มีการเปิดเผยบันทึกคำพูดในการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)ในปี 2007 ในวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยบันทึกคำพูดเหล่านี้มักจะได้รับการเปิดเผยหลังจากการประชุมเฟดผ่านพ้นไปแล้ว 5 ปี
ทั้งนี้ บันทึกคำพูดในการประชุมปี 2007 นี้มีความยาว 1,370 หน้า และแสดงให้เห็นว่า ผู้กำหนดนโยบายระดับสูงของเฟดมองว่า ปัญหาในภาคที่อยู่อาศัยและภาคธนาคารเป็นปัญหาที่จะไม่กระทบภาคส่วนอื่นในช่วงเวลาส่วนใหญ่ในปี 2007และมองว่าปัญหาดังกล่าวไม่มีแนวโน้มที่จะทำลายเศรษฐกิจสหรัฐในเวลาต่อมา
ถึงแม้เริ่มมีสัญญาณบ่งชี้ถึงวิกฤติเศรษฐกิจปรากฏออกมา และตลาดสินเชื่อเริ่มเข้าสู่ภาวะชะงักงันในฤดูร้อนปี 2007 แต่เจ้าหน้าที่เฟดก็เชื่อว่า ปัญหาเหล่านี้จะอยู่ในระดับปานกลางและจะดำเนินไปเพียงเวลาสั้นๆเท่านั้น
นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐในปัจจุบัน ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานเฟดสาขานิวยอร์คในปี 2007 กล่าวในวันที่ 10 ส.ค.ปีนั้นว่า ธุรกิจส่วนใหญ่ในย่านวอลล์สตรีทยังคงอยู่ในสถานะที่ดี
นายไกธ์เนอร์กล่าวในปี 2007 ว่า "ไม่มีสัญญาณใดที่บ่งชี้ว่า สถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจแบบหลากหลายกำลังเผชิญกับแรงกดดันทางการระดมทุน" และกล่าวเสริมว่า "สถาบันการเงินบางแห่งรายงานว่า มีเม็ดเงินหลั่งไหลเข้าสู่สถาบันซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นในบริบทแบบนี้"
ทางด้านนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด ก็ประเมินความเสี่ยงของวิกฤติการเงินในระดับที่ต่ำเกินไปเช่นกัน
นายเบอร์นันเก้กล่าวในเดือนธ.ค.2007 ว่า "ผมไม่คาดว่าสถาบันการเงินขนาดใหญ่จะล้มละลายหรือเข้าใกล้ภาวะล้มละลาย"
ภายในช่วงเดือนธ.ค. 2007 เฟดได้เริ่มใช้มาตรการสภาพคล่องฉุกเฉินไปแล้วและเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงด้วย โดยเฟดได้ลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลงเรื่อยๆจนแตะระดับใกล้ 0 % ในเดือนธ.ค. 2008
วิกฤติการเงินในครั้งนั้นได้กลายเป็นภัยคุกคามต่อบริษัทขนาดใหญ่ในย่านวอลล์สตรีท ซึ่งรวมถึงโกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป อิงค์ และมอร์แกน สแตนเลย์ โดยวิกฤติครั้งนั้นส่งผลให้เลห์แมน บราเธอร์สล้มละลาย และรัฐบาลสหรัฐต้องใช้เงินจำนวนมากในการช่วยเหลือบริษัทอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป อิงค์ (AIG)ซึ่งเป็นบริษัทประกัน รวมทั้งทำให้รัฐบาลสหรัฐเข้าเทคโอเวอร์สมาคมการจำนองแห่งชาติของรัฐบาลกลาง (แฟนนี เม) และบรรษัทจำนองสินเชื่อบ้านของรัฐบาลกลาง (เฟรดดี แมค)
ผลกระทบจากการทรุดตัวของภาคที่อยู่อาศัยและจากภาวะสินเชื่อหดตัวมีส่วนทำให้สหรัฐประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1930เป็นต้นมา โดยเศรษฐกิจสหรัฐหดตัวในปี 2008 และในช่วงครึ่งแรกของปี 2009
นายวิลเลียม ดัดลีย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการตลาดของเฟดสาขานิวยอร์คในปี 2007 ระบุว่าบริษัทวอชิงตัน มิวชวลและบริษัทคันทรีไวด์เป็นจุดที่สร้างปัญหา โดยเขากล่าวถึงเรื่องนี้ในเดือนส.ค. 2007 ก่อนที่บริษัททั้งสองจะล้มละลายในเวลาต่อมา โดยนายดัดลีย์ได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานเฟดสาขานิวยอร์คในเวลาต่อมา
หลังจากการประชุมในเดือนส.ค. 2007 เฟดก็ประกาศว่าเฟดพร้อมที่จะจัดสรรเงินทุนให้แก่ธนาคารพาณิชย์ และสิ่งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินมาตรการแก้ไขวิกฤติของเฟด โดยในช่วงนั้นธนาคารหลายแห่งระงับการปล่อยกู้ให้แก่ธนาคารที่เป็นคู่สัญญา เนื่องจากกังวลว่าธนาคารคู่สัญญาอาจจะไม่จ่ายชำระหนี้
ในช่วงต้นปี 2007 เจ้าหน้าที่เฟดหลายรายไม่ได้คาดการณ์ว่าสหรัฐกำลังจะประสบกับวิกฤติการเงินในเวลาต่อมา
ในช่วงต้นปี 2007 เจ้าหน้าที่เฟดระบุว่าสหรัฐเผชิญกับความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ และคณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟด (FOMC) แสดงแนวโน้มในการคุมเข้มนโยบายการเงิน หรือส่งสัญญาณว่าเฟดมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยสิ่งนี้ดำเนินต่อไปจนถึงเดือนส.ค. 2007 ซึ่งเป็นเดือนที่วิกฤติการเงินปะทุขึ้นมา
นายเฟรเดอริค มิชคิน ผู้ว่าการคนหนึ่งของเฟด กล่าวในการประชุมเดือนม.ค. 2007 ว่า "เราไม่เห็นสิ่งใดที่ผิดปกติหรือปัญหาที่เรื้อรัง และสิ่งนี้ทำให้ผมมีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้นว่า จะไม่มีสิ่งที่เลวร้ายจริงๆเกิดขึ้นที่นี่"
เมื่อถึงช่วงเดือนพ.ค. 2007 แรงกดดันในตลาดที่อยู่อาศัยและตลาดการจำนองซับไพร์มก็ได้กลายเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดสำหรับเศรษฐกิจสหรัฐ
ผู้กำหนดนโยบายของเฟดแสดงความเห็นที่แตกต่างกันไปในช่วงนั้นต่อประเด็นที่ว่า ราคาบ้านจะเข้าสู่เสถียรภาพหรือจะดิ่งลงในอนาคต อย่างไรก็ดี ผู้กำหนดนโยบายส่วนใหญ่คาดการณ์ในช่วงนั้นว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะผ่านพ้นปัญหานี้ไปได้โดยไม่ได้รับความเสียหายมากนัก
นายเบอร์นันเก้กล่าวในช่วงนั้นว่า "ภาคที่อยู่อาศัยยังคงอยู่ในภาวะอ่อนแอและถือเป็นต้นกำเนิดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับปัจจัยเสี่ยงช่วงขาลง โดยยังคงเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินได้ว่า อุปสงค์ในที่อยู่อาศัยได้เข้าสู่เสถียรภาพแล้วหรือไม่ ขณะที่มีสาเหตุบางส่วนมาจากปัญหาเรื่องซับไพร์ม"
เฟดเริ่มดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินแบบพิเศษในเดือนส.ค.2007 แต่ยังไม่ได้ตระหนักถึงขนาดที่แท้จริงของปัญหาจนกระทั่งเลห์แมน บราเธอร์สล้มละลายในอีกหนึ่งปีต่อมา
เมื่อกระแสการค้าทั่วโลกทรุดตัวลงในฤดูใบไม้ร่วงปี 2008 เจ้าหน้าที่เฟดก็เริ่มมองเห็นว่าเศรษฐกิจได้รับความเสียหายมากเพียงใด โดยปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้นายเบอร์นันเก้เริ่มหันมาใช้เครื่องมือต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งเขาระบุว่าเขาเรียนรู้เรื่องนี้มาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในทศวรรษ 1930และเครื่องมือที่เขานำมาใช้รวมถึงมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์ ซึ่งได้กลายเป็นมาตรการหลักของเฟดในปัจจุบัน
เฟดได้เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ไปแล้วกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อกดดันอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้ลดต่ำลง
ในช่วงปลายปี 2007 ปัญหาทางการเงินก็เริ่มส่งสัญญาณอย่างชัดเจนว่าจะดำเนินต่อไปเป็นเวลานาน
นายเควิน วอร์ช ผู้ว่าการคนหนึ่งของเฟด กล่าวในเดือนธ.ค.2007ว่า "ผมคิดว่าภาวะตกต่ำในตลาดการเงินที่เกิดขึ้นหลังการประชุมครั้งสุดท้ายของเรานั้น เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดและค่อนข้างรุนแรง"
เฟดพยายามแก้ไขวิกฤตินับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มฟื้นตัวขึ้นในฤดูร้อนปี 2009 โดยอัตราการว่างงานในสหรัฐเคยขึ้นไปแตะจุดสูงสุดที่ระดับราว 10 % ในเดือนต.ค. 2009 ก่อนจะร่วงลงในเวลาต่อมาแต่ยังคงอยู่ที่ระดับสูงถึง 7.8 % ในปัจจุบัน
ในเดือนธ.ค. 2012 เฟดได้ตัดสินใจดำเนินมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ต่อไปในอัตรา 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่เฟดบางรายเริ่มตั้งข้อสงสัยต่อประสิทธิภาพของนโยบายการเงินแบบพิเศษนี้ และตั้งคำถามถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากนโยบายดังกล่าว
เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 3.1 % ต่อปีในไตรมาส 3 ของปี 2012 แต่มีแนวโน้มว่าอาจอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 2 % เล็กน้อยในไตรมาส 4
นักวิเคราะห์คาดวอลล์สตรีทได้แรงหนุนจากผลประกอบการสัปดาห์นี้
ในขณะที่ภาคเอกชนของสหรัฐเปิดเผยผลประกอบการที่สดใสในช่วงนี้ดัชนี S&P 500 ของตลาดวอลล์สตรีทก็แทบไม่เผชิญกับอุปสรรคใดๆ ในขณะที่ดัชนียังคงปรับตัวขึ้นต่อไป และการพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่
ก็อาจเป็นเป้าหมายที่อยู่ไม่ไกลมากนัก
ดัชนี S&P 500 ปิดตลาดวันศุกร์ปรับตัวขึ้น 0.34 % สู่ 1,485.98ขณะที่สถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของดัชนีดังกล่าวอยู่ที่ 1,576.09 ซึ่งทำไว้ในวันที่ 11 ต.ค.2007
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดสัปดาห์ที่แล้วที่ระดับสูงสุดใหม่ในรอบ 5 ปีโดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขภาคแรงงานและภาคที่อยู่อาศัยที่แข็งแกร่ง รวมทั้งได้รับแรงหนุนจากตัวเลขผลประกอบการที่ดีเกินคาด
ดัชนีหุ้นกลุ่มคมนาคม, ธนาคาร และที่อยู่อาศัยทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดใหม่ในรอบหลายปีในสัปดาห์ที่แล้วด้วยเช่นกัน
นายไมเคิล โยชิคามิ ซีอีโอของบริษัทเดสติเนชัน เวลธ์ แมเนจเมนท์กล่าวว่า ผลประกอบการที่จะต้องจับตามองในสัปดาห์นี้คือผลประกอบการของบริษัทในภาควัฏจักรเศรษฐกิจ โดยบริษัทยูไนเต็ด เทคโนโลยีส์จะเปิดเผยผลประกอบการในวันพุธนี้ ส่วนบริษัทฮันนีเวลจะเปิดเผยผลประกอบการในวันศุกร์
นายโยชิคามิกล่าวว่า "ผลประกอบการของบริษัทกลุ่มนี้จะบอกคุณได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มเป็นเช่นใด"
บริษัทสำคัญในภาคเทคโนโลยีจะเปิดเผยผลประกอบการในสัปดาห์นี้ด้วยแต่นักลงทุนได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ผลกำไรสำหรับบริษัทกลุ่มนี้ลงในช่วงที่ผ่านมา
บริษัทแอดวานซ์ ไมโคร ดีไวเซส (AMD) จะเปิดเผยผลประกอบการในวันอังคารนี้ และนักลงทุนคาดว่าบริษัทผู้ผลิตชิพ เช่น AMD จะมีผลประกอบการที่ย่ำแย่ ในขณะที่ยอดขายเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ตกต่ำลง
หุ้น AMD ดิ่งลง 10.22 % ในวันศุกร์ หลังจากอินเทลซึ่งเป็นบริษัทคู่แข่ง เปิดเผยผลประกอบการที่น่าผิดหวัง ส่งผลให้ดัชนีหุ้นกลุ่มผู้ผลิตชิปปิดตลาดร่วงลง 0.46 % สู่ 410.64 แต่สามารถปิดตลาดรายสัปดาห์ที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2012 เป็นต้นมา
หลังจากบริษัทแอปเปิลของสหรัฐเคยเปิดเผยผลประกอบการที่น่าผิดหวังในช่วงก่อนหน้านี้ นักลงทุนก็คาดว่า ถ้าหากแอปเปิลเปิดเผยผลประกอบการที่ดีเกินคาดในวันพุธนี้ ปัจจัยดังกล่าวก็อาจกระตุ้นให้นักลงทุนหลายคนที่เคยเทขายหุ้นแอปเปิลกลับเข้าซื้อหุ้นอีกครั้ง
บริษัทสำคัญอื่นๆที่จะเปิดเผยผลประกอบการในสัปดาห์นี้รวมถึงบริษัทกูเกิล, ไอบีเอ็ม (IBM), จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน และดูปองท์ในวันพรุ่งนี้ส่วนบริษัทไมโครซอฟท์และ 3M จะเปิดเผยผลประกอบการในวันพฤหัสบดี และบริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิลจะเปิดเผยผลประกอบการในวันศุกร์
แรงหนุนครั้งใหญ่ที่สุดที่ตลาดหุ้นสหรัฐอาจได้รับอาจมาจากกระแสเงินลงทุนที่ไหลออกจากกองทุนตราสารหนี้เข้าสู่ตลาดหุ้น
มีเงินลงทุนไหลเข้าสู่กองทุนหุ้นราว 1.13 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2000 และสิ่งนี้บ่งชี้ว่านักลงทุนรายย่อยที่ต้องการอัตราผลตอบแทนที่ระดับสูงกำลังเพิ่มความเสี่ยงทางการลงทุน
นายสตีเฟน มาสซอคคา กรรมการผู้จัดการบริษัทเวดบุช มอร์แกนกล่าวว่า "หากมองจากมุมมองด้านอัตราผลตอบแทนแล้ว หุ้นหลายตัวก็ยังคงให้ผลตอบแทนที่ระดับสูง และดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายมากที่เห็น
เงินลงทุนหลั่งไหลเข้าสู่ตลาดหุ้น"
"คุณจะไม่เห็นนักลงทุนทุ่มเงินจำนวนมากเข้ามาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีที่ให้อัตราผลตอบแทน 1.8 %"
ดัชนีหุ้นกลุ่มที่อยู่อาศัยพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดรอบ 5 ปีครึ่ง และดัชนีนี้อาจได้รับแรงหนุนให้ปรับตัวขึ้นต่อไปในสัปดาห์นี้ ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ในทางบวกต่อตัวเลขภาคที่อยู่อาศัย และมองว่าภาคดังกล่าว
เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจสหรัฐที่อยู่ในภาวะเฉื่อยชา
สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติจะรายงานยอดขายบ้านมือสองประจำเดือนธ.ค.ในวันพรุ่งนี้ โดยโพลล์รอยเตอร์คาดว่า ยอดขายบ้านมือสองอาจปรับขึ้น 0.6 % ในเดือนธ.ค.
สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติเคยเปิดเผยในช่วงสิ้นปี2012 ว่า ดัชนียอดทำสัญญาซื้อขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) พุ่งขึ้น 1.7% แตะระดับ 106.4 ในเดือนพ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุด
ในรอบ 2 ปีครึ่ง โดยดัชนียอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ล่วงหน้าสำหรับยอดขายบ้านที่แท้จริงในอีก 1-2 เดือนต่อมา
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยยอดขายบ้านใหม่เดือนธ.ค.ในวันศุกร์นี้ โดยโพลล์รอยเตอร์คาดว่า ยอดขายบ้านใหม่อาจพุ่งขึ้น 2.1 %ในเดือนธ.ค.
นักลงทุนไม่ได้กังวลกับการเจรจาต่อรองเรื่องเพดานหนี้สหรัฐมากนักในช่วงนี้ หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรครีพับลิกันส่งสัญญาณว่า พวกเขาอาจสนับสนุนการเพิ่มเพดานหนี้สหรัฐในระยะสั้น
ตลาดหุ้นสหรัฐเคยดิ่งลงอย่างรุนแรงในปี 2011 โดยได้รับแรงกดดันจากการเจรจาต่อรองเรื่องเพดานหนี้สหรัฐในปีนั้น อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นสหรัฐไม่ได้แสดงความกังวลต่อปัญหาเพดานหนี้มากนักในครั้งนี้
ดัชนีความผันผวน CBOE ที่ใช้วัดระดับความกังวลในตลาด ปิดตลาดดิ่งลง 8.18 % สู่ 12.46 ในวันศุกร์ ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2007
นายโยชิคามิกล่าวว่า "ผมคิดว่าตลาดเริ่มชินชากับความขัดแย้งทางการเมืองแล้ว หลังจากความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า"
"ปัจจัยนี้เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็จริง แต่ผมไม่คิดว่าคุณต้องการจะตัดสินใจลงทุนโดยอิงกับปัจจัยนี้เป็นหลัก" นายโยชิคามิกล่าว
(ข้อมูลจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak
ทั้งนี้ บันทึกคำพูดในการประชุมปี 2007 นี้มีความยาว 1,370 หน้า และแสดงให้เห็นว่า ผู้กำหนดนโยบายระดับสูงของเฟดมองว่า ปัญหาในภาคที่อยู่อาศัยและภาคธนาคารเป็นปัญหาที่จะไม่กระทบภาคส่วนอื่นในช่วงเวลาส่วนใหญ่ในปี 2007และมองว่าปัญหาดังกล่าวไม่มีแนวโน้มที่จะทำลายเศรษฐกิจสหรัฐในเวลาต่อมา
ถึงแม้เริ่มมีสัญญาณบ่งชี้ถึงวิกฤติเศรษฐกิจปรากฏออกมา และตลาดสินเชื่อเริ่มเข้าสู่ภาวะชะงักงันในฤดูร้อนปี 2007 แต่เจ้าหน้าที่เฟดก็เชื่อว่า ปัญหาเหล่านี้จะอยู่ในระดับปานกลางและจะดำเนินไปเพียงเวลาสั้นๆเท่านั้น
นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐในปัจจุบัน ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานเฟดสาขานิวยอร์คในปี 2007 กล่าวในวันที่ 10 ส.ค.ปีนั้นว่า ธุรกิจส่วนใหญ่ในย่านวอลล์สตรีทยังคงอยู่ในสถานะที่ดี
นายไกธ์เนอร์กล่าวในปี 2007 ว่า "ไม่มีสัญญาณใดที่บ่งชี้ว่า สถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจแบบหลากหลายกำลังเผชิญกับแรงกดดันทางการระดมทุน" และกล่าวเสริมว่า "สถาบันการเงินบางแห่งรายงานว่า มีเม็ดเงินหลั่งไหลเข้าสู่สถาบันซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นในบริบทแบบนี้"
ทางด้านนายเบน เบอร์นันเก้ ประธานเฟด ก็ประเมินความเสี่ยงของวิกฤติการเงินในระดับที่ต่ำเกินไปเช่นกัน
นายเบอร์นันเก้กล่าวในเดือนธ.ค.2007 ว่า "ผมไม่คาดว่าสถาบันการเงินขนาดใหญ่จะล้มละลายหรือเข้าใกล้ภาวะล้มละลาย"
ภายในช่วงเดือนธ.ค. 2007 เฟดได้เริ่มใช้มาตรการสภาพคล่องฉุกเฉินไปแล้วและเริ่มต้นปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงด้วย โดยเฟดได้ลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลงเรื่อยๆจนแตะระดับใกล้ 0 % ในเดือนธ.ค. 2008
วิกฤติการเงินในครั้งนั้นได้กลายเป็นภัยคุกคามต่อบริษัทขนาดใหญ่ในย่านวอลล์สตรีท ซึ่งรวมถึงโกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป อิงค์ และมอร์แกน สแตนเลย์ โดยวิกฤติครั้งนั้นส่งผลให้เลห์แมน บราเธอร์สล้มละลาย และรัฐบาลสหรัฐต้องใช้เงินจำนวนมากในการช่วยเหลือบริษัทอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป อิงค์ (AIG)ซึ่งเป็นบริษัทประกัน รวมทั้งทำให้รัฐบาลสหรัฐเข้าเทคโอเวอร์สมาคมการจำนองแห่งชาติของรัฐบาลกลาง (แฟนนี เม) และบรรษัทจำนองสินเชื่อบ้านของรัฐบาลกลาง (เฟรดดี แมค)
ผลกระทบจากการทรุดตัวของภาคที่อยู่อาศัยและจากภาวะสินเชื่อหดตัวมีส่วนทำให้สหรัฐประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1930เป็นต้นมา โดยเศรษฐกิจสหรัฐหดตัวในปี 2008 และในช่วงครึ่งแรกของปี 2009
นายวิลเลียม ดัดลีย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการตลาดของเฟดสาขานิวยอร์คในปี 2007 ระบุว่าบริษัทวอชิงตัน มิวชวลและบริษัทคันทรีไวด์เป็นจุดที่สร้างปัญหา โดยเขากล่าวถึงเรื่องนี้ในเดือนส.ค. 2007 ก่อนที่บริษัททั้งสองจะล้มละลายในเวลาต่อมา โดยนายดัดลีย์ได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานเฟดสาขานิวยอร์คในเวลาต่อมา
หลังจากการประชุมในเดือนส.ค. 2007 เฟดก็ประกาศว่าเฟดพร้อมที่จะจัดสรรเงินทุนให้แก่ธนาคารพาณิชย์ และสิ่งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินมาตรการแก้ไขวิกฤติของเฟด โดยในช่วงนั้นธนาคารหลายแห่งระงับการปล่อยกู้ให้แก่ธนาคารที่เป็นคู่สัญญา เนื่องจากกังวลว่าธนาคารคู่สัญญาอาจจะไม่จ่ายชำระหนี้
ในช่วงต้นปี 2007 เจ้าหน้าที่เฟดหลายรายไม่ได้คาดการณ์ว่าสหรัฐกำลังจะประสบกับวิกฤติการเงินในเวลาต่อมา
ในช่วงต้นปี 2007 เจ้าหน้าที่เฟดระบุว่าสหรัฐเผชิญกับความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ และคณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟด (FOMC) แสดงแนวโน้มในการคุมเข้มนโยบายการเงิน หรือส่งสัญญาณว่าเฟดมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าปรับลดอัตราดอกเบี้ย โดยสิ่งนี้ดำเนินต่อไปจนถึงเดือนส.ค. 2007 ซึ่งเป็นเดือนที่วิกฤติการเงินปะทุขึ้นมา
นายเฟรเดอริค มิชคิน ผู้ว่าการคนหนึ่งของเฟด กล่าวในการประชุมเดือนม.ค. 2007 ว่า "เราไม่เห็นสิ่งใดที่ผิดปกติหรือปัญหาที่เรื้อรัง และสิ่งนี้ทำให้ผมมีความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้นว่า จะไม่มีสิ่งที่เลวร้ายจริงๆเกิดขึ้นที่นี่"
เมื่อถึงช่วงเดือนพ.ค. 2007 แรงกดดันในตลาดที่อยู่อาศัยและตลาดการจำนองซับไพร์มก็ได้กลายเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดสำหรับเศรษฐกิจสหรัฐ
ผู้กำหนดนโยบายของเฟดแสดงความเห็นที่แตกต่างกันไปในช่วงนั้นต่อประเด็นที่ว่า ราคาบ้านจะเข้าสู่เสถียรภาพหรือจะดิ่งลงในอนาคต อย่างไรก็ดี ผู้กำหนดนโยบายส่วนใหญ่คาดการณ์ในช่วงนั้นว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะผ่านพ้นปัญหานี้ไปได้โดยไม่ได้รับความเสียหายมากนัก
นายเบอร์นันเก้กล่าวในช่วงนั้นว่า "ภาคที่อยู่อาศัยยังคงอยู่ในภาวะอ่อนแอและถือเป็นต้นกำเนิดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับปัจจัยเสี่ยงช่วงขาลง โดยยังคงเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินได้ว่า อุปสงค์ในที่อยู่อาศัยได้เข้าสู่เสถียรภาพแล้วหรือไม่ ขณะที่มีสาเหตุบางส่วนมาจากปัญหาเรื่องซับไพร์ม"
เฟดเริ่มดำเนินมาตรการผ่อนคลายทางการเงินแบบพิเศษในเดือนส.ค.2007 แต่ยังไม่ได้ตระหนักถึงขนาดที่แท้จริงของปัญหาจนกระทั่งเลห์แมน บราเธอร์สล้มละลายในอีกหนึ่งปีต่อมา
เมื่อกระแสการค้าทั่วโลกทรุดตัวลงในฤดูใบไม้ร่วงปี 2008 เจ้าหน้าที่เฟดก็เริ่มมองเห็นว่าเศรษฐกิจได้รับความเสียหายมากเพียงใด โดยปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้นายเบอร์นันเก้เริ่มหันมาใช้เครื่องมือต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งเขาระบุว่าเขาเรียนรู้เรื่องนี้มาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในทศวรรษ 1930และเครื่องมือที่เขานำมาใช้รวมถึงมาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์ ซึ่งได้กลายเป็นมาตรการหลักของเฟดในปัจจุบัน
เฟดได้เข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง (MBS) ไปแล้วกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อกดดันอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้ลดต่ำลง
ในช่วงปลายปี 2007 ปัญหาทางการเงินก็เริ่มส่งสัญญาณอย่างชัดเจนว่าจะดำเนินต่อไปเป็นเวลานาน
นายเควิน วอร์ช ผู้ว่าการคนหนึ่งของเฟด กล่าวในเดือนธ.ค.2007ว่า "ผมคิดว่าภาวะตกต่ำในตลาดการเงินที่เกิดขึ้นหลังการประชุมครั้งสุดท้ายของเรานั้น เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดและค่อนข้างรุนแรง"
เฟดพยายามแก้ไขวิกฤตินับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มฟื้นตัวขึ้นในฤดูร้อนปี 2009 โดยอัตราการว่างงานในสหรัฐเคยขึ้นไปแตะจุดสูงสุดที่ระดับราว 10 % ในเดือนต.ค. 2009 ก่อนจะร่วงลงในเวลาต่อมาแต่ยังคงอยู่ที่ระดับสูงถึง 7.8 % ในปัจจุบัน
ในเดือนธ.ค. 2012 เฟดได้ตัดสินใจดำเนินมาตรการเข้าซื้อตราสารหนี้ต่อไปในอัตรา 8.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่เฟดบางรายเริ่มตั้งข้อสงสัยต่อประสิทธิภาพของนโยบายการเงินแบบพิเศษนี้ และตั้งคำถามถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากนโยบายดังกล่าว
เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 3.1 % ต่อปีในไตรมาส 3 ของปี 2012 แต่มีแนวโน้มว่าอาจอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 2 % เล็กน้อยในไตรมาส 4
นักวิเคราะห์คาดวอลล์สตรีทได้แรงหนุนจากผลประกอบการสัปดาห์นี้
ในขณะที่ภาคเอกชนของสหรัฐเปิดเผยผลประกอบการที่สดใสในช่วงนี้ดัชนี S&P 500 ของตลาดวอลล์สตรีทก็แทบไม่เผชิญกับอุปสรรคใดๆ ในขณะที่ดัชนียังคงปรับตัวขึ้นต่อไป และการพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่
ก็อาจเป็นเป้าหมายที่อยู่ไม่ไกลมากนัก
ดัชนี S&P 500 ปิดตลาดวันศุกร์ปรับตัวขึ้น 0.34 % สู่ 1,485.98ขณะที่สถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของดัชนีดังกล่าวอยู่ที่ 1,576.09 ซึ่งทำไว้ในวันที่ 11 ต.ค.2007
ตลาดหุ้นสหรัฐปิดตลาดสัปดาห์ที่แล้วที่ระดับสูงสุดใหม่ในรอบ 5 ปีโดยได้รับแรงหนุนจากตัวเลขภาคแรงงานและภาคที่อยู่อาศัยที่แข็งแกร่ง รวมทั้งได้รับแรงหนุนจากตัวเลขผลประกอบการที่ดีเกินคาด
ดัชนีหุ้นกลุ่มคมนาคม, ธนาคาร และที่อยู่อาศัยทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดใหม่ในรอบหลายปีในสัปดาห์ที่แล้วด้วยเช่นกัน
นายไมเคิล โยชิคามิ ซีอีโอของบริษัทเดสติเนชัน เวลธ์ แมเนจเมนท์กล่าวว่า ผลประกอบการที่จะต้องจับตามองในสัปดาห์นี้คือผลประกอบการของบริษัทในภาควัฏจักรเศรษฐกิจ โดยบริษัทยูไนเต็ด เทคโนโลยีส์จะเปิดเผยผลประกอบการในวันพุธนี้ ส่วนบริษัทฮันนีเวลจะเปิดเผยผลประกอบการในวันศุกร์
นายโยชิคามิกล่าวว่า "ผลประกอบการของบริษัทกลุ่มนี้จะบอกคุณได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มเป็นเช่นใด"
บริษัทสำคัญในภาคเทคโนโลยีจะเปิดเผยผลประกอบการในสัปดาห์นี้ด้วยแต่นักลงทุนได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ผลกำไรสำหรับบริษัทกลุ่มนี้ลงในช่วงที่ผ่านมา
บริษัทแอดวานซ์ ไมโคร ดีไวเซส (AMD) จะเปิดเผยผลประกอบการในวันอังคารนี้ และนักลงทุนคาดว่าบริษัทผู้ผลิตชิพ เช่น AMD จะมีผลประกอบการที่ย่ำแย่ ในขณะที่ยอดขายเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ตกต่ำลง
หุ้น AMD ดิ่งลง 10.22 % ในวันศุกร์ หลังจากอินเทลซึ่งเป็นบริษัทคู่แข่ง เปิดเผยผลประกอบการที่น่าผิดหวัง ส่งผลให้ดัชนีหุ้นกลุ่มผู้ผลิตชิปปิดตลาดร่วงลง 0.46 % สู่ 410.64 แต่สามารถปิดตลาดรายสัปดาห์ที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.2012 เป็นต้นมา
หลังจากบริษัทแอปเปิลของสหรัฐเคยเปิดเผยผลประกอบการที่น่าผิดหวังในช่วงก่อนหน้านี้ นักลงทุนก็คาดว่า ถ้าหากแอปเปิลเปิดเผยผลประกอบการที่ดีเกินคาดในวันพุธนี้ ปัจจัยดังกล่าวก็อาจกระตุ้นให้นักลงทุนหลายคนที่เคยเทขายหุ้นแอปเปิลกลับเข้าซื้อหุ้นอีกครั้ง
บริษัทสำคัญอื่นๆที่จะเปิดเผยผลประกอบการในสัปดาห์นี้รวมถึงบริษัทกูเกิล, ไอบีเอ็ม (IBM), จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน และดูปองท์ในวันพรุ่งนี้ส่วนบริษัทไมโครซอฟท์และ 3M จะเปิดเผยผลประกอบการในวันพฤหัสบดี และบริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิลจะเปิดเผยผลประกอบการในวันศุกร์
แรงหนุนครั้งใหญ่ที่สุดที่ตลาดหุ้นสหรัฐอาจได้รับอาจมาจากกระแสเงินลงทุนที่ไหลออกจากกองทุนตราสารหนี้เข้าสู่ตลาดหุ้น
มีเงินลงทุนไหลเข้าสู่กองทุนหุ้นราว 1.13 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2000 และสิ่งนี้บ่งชี้ว่านักลงทุนรายย่อยที่ต้องการอัตราผลตอบแทนที่ระดับสูงกำลังเพิ่มความเสี่ยงทางการลงทุน
นายสตีเฟน มาสซอคคา กรรมการผู้จัดการบริษัทเวดบุช มอร์แกนกล่าวว่า "หากมองจากมุมมองด้านอัตราผลตอบแทนแล้ว หุ้นหลายตัวก็ยังคงให้ผลตอบแทนที่ระดับสูง และดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายมากที่เห็น
เงินลงทุนหลั่งไหลเข้าสู่ตลาดหุ้น"
"คุณจะไม่เห็นนักลงทุนทุ่มเงินจำนวนมากเข้ามาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 10 ปีที่ให้อัตราผลตอบแทน 1.8 %"
ดัชนีหุ้นกลุ่มที่อยู่อาศัยพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดรอบ 5 ปีครึ่ง และดัชนีนี้อาจได้รับแรงหนุนให้ปรับตัวขึ้นต่อไปในสัปดาห์นี้ ในขณะที่นักลงทุนคาดการณ์ในทางบวกต่อตัวเลขภาคที่อยู่อาศัย และมองว่าภาคดังกล่าว
เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจสหรัฐที่อยู่ในภาวะเฉื่อยชา
สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติจะรายงานยอดขายบ้านมือสองประจำเดือนธ.ค.ในวันพรุ่งนี้ โดยโพลล์รอยเตอร์คาดว่า ยอดขายบ้านมือสองอาจปรับขึ้น 0.6 % ในเดือนธ.ค.
สมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติเคยเปิดเผยในช่วงสิ้นปี2012 ว่า ดัชนียอดทำสัญญาซื้อขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) พุ่งขึ้น 1.7% แตะระดับ 106.4 ในเดือนพ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุด
ในรอบ 2 ปีครึ่ง โดยดัชนียอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขายถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ล่วงหน้าสำหรับยอดขายบ้านที่แท้จริงในอีก 1-2 เดือนต่อมา
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยยอดขายบ้านใหม่เดือนธ.ค.ในวันศุกร์นี้ โดยโพลล์รอยเตอร์คาดว่า ยอดขายบ้านใหม่อาจพุ่งขึ้น 2.1 %ในเดือนธ.ค.
นักลงทุนไม่ได้กังวลกับการเจรจาต่อรองเรื่องเพดานหนี้สหรัฐมากนักในช่วงนี้ หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรครีพับลิกันส่งสัญญาณว่า พวกเขาอาจสนับสนุนการเพิ่มเพดานหนี้สหรัฐในระยะสั้น
ตลาดหุ้นสหรัฐเคยดิ่งลงอย่างรุนแรงในปี 2011 โดยได้รับแรงกดดันจากการเจรจาต่อรองเรื่องเพดานหนี้สหรัฐในปีนั้น อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นสหรัฐไม่ได้แสดงความกังวลต่อปัญหาเพดานหนี้มากนักในครั้งนี้
ดัชนีความผันผวน CBOE ที่ใช้วัดระดับความกังวลในตลาด ปิดตลาดดิ่งลง 8.18 % สู่ 12.46 ในวันศุกร์ ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นระดับปิดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2007
นายโยชิคามิกล่าวว่า "ผมคิดว่าตลาดเริ่มชินชากับความขัดแย้งทางการเมืองแล้ว หลังจากความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า"
"ปัจจัยนี้เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็จริง แต่ผมไม่คิดว่าคุณต้องการจะตัดสินใจลงทุนโดยอิงกับปัจจัยนี้เป็นหลัก" นายโยชิคามิกล่าว
(ข้อมูลจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak