“ยิ่งลักษณ์” สั่งการ “ยุคล” แจงปัญหาผู้ส่งออกผลไม้ร้องเรียน มกอช.เปลี่ยนผู้ตรวจสอบสินค้า ทำผู้ประกอบการเดือดร้อน ด้านตัวแทนพ่อค้าไทยบี้ มกอช.แจงใครงุบงิบส่วนต่าง ลั่นพร้อมเผชิญหน้า หลังเปิดทางให้ไต้หวันแย่งตลาดผลไม้ในอเมริกาไปเรียบร้อย
นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง เปิดเผยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงกรณีมีตัวแทนผู้ประกอบการส่งออกผลไม้ฉายรังสีไปสหรัฐอเมริกา 5 บริษัท ร้องเรียนได้รับความเดือดร้อนจากการเปลี่ยนแปลงผู้ประสานงานในโครงการการตรวจรับรองผลไม้ล่วงหน้า จนไม่สามารถส่งผลไม้ไปสหรัฐอเมริกาได้
รองเลขาธิการนายกฯ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้มีการร้องเรียนว่าสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการจัดจ้างผู้ตรวจผลไม้ก่อนส่งออกไปสหรัฐฯ แทนบริษัทเดิม คือ TUCC และเพิ่มราคาค่าตรวจผลไม้ จากเดิมเก็บอยู่ในอัตรากิโลกรัมละ 8 บาท เป็นกิโลกรัมละ 25 บาท
โดยตนได้ทำหนังสือถึงนายยุคลมานานแล้ว แต่ไม่ได้มีการดำเนินการแต่อย่างใด หลังจากนี้หากยังไม่มีความคืบหน้าก็จะต้องหารือร่วมกับนายยุคลและผู้ประกอบการโดยตรง สำหรับข้อเสนอผู้ประกอบการต้องการให้มีการจ้างผู้ตรวจผลไม้ฉายรังสีคู่ขนานไปกับบริษัทที่ มกอช.ว่าจ้างเหมือนเดิม และให้เรียกเก็บอัตราค่าตรวจผลไม้เท่าเดิม มองว่าเป็นข้อเสนอที่ดีของทั้งสองฝ่ายเพื่อให้ผลไม้ไทยไม่ถูกต่างชาติแย่งตลาด
ด้าน นายสมโภชน์ วัลยะเสวี ตัวแทนศูนย์ประสานงานความร่วมมือไทย-สหรัฐอเมริกา เพื่อการส่งออกผลไม้ จำกัด (TUCC) กล่าวว่า ผู้ส่งออกยินดีนำข้อมูลไปชี้แจงทุกเวที แต่เชื่อว่า มกอช.ไม่กล้าเผชิญหน้ากับผู้ส่งออกเนื่องจากปัญหานี้เกิดขึ้นมา 2 ปีแล้ว แต่กระทรวงเกษตรฯ ไม่เคยเรียกไปชี้แจงไม่ยอมลงมาแก้ปัญหา เลยต้องมาพึ่งนายกฯ อย่างไรก็ตาม TUCC เป็นตัวแทนของผู้ส่งออกทำงานกันในรูปสหกรณ์ การก่อตั้งครั้งแรกก็ผ่านการรับรู้จาก มกอช. ขณะที่บัดดี้โคโคนัท บริษัทที่ มกอช.เลือกให้เป็นผู้ส่งออกผลไม้ในขณะนี้เป็นของไต้หวันที่เข้ามาชุบมือเปิบ
นายสมโภชน์กล่าวว่า ผู้ส่งออกและผู้นำก่อตั้ง TUCC ในปี 2551 ตามความต้องการของ มกอช.เพื่อให้เป็นตัวแทนในการส่งผลไม้ไปสหรัฐอเมริกาแบบไม่หวังผลกำไร จนทำให้ผลไม้ไทยมีที่ยืนในตลาดผลไม้ในสหรัฐฯ ทุกอย่างกำลังไปได้ด้วยดี แต่ มกอช.กลับมาเปลี่ยนเอาบริษัทของไต้หวันมาทำแทน เหมือนไปส่งเสริมคนต่างชาติแล้วเหยียบย่ำคนไทย ยุติธรรมกับคนไทยที่ไปสร้างตลาดหรือไม่
“เดิม TUCC เก็บเพียง กก.ละ 8 บาท ก็ยังมีเงินเหลือไปทำงานวิจัยช่วยเหลือรัฐ แต่ปัจจุบันบัดดี้โคโคนัทเก็บ กก.ละ 26 บาท อยากถาม มกอช.ว่าเงินส่วนต่างจากการเก็บค่าตรวจผลไม้ 18 บาทหายไปไหน และผลเสียจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้ขณะนี้ตลาดผลไม้ไทยถูกบริษัทไต้หวันแย่งไปหมดแล้ว ไต้หวันเลยกลายเป็นผู้ส่งออกและนำเข้าแทนคนไทย เพราะเจ้าของบัดดี้โคโคนัทเป็นคนไต้หวัน พูดภาษาไทยยังไม่ได้ ผลไม้ที่ส่งออกก็ไม่มีโรงคัดแยกเอง ต้องซื้อจากคนไทยบางกลุ่ม แต่กลับได้ส่งผลไม้ไทยแทนคนไทย อยากถาม มกอช.ว่าเป็นธรรมต่อคนไทยหรือไม่ ดังนั้นจะต่อสู้เรื่องนี้อย่างถึงที่สุด” นายสมโภชน์กล่าว
นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง เปิดเผยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ นายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ชี้แจงกรณีมีตัวแทนผู้ประกอบการส่งออกผลไม้ฉายรังสีไปสหรัฐอเมริกา 5 บริษัท ร้องเรียนได้รับความเดือดร้อนจากการเปลี่ยนแปลงผู้ประสานงานในโครงการการตรวจรับรองผลไม้ล่วงหน้า จนไม่สามารถส่งผลไม้ไปสหรัฐอเมริกาได้
รองเลขาธิการนายกฯ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้มีการร้องเรียนว่าสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการจัดจ้างผู้ตรวจผลไม้ก่อนส่งออกไปสหรัฐฯ แทนบริษัทเดิม คือ TUCC และเพิ่มราคาค่าตรวจผลไม้ จากเดิมเก็บอยู่ในอัตรากิโลกรัมละ 8 บาท เป็นกิโลกรัมละ 25 บาท
โดยตนได้ทำหนังสือถึงนายยุคลมานานแล้ว แต่ไม่ได้มีการดำเนินการแต่อย่างใด หลังจากนี้หากยังไม่มีความคืบหน้าก็จะต้องหารือร่วมกับนายยุคลและผู้ประกอบการโดยตรง สำหรับข้อเสนอผู้ประกอบการต้องการให้มีการจ้างผู้ตรวจผลไม้ฉายรังสีคู่ขนานไปกับบริษัทที่ มกอช.ว่าจ้างเหมือนเดิม และให้เรียกเก็บอัตราค่าตรวจผลไม้เท่าเดิม มองว่าเป็นข้อเสนอที่ดีของทั้งสองฝ่ายเพื่อให้ผลไม้ไทยไม่ถูกต่างชาติแย่งตลาด
ด้าน นายสมโภชน์ วัลยะเสวี ตัวแทนศูนย์ประสานงานความร่วมมือไทย-สหรัฐอเมริกา เพื่อการส่งออกผลไม้ จำกัด (TUCC) กล่าวว่า ผู้ส่งออกยินดีนำข้อมูลไปชี้แจงทุกเวที แต่เชื่อว่า มกอช.ไม่กล้าเผชิญหน้ากับผู้ส่งออกเนื่องจากปัญหานี้เกิดขึ้นมา 2 ปีแล้ว แต่กระทรวงเกษตรฯ ไม่เคยเรียกไปชี้แจงไม่ยอมลงมาแก้ปัญหา เลยต้องมาพึ่งนายกฯ อย่างไรก็ตาม TUCC เป็นตัวแทนของผู้ส่งออกทำงานกันในรูปสหกรณ์ การก่อตั้งครั้งแรกก็ผ่านการรับรู้จาก มกอช. ขณะที่บัดดี้โคโคนัท บริษัทที่ มกอช.เลือกให้เป็นผู้ส่งออกผลไม้ในขณะนี้เป็นของไต้หวันที่เข้ามาชุบมือเปิบ
นายสมโภชน์กล่าวว่า ผู้ส่งออกและผู้นำก่อตั้ง TUCC ในปี 2551 ตามความต้องการของ มกอช.เพื่อให้เป็นตัวแทนในการส่งผลไม้ไปสหรัฐอเมริกาแบบไม่หวังผลกำไร จนทำให้ผลไม้ไทยมีที่ยืนในตลาดผลไม้ในสหรัฐฯ ทุกอย่างกำลังไปได้ด้วยดี แต่ มกอช.กลับมาเปลี่ยนเอาบริษัทของไต้หวันมาทำแทน เหมือนไปส่งเสริมคนต่างชาติแล้วเหยียบย่ำคนไทย ยุติธรรมกับคนไทยที่ไปสร้างตลาดหรือไม่
“เดิม TUCC เก็บเพียง กก.ละ 8 บาท ก็ยังมีเงินเหลือไปทำงานวิจัยช่วยเหลือรัฐ แต่ปัจจุบันบัดดี้โคโคนัทเก็บ กก.ละ 26 บาท อยากถาม มกอช.ว่าเงินส่วนต่างจากการเก็บค่าตรวจผลไม้ 18 บาทหายไปไหน และผลเสียจากการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ทำให้ขณะนี้ตลาดผลไม้ไทยถูกบริษัทไต้หวันแย่งไปหมดแล้ว ไต้หวันเลยกลายเป็นผู้ส่งออกและนำเข้าแทนคนไทย เพราะเจ้าของบัดดี้โคโคนัทเป็นคนไต้หวัน พูดภาษาไทยยังไม่ได้ ผลไม้ที่ส่งออกก็ไม่มีโรงคัดแยกเอง ต้องซื้อจากคนไทยบางกลุ่ม แต่กลับได้ส่งผลไม้ไทยแทนคนไทย อยากถาม มกอช.ว่าเป็นธรรมต่อคนไทยหรือไม่ ดังนั้นจะต่อสู้เรื่องนี้อย่างถึงที่สุด” นายสมโภชน์กล่าว