xs
xsm
sm
md
lg

นักวิเคราะห์เตือนชาติเอเชียรับมือความเสี่ยงหากเฟดเริ่มหั่น QE

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

        นักวิเคราะห์ระบุว่า ภาวะตื่นตระหนกที่เกิดขึ้นในตลาดการเงินเอเชียในเดือนพ.ค.และมิ.ย. อาจจะเป็นเพียงสัญญาณเตือนล่วงหน้าว่าจะมีเงินลงทุนจำนวนมากหลั่งไหลออกจากภูมิภาค เมื่อใดก็ตามที่ธนาคารกลางสหรัฐ  (เฟด) เริ่มต้นถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) อย่างแท้จริง และปัจจัยที่จะเป็นตัวกำหนดว่า นักลงทุนต่างชาติจะถอนเงินลงทุนออกจากเอเชียอย่างรวดเร็วเพียงใดนั้น ก็คือความเร็วของเฟดในการปรับลดมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ลงจากระดับ 8.5 หมืื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนในปัจจุบัน 
        นักวิเคราะห์กล่าวว่า ประเทศที่อาจได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษจากการ ไหลออกของเงินลงทุน ก็คือประเทศที่มียอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงและนักลงทุนต่างชาติถือครองส่วนแบ่งใหญ่ในหุ้นและพันธบัตรรัฐบาลของประเทศ ดังกล่าว โดยประเทศกลุ่มนี้รวมถึงไทย, อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยการไหลออกของเงินทุนจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งสูงขึ้นและทำให้สกุลเงินของประเทศอ่อนค่าลง 
        บริษัทเอเชียที่อาจได้รับผลกระทบมากเป็นพิเศษจากเหตุการณ์นี้ ได้แก่ บริษัทที่กู้เงินในรูปดอลลาร์ แต่มีรายได้อยู่ในรูปของสกุลเงินในประเทศ โดยบริษัทกลุ่มนี้รวมถึงบริษัทจำนวนมากในภาคอสังหาริมทรัพย์, โทรคมนาคม  และปุ๋ย นอกจากนี้ บริษัที่กู้เงินผ่านทางการออกหุ้นกู้ที่ให้อัตราผลตอบแทนสูง ในรูปดอลลาร์สหรัฐ ก็เผชิญความเสี่ยงเป็นอย่างมากเช่นกัน 
        นายเคาชิค รูดรา นักยุทธศาสตร์การลงทุนของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด กล่าวว่า "ตลาดเกิดใหม่ได้รับแรงหนุนจากมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในช่วงที่ผ่านมา ดังนั้นเมื่อมีการถอนเงินลงทุนออกไป  ตลาดก็มีโอกาสสูงที่จะทรุดตัวลง เนื่องจากตลาดรองของประเทศกลุ่มนี้มีสภาพคล่องต่ำมาก
        สกุลเงินบาทของไทย, รูเปียห์ของอินโดนีเซีย และริงกิตของมาเลเซีย ดิ่งลงในเดือนพ..-มิ.. และได้รับแรงกดดันนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและสิ่งนี้บ่งชี้ว่าประเทศกลุ่มนี้อาจได้รับความเสียหายมากยิ่งขึ้น ถ้าหากกระแสเงินทุนยังคงไหลออกนอกประเทศ 
        ธนาคารบีเอ็นพี พาริบาส์ประเมินว่า นักลงทุนต่างชาติถือครองพันธบัตรรัฐบาลอินโดนีเซียราว 34.7 % หรือ 3.1 หมื่นล้านดอลลาร์, ถือครองพันธบัตรรัฐบาลมาเลเซียราว 31.7 % หรือ 4.8 หมื่นล้านดอลลาร์ และถือครองพันธบัตรรัฐบาลไทยราว 18.9 % หรือ 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์ 
        ประเทศกลุ่มนี้มีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอยู่ในระดับที่่สูงมากเมื่อเทียบกับในอดีต แต่ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอาจจะไม่ใช่อาวุธหลักที่ธนาคารกลางจะนำมาใช้ในการหนุนค่าเงินของประเทศ เพราะทุนสำรองเหล่านี้สามารถใช้ครอบคลุมยอดนำเข้าได้เพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น 
        ทุนสำรองของอินโดนีเซียสามารถใช้ครอบคลุมยอดนำเข้าได้เพียง 7 เดือน  ในขณะที่ทุนสำรองของเกาหลีใต้ใช้ครอบคลุมได้เพียง 8 เดือน และของมาเลเซียใช้ได้ 9 เดือน และในทางตรงกันข้าม ทุนสำรองของฮ่องกงสามารถใช้ครอบคลุมยอดนำเข้าได้ 27 เดือน, ของจีนใช้ได้ 20 เดือน และของสิงคโปร์ใช้ได้ 17  เดือน 
        นายเอ็นเดร ปีเดอร์เสน ผู้จัดการกองทุนของบริษัทมานูไลฟ์ แอสเซท แมเนจเมนท์ กล่าวว่า "ตลาดเกิดใหม่ที่เผชิญกับแรงเทขายมากที่สุด คือตลาดที่ให้อัตราผลตอบแทนสูง แต่มีปัจจัยพื้นฐานที่ไม่แข็งแกร่ง
        "สิ่งที่นักลงทุนกำลังจับตาดูในขณะนี้คือยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและยอดขาดดุลงบประมาณ ดังนั้นตลาดอย่างเช่นอินโดนีเซียและอินเดียจึงเผชิญความเสี่ยงจากการยุตินโยบายผ่อนคลายทางการเงินในสหรัฐ
        ตลาดสัญญาฟอร์เวิร์ดสกุลเงินกำลังปรับตัวรับการคาดการณ์ที่ว่า สกุลเงินเอเชียจะดิ่งลงต่อไป โดยตลาดสัญญาล่วงหน้าที่ไม่มีการส่งมอบ (NDF) กำลังปรับตัวรับการคาดการณ์ที่ว่า ในอีกหนึ่งปีข้างหน้ารูเปียห์อาจดิ่งลง 11 %,  ริงกิตอาจรูดลง 5 % และบาทอาจปรับตัวลง 4 % 
        ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้เข้าหนุนรูเปียห์ด้วยการใช้ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศบางส่วนจากที่มีอยู่ทั้งหมด 1 แสนล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดี ธนาคารกลางอินโดนีเซียได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 13 มิ.ย ซึ่งเป็นช่วงที่รูเปียห์ได้รับแรงกดดัน และสิ่งนี้บ่งชี้ว่าธนาคารกลางอินโดนีเซีย ไม่ต้องการพึ่งพาทุนสำรองมากเกินไปในการปกป้องค่าเงินรูเปียห์ 
        การอ่อนค่าของรูเปียห์อาจสร้างความเสียหายให้แก่บริษัทของรัฐบาลอินโดนีเซีย เพราะบริษัทกลุ่มนี้มีหนี้สิน 2.05 หมื่นล้านดอลลาร์ และไม่ได้รับอนุญาตให้ทำประกันความเสี่ยงหนี้ต่างชาติของตนเอง 
        อินเดียไม่ได้เผชิญความเสี่ยงมากนักจากนักลงทุนต่างชาติ เพราะนักลงทุนต่างชาติถือครองพันธบัตรรัฐบาลอินเดียเพียง 6.4 % อย่างไรก็ดี ยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของอินเดียมีสัดส่วนสูงถึง 4.8 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน ประเทศ (จีดีพี) ในเดือนมิ.. และสิ่งนี้บ่งชี้ว่าการที่เศรษฐกิจอินเดียพึ่งพาเงินทุนต่างชาติจะส่งผลกระทบต่อค่าเงินรูปีต่อไป  
        รูปีดิ่งลงแตะสถิติต่ำสุดที่ 61.21 รูปีต่อดอลลาร์ในวันที่ 8.. และ ตลาด NDF คาดว่ารูปีอาจอยู่ที่ 63.80 รูปีต่อดอลลาร์ในอีกหนึ่งปีข้างหน้า 
        ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของอินเดีียใช้ครอบคลุมยอดนำเข้าได้เพียง 6 เดือนเท่านั้น และส่งผลให้อินเดียเป็นประเทศที่มีสถานะสกุลเงินต่างชาติอ่อนแอที่สุดในบรรดาประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย 
        การหดตัวลงของสภาพคล่องดอลลาร์ในเอเชียจะส่งผลให้บริษัทหลายแห่งไม่สามารถเข้าถึงตลาดทุนได้ 
        ตลาดตราสารหนี้สกุลเงินในประเทศเป็นตลาดที่มีสภาพคล่องสูง แต่นักลงทุนส่วนใหญ่ต้องการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง โดยบริษัทที่มีคุณภาพสูงมากสามารถระดมทุนจากตลาด แต่บริษัทที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำหรือไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ จำเป็นต้องกู้เงินในรูปดอลลาร์ และมักจะต้องเสนออัตราผลตอบแทนที่ระดับสูงเพื่อดึงดูดเงินทุน 
        นายซูรินเดอร์ แคธพาเลีย กรรมการผู้จัดการฝ่ายอาเซียนของบริษัทสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) กล่าวว่า "ปัญหาที่ผู้กำหนดนโยบายต้องแก้ไขในขณะนี้ ก็คือความจำเป็นของบริษัทที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำในการเข้าถึงตลาดตราสารหนี้สกุลเงินในประเทศ
        "ปัจุบันนี้บริษัทเกือบทั้งหมดที่จำหน่ายตราสารหนี้สกุลเงินในประเทศ ซึ่งรวมถึงในไทยและมาเลเซีย เป็นบริษัทที่มีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับสูงมาก
        บริษัทฮุนได เมอร์แชนท์ มารีน ซึ่งเป็นบริษัทขนส่งสินค้าของเกาหลีใต้ ไม่สามารถดึงดูดนักลงทุนได้ในเดือนพ.. เมื่อทางบริษัทพยายามจะออกตราสารหนี้ที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงในสกุลดอลลาร์ 
        สื่อมวลชนเกาหลีใต้รายงานในเดือนมิ..ว่า สำนักงานกำกับดูแลทางการเงินของเกาหลีใต้ ได้ขอให้ธนาคารบางแห่งเข้าซื้อตราสารหนี้จากบริษัทเกาหลีใต้ที่ไม่สามารถกู้ยืมเงินหรือรีไฟแนนซ์ (การกู้เงินใหม่เพื่อนำชำระหนี้เก่า) ได้ 
        นักวิเคราะห์กล่าวว่า ภาวะตกต่ำในธุรกิจขนส่งสินค้าทั่วโลกและภาวะอ่อนแอ ในตลาดอสังหาริมทรัพย์เกาหลีใต้ ส่งผลให้บริษัทที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าเกรดน่าลงทุนในภาคการขนส่ง, การต่อเรือ และการก่อสร้าง มีแนวโน้มที่จะได้รับความลำบากมากที่สุดในการรีไฟแนนซ์ตราสารหนี้ที่กำลังจะครบกำหนดไถ่ถอน 
        อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีลูกหนี้จำนวนมากประสบภาวะยากลำบากเช่นกัน 
        บริษัทบาครี เทเลคอมในอินโดนีเซียมียอดขาดทุน 9.7 หมื่นล้านรูเปียห์ ในไตรมาสแรก และมีหนี้สินในรูปหุ้นกู้ที่ให้อัตราผลตอบแทนสูง 380 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดี บาครีสร้างความประหลาดใจให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ในเดือนพ.. เมื่อทางบริษัทไม่ได้ผิดนัดชำระหนี้ในเดือนนั้น โดยบาครีได้จ่ายดอกเบี้ย 21.9 ล้านดอลลาร์ให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ในเดือนดังกล่าว 
        บริษัทบาครีแลนด์ ดีเวลอปเมนท์ของอินโดนีเซียสามารถหลีกเลี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ได้อย่างฉิวเฉียดในเดือนมี.. ในส่วนของหุ้นกู้ 2.80 แสนล้านรูเปียห์ (29 ล้านดอลลาร์) และทางบริษัทยังคงมีหุ้นกู้แปลงสภาพ 155 ล้านดอลลาร์ 
        ราคาหุ้นของบาครีแลนด์อยู่ที่ 50 รูเปียห์ในปัจจุบัน ซึี่งต่ำกว่าระดับราคา 255 รูเปียห์ที่ใช้ในการแปลงหุ้นกู้ดังกล่าวมาเป็นหุ้นสามัญ       ความเคลื่อนไหวในตลาดตราสารหนี้ส่งผลลบต่ออัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นด้วย 
        นายฌอน ดาร์บี จากบริษัทเจฟฟรีส์กล่าวว่า "ตลาดหุ้นได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจากการทำ carry trade" และกล่าวเสริมว่า การอ่อนค่าของสกุลเงินกำลังสร้างความเสียหายต่อผลกำไรจากการลงทุนในหุ้นในระดับที่รุนแรงเท่ากับการร่วงลงของราคาหุ้น 
        หากนับตั้งแต่ช่วงต้นปีจนถึงปัจจุบัน ตลาดหุ้นเอเชียยกเว้นญี่ปุ่นเกือบทุกตลาดมีเงินทุนไหลออกสุทธิ โดยยกเว้นเพียงแค่ตลาดฟิลิปปินส์และอินเดีย ขณะที่ดัชนี MSCI ของหุ้นเอเชียยกเว้นญี่ปุ่นดิ่งลงมาแล้วเกือบ 8 % จาก ช่วงต้นปีนี้ 
        นายดาร์บีกล่าวว่า "นักลงทุนยังไม่ได้ขายหุ้นคุณภาพดีออกมา โดยจุดต่ำสุดจะเกิดขึ้นเมื่อนักลงทุนเริ่มต้นขายหุ้นของบริษัทที่มีคุณภาพดีที่สุดและตลาดเกิดใหม่ในขณะนี้ก็ยังคงอยู่ห่างไกลจากภาวะนั้น"
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
 
T.Thammasak
กำลังโหลดความคิดเห็น