xs
xsm
sm
md
lg

Good Morning News 04/06/56

เผยแพร่:   โดย: MGR Online



  • มาริโอ ดรากี ประธานธ.กลางยุโรป (ECB) คาดว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปในปีนี้ จากการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย การขยายตัวของภาคส่งออก และการปรับตัวขึ้นของความมั่งคั่งในภาคธนาคารกับครัวเรือนอันเนื่องมาจากราคาหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้น

  • ดัชนี PMI ภาคการผลิตของยูโรโซนเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 15 เดือนที่ 48.3 จากสัญญาณการผลิตที่ดีขึ้นในเกือบทุกประเทศ อย่างไรก็ตาม การที่ดัชนียังต่ำกว่า 50 แสดงว่า ภาคการผลิตของยูโรโซนยังคงอยู่ในเขตภาวะหดตัวซึ่งเป็นมาต่อเนื่องเกือบ 2 ปีแล้ว

  • สถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) รายงานว่า กิจกรรมเศรษฐกิจภาคการผลิตของสหรัฐเดือน พ.ค.ลดลงเหลือ 49.0 จาก 50.7 ในเดือนเม.ย. เป็นการชะลอตัวครั้งแรกในรอบ 6 เดือน จากยอดคำสั่งซื้อใหม่กับการผลิตที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของเศรษฐกิจยังคงเติบโตได้ต่อเนื่อง

  • สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีน (CFLP) รายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีนในเดือน พ.ค.ลดลงสู่ 54.3 จาก 54.5 ในเดือนก่อน อันเป็นการชะลอตัวลงเล็กน้อยของภาคค้าปลีก การบิน ภาคก่อสร้าง และซอฟท์แวร์

  • HSBC รายงานว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนในเดือน พ.ค.หดตัวลงสู่ 49.2 จาก 50.4 ในเดือน เม.ย. ต่ำสุดนับตั้งแต่ ต.ค. 2555 เนื่องจากยอดสั่งซื้อสินค้าส่งออกชะลอตัวลงซึ่งขัดแย้งกับตัวเลขของ CFLP ที่รายงานไปก่อนหน้า

  • ดอยช์แบงก์ ลดคาดการณ์ GDP จีนในปีนี้จากเดิม 8.2% เป็น 7.9% โดยระบุว่าแม้การขยายตัวในช่วงแรกของปีจะต่ำกว่าคาดการณ์ แต่จะฟื้นตัวมาอยู่ที่ 8% ได้ในไตรมาส 4 จากอุปสงค์ต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น และแนวโน้มที่เงินหยวนจะชะลอการแข็งค่าที่ส่งผลบวกกับการส่งออกของจีน ประกอบกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น

  • การใช้จ่ายด้านเงินทุนของภาคธุรกิจญี่ปุ่นในไตรมาสแรกลดลง 5.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน ส่งสัญญาณว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลอาจเผชิญอุปสรรคมากขึ้น เนื่องจากภาคธุรกิจยังไม่เชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ

  • ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน พ.ค. เพิ่มขึ้นเพียง 1% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในระดับต่ำสุดในรอบ 14 ปี อันเนื่องมาจากราคาสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่ปรับตัวลง

  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของอินโดนีเซียในเดือน พ.ค.อยู่ที่ 5.47% ต่ำกว่า 5.57% ในเดือนเม.ย. ซึ่งสอดคล้องกับราคาอาหารและเครื่องประดับที่อ่อนตัวลง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลกำลังมีแผนลดเงินอุดหนุนน้ำมันเพื่อลดยอดขาดดุลงบประมาณ จึงอาจส่งผลให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นอีกได้

  • อัตราเงินเฟ้อของไทยในเดือน พ.ค.ขยายตัว 2.27% เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 42 เดือน อันเป็นผลจากฐานเงินเฟ้อที่สูงในปีก่อน ราคาน้ำมันในประเทศที่ลดลงตามตลาดโลก ประกอบกับการแข็งค่าของเงินบาท ในขณะที่ราคาอาหารสดและชุดนักเรียนปรับตัวเพิ่มขึ้น

  • Moody’s ระบุว่า ความเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าวที่เกิดขึ้นในอดีตและการที่รัฐบาลยืนยันจะเดินหน้าโครงการต่อไป อาจส่งผลให้รัฐบาลไม่สามารถบรรลุเป้าหมายงบประมาณสมดุลภายในปี 2560 ซึ่งจะเป็นปัจจัยลบต่ออันดับเครดิตไทย

  • ธปท. เปิดเผยว่า เริ่มเห็นสัญญาณการลงทุนเพื่อเก็งกำไรในภาคอสังหาริมทรัพย์บ้างแล้วแต่ยังไม่น่าเป็นห่วง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากธนาคารพาณิชย์เริ่มระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น รวมถึงความต้องการอสังหาริมทรัพย์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลได้เริ่มชะลอตัวลง




  • SET Index ปิดที่ 1,539.26 จุด ลดลง -22.81 จุด หรือ -1.46% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 55,526.98 ล้านบาทโดยปรับตัวลดลงต่อเนื่องและปรับลงมากกว่าตลาดหุ้นอื่นในภูมิภาค ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (FED) จะลดวงเงินโครงการซื้อพันธบัตร (QE) จนทำให้ตลาดทุนทั่วโลกเกิดความผันผวน




  • อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตราสารอายุ 3 ปีขึ้นไป ในช่วง +0.01% ถึง +0.13% ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับพันธบัตรสหรัฐ ประกอบกับแรงขายของ    นักลงทุนบางส่วนโดยเฉพาะนักลงทุนต่างประเทศจากความกังวลว่า FED อาจจะชะลอมาตรการ QE และส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรมีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต


กำลังโหลดความคิดเห็น