คนไทยติดอันดับท็อปโฟร์นักสะสมนาฬิกาของโลก พารากอนทุ่ม 50 ล้านบาทจัดงาน “สยามพารากอน วอชต์ เอ็กซ์โป 2013” หวังเงินสะพัด 320 ล้านบาท ครึ่งปีหลังอัดงบ 150 ล้านบาทจัดอีเวนต์อีก 12 งาน กระตุ้นกำลังซื้อผู้บริโภคและทำตลาดต่อเนื่อง
นายจักรกฤษณ์ กีรติโชคชัยกุล ผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสบริหารสินค้า ห้างสรรพสินค้าพารากอน ดีพาร์ทเมนต์สโตร์ เปิดเผยว่า ตลาดนาฬิกาแบรนด์ระดับโลกในประเทศไทยยังไม่มีการรวบรวมมูลค่าตลาดรวมอย่างเป็นทางการ แต่สามารถประเมินและแบ่งตลาดเป็น 4 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มเทรนด์และแฟชั่นราคาต่ำกว่า 3 หมื่นบาท สัดส่วน 18%, กลุ่มมิดเดิล มาร์เกต ราคา 3 หมื่นบาทถึง 1 แสนบาท สัดส่วน 37%, กลุ่มไฮเอนด์ ราคา 1-3 แสนบาท สัดส่วน 30% และกลุ่มลักชัวรี ราคา 3 แสนบาทขึ้นไป สัดส่วน 15% โดยมีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 4 หมื่นล้านบาท และเติบต่อเนื่องปีละประมาณ 7-8%
จากการสำรวจของสภาอุตสาหกรรมนาฬิกาสวิส (Federation of the Swiss Watch Industry) พบว่าคนไทยเป็นนักสะสมนาฬิกาติดอันดับ 4 ของโลก ทำให้ตลาดนาฬิกาในประเทศไทยได้รับการยอมรับจากผู้ผลิตและจำหน่ายให้เป็นตลาดเกิดใหม่ที่มีศักยภาพสูง ขณะเดียวกันทวีปเอเชียยังถือเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดด้วยสัดส่วน 56%
“ปัจจุบันคนไทยถือครองนาฬิกาประมาณ 3 เรือนขึ้นไป และพฤติกรรมการสะสมนาฬิกาของคนไทยก็เริ่มสูงขึ้นเพราะถือเป็นการลงทุนทางหนึ่ง โดยเฉพาะในส่วนของนาฬิกากลุ่มลักชัวรี ซึ่งยิ่งเวลาผ่านไปนานขึ้น ราคาก็จะยิ่งเพิ่มสูงมากขึ้น”
ล่าสุดสยามพารากอนจัดงาน “สยามพารากอน วอชต์ เอ็กซ์โป 2013” (Siam Paragon Watch Expo 2013) ระหว่างวันที่ 24 ก.ค.-13 ส.ค.ศกนี้ ณ บริเวณฮอลล์ ออฟ เฟรม, ฮอลล์ ออฟ มิร์เรอร์, วิชท์ บูติก และแผนกนาฬิกา พารากอน ดีพาร์ตเมนต์สโตร์ ชั้น M และแฟชั่นฮอลล์ ชั้น 1 สยามพารากอน โดยใช้งบประมาณ 50 ล้านบาท
“ปีนี้จัดเป็นปีที่ 8 มีมากกว่า 200 แบรนด์มาจัดแสดงในไทย คาดว่าตลอด 21 วันของการจัดงานจะมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 3.5 แสนคน จะทำยอดขายได้ประมาณ 320 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% จากปีก่อนที่มียอดขาย 300 ล้านบาท”
นางมยุรี ชัยพรหมประสิทธิ์ ผู้บริหารสายการตลาด ศูนย์การค้าสยามพารากอน เปิดเผยว่า ช่วงครึ่งปีแรกนี้นาฬิกาที่จำหน่ายในพารากอน ดีพาร์ตเมนต์สโตร์ ดิเอ็มโพเรียม และเดอะมอลล์ทุกสาขา เติบโต 15% ส่วนผู้จำหน่ายนาฬิกามียอดขายสูงกว่าเป้าหมาย 2-3 เท่า ทั้งยังมียอดขายสูงกว่าสาขาในห้างอื่นๆ ประมาณ 3-4 เท่า เนื่องจากปัจจัยด้านความหลากหลายของแบรนด์และระดับราคา
สำหรับนาฬิกาที่มาแรงในปีนี้คือกลุ่มแฟชั่น โดยเฉพาะนาฬิกากลไกสลับซับซ้อนกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ผลิตนาฬิกาชั้นนำหลายแบรนด์ต่างมีการนำนาฬิการุ่นคลาสสิกที่เคยได้รับความนิยมในอดีตและรุ่นยอดนิยมมาผลิตอีกครั้งหนึ่ง ส่วนวัสดุที่ได้รับความนิยมในปีนี้ยังคงเป็นวัสดุที่มีความคงทนและมีน้ำหนักเบา คือ ไททาเนียม แพลทินัม สีที่เป็นที่นิยมคือสีน้ำเงิน Royal Blue
สำหรับครึ่งปีหลังจัดงบประมาณการตลาด 150 ล้านบาทโฆษณาประชาสัมพันธ์ รวมถึงการจัดงานอีเวนต์อีก 12 งาน เช่น งานแฟชั่นเอเชีย งานแฟชั่นเด็ก งานวันฮัลโลวีน งานครบรอบสยามพารากอน และอื่นๆ
นายจักรกฤษณ์ กีรติโชคชัยกุล ผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสบริหารสินค้า ห้างสรรพสินค้าพารากอน ดีพาร์ทเมนต์สโตร์ เปิดเผยว่า ตลาดนาฬิกาแบรนด์ระดับโลกในประเทศไทยยังไม่มีการรวบรวมมูลค่าตลาดรวมอย่างเป็นทางการ แต่สามารถประเมินและแบ่งตลาดเป็น 4 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มเทรนด์และแฟชั่นราคาต่ำกว่า 3 หมื่นบาท สัดส่วน 18%, กลุ่มมิดเดิล มาร์เกต ราคา 3 หมื่นบาทถึง 1 แสนบาท สัดส่วน 37%, กลุ่มไฮเอนด์ ราคา 1-3 แสนบาท สัดส่วน 30% และกลุ่มลักชัวรี ราคา 3 แสนบาทขึ้นไป สัดส่วน 15% โดยมีมูลค่าตลาดรวมประมาณ 4 หมื่นล้านบาท และเติบต่อเนื่องปีละประมาณ 7-8%
จากการสำรวจของสภาอุตสาหกรรมนาฬิกาสวิส (Federation of the Swiss Watch Industry) พบว่าคนไทยเป็นนักสะสมนาฬิกาติดอันดับ 4 ของโลก ทำให้ตลาดนาฬิกาในประเทศไทยได้รับการยอมรับจากผู้ผลิตและจำหน่ายให้เป็นตลาดเกิดใหม่ที่มีศักยภาพสูง ขณะเดียวกันทวีปเอเชียยังถือเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดด้วยสัดส่วน 56%
“ปัจจุบันคนไทยถือครองนาฬิกาประมาณ 3 เรือนขึ้นไป และพฤติกรรมการสะสมนาฬิกาของคนไทยก็เริ่มสูงขึ้นเพราะถือเป็นการลงทุนทางหนึ่ง โดยเฉพาะในส่วนของนาฬิกากลุ่มลักชัวรี ซึ่งยิ่งเวลาผ่านไปนานขึ้น ราคาก็จะยิ่งเพิ่มสูงมากขึ้น”
ล่าสุดสยามพารากอนจัดงาน “สยามพารากอน วอชต์ เอ็กซ์โป 2013” (Siam Paragon Watch Expo 2013) ระหว่างวันที่ 24 ก.ค.-13 ส.ค.ศกนี้ ณ บริเวณฮอลล์ ออฟ เฟรม, ฮอลล์ ออฟ มิร์เรอร์, วิชท์ บูติก และแผนกนาฬิกา พารากอน ดีพาร์ตเมนต์สโตร์ ชั้น M และแฟชั่นฮอลล์ ชั้น 1 สยามพารากอน โดยใช้งบประมาณ 50 ล้านบาท
“ปีนี้จัดเป็นปีที่ 8 มีมากกว่า 200 แบรนด์มาจัดแสดงในไทย คาดว่าตลอด 21 วันของการจัดงานจะมีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 3.5 แสนคน จะทำยอดขายได้ประมาณ 320 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7% จากปีก่อนที่มียอดขาย 300 ล้านบาท”
นางมยุรี ชัยพรหมประสิทธิ์ ผู้บริหารสายการตลาด ศูนย์การค้าสยามพารากอน เปิดเผยว่า ช่วงครึ่งปีแรกนี้นาฬิกาที่จำหน่ายในพารากอน ดีพาร์ตเมนต์สโตร์ ดิเอ็มโพเรียม และเดอะมอลล์ทุกสาขา เติบโต 15% ส่วนผู้จำหน่ายนาฬิกามียอดขายสูงกว่าเป้าหมาย 2-3 เท่า ทั้งยังมียอดขายสูงกว่าสาขาในห้างอื่นๆ ประมาณ 3-4 เท่า เนื่องจากปัจจัยด้านความหลากหลายของแบรนด์และระดับราคา
สำหรับนาฬิกาที่มาแรงในปีนี้คือกลุ่มแฟชั่น โดยเฉพาะนาฬิกากลไกสลับซับซ้อนกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ผลิตนาฬิกาชั้นนำหลายแบรนด์ต่างมีการนำนาฬิการุ่นคลาสสิกที่เคยได้รับความนิยมในอดีตและรุ่นยอดนิยมมาผลิตอีกครั้งหนึ่ง ส่วนวัสดุที่ได้รับความนิยมในปีนี้ยังคงเป็นวัสดุที่มีความคงทนและมีน้ำหนักเบา คือ ไททาเนียม แพลทินัม สีที่เป็นที่นิยมคือสีน้ำเงิน Royal Blue
สำหรับครึ่งปีหลังจัดงบประมาณการตลาด 150 ล้านบาทโฆษณาประชาสัมพันธ์ รวมถึงการจัดงานอีเวนต์อีก 12 งาน เช่น งานแฟชั่นเอเชีย งานแฟชั่นเด็ก งานวันฮัลโลวีน งานครบรอบสยามพารากอน และอื่นๆ