นักวิเคราะห์เตือนเศรษฐกิจสหรัฐถูกกระทบหากบอนด์ยิลด์พุ่งทะลุ 2% แรงกดดันในตลาดพันธบัตรสหรัฐในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรพุ่งขึ้นจากสถิติต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และขณะนี้อัตราดอกเบี้ยอาจจะกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในสหรัฐเนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐจำเป็นต้องพึ่งพาเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ
ถึงแม้ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นเข้าใกล้สถิติสูงสุดที่ทำไว้เมื่อ 5 ปีก่อนแต่ตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่มีขนาด 11.6 ล้านล้านดอลลาร์ก็ชะลอการปรับตัวขึ้น และราคาพันธบัตรดิ่งลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นเดือนธ.ค.2012เป็นต้นมา
ปัจจัยดังกล่าวหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรให้พุ่งขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเป็นสิ่งที่ปรับตัวในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาพันธบัตรโดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีอยู่ที่ 2.05 %ในวันนี้ ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 เม.ย. 2012 หรือตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิปีที่แล้ว
ปัจจัยบางประการที่กระตุ้นให้นักลงทุนเทขายพันธบัตรออกมาถือเป็นปัจจัยบวกในทางเศรษฐกิจ โดยปัจจัยเหล่านี้รวมถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นในสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น, สัญญาณบ่งชี้ว่าวิกฤติหนี้ยุโรปบรรเทาลง และตัวเลขเศรษฐกิจบางตัวของสหรัฐที่บ่งชี้ถึงแนวโน้มในทางบวก
อย่างไรก็ดี เมื่อราคาพันธบัตรดิ่งลง ภาคเศรษฐกิจที่ผูกอยู่กับอัตราดอกเบี้ยก็อาจจะได้รับความเสียหาย โดยตลาดที่อยู่อาศัย, ยอดขายรถยนต์, การลงทุนทางธุรกิจ และการลงทุนในภาครัฐอาจจะได้รับผลกระทบในขณะที่ต้นทุนการกู้ยืมพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนสินเชื่อทั้งหมดมีความสัมพันธ์กับตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ
นายทอม เนลสัน หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของบริษัทไรช์ แอนด์ ถัง กล่าวว่า "ผมเป็นคนหนึ่งที่กังวลว่า อะไรจะเกิดขึ้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยพุ่งสูงขึ้น" โดยบริษัทของเขาบริหารสินทรัพย์ 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์และเกือบครึ่งหนึ่งอยู่ในกองทุนรวมตลาดเงิน
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเคยมีการคาดการณ์มาแล้วหลายครั้งว่าตลาดพันธบัตรจะยุติการปรับตัวขึ้นหลังจากปรับขึ้นมานาน 30 ปี โดยนายบิล กรอส ผู้จัดการ PIMCO Total Return Fund ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปรับลดการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐลงอย่างมากในเดือนมี.ค.2012 อย่างไรก็ดี ราคาพันธบัตรพุ่งขึ้นต่อไปจนถึงเดือนพ.ย.และส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลงผ่านระดับ 2 % ลงไปจนแตะ 1.3810 % ในวันที่ 25 ก.ค.2012
นักลงทุนหลายรายคาดว่า มีโอกาสน้อยที่ตลาดพันธบัตรสหรัฐจะเผชิญกับแรงเทขายอย่างหนักหน่วง เนื่องจากตลาดยังคงได้รับแรงหนุนจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยเฟดได้เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและตราสารหนี้ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) จากธนาคารพาณิชย์ในอัตรา 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนในช่วงนี้ และยังไม่มีแผนที่จะลดการเข้าซื้อในเร็วๆนี้ โดยมาตรการนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจโดยผ่านทางการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบธนาคาร
อย่างไรก็ดี นักลงทุนหลายรายได้โยกย้ายเงินลงทุนออกจากตราสารหนี้เข้าสู่หุ้นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาเพราะต้องการอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้น โดยการลงทุนในดัชนี S&P 500 ให้ผลกำไรสูงกว่า6 % นับตั้งแต่สิ้นเดือนพ.ย. แต่การลงทุนในพันธบัตรสหรัฐมีอัตราผลกำไรติดลบ 1.3 %
ด้วยเหตุนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐประเภท 10 ปีจึงพุ่งขึ้นเหนือ 2 % ในสัปดาห์ที่แล้วเป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน และมีการคาดการณ์กันว่าอัตราผลตอบแทนจะปรับตัวขึ้นต่อไป
นายฮันส์ มิคเคลเสน นักยุทธศาสตร์การลงทุนตราสารหนี้ของแบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ กล่าวว่า "สิ่งนี้ถือเป็นความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดสำหรับนักลงทุนในตราสารหนี้ และผมก็ประหลาดใจที่อัตราผลตอบแทนพุ่งขึ้นแตะ 2 % ไปแล้ว"
ในเดือนต.ค. 2012 นายมิคเคลเสนเคยคาดว่า จะมีการโยกย้ายเงินลงทุนจำนวนมากออกจากตราสารหนี้เข้าสู่ตลาดหุ้น (Great Rotation)ในช่วงต้นปี 2013 นอกจากนี้ เจ.พี.มอร์แกนยังเปิดเผยผลสำรวจในสัปดาห์ที่แล้วระบุว่า นักลงทุนทุก 1 ใน 4 รายถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐต่ำกว่าเกณฑ์อ้างอิงในพอร์ทลงทุนของตน และสัดส่วนนักลงทุนที่ทำเช่นนี้ถือว่าสูงที่สุดในรอบเกือบ 19 เดือน
นักวิเคราะห์มีความเห็นตรงกันว่า เฟดจำเป็นต้องยุตินโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากเป็นพิเศษในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต
นายเนลสันยกตัวอย่างถึงปี 1994 ซึ่งเป็นปีที่เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นถึง 6 ครั้ง โดยปรับขึ้นจาก 3 % สู่ 5.50 %
นายเนลสันกล่าวว่า "มีความเป็นไปได้สูงที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วกว่าในปี 1994 เพราะการจะทำให้อัตราดอกเบี้ยกลับเข้าสู่ระดับปกติในปัจจุบันนั้น จำเป็นต้องอาศัยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว"
ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยส่วนใหญ่ในตลาดการจำนองบ้านของสหรัฐมีความผูกพันกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนในช่วงนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับตลาดที่อยู่อาศัย เพราะตลาดดังกล่าวเพิ่งเริ่มฟื้นตัวอย่างรวดเร็วขึ้น
การพุ่งขึ้นของต้นทุนการจำนองบ้านอาจจะส่งผลให้การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง โดยภาคอสังหาริมทรัพย์เพิ่งจะส่งผลบวกต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐในปี 2012 ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดภาวะฟองสบู่แตกในตลาดดังกล่าวเมื่อ 5 ปีก่อน
สมาคมธนาคารเพื่อการจำนองของสหรัฐรายงานว่า อัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยของสัญญาจำนองระยะ 30 ปี ปรับตัวขึ้น 0.15 % สู่ 3.67 % ขณะที่นักวิเคราะห์กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยจำนองระยะ 30 ปีจำเป็นต้องพุ่งขึ้นสู่ระดับราว 4 % จึงจะสามารถส่งผลกระทบทางลบต่อตลาดที่อยู่อาศัย เพราะอัตราดังกล่าวจะทำให้นักลงทุนไม่ต้องการนำเงินเข้ามาลงทุนในภาคที่อยู่อาศัย
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วจะสร้างความยากลำบากให้แก่ธุรกิจต่างๆและรัฐบาลระดับท้องถิ่นที่ต้องการกู้เงินเพื่อนำมาใช้สร้างโรงงาน, ตัดถนน หรือจ้างคนงาน โดยต้นทุนการกู้ยืมของภาครัฐและภาคเอกชนมีความเกี่ยวข้องกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลด้วยเช่นกัน
บริษัทเบิร์คเชียร์ แฮทธาเวย์ อิงค์ ของนายวอร์เรน บัฟเฟตต์มหาเศรษฐีชื่อดัง ได้ขายตราสารหนี้ 2.6 พันล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ที่แล้วโดยนักลงทุนมองว่าการขายในครั้งนี้เป็นการรับมือการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในช่วงนี้ และนายบัฟเฟตต์มีชื่อเสียงว่าเป็นคนที่เชี่ยวชาญในการมองเห็นจุดหักเหของตลาด
อย่างไรก็ดี ตลาดพันธบัตรเคยเผชิญกับเหตุการณ์แบบนี้มาแล้วโดยในช่วงสองปีที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเคยพุ่งขึ้นในช่วงไตรมาสแรก ก่อนที่จะดิ่งลงในฤดูใบไม้ผลิเมื่อเศรษฐกิจชะลอตัวลงและวิกฤติหนี้ยุโรปทวีความรุนแรง
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภท 10 ปีเคยพุ่งขึ้นแตะ 2.3990 % ในวันที่ 20 มี.ค. 2012 ก่อนที่จะร่วงลงสู่ 1.442 %ในวันที่ 1 มิ.ย.
นายโรเบิร์ต ทิปป์ หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทพรูเดนเชียล ฟิกซ์ อินคัม กล่าวว่า "ในทุกๆปี ตลาดจะต้องเผชิญกับกระแสคาดการณ์ในทางบวกและกระแสคาดการณ์ทางลบหลายระลอก โดยในช่วงนี้นักลงทุนกำลังคาดการณ์ในทางบวก"
ถึงแม้อัตราผลตอบแทนปรับตัวขึ้นเล็กน้อย แต่สิ่งนี้ก็ไม่ได้ส่งผลลบต่อทุกฝ่าย โดยธนาคารพาณิชย์จะมีอัตราผลกำไรเพิ่มสูงขึ้น เพราะต้นทุนการกู้ยืมระยะสั้นของธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ใกล้ 0 % ต่อไปเนื่องจากเฟดมีแนวโน้มที่จะใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากต่อไปจนถึงปี 2015
นอกจากนี้ ผู้ออมเงินจะได้รับประโยชน์จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในบัญชีธนาคารและในกองทุนตลาดเงิน และปัจจัยนี้อาจกระตุ้นให้ผู้ออมเงินจับจ่ายใช้สอยมากยิ่งขึ้น
นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ปัจจัยโดยรวมจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในปีนี้ ในขณะที่เศรษฐกิจยังไม่มีแนวโน้มเติบโตอย่างมั่นคง และนักลงทุนก็คาดว่าเฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงปี 2014 เป็นอย่างเร็วที่สุด
นักลงทุนทุ่มเม็ดเงินเข้ากองทุนรวมหุ้น/ETF สูงเป็นประวัติการณ์ในม.ค. บริษัททริมแทบส์ อินเวสท์เมนท์ รีเสิร์ชระบุว่า นักลงทุนทุ่มเม็ดเงินลงทุนใหม่ 7.74 หมื่นล้านดอลลาร์เข้าสู่กองทุนรวมหุ้นและกองทุน ETF หุ้นในเดือนม.ค. ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และทำลายสถิติเดิมที่ 5.37 หมื่นล้านดอลลาร์ที่ทำไว้ในเดือนก.พ.2000
ถึงแม้ทั้งกองทุนหุ้นสหรัฐและกองทุนหุ้นโลกต่างก็ได้รับเงินลงทุนใหม่ในระดับที่สูงเป็นประวัติการณ์ แต่นายเดวิด แซนท์ชิ จากทริมแทบส์ก็ได้ระบุเตือนว่า "กระแสเงินลงทุนไหลเข้าที่สูงเป็นประวัติการณ์นี้น่าจะสร้างความกังวลเนื่องจากตลาดหุ้นมีแนวโน้มปรับตัวอ่อนแอหลังจากมีคำสั่งซื้อเข้ามาเป็นจำนวนมากแบบนี้"
นายแซนท์ชิระบุว่า โดยเฉลี่ยแล้วดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐจะร่วงลง 0.8 % ในช่วงเวลา 3 เดือนหลังจากเดือนที่ยอดเงินลงทุนไหลเข้ากองทุนรวมหุ้นและกองทุน ETF หุ้นเคยทำสถิติสูงสุด 9 ครั้งก่อนหน้านี้ นอกจากนี้อัตราผลตอบแทนระยะ 3 เดือนยังมีค่าติดลบหลังจาก 6 ใน 9 เดือนดังกล่าวด้วย
นายแซนท์ชิกล่าวว่า "ยอดเงินลงทุนไหลเข้าติดอันดับสูงสุด 4 ครั้งในช่วงต้นปี 2000 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดภาวะฟองสบู่แตกในภาคเทคโนโลยี"
ยอดเงินลงทุนไหลเข้าทำสถิติสูงสุดในช่วงนี้ ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐโดยเฉพาะในภาคแรงงานและภาคที่อยู่อาศัยช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุน นอกจากนี้ นักลงทุนยังดำเนินแผนการลงทุนเพื่อหลีกเลี่ยงอัตราภาษีที่อาจปรับสูงขึ้นในหุ้นในปีนี้ และในช่วงหลังจากนั้นด้วย
อย่างไรก็ดี ความเชื่อมั่นของนักลงทุนอาจเผชิญกับบททดสอบในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า เมื่อรัฐบาลสหรัฐจำเป็นต้องตัดสินใจเรื่องการตัดงบรายจ่ายครั้งใหญ่ นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่มต้นถอนนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากเป็นพิเศษในปีนี้ หลังจากนโยบายดังกล่าวเคยช่วยหนุนตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา
นายแซนท์ชิกล่าวว่า เงินลงทุนไหลเข้าบางส่วนอาจเกิดจากการนำโบนัสที่ได้รับในเดือนธ.ค.มาลงทุน โดยการจ่ายโบนัสจำนวนมากในเดือนธ.ค.2012 เกิดจากการโอนโบนัสที่ต้องจ่ายในเดือนม.ค.และก.พ.มาจ่ายให้เร็วขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการขึ้นภาษี
นายแซนท์ชิกล่าวว่า "นักลงทุนอาจจะนำเงินกลับเข้ามาลงทุนในหุ้นอีกครั้ง หลังจากที่เคยขายออกไปในช่วงปลายปีที่แล้วเพื่อฉวยประโยชน์จากอัตราภาษีที่ระดับต่ำ อย่างไรก็ดี เราคิดว่าปัจจัยที่ใหญ่ที่สุดก็คือการที่นักลงทุนคาดการณ์ในทางบวกมากยิ่งขึ้น"
เงินลงทุนที่ไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นไม่ได้ชะลอตัวลงมากนักในช่วงปลายเดือนม.ค. โดยนายแซนท์ชิระบุว่า ในช่วง 5 วันทำการที่ผ่านมา กองทุนรวมหุ้นและกองทุน ETF หุ้นสามารถดึงดูดเงินลงทุนได้รวมกัน 2.56 หมื่นล้านดอลลาร์
สำหรับรายละเอียดของตัวเลขเงินลงทุนในเดือนม.ค.นั้น กองทุนรวมหุ้นสหรัฐและกองทุน ETF หุ้นสหรัฐมีเงินไหลเข้า 3.93 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งทำลายสถิติสูงสุดเดิมที่ 3.46 หมื่นล้านดอลลาร์ที่ทำไว้ในเดือนก.พ.2000
กองทุนรวมหุ้นทั่วโลกและกองทุน ETF หุ้นทั่วโลกมีเงินไหลเข้า3.81 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งทำลายสถิติสูงสุดเดิมที่ 2.71 หมื่นล้านดอลลาร์ที่ทำไว้ในเดือนม.ค.2006
กองทุนรวมตราสารหนี้และกองทุน ETF ตราสารหนี้มีเงินไหลเข้า3.14 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนม.ค. โดย 3.07 หมื่นล้านดอลลาร์ในจำนวนนี้เป็นเงินที่ไหลเข้าสู่กองทุนรวมตราสารหนี้ อย่างไรก็ดี ยอดเงินไหลเข้าในเดือนม.ค.ไม่ได้อยู่ในระดับที่สูงมากนักเมื่อเทียบกับในอดีต และแสดงให้เห็นว่ายอดเงินไหลเข้ากลับเข้าสู่ระดับแนวโน้มอีกครั้งหลังจากที่เคยดิ่งลงในเดือนธ.ค.2012 เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งขึ้น
(ข้อมูลจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak.
ถึงแม้ตลาดหุ้นสหรัฐพุ่งขึ้นเข้าใกล้สถิติสูงสุดที่ทำไว้เมื่อ 5 ปีก่อนแต่ตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐที่มีขนาด 11.6 ล้านล้านดอลลาร์ก็ชะลอการปรับตัวขึ้น และราคาพันธบัตรดิ่งลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นเดือนธ.ค.2012เป็นต้นมา
ปัจจัยดังกล่าวหนุนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรให้พุ่งขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเป็นสิ่งที่ปรับตัวในทิศทางตรงกันข้ามกับราคาพันธบัตรโดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีอยู่ที่ 2.05 %ในวันนี้ ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 เม.ย. 2012 หรือตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิปีที่แล้ว
ปัจจัยบางประการที่กระตุ้นให้นักลงทุนเทขายพันธบัตรออกมาถือเป็นปัจจัยบวกในทางเศรษฐกิจ โดยปัจจัยเหล่านี้รวมถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นในสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น, สัญญาณบ่งชี้ว่าวิกฤติหนี้ยุโรปบรรเทาลง และตัวเลขเศรษฐกิจบางตัวของสหรัฐที่บ่งชี้ถึงแนวโน้มในทางบวก
อย่างไรก็ดี เมื่อราคาพันธบัตรดิ่งลง ภาคเศรษฐกิจที่ผูกอยู่กับอัตราดอกเบี้ยก็อาจจะได้รับความเสียหาย โดยตลาดที่อยู่อาศัย, ยอดขายรถยนต์, การลงทุนทางธุรกิจ และการลงทุนในภาครัฐอาจจะได้รับผลกระทบในขณะที่ต้นทุนการกู้ยืมพุ่งสูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนสินเชื่อทั้งหมดมีความสัมพันธ์กับตลาดพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ
นายทอม เนลสัน หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของบริษัทไรช์ แอนด์ ถัง กล่าวว่า "ผมเป็นคนหนึ่งที่กังวลว่า อะไรจะเกิดขึ้นเมื่ออัตราดอกเบี้ยพุ่งสูงขึ้น" โดยบริษัทของเขาบริหารสินทรัพย์ 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์และเกือบครึ่งหนึ่งอยู่ในกองทุนรวมตลาดเงิน
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเคยมีการคาดการณ์มาแล้วหลายครั้งว่าตลาดพันธบัตรจะยุติการปรับตัวขึ้นหลังจากปรับขึ้นมานาน 30 ปี โดยนายบิล กรอส ผู้จัดการ PIMCO Total Return Fund ซึ่งเป็นกองทุนตราสารหนี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปรับลดการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐลงอย่างมากในเดือนมี.ค.2012 อย่างไรก็ดี ราคาพันธบัตรพุ่งขึ้นต่อไปจนถึงเดือนพ.ย.และส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีดิ่งลงผ่านระดับ 2 % ลงไปจนแตะ 1.3810 % ในวันที่ 25 ก.ค.2012
นักลงทุนหลายรายคาดว่า มีโอกาสน้อยที่ตลาดพันธบัตรสหรัฐจะเผชิญกับแรงเทขายอย่างหนักหน่วง เนื่องจากตลาดยังคงได้รับแรงหนุนจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) โดยเฟดได้เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและตราสารหนี้ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) จากธนาคารพาณิชย์ในอัตรา 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือนในช่วงนี้ และยังไม่มีแผนที่จะลดการเข้าซื้อในเร็วๆนี้ โดยมาตรการนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจโดยผ่านทางการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบธนาคาร
อย่างไรก็ดี นักลงทุนหลายรายได้โยกย้ายเงินลงทุนออกจากตราสารหนี้เข้าสู่หุ้นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาเพราะต้องการอัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้น โดยการลงทุนในดัชนี S&P 500 ให้ผลกำไรสูงกว่า6 % นับตั้งแต่สิ้นเดือนพ.ย. แต่การลงทุนในพันธบัตรสหรัฐมีอัตราผลกำไรติดลบ 1.3 %
ด้วยเหตุนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐประเภท 10 ปีจึงพุ่งขึ้นเหนือ 2 % ในสัปดาห์ที่แล้วเป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน และมีการคาดการณ์กันว่าอัตราผลตอบแทนจะปรับตัวขึ้นต่อไป
นายฮันส์ มิคเคลเสน นักยุทธศาสตร์การลงทุนตราสารหนี้ของแบงก์ ออฟ อเมริกา เมอร์ริล ลินช์ กล่าวว่า "สิ่งนี้ถือเป็นความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดสำหรับนักลงทุนในตราสารหนี้ และผมก็ประหลาดใจที่อัตราผลตอบแทนพุ่งขึ้นแตะ 2 % ไปแล้ว"
ในเดือนต.ค. 2012 นายมิคเคลเสนเคยคาดว่า จะมีการโยกย้ายเงินลงทุนจำนวนมากออกจากตราสารหนี้เข้าสู่ตลาดหุ้น (Great Rotation)ในช่วงต้นปี 2013 นอกจากนี้ เจ.พี.มอร์แกนยังเปิดเผยผลสำรวจในสัปดาห์ที่แล้วระบุว่า นักลงทุนทุก 1 ใน 4 รายถือครองพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐต่ำกว่าเกณฑ์อ้างอิงในพอร์ทลงทุนของตน และสัดส่วนนักลงทุนที่ทำเช่นนี้ถือว่าสูงที่สุดในรอบเกือบ 19 เดือน
นักวิเคราะห์มีความเห็นตรงกันว่า เฟดจำเป็นต้องยุตินโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากเป็นพิเศษในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต
นายเนลสันยกตัวอย่างถึงปี 1994 ซึ่งเป็นปีที่เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นถึง 6 ครั้ง โดยปรับขึ้นจาก 3 % สู่ 5.50 %
นายเนลสันกล่าวว่า "มีความเป็นไปได้สูงที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วกว่าในปี 1994 เพราะการจะทำให้อัตราดอกเบี้ยกลับเข้าสู่ระดับปกติในปัจจุบันนั้น จำเป็นต้องอาศัยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว"
ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยส่วนใหญ่ในตลาดการจำนองบ้านของสหรัฐมีความผูกพันกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ และการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนในช่วงนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับตลาดที่อยู่อาศัย เพราะตลาดดังกล่าวเพิ่งเริ่มฟื้นตัวอย่างรวดเร็วขึ้น
การพุ่งขึ้นของต้นทุนการจำนองบ้านอาจจะส่งผลให้การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง โดยภาคอสังหาริมทรัพย์เพิ่งจะส่งผลบวกต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐในปี 2012 ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดภาวะฟองสบู่แตกในตลาดดังกล่าวเมื่อ 5 ปีก่อน
สมาคมธนาคารเพื่อการจำนองของสหรัฐรายงานว่า อัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยของสัญญาจำนองระยะ 30 ปี ปรับตัวขึ้น 0.15 % สู่ 3.67 % ขณะที่นักวิเคราะห์กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยจำนองระยะ 30 ปีจำเป็นต้องพุ่งขึ้นสู่ระดับราว 4 % จึงจะสามารถส่งผลกระทบทางลบต่อตลาดที่อยู่อาศัย เพราะอัตราดังกล่าวจะทำให้นักลงทุนไม่ต้องการนำเงินเข้ามาลงทุนในภาคที่อยู่อาศัย
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วจะสร้างความยากลำบากให้แก่ธุรกิจต่างๆและรัฐบาลระดับท้องถิ่นที่ต้องการกู้เงินเพื่อนำมาใช้สร้างโรงงาน, ตัดถนน หรือจ้างคนงาน โดยต้นทุนการกู้ยืมของภาครัฐและภาคเอกชนมีความเกี่ยวข้องกับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลด้วยเช่นกัน
บริษัทเบิร์คเชียร์ แฮทธาเวย์ อิงค์ ของนายวอร์เรน บัฟเฟตต์มหาเศรษฐีชื่อดัง ได้ขายตราสารหนี้ 2.6 พันล้านดอลลาร์ในสัปดาห์ที่แล้วโดยนักลงทุนมองว่าการขายในครั้งนี้เป็นการรับมือการพุ่งขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในช่วงนี้ และนายบัฟเฟตต์มีชื่อเสียงว่าเป็นคนที่เชี่ยวชาญในการมองเห็นจุดหักเหของตลาด
อย่างไรก็ดี ตลาดพันธบัตรเคยเผชิญกับเหตุการณ์แบบนี้มาแล้วโดยในช่วงสองปีที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรเคยพุ่งขึ้นในช่วงไตรมาสแรก ก่อนที่จะดิ่งลงในฤดูใบไม้ผลิเมื่อเศรษฐกิจชะลอตัวลงและวิกฤติหนี้ยุโรปทวีความรุนแรง
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภท 10 ปีเคยพุ่งขึ้นแตะ 2.3990 % ในวันที่ 20 มี.ค. 2012 ก่อนที่จะร่วงลงสู่ 1.442 %ในวันที่ 1 มิ.ย.
นายโรเบิร์ต ทิปป์ หัวหน้านักยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทพรูเดนเชียล ฟิกซ์ อินคัม กล่าวว่า "ในทุกๆปี ตลาดจะต้องเผชิญกับกระแสคาดการณ์ในทางบวกและกระแสคาดการณ์ทางลบหลายระลอก โดยในช่วงนี้นักลงทุนกำลังคาดการณ์ในทางบวก"
ถึงแม้อัตราผลตอบแทนปรับตัวขึ้นเล็กน้อย แต่สิ่งนี้ก็ไม่ได้ส่งผลลบต่อทุกฝ่าย โดยธนาคารพาณิชย์จะมีอัตราผลกำไรเพิ่มสูงขึ้น เพราะต้นทุนการกู้ยืมระยะสั้นของธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ใกล้ 0 % ต่อไปเนื่องจากเฟดมีแนวโน้มที่จะใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากต่อไปจนถึงปี 2015
นอกจากนี้ ผู้ออมเงินจะได้รับประโยชน์จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในบัญชีธนาคารและในกองทุนตลาดเงิน และปัจจัยนี้อาจกระตุ้นให้ผู้ออมเงินจับจ่ายใช้สอยมากยิ่งขึ้น
นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ปัจจัยโดยรวมจะส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรปรับตัวขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในปีนี้ ในขณะที่เศรษฐกิจยังไม่มีแนวโน้มเติบโตอย่างมั่นคง และนักลงทุนก็คาดว่าเฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจนกว่าจะถึงปี 2014 เป็นอย่างเร็วที่สุด
นักลงทุนทุ่มเม็ดเงินเข้ากองทุนรวมหุ้น/ETF สูงเป็นประวัติการณ์ในม.ค. บริษัททริมแทบส์ อินเวสท์เมนท์ รีเสิร์ชระบุว่า นักลงทุนทุ่มเม็ดเงินลงทุนใหม่ 7.74 หมื่นล้านดอลลาร์เข้าสู่กองทุนรวมหุ้นและกองทุน ETF หุ้นในเดือนม.ค. ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และทำลายสถิติเดิมที่ 5.37 หมื่นล้านดอลลาร์ที่ทำไว้ในเดือนก.พ.2000
ถึงแม้ทั้งกองทุนหุ้นสหรัฐและกองทุนหุ้นโลกต่างก็ได้รับเงินลงทุนใหม่ในระดับที่สูงเป็นประวัติการณ์ แต่นายเดวิด แซนท์ชิ จากทริมแทบส์ก็ได้ระบุเตือนว่า "กระแสเงินลงทุนไหลเข้าที่สูงเป็นประวัติการณ์นี้น่าจะสร้างความกังวลเนื่องจากตลาดหุ้นมีแนวโน้มปรับตัวอ่อนแอหลังจากมีคำสั่งซื้อเข้ามาเป็นจำนวนมากแบบนี้"
นายแซนท์ชิระบุว่า โดยเฉลี่ยแล้วดัชนี S&P 500 ของตลาดหุ้นสหรัฐจะร่วงลง 0.8 % ในช่วงเวลา 3 เดือนหลังจากเดือนที่ยอดเงินลงทุนไหลเข้ากองทุนรวมหุ้นและกองทุน ETF หุ้นเคยทำสถิติสูงสุด 9 ครั้งก่อนหน้านี้ นอกจากนี้อัตราผลตอบแทนระยะ 3 เดือนยังมีค่าติดลบหลังจาก 6 ใน 9 เดือนดังกล่าวด้วย
นายแซนท์ชิกล่าวว่า "ยอดเงินลงทุนไหลเข้าติดอันดับสูงสุด 4 ครั้งในช่วงต้นปี 2000 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดภาวะฟองสบู่แตกในภาคเทคโนโลยี"
ยอดเงินลงทุนไหลเข้าทำสถิติสูงสุดในช่วงนี้ ในขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจที่สดใสของสหรัฐโดยเฉพาะในภาคแรงงานและภาคที่อยู่อาศัยช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของนักลงทุน นอกจากนี้ นักลงทุนยังดำเนินแผนการลงทุนเพื่อหลีกเลี่ยงอัตราภาษีที่อาจปรับสูงขึ้นในหุ้นในปีนี้ และในช่วงหลังจากนั้นด้วย
อย่างไรก็ดี ความเชื่อมั่นของนักลงทุนอาจเผชิญกับบททดสอบในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า เมื่อรัฐบาลสหรัฐจำเป็นต้องตัดสินใจเรื่องการตัดงบรายจ่ายครั้งใหญ่ นอกจากนี้ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะเริ่มต้นถอนนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากเป็นพิเศษในปีนี้ หลังจากนโยบายดังกล่าวเคยช่วยหนุนตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา
นายแซนท์ชิกล่าวว่า เงินลงทุนไหลเข้าบางส่วนอาจเกิดจากการนำโบนัสที่ได้รับในเดือนธ.ค.มาลงทุน โดยการจ่ายโบนัสจำนวนมากในเดือนธ.ค.2012 เกิดจากการโอนโบนัสที่ต้องจ่ายในเดือนม.ค.และก.พ.มาจ่ายให้เร็วขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการขึ้นภาษี
นายแซนท์ชิกล่าวว่า "นักลงทุนอาจจะนำเงินกลับเข้ามาลงทุนในหุ้นอีกครั้ง หลังจากที่เคยขายออกไปในช่วงปลายปีที่แล้วเพื่อฉวยประโยชน์จากอัตราภาษีที่ระดับต่ำ อย่างไรก็ดี เราคิดว่าปัจจัยที่ใหญ่ที่สุดก็คือการที่นักลงทุนคาดการณ์ในทางบวกมากยิ่งขึ้น"
เงินลงทุนที่ไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นไม่ได้ชะลอตัวลงมากนักในช่วงปลายเดือนม.ค. โดยนายแซนท์ชิระบุว่า ในช่วง 5 วันทำการที่ผ่านมา กองทุนรวมหุ้นและกองทุน ETF หุ้นสามารถดึงดูดเงินลงทุนได้รวมกัน 2.56 หมื่นล้านดอลลาร์
สำหรับรายละเอียดของตัวเลขเงินลงทุนในเดือนม.ค.นั้น กองทุนรวมหุ้นสหรัฐและกองทุน ETF หุ้นสหรัฐมีเงินไหลเข้า 3.93 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งทำลายสถิติสูงสุดเดิมที่ 3.46 หมื่นล้านดอลลาร์ที่ทำไว้ในเดือนก.พ.2000
กองทุนรวมหุ้นทั่วโลกและกองทุน ETF หุ้นทั่วโลกมีเงินไหลเข้า3.81 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งทำลายสถิติสูงสุดเดิมที่ 2.71 หมื่นล้านดอลลาร์ที่ทำไว้ในเดือนม.ค.2006
กองทุนรวมตราสารหนี้และกองทุน ETF ตราสารหนี้มีเงินไหลเข้า3.14 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนม.ค. โดย 3.07 หมื่นล้านดอลลาร์ในจำนวนนี้เป็นเงินที่ไหลเข้าสู่กองทุนรวมตราสารหนี้ อย่างไรก็ดี ยอดเงินไหลเข้าในเดือนม.ค.ไม่ได้อยู่ในระดับที่สูงมากนักเมื่อเทียบกับในอดีต และแสดงให้เห็นว่ายอดเงินไหลเข้ากลับเข้าสู่ระดับแนวโน้มอีกครั้งหลังจากที่เคยดิ่งลงในเดือนธ.ค.2012 เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งขึ้น
(ข้อมูลจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak.