สกุลเงินรูเปียห์ของอินโดนีเซียอ่อนค่าทะลุระดับ 10,000 เทียบดอลลาร์ ในวันนี้ ซึ่งเป็นการดิ่งลงทะลุระดับดังกล่าวเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 4 ปี ในขณะที่บริษัทต่างๆของอินโดนีเซียมีความต้องการซื้อดอลลาร์อย่างต่อเนื่อง
ราคาบ่งชี้ของรูเปียห์ร่วงลง 0.3 % สู่ 10,020 รูเปียห์/ดอลลาร์ ในระหว่างวัน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนก.ย.2009
รูเปียห์ได้รับแรงกดดันจากคำสั่งซื้อดอลลาร์ของภาคเอกชน โดยเฉพาะคำสั่งซื้อของผู้นำเข้า อย่างไรก็ดี เทรดเดอร์ตั้งข้อสงสัยว่า ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) อาจจะอัดฉีดสภาพคล่องดอลลาร์เข้าสู่ตลาด
นายสักเทียนดี ซูพาท หัวหน้าฝ่ายวิจัยสกุลเงินของธนาคารเมย์แบงก์ กล่าวว่า ตลาด "อาจจะเข้าทดสอบระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ 10,000 รูเปียห์/ดอลลาร์ หลังจากมีการแสดงความเห็นในช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้วว่า ธนาคารกลางอินโดนีเซียไม่ได้กำหนดขีดจำกัดไว้ที่ 10,000 นอกจากนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียก็ดูเหมือนจะปล่อยให้รูเปียห์ร่วงผ่าน 10,000 รูเปียห์/ดอลลาร์ลงไปด้วย"
นายซูพาทกล่าวว่า ทุนสำรองของอินโดนีเซียยังคงอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจและกล่าวเสริมว่า สิ่งเดียวที่น่ากังวลในขณะนี้ก็คือ ถ้าหากรูเปียห์ดิ่งลงอย่างรุนแรงมากเกินไป ปัจจัยดังกลา่วก็จะส่งผลให้ยอดขาดดุลของอินโดนีเซียพุ่งสูงขึ้น
รูเปียห์เป็นหนึ่งในสกุลเงินของประเทศตลาดเกิดใหม่ที่อ่อนค่าลงในช่วงที่ผ่านมา นับต้ังแต่นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวในเดือนพ.ค.ว่า มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดขนาดมาตรการ ผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)
รูเปียห์ได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและยอดขาดดุลงบประมาณที่ระดับสูงของอินโดนีเซีย ขณะที่ รัฐบาลอินโดนีเซียพยายามจำกัดยอดขาดดุลดังกล่าวในช่วงปลายเดือนมิ.ย.โดยใช้วิธีปรับขึ้นราคาเชื้อเพลิงภายในประเทศ และมาตรการดังกล่าวก็ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น
นายกุนดี คาห์ยาดี นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร OCBC กล่าวว่า เขาไม่ คาดว่า ธนาคารกลางอินโดนีเซียกำหนดเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงสำหรับดอลลาร์/รูเปียห์
นายคาห์ยาดีกล่าวว่า "จุดประสงค์ของธนาคารกลางอินโดนีเซียคือการสร้างความเชื่อมั่นว่า ตลาดจะเคลื่อนไหวอย่างเป็นระเบียบ และไม่มีความผันผวนมากเกินไป และผมก็คิดว่าธนาคารกลางอินโดนีเซียทำงานได้ดีมากแล้วในด้านนี้ ซึ่งในอนาคตธนาคารกลางอินโดนีเซียจะปล่อยให้ตลาดเป็นผู้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างดอลลาร์สหรัฐและรูเปียห์ โดยความเคลื่อนไหวของดอลลาร์สหรัฐ/รูเปียห์นั้น สอดคล้องกับแนวโน้มการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐในภูมิภาคนี้"
ดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นอินโดนีเซียปรับตัวขึ้น 0.1 % ในช่วงเปิดตลาด วันนี้ ก่อนที่จะร่วงลง 0.7 % ณ เวลา 10.45 น.ตามเวลาไทย โดยตลาดหุ้นอินโดนีเซียปรับตัวลงหลังจากรูเปียห์ดิ่งลงแตะ 10,000 รูเปียห์/ ดอลลาร์
ธนาคารกลางอินโดนีเซียเพิ่งสร้างความประหลาดใจให้ตลาดในวันที่ 11 ก.ค.ด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.50 % สู่ 6.50 % ในขณะที่ตลาดคาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าอาจปรับขึ้นเพียง 0.25 %
ธนาคารกลางอินโดนีเซียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25 % ในเดือน มิ.ย. และเป็นธนาคารกลางแห่งแรกในเอเชียที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนับตั้งแต่ ปี 2011 เป็นต้นมา
นายเพอร์รี วาร์จิโย รองผู้ว่าการธนาคารกลางอินโดนีเซีย กล่าวว่า อินโดนีเซียอาจไม่มีความจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกต่อไป ขณะที่เขามีความมั่นใจเป็นอย่างมากว่า อัตราเงินเฟ้อจะร่วงลงสู่ระดับปกติภายใน เดือนก.ย. และมีแนวโน้มว่าอาจอยู่ที่ 7.5 % ในเดือนนี้
ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของอินโดนีเซียดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 2 ปีที่ระดับ 9.81 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนมิ.ย. อย่างไรก็ดี นายวาร์จิโยกล่าวว่า เขาไม่คาดว่าทุนสำรองดังกล่าวจะลดลงต่อไป
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak
ราคาบ่งชี้ของรูเปียห์ร่วงลง 0.3 % สู่ 10,020 รูเปียห์/ดอลลาร์ ในระหว่างวัน ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนก.ย.2009
รูเปียห์ได้รับแรงกดดันจากคำสั่งซื้อดอลลาร์ของภาคเอกชน โดยเฉพาะคำสั่งซื้อของผู้นำเข้า อย่างไรก็ดี เทรดเดอร์ตั้งข้อสงสัยว่า ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) อาจจะอัดฉีดสภาพคล่องดอลลาร์เข้าสู่ตลาด
นายสักเทียนดี ซูพาท หัวหน้าฝ่ายวิจัยสกุลเงินของธนาคารเมย์แบงก์ กล่าวว่า ตลาด "อาจจะเข้าทดสอบระดับสำคัญทางจิตวิทยาที่ 10,000 รูเปียห์/ดอลลาร์ หลังจากมีการแสดงความเห็นในช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้วว่า ธนาคารกลางอินโดนีเซียไม่ได้กำหนดขีดจำกัดไว้ที่ 10,000 นอกจากนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียก็ดูเหมือนจะปล่อยให้รูเปียห์ร่วงผ่าน 10,000 รูเปียห์/ดอลลาร์ลงไปด้วย"
นายซูพาทกล่าวว่า ทุนสำรองของอินโดนีเซียยังคงอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจและกล่าวเสริมว่า สิ่งเดียวที่น่ากังวลในขณะนี้ก็คือ ถ้าหากรูเปียห์ดิ่งลงอย่างรุนแรงมากเกินไป ปัจจัยดังกลา่วก็จะส่งผลให้ยอดขาดดุลของอินโดนีเซียพุ่งสูงขึ้น
รูเปียห์เป็นหนึ่งในสกุลเงินของประเทศตลาดเกิดใหม่ที่อ่อนค่าลงในช่วงที่ผ่านมา นับต้ังแต่นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวในเดือนพ.ค.ว่า มีความเป็นไปได้ที่เฟดจะเริ่มต้นปรับลดขนาดมาตรการ ผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)
รูเปียห์ได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและยอดขาดดุลงบประมาณที่ระดับสูงของอินโดนีเซีย ขณะที่ รัฐบาลอินโดนีเซียพยายามจำกัดยอดขาดดุลดังกล่าวในช่วงปลายเดือนมิ.ย.โดยใช้วิธีปรับขึ้นราคาเชื้อเพลิงภายในประเทศ และมาตรการดังกล่าวก็ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น
นายกุนดี คาห์ยาดี นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร OCBC กล่าวว่า เขาไม่ คาดว่า ธนาคารกลางอินโดนีเซียกำหนดเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงสำหรับดอลลาร์/รูเปียห์
นายคาห์ยาดีกล่าวว่า "จุดประสงค์ของธนาคารกลางอินโดนีเซียคือการสร้างความเชื่อมั่นว่า ตลาดจะเคลื่อนไหวอย่างเป็นระเบียบ และไม่มีความผันผวนมากเกินไป และผมก็คิดว่าธนาคารกลางอินโดนีเซียทำงานได้ดีมากแล้วในด้านนี้ ซึ่งในอนาคตธนาคารกลางอินโดนีเซียจะปล่อยให้ตลาดเป็นผู้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างดอลลาร์สหรัฐและรูเปียห์ โดยความเคลื่อนไหวของดอลลาร์สหรัฐ/รูเปียห์นั้น สอดคล้องกับแนวโน้มการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐในภูมิภาคนี้"
ดัชนีคอมโพสิตตลาดหุ้นอินโดนีเซียปรับตัวขึ้น 0.1 % ในช่วงเปิดตลาด วันนี้ ก่อนที่จะร่วงลง 0.7 % ณ เวลา 10.45 น.ตามเวลาไทย โดยตลาดหุ้นอินโดนีเซียปรับตัวลงหลังจากรูเปียห์ดิ่งลงแตะ 10,000 รูเปียห์/ ดอลลาร์
ธนาคารกลางอินโดนีเซียเพิ่งสร้างความประหลาดใจให้ตลาดในวันที่ 11 ก.ค.ด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.50 % สู่ 6.50 % ในขณะที่ตลาดคาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าอาจปรับขึ้นเพียง 0.25 %
ธนาคารกลางอินโดนีเซียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25 % ในเดือน มิ.ย. และเป็นธนาคารกลางแห่งแรกในเอเชียที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนับตั้งแต่ ปี 2011 เป็นต้นมา
นายเพอร์รี วาร์จิโย รองผู้ว่าการธนาคารกลางอินโดนีเซีย กล่าวว่า อินโดนีเซียอาจไม่มีความจำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกต่อไป ขณะที่เขามีความมั่นใจเป็นอย่างมากว่า อัตราเงินเฟ้อจะร่วงลงสู่ระดับปกติภายใน เดือนก.ย. และมีแนวโน้มว่าอาจอยู่ที่ 7.5 % ในเดือนนี้
ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของอินโดนีเซียดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 2 ปีที่ระดับ 9.81 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วงสิ้นเดือนมิ.ย. อย่างไรก็ดี นายวาร์จิโยกล่าวว่า เขาไม่คาดว่าทุนสำรองดังกล่าวจะลดลงต่อไป
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak