ภาวะปั่นป่วนวุ่นวายในตลาดหุ้นโตเกียวสัปดาห์ที่แล้วแสดงให้เห็นว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะกำลังเผชิญ กับความเสี่ยงครั้งใหญ่ ซึ่งได้แก่ ความเสี่ยงที่ว่า ถ้าหากความเชื่อมั่นของนักลงทุนตกต่ำลง รัฐบาลและธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ก็อาจจะเหลือทางเลือกเพียงไม่กี่ทางในการหนุนความเชื่อมั่นในตลาด
ดัชนีนิกเกอิแกว่งตัวผันผวนในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยดัชนีแกว่งตัวทั้งในแดนบวกและแดนลบในวันศุกร์ โดยเคลื่อนตัวในกรอบกว้างถึง 7.1 % ก่อนจะปิดตลาดขยับขึ้น 0.9 %
ความผันผวนนี้สร้างความกังวลให้แก่นักลงทุน หลังจากดัชนีดิ่งลง 7.3 % ในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นการทรุดตัวลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ เกิดเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิในเดือนมี.ค. 2011
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (JGB) ประเภทอายุ 10 ปี พุ่งขึ้นมาแล้วราว 3 เท่าในระยะนี้ โดยทะยานขึ้นสู่ 1 % ในวันที่ 23 พ.ค. จากสถิติต่ำสุดที่ 0.315 % ที่ทำไว้ในช่วงต้นเดือน เม.ย. หลังจากบีโอเจประกาศมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์ครั้งใหญ่
อัตราผลตอบแทน JGB ประเภทอายุ 10 ปีถือเป็นอัตราดอกเบี้ยสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอัตราดอกเบี้ยจำนองบ้าน และอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อธุรกิจของญี่ปุ่น
ความผันผวนของตลาดในช่วงนี้ถือเป็นบททดสอบครั้งสำคัญบทแรกสำหรับนายอาเบะ หลังจากเขาได้รับความนิยมสูงทั้งในญี่ปุ่นและในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท เนื่องจากเขาได้ดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายมาตรการ ซึ่งรวมถึงมาตรการผ่อนคลายทางการเงินครั้งใหญ่, การใช้งบรายจ่ายจำนวนมากของรัฐบาล และ "แผนยุทธศาสตร์การเติบโต" ที่เน้นไปที่การปรับลดกฎระเบียบและการเปิดเสรีทางการค้า
ปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งคือผลข้างเคียงในเชิงลบที่ตลาดสินทรัพย์จะได้รับจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ชะลอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในอนาคต โดยปัจจัยเสี่ยงนี้นับเป็นปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศที่รัฐบาลญี่ปุ่นแทบไม่สามารถแก้ไขได้
การดิ่งลงของดัชนีนิกเกอิในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาเกิดจากตัวเลขกิจกรรมภาคอุตสาหกรรมที่อ่อนแอในจีน ซึ่งเป็นประเทศที่ซื้อสินค้าญี่ปุ่นมากเป็นอันดับ 2 ของโลก นอกจากนี้ ดัชนีนิกเกอิยังได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่า เฟดอาจจะชะลอการเข้าซื้อตราสารหนี้ในปีนี้
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่า การดิ่งลงของดัชนีนิกเกอิในช่วงนี้เกิดจาก แรงเทขายทำกำไรที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ขณะนี้ดัชนีนิกเกอิได้ร่วงลงสู่ระดับเดียวกับในช่วงต้นเดือนพ.ค. แต่ยังคงพุ่งขึ้นมาแล้วเกือบ 70 % จากช่วงกลางเดือนพ.ย. 2012 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดเริ่มได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า นายอาเบะจะได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และเขาจะดำเนินนโยบายกอบกู้ เศรษฐกิจด้วยการเพิ่มปริมาณเงินและรายจ่ายภาครัฐ
นางออเดรย์ แคปแลน ผู้จัดการกองทุนเฟเดอเรเต็ด อินเตอร์ คอนติเนนตัล กล่าวว่า "ดิฉันมองว่าการดิ่งลงของดัชนีนิกเกอิในช่วงนี้ เป็นเพียงการชะลอความเร็วชั่วคราว" โดยนางแคปแลนปรับเพิ่มสัดส่วน การลงทุนในญี่ปุ่นขึ้นสู่ 20 % ของกองทุน จาก 15 % ในช่วงสิ้นเดือน มี.ค.
นางแคปแลนกล่าวว่า "เศรษฐกิจญี่ปุ่นขณะนี้มีสภาพดีกว่าช่วงหลายเดือนก่อนเป็นอย่างมาก และปัจจัยนี้จะช่วยหนุนตลาดหุ้นญี่ปุ่น"
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์กล่าวว่า ปัญหาหนึ่งที่นายอาเบะและนาย ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการบีโอเจ กำลังเผชิญ คือการที่นักลงทุนและผู้บริโภคได้คาดการณ์ในทางบวกในระดับที่สูงมากในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ตัวเลขรายได้และรายจ่ายของภาคเอกชน ยังไม่ได้ปรับตัวขึ้นอย่างยั่งยืนมากนัก
การบริโภคในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในระยะนี้ และการส่งออกได้เข้าสู่ เสถียรภาพแล้วโดยได้รับแรงหนุนจากนโยบายเศรษฐกิจของนายอาเบะ(อาเบะโนมิคส์) โดยเฉพาะการผ่อนคลายนโยบายการเงินครั้งใหญ่ ของบีโอเจ ทั้งนี้ บีโอเจได้ประกาศว่าจะยุติภาวะเงินฝืดที่ดำเนินมานาน 15 ปี โดยใช้วิธีเพิ่มปริมาณเงินขึ้นเป็น 2 เท่า เพื่อทำให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นสู่ 2 % ภายในเวลา 2 ปี
กลุ่มผู้สนับสนุนอาเบะโนมิคส์กล่าวว่า โอกาสนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีที่สุดของญี่ปุ่นในการออกจากกับดักสภาพคล่อง ในขณะที่มุมมองทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปจะก่อให้เกิดวงจรอันรุ่งเรืองที่ประกอบด้วย การบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น, ผลกำไรภาคเอกชนที่สูงขึ้น, การลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น และค่าจ้างเงินเดือนที่ปรับสูงขึ้น ซึ่งสิ่งนี้จะส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นในที่สุด
หลังจากตลาดแกว่งตัวผันผวนในระยะนี้ นายคุโรดะได้กล่าวตอบรับต่อเหตุการณ์นี้ด้วยการกล่าวว่า เสถียรภาพของตลาดพันธบัตรถือเป็น "สิ่งที่พึงปรารถนาเป็นอย่างยิ่ง"
นายคุโรดะคาดการณ์ในทางบวกต่อนโยบายของบีโอเจ โดยเขากล่าวว่า "สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการที่การผ่อนคลายนโยบายการเงินของเรา ได้ส่งผลดีด้วยการทำให้เกิดวงจรในเชิงบวกสำหรับการผลิต, รายได้ และรายจ่ายในเศรษฐกิจญี่ปุ่น และทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยสิ่งนี้ถือเป็นความหวังของเรา และเป็นสิ่งที่สามารถบรรลุได้จริง โดยเรากำลังอยู่ในกระบวนการของการเกิดสิ่งนี้"
เยนดิ่งลงมาแล้วกว่า 20 % เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในช่วงที่ผ่านมา และอัตราดอกเบี้ยญี่ปุ่นยังคงอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งปัจจัยนี้สร้างความพึงพอใจให้แก่นักลงทุนและผู้ส่งออกญี่ปุ่น
บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ 7 แห่งของญี่ปุ่นได้รับแรงหนุนสำคัญจากการอ่อนค่าของเยน โดยบริษัทกลุ่มนี้ได้เปิดเผยแผนการในการเพิ่มงบลงทุนทั่วโลกขึ้นเกือบ 15 % ในปีงบดุลบัญชีปัจจุบัน แต่แผนการเหล่านี้จะต้อง ใช้เวลาในการดำเนินการ
ในช่วงนี้ สิ่งที่สำคัญคือการรักษาความเชื่อมั่นของผู้บริโภค, ภาคเอกชน และนักลงทุนไว้ต่อไป โดยนายโคจิ ฮาจิ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของสถาบันวิจัย NLI กล่าวว่า "เศรษฐกิจญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้นในระยะนี้ เพราะความเชื่อมั่นเพิ่มสูงขึ้น และภาคครัวเรือนออกมาจับจ่ายใช้สอย ถึงแม้รายได้ของภาคครัวเรือนไม่ได้เพิ่มขึ้น โดยสิ่งนี้เป็นผลกระทบจากตลาด"
หลังจากตลาดหุ้นญี่ปุ่นดิ่งลงครั้งใหญ่ในวันพฤหัสบดี สมาชิกคณะรัฐมนตรี ของนายอาเบะก็กล่าวว่า พวกเขาจะผลักดันการดำเนินนโยบายในปัจจุบันต่อไป
นายอากิระ อามาริ รมว.เศรษฐกิจญี่ปุ่นกล่าวในวันศุกร์ว่า "รัฐบาลประสบความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องในการดำเนินขั้นตอนฟื้นฟูเศรษฐกิจญี่ปุ่นผมมองไม่เห็นปัญหาใดๆในส่วนนี้"
ขณะนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า รัฐบาลหรือบีโอเจจะทำสิ่งใดได้บ้าง ถ้าหาก ตลาดดิ่งลงเพราะไม่เชื่อมั่นในนายอาเบะ จะไม่สามารถเพิ่มรายจ่ายของรัฐบาลขึ้นได้อย่างง่ายดาย และจะไม่สามารถเลื่อนเวลาในการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มออกไปอย่างง่ายดายเช่นกัน เพราะการเพิ่มรายจ่ายและการเลื่อนกำหนดปรับขึ้นภาษีออกไปนั้น อาจทำลายความเชื่อมั่นในแผนการควบคุมภาระหนี้ของญี่ปุ่น โดยขณะนี้ญี่ปุ่นมีหนี้สูงกว่า 2 เท่าของผลผลิตทางเศรษฐกิจรายปี ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในบรรดาประเทศพัฒนาแล้ว
คณะกรรมการที่ปรึกษาของรัฐบาลญี่ปุ่นมีกำหนดที่จะประกาศเตือนในช่วงไม่กี่วันข้างหน้าว่า ไม่มีสิ่งใดรับประกันว่า นักลงทุนชาวญี่ปุ่นจะยังคงเข้าซื้อ JGB ต่อไป และสิ่งนี้อาจส่งผลให้อัตราผลตอบแทน JGB พุ่งขึ้นสูงมากจนสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น
สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ "ลูกศรอันที่สาม" ของนายอาเบะ มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยลูกศรอันที่สามนี้คือแผนกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่คาดกันว่านายอาเบะจะประกาศออกมาในเดือนมิ.ย. โดยจะครอบคลุมการปรับภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในภาคเอกชน, มาตรการในการส่งเสริมให้ผู้หญิงครองสัดส่วนมากยิ่งขึ้นในกำลังแรงงาน และการเปิดเสรีภาคไฟฟ้ากับภาคการแพทย์
นักวิเคราะห์กล่าวว่า การฟื้นตัวอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจญี่ปุ่น จำเป็นต้องพึ่งพาลูกศรอันที่สามเป็นอย่างมาก โดยปัญหานี้เคยเป็นสิ่งที่สร้างความกังวลให้กับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นมาแล้วหลายคน
นางนาโอมิ มูกูรูมะ นักยุทธศาสตร์การลงทุนตราสารหนี้ของมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ มอร์แกน สแตนเลย์ กล่าวว่า "สิ่งที่สำคัญในขณะนี้ก็คือว่า แผนยุทธศาสตร์การเติบโตที่จะออกมาในเดือนมิ.ย. จะสามารถตามทันความคาดหวังในระดับสูงที่ตลาดมีต่ออาเบะโนมิคส์ได้อย่างรวดเร็วเพียงใด"
"ขั้นตอนเหล่านี้จะไม่ส่งผลกระทบในทันที ดังนั้นสิ่งที่สำคัญก็คือ การที่รัฐบาลดำเนินขั้นตอนต่างๆต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตลาด" นางมูกูรูมะกล่าว
บีโอเจเผชิญปัญหาในการควบุคมอัตราดอกเบี้ยระยะยาวด้วย
นายโจเซฟ คาปูร์โซ นักยุทธศาสตร์การลงทุนของธนาคาร คอมมอนเวลธ์ แบงก์ ออฟ ออสเตรเลีย กล่าวว่า "นายคุโรดะจำเป็น ต้องทำบางสิ่งบางอย่าง เช่น การเข้าซื้อ JGB มากยิ่งขึ้น และเข้าซื้อ ในระดับที่มากพอที่จะทำให้ตลาดเชื่อมั่นว่า อัตราผลตอบแทนอาจปรับ ตัวลดลง"
อัตราผลตอบแทน JGB ประเภท 10 ปีพุ่งขึ้นแตะ 1.0 % ในช่วงเช้าวันพฤหัสบดี โดยนักวิเคราะห์หลายรายกล่าวว่า ระดับดังกล่าว เป็นระดับที่สร้างความกังวลให้แก่บีโอเจ เพราะอัตราผลตอบแทนที่ระดับ ดังกล่าวอาจเริ่มส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยจำนองและอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมอื่นๆ พุ่งสูงขึ้นด้วย ซึ่งจะเป็นภัยคุกคามต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
นายฮาจิกล่าวว่า บีโอเจอาจถูกบังคับให้ปรับเปลี่ยนวิธีการซื้อพันธบัตร โดยบีโอเจอาจขยายการประมูลที่บีโอเจดำเนินการร่วมกับสถาบันการเงินในระยะนี้ โดยเพิ่มกระบวนการใหม่ในการเข้าซื้อพันธบัตรโดยตรงจากตลาดด้วย ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวจะเปิดโอกาสให้บีโอเจสามารถตอบรับต่อสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และขานรับได้อย่างเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้นด้วย
นายฮาจิกล่าวว่า "วิธีการนี้อาจจะเป็นหนึ่งในวิธีการที่มีเหลืออยู่เพียงไม่กี่วิธีในการที่บีโอเจจะสร้างเสถียรภาพให้แก่ตลาด โดยเหตุผลเดียวที่บีโอเจไม่ได้ทำสิ่งนี้ในตอนนี้เป็นเพราะว่า วิธีการนี้เปรียบเหมือน กับการแปลงหนี้เป็นทุน อย่างไรก็ดี บีโอเจค้ำประกันหนี้รัฐบาลอยู่แล้วในขณะนี้ ดังนั้นสิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบันนี้จึงไม่แตกต่างจากวิธีการดังกล่าวมากนัก"
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak
ดัชนีนิกเกอิแกว่งตัวผันผวนในวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยดัชนีแกว่งตัวทั้งในแดนบวกและแดนลบในวันศุกร์ โดยเคลื่อนตัวในกรอบกว้างถึง 7.1 % ก่อนจะปิดตลาดขยับขึ้น 0.9 %
ความผันผวนนี้สร้างความกังวลให้แก่นักลงทุน หลังจากดัชนีดิ่งลง 7.3 % ในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นการทรุดตัวลงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ เกิดเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิในเดือนมี.ค. 2011
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (JGB) ประเภทอายุ 10 ปี พุ่งขึ้นมาแล้วราว 3 เท่าในระยะนี้ โดยทะยานขึ้นสู่ 1 % ในวันที่ 23 พ.ค. จากสถิติต่ำสุดที่ 0.315 % ที่ทำไว้ในช่วงต้นเดือน เม.ย. หลังจากบีโอเจประกาศมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์ครั้งใหญ่
อัตราผลตอบแทน JGB ประเภทอายุ 10 ปีถือเป็นอัตราดอกเบี้ยสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอัตราดอกเบี้ยจำนองบ้าน และอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อธุรกิจของญี่ปุ่น
ความผันผวนของตลาดในช่วงนี้ถือเป็นบททดสอบครั้งสำคัญบทแรกสำหรับนายอาเบะ หลังจากเขาได้รับความนิยมสูงทั้งในญี่ปุ่นและในตลาดหุ้นวอลล์สตรีท เนื่องจากเขาได้ดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหลายมาตรการ ซึ่งรวมถึงมาตรการผ่อนคลายทางการเงินครั้งใหญ่, การใช้งบรายจ่ายจำนวนมากของรัฐบาล และ "แผนยุทธศาสตร์การเติบโต" ที่เน้นไปที่การปรับลดกฎระเบียบและการเปิดเสรีทางการค้า
ปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่งคือผลข้างเคียงในเชิงลบที่ตลาดสินทรัพย์จะได้รับจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ชะลอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในอนาคต โดยปัจจัยเสี่ยงนี้นับเป็นปัจจัยเสี่ยงจากต่างประเทศที่รัฐบาลญี่ปุ่นแทบไม่สามารถแก้ไขได้
การดิ่งลงของดัชนีนิกเกอิในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาเกิดจากตัวเลขกิจกรรมภาคอุตสาหกรรมที่อ่อนแอในจีน ซึ่งเป็นประเทศที่ซื้อสินค้าญี่ปุ่นมากเป็นอันดับ 2 ของโลก นอกจากนี้ ดัชนีนิกเกอิยังได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่ว่า เฟดอาจจะชะลอการเข้าซื้อตราสารหนี้ในปีนี้
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่า การดิ่งลงของดัชนีนิกเกอิในช่วงนี้เกิดจาก แรงเทขายทำกำไรที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ขณะนี้ดัชนีนิกเกอิได้ร่วงลงสู่ระดับเดียวกับในช่วงต้นเดือนพ.ค. แต่ยังคงพุ่งขึ้นมาแล้วเกือบ 70 % จากช่วงกลางเดือนพ.ย. 2012 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดเริ่มได้รับแรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่า นายอาเบะจะได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และเขาจะดำเนินนโยบายกอบกู้ เศรษฐกิจด้วยการเพิ่มปริมาณเงินและรายจ่ายภาครัฐ
นางออเดรย์ แคปแลน ผู้จัดการกองทุนเฟเดอเรเต็ด อินเตอร์ คอนติเนนตัล กล่าวว่า "ดิฉันมองว่าการดิ่งลงของดัชนีนิกเกอิในช่วงนี้ เป็นเพียงการชะลอความเร็วชั่วคราว" โดยนางแคปแลนปรับเพิ่มสัดส่วน การลงทุนในญี่ปุ่นขึ้นสู่ 20 % ของกองทุน จาก 15 % ในช่วงสิ้นเดือน มี.ค.
นางแคปแลนกล่าวว่า "เศรษฐกิจญี่ปุ่นขณะนี้มีสภาพดีกว่าช่วงหลายเดือนก่อนเป็นอย่างมาก และปัจจัยนี้จะช่วยหนุนตลาดหุ้นญี่ปุ่น"
อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์กล่าวว่า ปัญหาหนึ่งที่นายอาเบะและนาย ฮารุฮิโกะ คุโรดะ ผู้ว่าการบีโอเจ กำลังเผชิญ คือการที่นักลงทุนและผู้บริโภคได้คาดการณ์ในทางบวกในระดับที่สูงมากในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ตัวเลขรายได้และรายจ่ายของภาคเอกชน ยังไม่ได้ปรับตัวขึ้นอย่างยั่งยืนมากนัก
การบริโภคในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในระยะนี้ และการส่งออกได้เข้าสู่ เสถียรภาพแล้วโดยได้รับแรงหนุนจากนโยบายเศรษฐกิจของนายอาเบะ(อาเบะโนมิคส์) โดยเฉพาะการผ่อนคลายนโยบายการเงินครั้งใหญ่ ของบีโอเจ ทั้งนี้ บีโอเจได้ประกาศว่าจะยุติภาวะเงินฝืดที่ดำเนินมานาน 15 ปี โดยใช้วิธีเพิ่มปริมาณเงินขึ้นเป็น 2 เท่า เพื่อทำให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นสู่ 2 % ภายในเวลา 2 ปี
กลุ่มผู้สนับสนุนอาเบะโนมิคส์กล่าวว่า โอกาสนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีที่สุดของญี่ปุ่นในการออกจากกับดักสภาพคล่อง ในขณะที่มุมมองทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปจะก่อให้เกิดวงจรอันรุ่งเรืองที่ประกอบด้วย การบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น, ผลกำไรภาคเอกชนที่สูงขึ้น, การลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น และค่าจ้างเงินเดือนที่ปรับสูงขึ้น ซึ่งสิ่งนี้จะส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นในที่สุด
หลังจากตลาดแกว่งตัวผันผวนในระยะนี้ นายคุโรดะได้กล่าวตอบรับต่อเหตุการณ์นี้ด้วยการกล่าวว่า เสถียรภาพของตลาดพันธบัตรถือเป็น "สิ่งที่พึงปรารถนาเป็นอย่างยิ่ง"
นายคุโรดะคาดการณ์ในทางบวกต่อนโยบายของบีโอเจ โดยเขากล่าวว่า "สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการที่การผ่อนคลายนโยบายการเงินของเรา ได้ส่งผลดีด้วยการทำให้เกิดวงจรในเชิงบวกสำหรับการผลิต, รายได้ และรายจ่ายในเศรษฐกิจญี่ปุ่น และทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยสิ่งนี้ถือเป็นความหวังของเรา และเป็นสิ่งที่สามารถบรรลุได้จริง โดยเรากำลังอยู่ในกระบวนการของการเกิดสิ่งนี้"
เยนดิ่งลงมาแล้วกว่า 20 % เมื่อเทียบกับดอลลาร์ในช่วงที่ผ่านมา และอัตราดอกเบี้ยญี่ปุ่นยังคงอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งปัจจัยนี้สร้างความพึงพอใจให้แก่นักลงทุนและผู้ส่งออกญี่ปุ่น
บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ 7 แห่งของญี่ปุ่นได้รับแรงหนุนสำคัญจากการอ่อนค่าของเยน โดยบริษัทกลุ่มนี้ได้เปิดเผยแผนการในการเพิ่มงบลงทุนทั่วโลกขึ้นเกือบ 15 % ในปีงบดุลบัญชีปัจจุบัน แต่แผนการเหล่านี้จะต้อง ใช้เวลาในการดำเนินการ
ในช่วงนี้ สิ่งที่สำคัญคือการรักษาความเชื่อมั่นของผู้บริโภค, ภาคเอกชน และนักลงทุนไว้ต่อไป โดยนายโคจิ ฮาจิ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของสถาบันวิจัย NLI กล่าวว่า "เศรษฐกิจญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้นในระยะนี้ เพราะความเชื่อมั่นเพิ่มสูงขึ้น และภาคครัวเรือนออกมาจับจ่ายใช้สอย ถึงแม้รายได้ของภาคครัวเรือนไม่ได้เพิ่มขึ้น โดยสิ่งนี้เป็นผลกระทบจากตลาด"
หลังจากตลาดหุ้นญี่ปุ่นดิ่งลงครั้งใหญ่ในวันพฤหัสบดี สมาชิกคณะรัฐมนตรี ของนายอาเบะก็กล่าวว่า พวกเขาจะผลักดันการดำเนินนโยบายในปัจจุบันต่อไป
นายอากิระ อามาริ รมว.เศรษฐกิจญี่ปุ่นกล่าวในวันศุกร์ว่า "รัฐบาลประสบความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องในการดำเนินขั้นตอนฟื้นฟูเศรษฐกิจญี่ปุ่นผมมองไม่เห็นปัญหาใดๆในส่วนนี้"
ขณะนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า รัฐบาลหรือบีโอเจจะทำสิ่งใดได้บ้าง ถ้าหาก ตลาดดิ่งลงเพราะไม่เชื่อมั่นในนายอาเบะ จะไม่สามารถเพิ่มรายจ่ายของรัฐบาลขึ้นได้อย่างง่ายดาย และจะไม่สามารถเลื่อนเวลาในการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มออกไปอย่างง่ายดายเช่นกัน เพราะการเพิ่มรายจ่ายและการเลื่อนกำหนดปรับขึ้นภาษีออกไปนั้น อาจทำลายความเชื่อมั่นในแผนการควบคุมภาระหนี้ของญี่ปุ่น โดยขณะนี้ญี่ปุ่นมีหนี้สูงกว่า 2 เท่าของผลผลิตทางเศรษฐกิจรายปี ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในบรรดาประเทศพัฒนาแล้ว
คณะกรรมการที่ปรึกษาของรัฐบาลญี่ปุ่นมีกำหนดที่จะประกาศเตือนในช่วงไม่กี่วันข้างหน้าว่า ไม่มีสิ่งใดรับประกันว่า นักลงทุนชาวญี่ปุ่นจะยังคงเข้าซื้อ JGB ต่อไป และสิ่งนี้อาจส่งผลให้อัตราผลตอบแทน JGB พุ่งขึ้นสูงมากจนสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น
สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ "ลูกศรอันที่สาม" ของนายอาเบะ มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยลูกศรอันที่สามนี้คือแผนกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่คาดกันว่านายอาเบะจะประกาศออกมาในเดือนมิ.ย. โดยจะครอบคลุมการปรับภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในภาคเอกชน, มาตรการในการส่งเสริมให้ผู้หญิงครองสัดส่วนมากยิ่งขึ้นในกำลังแรงงาน และการเปิดเสรีภาคไฟฟ้ากับภาคการแพทย์
นักวิเคราะห์กล่าวว่า การฟื้นตัวอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจญี่ปุ่น จำเป็นต้องพึ่งพาลูกศรอันที่สามเป็นอย่างมาก โดยปัญหานี้เคยเป็นสิ่งที่สร้างความกังวลให้กับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นมาแล้วหลายคน
นางนาโอมิ มูกูรูมะ นักยุทธศาสตร์การลงทุนตราสารหนี้ของมิตซูบิชิ ยูเอฟเจ มอร์แกน สแตนเลย์ กล่าวว่า "สิ่งที่สำคัญในขณะนี้ก็คือว่า แผนยุทธศาสตร์การเติบโตที่จะออกมาในเดือนมิ.ย. จะสามารถตามทันความคาดหวังในระดับสูงที่ตลาดมีต่ออาเบะโนมิคส์ได้อย่างรวดเร็วเพียงใด"
"ขั้นตอนเหล่านี้จะไม่ส่งผลกระทบในทันที ดังนั้นสิ่งที่สำคัญก็คือ การที่รัฐบาลดำเนินขั้นตอนต่างๆต่อเนื่องกันอย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตลาด" นางมูกูรูมะกล่าว
บีโอเจเผชิญปัญหาในการควบุคมอัตราดอกเบี้ยระยะยาวด้วย
นายโจเซฟ คาปูร์โซ นักยุทธศาสตร์การลงทุนของธนาคาร คอมมอนเวลธ์ แบงก์ ออฟ ออสเตรเลีย กล่าวว่า "นายคุโรดะจำเป็น ต้องทำบางสิ่งบางอย่าง เช่น การเข้าซื้อ JGB มากยิ่งขึ้น และเข้าซื้อ ในระดับที่มากพอที่จะทำให้ตลาดเชื่อมั่นว่า อัตราผลตอบแทนอาจปรับ ตัวลดลง"
อัตราผลตอบแทน JGB ประเภท 10 ปีพุ่งขึ้นแตะ 1.0 % ในช่วงเช้าวันพฤหัสบดี โดยนักวิเคราะห์หลายรายกล่าวว่า ระดับดังกล่าว เป็นระดับที่สร้างความกังวลให้แก่บีโอเจ เพราะอัตราผลตอบแทนที่ระดับ ดังกล่าวอาจเริ่มส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยจำนองและอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมอื่นๆ พุ่งสูงขึ้นด้วย ซึ่งจะเป็นภัยคุกคามต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
นายฮาจิกล่าวว่า บีโอเจอาจถูกบังคับให้ปรับเปลี่ยนวิธีการซื้อพันธบัตร โดยบีโอเจอาจขยายการประมูลที่บีโอเจดำเนินการร่วมกับสถาบันการเงินในระยะนี้ โดยเพิ่มกระบวนการใหม่ในการเข้าซื้อพันธบัตรโดยตรงจากตลาดด้วย ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวจะเปิดโอกาสให้บีโอเจสามารถตอบรับต่อสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และขานรับได้อย่างเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้นด้วย
นายฮาจิกล่าวว่า "วิธีการนี้อาจจะเป็นหนึ่งในวิธีการที่มีเหลืออยู่เพียงไม่กี่วิธีในการที่บีโอเจจะสร้างเสถียรภาพให้แก่ตลาด โดยเหตุผลเดียวที่บีโอเจไม่ได้ทำสิ่งนี้ในตอนนี้เป็นเพราะว่า วิธีการนี้เปรียบเหมือน กับการแปลงหนี้เป็นทุน อย่างไรก็ดี บีโอเจค้ำประกันหนี้รัฐบาลอยู่แล้วในขณะนี้ ดังนั้นสิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบันนี้จึงไม่แตกต่างจากวิธีการดังกล่าวมากนัก"
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak