เปิดเออีซี 3 ปี ไทยมีแต่ถอยหลังเข้าคลอง สินค้าเกษตรดิ่ง ทั้งข้าว มัน ยาง ถูกเพื่อนบ้านแซงหมด ด้านการลงทุนรั้งอยู่ที่ 4
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงบทวิเคราะห์ 3 ปี การค้า และการลงทุนภายใต้ประคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ว่า ตั้งแต่ปี 2553 ที่มีการเริ่มเปิดเออีซี บทบาทการค้าและการลงทุนของไทยในอาเซียนยังคงไร้ทิศทาง และตกสู่สถานะตกต่ำ เนื่องจากมูลค่าการส่งออกของไทยลดลง และสินค้าส่งออกสำคัญของไทย อย่างยางพารา และข้าว กลายเป็นอุตสาหกรรมดาวร่วง ถูกเวียดนามและพม่าแย่งส่วนแบ่งตลาดไปมาก ขณะที่มันสำปะหลังก็ถูกกัมพูชาแย่งตลาดกลายเป็นผู้ส่งออกได้สูงสุดในอาเซียน
ส่วนสินค้าที่ยังคงส่งออกได้ดีและมีความโดดเด่น คือ ยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ถ่านหิน ผักและผลไม้ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ น้ำตาล เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง เหล็ก และผลิตภัณฑ์จากเหล็ก เครื่องดื่มยาสูบ
สำหรับสินค้าที่เป็นดาวร่วง ได้แก่ ข้าว ส่วนแบ่งตลาดไทยลดลง 10.41% แต่เวียดนามเพิ่มขึ้น 6.68% ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไทยลดลง 0.04% กัมพูชาเพิ่มขึ้น 20.10% ยางพาราไทยลดลง 2.91% เวียดนามเพิ่มขึ้น 10.73% อาหารทะเลแปรรูปไทยลดลง 0.19% อินโดนีเซียเพิ่มขึ้น 4.89% สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยลดลง 2.27% สิงคโปร์เพิ่มขึ้น 2.38% ผลิตภัณฑ์ไม้ไทยลดลง 0.29% พม่าเพิ่มขึ้น 1.84% ผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งพิมพ์ ไทยลดลง 4.44% สิงคโปร์เพิ่มขึ้น 9.67% ผลิตภัณฑ์พลาสติก ไทยลดลง 0.70% สิงคโปร์เพิ่มขึ้น 1.01%
ทางด้านการลงทุนในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การลงทุนจากต่างชาติ (เอฟดีไอ) สิงคโปร์ยังคงเป็นอันดับ 1 ด้วยมูลค่าการลงทุน 167,000 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมา คือ อินโดนีเซีย 51,900 ล้านเหรียญสหรัฐ และมาเลเซีย เงินลงทุน 31,100 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนไทยอยู่ที่ 4 มีเม็ดเงินทุนเข้ามามูลค่า 27,400 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่แนวโน้มการลงทุนในกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะเวียดนาม และเมียนมาร์
อย่างไรก็ตาม ไม่อยากให้มองว่าไทยต้องไปแข่งขันเพื่อให้เป็นที่ 1 ในอาเซียนเท่านั้น แต่ควรมองในเรื่องของการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทย และเออีซีในระยะยาว
นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงบทวิเคราะห์ 3 ปี การค้า และการลงทุนภายใต้ประคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ว่า ตั้งแต่ปี 2553 ที่มีการเริ่มเปิดเออีซี บทบาทการค้าและการลงทุนของไทยในอาเซียนยังคงไร้ทิศทาง และตกสู่สถานะตกต่ำ เนื่องจากมูลค่าการส่งออกของไทยลดลง และสินค้าส่งออกสำคัญของไทย อย่างยางพารา และข้าว กลายเป็นอุตสาหกรรมดาวร่วง ถูกเวียดนามและพม่าแย่งส่วนแบ่งตลาดไปมาก ขณะที่มันสำปะหลังก็ถูกกัมพูชาแย่งตลาดกลายเป็นผู้ส่งออกได้สูงสุดในอาเซียน
ส่วนสินค้าที่ยังคงส่งออกได้ดีและมีความโดดเด่น คือ ยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ถ่านหิน ผักและผลไม้ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ น้ำตาล เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง เหล็ก และผลิตภัณฑ์จากเหล็ก เครื่องดื่มยาสูบ
สำหรับสินค้าที่เป็นดาวร่วง ได้แก่ ข้าว ส่วนแบ่งตลาดไทยลดลง 10.41% แต่เวียดนามเพิ่มขึ้น 6.68% ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไทยลดลง 0.04% กัมพูชาเพิ่มขึ้น 20.10% ยางพาราไทยลดลง 2.91% เวียดนามเพิ่มขึ้น 10.73% อาหารทะเลแปรรูปไทยลดลง 0.19% อินโดนีเซียเพิ่มขึ้น 4.89% สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยลดลง 2.27% สิงคโปร์เพิ่มขึ้น 2.38% ผลิตภัณฑ์ไม้ไทยลดลง 0.29% พม่าเพิ่มขึ้น 1.84% ผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งพิมพ์ ไทยลดลง 4.44% สิงคโปร์เพิ่มขึ้น 9.67% ผลิตภัณฑ์พลาสติก ไทยลดลง 0.70% สิงคโปร์เพิ่มขึ้น 1.01%
ทางด้านการลงทุนในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา การลงทุนจากต่างชาติ (เอฟดีไอ) สิงคโปร์ยังคงเป็นอันดับ 1 ด้วยมูลค่าการลงทุน 167,000 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมา คือ อินโดนีเซีย 51,900 ล้านเหรียญสหรัฐ และมาเลเซีย เงินลงทุน 31,100 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนไทยอยู่ที่ 4 มีเม็ดเงินทุนเข้ามามูลค่า 27,400 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่แนวโน้มการลงทุนในกลุ่มประเทศกัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะเวียดนาม และเมียนมาร์
อย่างไรก็ตาม ไม่อยากให้มองว่าไทยต้องไปแข่งขันเพื่อให้เป็นที่ 1 ในอาเซียนเท่านั้น แต่ควรมองในเรื่องของการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทย และเออีซีในระยะยาว