กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานในวันศุกร์ว่า นายจ้างสหรัฐเพิ่มการจ้างงานเล็กน้อยในเดือนพ.ค. และสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐสามารถรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งอาจส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มต้นปรับลดวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในช่วงต่อไปในปีนี้
ทั้งนี้ การจ้างงานนอกภาคเกษตรในสหรัฐเพิ่มขึ้น 175,000 ตำแหน่ง ในเดือนพ.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 149,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. ถึงแม้สหรัฐมีการขึ้นภาษีและตัดงบประมาณรายจ่ายในวงกว้างในช่วงต้นปีนี้ ขณะที่อัตราการว่างงานขยับขึ้น 0.1 % สู่ 7.6 % ในเดือนพ.ค. แต่นักเศรษฐศาสตร์ระบุว่า การปรับตัวขึ้นในครั้งนี้เป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจ เนื่องจากชาวสหรัฐจำนวนมากยิ่งขึ้นได้เริ่มต้นหางานทำ
อย่างไรก็ดี อัตราการว่างงานยังคงอยู่สูงกว่าระดับในช่วงก่อนเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นอย่างมาก และเดือนพ.ค.ถือเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันที่การจ้างงานในสหรัฐเพิ่มขึ้นในระดับต่ำกว่า 200,000 ตำแหน่งต่อเดือน
นักเศรษฐศาสตร์หลายรายกล่าวว่า รายงานในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงจำเป็นต้องได้รับแรงหนุนจากมาตรการของเฟด แต่เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดวงเงินในมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรภายในเดือนก.ย.
นายเอียน ลินเจน นักยุทธศาสตร์การลงทุนตราสารหนี้ของบริษัท ซีอาร์ที แคปิตัล กรุ๊ป กล่าวว่า "ตัวเลขนี้อยู่ในระดับที่แข็งแกร่งพอที่จะ สนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ควรมีการปรับลดขนาดมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรในช่วงปลายไตรมาส 3 หรือต้นไตรมาส 4"
เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะจัดประชุมกันในวันที่ 18-19 มิ.ย. ขณะที่มีการส่งสัญญาณว่าเฟดอาจใกล้ที่จะปรับลดวงเงินในมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรในอัตรา 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน ถึงแม้เศรษฐกิจไม่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นจนกว่าจะถึงช่วงปลายปีนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่แรงกดดันจากมาตรการตัดงบรายจ่ายของรัฐบาลกลางสหรัฐเบาบางลง
ตัวเลขการจ้างงานเดือนพ.ค.อยู่ในระดับที่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันศุกร์โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขดังกล่าว
รอยเตอร์สำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานในวันศุกร์ โดยผลสำรวจระบุว่า นักเศรษฐศาสตร์ 42 จาก 48 รายคาดว่า เฟดจะปรับลดวงเงินในมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรก่อนสิ้นปีนี้ โดย 21 รายในจำนวนนี้คาดว่า เฟดมีแนวโน้มปรับลดขนาดมาตรการดังกล่าวในไตรมาส 3 และ 19 รายในจำนวนนี้ระบุเจาะจงว่าอาจจะปรับลดในเดือนก.ย.
นายชาร์ลส์ พลอสเซอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย กล่าวว่า ตัวเลขการจ้างงานแสดงให้เห็นว่า นักลงทุนกังวลกันมากเกินไปในช่วงก่อนหน้านี้ในเรื่องผลกระทบที่เศรษฐกิจอาจได้รับจากการคุมเข้มนโยบาย การคลัง นอกจากนี้ เขายังเรียกร้องให้เฟดเริ่มต้นชะลอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในเร็วๆนี้ด้วย
นายพลอสเซอร์กล่าวว่า "เราทุกคนต้องการให้ตัวเลขการจ้างงานอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งกว่านี้ แต่ไม่มีเหตุผลที่จะทำให้เรารู้สึกเลวร้ายกับตัวเลขที่ออกมาในครั้งนี้"
นักวิเคราะห์หลายรายคาดว่า มาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลสหรัฐอาจส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโตเพียง 1.5 % ในไตรมาส 2 หลังจากขยายตัว 2.4 % ในไตรมาสแรก
การตัดงบประมาณส่งผลให้หน่วยงานรัฐบาลหลายแห่งระงับการจ้างงานใหม่ โดยตัวเลขการจ้างงานในภาครัฐของสหรัฐลดลง 3,000 ตำแหน่งใน เดือน พ.ค.
อัตราการเติบโตของการจ้างงานในเดือนพ.ค.อยู่ใกล้กับค่าเฉลี่ยในช่วง 12 เดือนก่อนหน้านั้น ในขณะที่อัตราการว่างงานในสหรัฐลดลงราว 0.5 % ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ส่วนจำนวนผู้ว่างงานในระยะยาวลดลงราว 1 ล้านคนในช่วงเวลาเดียวกัน
รายงานนี้ถือเป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า ภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐได้รับความเสียหายจากการตัดลดงบประมาณในยุโรป โดยการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐลดลง 8,000 ตำแหน่ง ในเดือนพ.ค.
ถึงแม้จำนวนชั่วโมงทำงานในสหรัฐขยับขึ้นเล็กน้อย แต่รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงก็ทรงตัวอยู่ที่ระดับเดิม โดยรายได้เพิ่มขึ้นเพียง 2 % เท่านั้นในช่วง12 เดือนที่ผ่านมา
การจ้างงานเพิ่มขึ้นมากที่สุดในภาควิชาชีพและบริการธุรกิจ โดยตำแหน่งงานชั่วคราวเพิ่มขึ้น 26,000 ตำแหน่งใน เดือนพ.ค. และสิ่งนี้เป็นสัญญาณ บ่งชี้ว่า นายจ้างอาจจะเพิ่มตำแหน่งงานเต็มเวลาในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า ขณะที่การจ้างงานในภาคสันทนาการ, โรงแรม, ค้าปลีก และก่อสร้างอยู่ในระดับ แข็งแกร่ง
อัตราการว่างงานขยับขึ้นเล็กน้อยในเดือนพ.ค. เนื่องจากมีประชาชนจำนวนมากเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกำลังแรงงาน และสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ
ชาวสหรัฐ 42,000 คนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกำลังแรงงานในเดือน พ.ค. โดยครอบคลุมถึงผู้ที่มีงานทำและไม่มีงานทำ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ มองว่าตัวเลขนี้ถือเป็นข่าวดี เนื่องจากการร่วงลงของอัตราการว่างงานในช่วงก่อนหน้านี้มีสาเหตุมาจากการที่คนงานจำนวนมากเลิกหางานทำ
ชาวสหรัฐที่เป็นส่วนหนึ่งของกำลังแรงงานมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นสู่ 63.4 % ของประชากรทั้งหมด
สัญญาณในทางบวกอีกประการหนึ่งอยู่ในผลสำรวจภาคครัวเรือนโดย รัฐบาลสหรัฐ ซึ่งเป็นการสำรวจข้อมูลเพื่อใช้ในการจัดทำอัตราการว่างงาน โดยผลสำรวจนี้ระบุว่าการจ้างงานเพิ่มขึ้นในอัตราที่แข็งแกร่งกว่าผลสำรวจภาคนายจ้าง อย่างไรก็ดี ตัวเลขในผลสำรวจภาคครัวเรือนอาจจะแกว่งตัวผันผวนเป็นอย่างมากในแต่ละเดือน
T.Thammasak
ทั้งนี้ การจ้างงานนอกภาคเกษตรในสหรัฐเพิ่มขึ้น 175,000 ตำแหน่ง ในเดือนพ.ค. หลังจากเพิ่มขึ้น 149,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. ถึงแม้สหรัฐมีการขึ้นภาษีและตัดงบประมาณรายจ่ายในวงกว้างในช่วงต้นปีนี้ ขณะที่อัตราการว่างงานขยับขึ้น 0.1 % สู่ 7.6 % ในเดือนพ.ค. แต่นักเศรษฐศาสตร์ระบุว่า การปรับตัวขึ้นในครั้งนี้เป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจ เนื่องจากชาวสหรัฐจำนวนมากยิ่งขึ้นได้เริ่มต้นหางานทำ
อย่างไรก็ดี อัตราการว่างงานยังคงอยู่สูงกว่าระดับในช่วงก่อนเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นอย่างมาก และเดือนพ.ค.ถือเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันที่การจ้างงานในสหรัฐเพิ่มขึ้นในระดับต่ำกว่า 200,000 ตำแหน่งต่อเดือน
นักเศรษฐศาสตร์หลายรายกล่าวว่า รายงานในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐยังคงจำเป็นต้องได้รับแรงหนุนจากมาตรการของเฟด แต่เฟดอาจจะเริ่มต้นปรับลดวงเงินในมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรภายในเดือนก.ย.
นายเอียน ลินเจน นักยุทธศาสตร์การลงทุนตราสารหนี้ของบริษัท ซีอาร์ที แคปิตัล กรุ๊ป กล่าวว่า "ตัวเลขนี้อยู่ในระดับที่แข็งแกร่งพอที่จะ สนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่า ควรมีการปรับลดขนาดมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรในช่วงปลายไตรมาส 3 หรือต้นไตรมาส 4"
เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะจัดประชุมกันในวันที่ 18-19 มิ.ย. ขณะที่มีการส่งสัญญาณว่าเฟดอาจใกล้ที่จะปรับลดวงเงินในมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรในอัตรา 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน ถึงแม้เศรษฐกิจไม่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้นจนกว่าจะถึงช่วงปลายปีนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่แรงกดดันจากมาตรการตัดงบรายจ่ายของรัฐบาลกลางสหรัฐเบาบางลง
ตัวเลขการจ้างงานเดือนพ.ค.อยู่ในระดับที่สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งในวันศุกร์โดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขดังกล่าว
รอยเตอร์สำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์หลังจากสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานในวันศุกร์ โดยผลสำรวจระบุว่า นักเศรษฐศาสตร์ 42 จาก 48 รายคาดว่า เฟดจะปรับลดวงเงินในมาตรการเข้าซื้อพันธบัตรก่อนสิ้นปีนี้ โดย 21 รายในจำนวนนี้คาดว่า เฟดมีแนวโน้มปรับลดขนาดมาตรการดังกล่าวในไตรมาส 3 และ 19 รายในจำนวนนี้ระบุเจาะจงว่าอาจจะปรับลดในเดือนก.ย.
นายชาร์ลส์ พลอสเซอร์ ประธานเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย กล่าวว่า ตัวเลขการจ้างงานแสดงให้เห็นว่า นักลงทุนกังวลกันมากเกินไปในช่วงก่อนหน้านี้ในเรื่องผลกระทบที่เศรษฐกิจอาจได้รับจากการคุมเข้มนโยบาย การคลัง นอกจากนี้ เขายังเรียกร้องให้เฟดเริ่มต้นชะลอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในเร็วๆนี้ด้วย
นายพลอสเซอร์กล่าวว่า "เราทุกคนต้องการให้ตัวเลขการจ้างงานอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งกว่านี้ แต่ไม่มีเหตุผลที่จะทำให้เรารู้สึกเลวร้ายกับตัวเลขที่ออกมาในครั้งนี้"
นักวิเคราะห์หลายรายคาดว่า มาตรการรัดเข็มขัดของรัฐบาลสหรัฐอาจส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโตเพียง 1.5 % ในไตรมาส 2 หลังจากขยายตัว 2.4 % ในไตรมาสแรก
การตัดงบประมาณส่งผลให้หน่วยงานรัฐบาลหลายแห่งระงับการจ้างงานใหม่ โดยตัวเลขการจ้างงานในภาครัฐของสหรัฐลดลง 3,000 ตำแหน่งใน เดือน พ.ค.
อัตราการเติบโตของการจ้างงานในเดือนพ.ค.อยู่ใกล้กับค่าเฉลี่ยในช่วง 12 เดือนก่อนหน้านั้น ในขณะที่อัตราการว่างงานในสหรัฐลดลงราว 0.5 % ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ส่วนจำนวนผู้ว่างงานในระยะยาวลดลงราว 1 ล้านคนในช่วงเวลาเดียวกัน
รายงานนี้ถือเป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า ภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐได้รับความเสียหายจากการตัดลดงบประมาณในยุโรป โดยการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐลดลง 8,000 ตำแหน่ง ในเดือนพ.ค.
ถึงแม้จำนวนชั่วโมงทำงานในสหรัฐขยับขึ้นเล็กน้อย แต่รายได้เฉลี่ยต่อชั่วโมงก็ทรงตัวอยู่ที่ระดับเดิม โดยรายได้เพิ่มขึ้นเพียง 2 % เท่านั้นในช่วง12 เดือนที่ผ่านมา
การจ้างงานเพิ่มขึ้นมากที่สุดในภาควิชาชีพและบริการธุรกิจ โดยตำแหน่งงานชั่วคราวเพิ่มขึ้น 26,000 ตำแหน่งใน เดือนพ.ค. และสิ่งนี้เป็นสัญญาณ บ่งชี้ว่า นายจ้างอาจจะเพิ่มตำแหน่งงานเต็มเวลาในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า ขณะที่การจ้างงานในภาคสันทนาการ, โรงแรม, ค้าปลีก และก่อสร้างอยู่ในระดับ แข็งแกร่ง
อัตราการว่างงานขยับขึ้นเล็กน้อยในเดือนพ.ค. เนื่องจากมีประชาชนจำนวนมากเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกำลังแรงงาน และสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ
ชาวสหรัฐ 42,000 คนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกำลังแรงงานในเดือน พ.ค. โดยครอบคลุมถึงผู้ที่มีงานทำและไม่มีงานทำ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์ มองว่าตัวเลขนี้ถือเป็นข่าวดี เนื่องจากการร่วงลงของอัตราการว่างงานในช่วงก่อนหน้านี้มีสาเหตุมาจากการที่คนงานจำนวนมากเลิกหางานทำ
ชาวสหรัฐที่เป็นส่วนหนึ่งของกำลังแรงงานมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นสู่ 63.4 % ของประชากรทั้งหมด
สัญญาณในทางบวกอีกประการหนึ่งอยู่ในผลสำรวจภาคครัวเรือนโดย รัฐบาลสหรัฐ ซึ่งเป็นการสำรวจข้อมูลเพื่อใช้ในการจัดทำอัตราการว่างงาน โดยผลสำรวจนี้ระบุว่าการจ้างงานเพิ่มขึ้นในอัตราที่แข็งแกร่งกว่าผลสำรวจภาคนายจ้าง อย่างไรก็ดี ตัวเลขในผลสำรวจภาคครัวเรือนอาจจะแกว่งตัวผันผวนเป็นอย่างมากในแต่ละเดือน
T.Thammasak