองอื่นๆ
"เราจะไม่เจรจากับพรรครีพับลิกันในสภาคองเกรสเกี่ยวกับความรับผิดชอบ ของสภาคองเกรสในการชำระค่าใช้จ่าย" นายเจย์ คาร์นีย์ โฆษกทำเนียบขาว กล่าว
ก่อนหน้านี้ รัฐบาลปธน.โอบามาระบุว่า สภาคองเกรสจำเป็นต้องดำเนินการภายในต้นเดือนก.ย. แต่ภาวะเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งขึ้นได้ช่วยเพิ่มรายได้ของรัฐ ที่มาจากภาษี ซึ่งช่วยซื้อเวลาให้กับรัฐบาลสหรัฐมากขึ้นก่อนที่ภาระหนี้จะพุ่งถึง เพดานการกู้ยืม
รอยเตอร์เปิดเผยเอกสารที่ได้รับระบุว่า รัฐบาลญี่ปุ่นคาดว่าจะตั้งงบเพื่อการชำระหนี้สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 25.3 ล้านล้านเยน (2.57 แสนล้านดอลลาร์) ในปีงบประมาณหน้า ซึ่งบ่งชี้ถึงภาระอย่างหนัก ที่เกิดจากการกู้ยืมของรัฐบาล
ทั้งนี้ งบจำนวนดังกล่าว ซึ่งจะถูกจัดสรรสำหรับการชำระหนี้สำหรับปีงบประมาณที่จะเริ่มขึ้นในวันที่ 1 เม.ย.2014 นั้น มีมูลค่ามากเกือบจะเท่ากับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของสิงคโปร์ ซึ่ง ธนาคารโลกประเมินไว้ที่ 2.75 แสนล้านดอลลาร์ ณ สิ้นปี 2012
เอกสารระบุว่า กระทรวงการคลังของญี่ปุ่น (MOF) ซึ่งรับผิดชอบในการร่างงบประมาณและออกพันธบัตรรัฐบาล จะเรียกร้องให้มีการชำระหนี้ 25.3 ล้านล้านเยน (2.57 แสนล้านดอลลาร์) ภายใต้งบประมาณดังกล่าว ซึ่งจะเพิ่มขึ้น 13.7% จากจำนวนที่กันไว้สำหรับ ปีงบประมาณปัจจุบัน และสะท้อนถึงแผนการของกระทรวงการคลังที่จะสกัดกั้นการปรับตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยระยะยาวในอนาคต
ค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นอาจเพิ่มแรงกดดันต่อนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะในการดำเนินมาตรการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) โดยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนตั้งแต่ปีหน้า ซึ่งเป็นมาตรการแรกที่จำเป็นในการแก้ไขภาวะการเงินที่ย่ำแย่ของญี่ปุ่น
แต่ขณะที่นายอาเบะให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกต่อนโยบายที่จะยุติภาวะเงินฝืดที่ดำเนินมา 15 ปี และการฟื้นฟูเศรษฐกิจของญี่ปุ่นนั้น ที่ปรึกษาและสมาชิกพรรคเสรีประชาธิปไตยบางคนต้องการให้เลื่อนหรือชะลอการ ปรับขึ้นภาษี VAT เนื่องจากวิตกว่าจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่เพิ่งเริ่มต้น
การกระตุ้นด้านการคลังเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจเป็นเวลาหลายปี และค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคมที่พุ่งขึ้นสำหรับประชากรวัยสูงอายุ ได้ทำให้ญี่ปุ่นมีหนี้สาธารณะสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 1,000 ล้านล้านเยน (10 ล้านล้านดอลลาร๋) ซึ่งคิดเป็น 2 เท่าของขนาดเศรษฐกิจประเทศ และสูงที่สุดในบรรดาประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
ทวีสุข ธรรมศักดิ์
Executive Vice President.
RHB-OSK Securities (Thailand)PLC
RHB Banking Group